พี่ ๆ ครับ แล้วกรณีที่ตำรวจมาเป็นคันรถ (เจ้าหน้าที่ประมาณ 15 นาย)
เปิดประตูรั้วบ้านเข้ามา แล้วแจ้งเจ้าของบ้านว่าจะขอเข้าค้นตามหมาย
(โดยมีผู้แจ้งความว่ามีของผิดกฎหมายอยู่)
ซึ่งหมายนั้นยังไม่มีการลงชื่อเจ้าของบ้านหรือเลขที่บ้านแต่อย่างใด
พอเจ้าของบ้านแย้งว่าไม่มีข้อความใด ๆ เลย
หัวหน้าตำรวจชุดนั้นได้นำหมายดังกล่าว ไปเขียน ณ ตอนนั้นเลย . . .
ขอถามพี่ ๆ หน่อยครับว่าสามารถทำได้และถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
(เปิดประตูรั้วเข้ามาเองทั้ง 15 นายโดยไม่มีการเรียก) . . . ขอบคุณครับ
เป็นไปไม่ได้ครับ...สำหรับการที่ออกหมายค้น โดยไม่ระบุเลขที่บ้าน....
หรือสถานที่ใด ๆ (หมายถึงการเว้นข้อความไว้ และให้นำไปกรอกภายหลัง)
และการออกหมายค้น นั้น อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ครับ
มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน....
ตาม ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการออกหมายจับและหมายค้นในคดีอาญา ครับ
พนักงานสอบสวนเป็นเพียง ต้นเรื่อง รวบรวมข้อมูล
เพื่อให้ผู้ออกหมายค้น เชื่อว่า...การออกหมายในครั้งนั้น ๆ
ประกอบด้วยสาเหตุข้างต้น ตามมาตรา 69 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ครับ
การตรวจค้นจับกุมเป็นภาระกิจหลักในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม
ตลอดจนการอำนวยความยุติธรรม
อย่างไรก็ตามการตรวจค้น จับกุมมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจะต้องดำเนินการไปภายใต้และขอบเขต
ที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเคร่งครัด ซึ่งกฎหมายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องสรุปได้ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2540
มาตรา 31 วรรคสอง, มาตรา 237 และมาตรา 238
2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78, 80, 83, 85 วรรคสอง, มาตรา 92
ส่วนในเรื่อง...ของการค้นรถ...เมื่อพบด่านตรวจ ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็นที่รโหฐาน นั้น
ผมเคยประสบมาครับ...
วิธีนี้ เจ้าพนักงานอาจยึดรถไว้รอการตรวจสอบ และออกหมายค้น เท่านั้นเองครับ ไม่ยาก...
เนื่องจาก...เจ้าพนักงาน จะรายงานประกอบการขอหมายค้น เช่น
เจ้าของ ผู้ขับขี่ ไม่ร่วมมือในการขอตรวจค้นหรือไม่แสดงหลักฐานประกอบ
เมื่อมีการร้องขอจากเจ้าพนักงาน....
ประกอบกับ...การแสดงอาการดังกล่าว....ทำให้น่าเชื่อว่า...
อาจมีของสิ่งที่ผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่...
จึงได้ขอความร่วมมือ...ให้เจ้าของรถ ผู้ขับขี่
นำรถคันดังกล่าวไปจอดไว้ที่สถานีตำรวจก่อน
โดยจัดที่ไว้ ในที่ที่เหมาะสม....
จากนั้นก็ให้เจ้าของ ผู้ขับขี่ ทำการล็อครถ...และอื่น ๆ ไว้เพื่อป้องกันการเปิดเข้าไปภายใน
และป้องกันการเคลื่อนย้าย...
ภายหลังเมื่อได้รับหมายค้นแล้ว...
จึงจะขอทำการตรวจค้น ตรวจสอบพร้อมเจ้าของรถ ผู้ขับขี่...ต่อไป ครับ
ส่วนจะพบหรือไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย...นั้น
ไม่มีข้อความใดระบุไว้ว่า...เป็นความผิดของเจ้าพนักงาน ครับ
และหากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่...จะฟ้องกลับ ก็เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้
แต่ที่แน่ ๆ อาทิ ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัย...
ในระหว่างช่วงเวลาที่ต้องระวังเป็นพิเศษ....
หรือเมื่ออ้างตามคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บังคับบัญชา
เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้น...อาจไม่ต้องรับผิดทางละเมิด...หรือชดใช้สินไหม ก็เป็นได้ ครับ
เพราะถือว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ...
การไม่ยินยอมให้ตรวจค้น...โดยผิดปกติวิสัย...นั้น
เป็นการแสดงอาการ...ที่ไม่น่ากระทำเลยครับ......
เพราะหากมีการฟ้องกลับ...
สิ่งเหล่านี้...มักถูกนำไปเป็นข้อเทียบเคียง...
โดยเจ้าพนักงานซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ครับ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...