จักรวรรดินิยมใหม่ ค.ศ. 1875-1914
การแข่งขันล่าดินแดนฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก
ถึงแม้ว่าจะมีความเห็นแตกต่างกันมากในเรื่องเหตุผลของการเกิด "ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่"
รวมทั้งเรื่องความสำคัญของลัทธินี้ แต่เกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าอย่างน้อยที่สุดมีเหตุการณ์
สองประการที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายศตวรรษที่ 19 และช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 คือสัญญานของ
การเกิดลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ เหตุการณ์ทั้งสองเรื่องคือ
1. มีการแสวงหาอาณานิคมแบบใหม่ซึ่งมีความรวดเร็วในการครอบครองดินแดนสูง
2. จำนวนของมหาอำนาจอาณานิคมมีจำนวนเพิ่มขึ้น
การแสวงหาอาณานิคมแบบใหม่ การผนวกเอาดินแดนในช่วงนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากลัทธิล่าดินแดน
สมัยก่อนศตวรรษที่ 19 ส่วนในศตวรรษที่ 19 การผนวกดินแดนโพ้นทะเลของประเทศอื่นมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่
และส่วนใหญ่ต้องการเอาดินแดนที่ผนวกได้ ให้มีความมั่นคงเข้มแข็งโดยวิธีขยายดินแดนลึกเข้าไปบนตัวทวีป
และจัดการปกครองคนพื้นเมืองด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง จักรวรรดินิยมใหม่
เข้ายึดครองเกือบทั้งทวีปแอฟริกา เข้ายึดครองดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของเอเชีย และเกาะมากมายใน
มหาสมุทรแปซิฟิก การเสาะแสวงหาอาณานิคมครั้งใหม่ด้วยความจริงจังในช่วงนี้ แสดงให้เห็นจากข้อเท็จจริง
ที่อัตราของการเข้าครอบครองดินแดนแห่งใหม่ของจักรวรรดินิยมใหม่ มีเพิ่มเป็นเกือบสามเท่าของสมัยก่อนหน้านั้น
ดังนั้นดินแดนใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 75 ปีแรกของศตวรรษที่ 19 จะมีประมาณโดยเฉลี่ย 83,000 ตารางไมล์
(210,000 ตารางกิโลเมตร) ต่อปี เมื่อเปรียบกับตัวเลขนี้กับตัวเลขของมหาอำนาจอาณานิคมซึ่งได้ดินแดนเพิ่มขึ้น
โดยเฉลี่ยประมาณ 240,000 ตารางไมล์ (620,000 ตารางกิโลเมตร) ต่อปีระหว่างช่วงท้ายทศวรรษของปี
ค.ศ. 1870 ถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914-18)
ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 ดินแดนใหม่ๆ ที่มหาอำนาจอาณานิคมได้มาทั้งหมดได้มาจากการทำสงคราม
ชนะการต่อสู้ด้วยกำลังทหารของชาวพื้นเมืองถูกปราบจนหมดสิ้น ดังนั้นในปี ค.ศ. 1914 ผลจากการล่าดินแดนครั้งใหม่
และครั้งใหญ่นี้มหาอำนาจอาณานิคมจึงมีฐานะสูงส่งยิ่งกว่าศตวรรษที่ผ่านมา อาณานิคมของมหาอำนาจครั้งใหม่และ
อาณานิคมเดิมรวมกันคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมดโลก การควบคุมทางเศรษฐกิจและการเมือง
โดยมหาอำนาจชั้นนำคลุมบริเวณเกือบทั้งโลก เพราะนอกเหนือไปจากการปกครองอาณานิคมโดยตรงแล้ว
มหาอำนาจอาณานิคมยังนำรูปแบบของอิทธิพลต่างๆ มาใช้ เช่น
การทำสนธิสัญญาทางการค้าแบบพิเศษ
การครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยวิธีให้เงินกู้ยืมโดยมีหลักการอยู่ว่า ประเทศที่เป็นลูกหนี้ย่อมเกรงกลัวทุกเรื่อง
ที่ประเทศมหาอำนาจอาณานิคมให้เงินกู้ยืม ดังนั้นจึงมีบทบาทควบคุมประเทศ ที่ต้องการกู้ยืมมหาอำนาจใหม่ออกล่าดินแดน
การออกล่าดินแดนอย่างเข้มงวดครั้งนี้แสดงออกมาให้เห็นว่า คลื่นลูกใหม่ปฏิบัติการยิ่งใหญ่กว่ามหาอำนาจอาณานิคม
ยุคเก่ารวมทั้งรัสเซีย นอกจากนั้นจักรวรรดินิยมใหม่ยังมีชาติใหม่ๆ เข้ามาร่วมวง มหาอำนาจใหม่ที่เข้ามาสมทบใน
วงการล่าดินแดนโพ้นทะเลในช่วงนี้ มี
เยอรมัน
สหรัฐ
เบลเยี่ยม
และ ญี่ปุ่น
สำหรับญี่ปุ่นนับว่าเป็นมหาอำนาจอาณานิคมชาติแรกของเอเชียที่วัดรอยเท้าจักรวรรดินิยมตะวันตก
ความจริงมหาอำนาจนักล่าดินแดนมากมายหลายชาติในช่วงนี้เกิดขึ้นมาในช่วงเวลาสั้นๆ จึงเร่งจังหวะ
การเสาะแสวงหาดินแดน พื้นที่ว่างเปล่าเหมาะต่อการตั้งนิคมของนักล่าในช่วงนี้มีจำกัด เพราะส่วนใหญ่
มหาอำนาจอาณานิคมยุคก่อนครอบครองไว้จนหมดสิ้น ดังนั้นมหาอำนาจอาณานิคมที่เพิ่มขึ้นมาใหม่
และต่างเสาะแสวงหาดินแดนในเวลาพร้อมๆ กันจึงต้องเร่งรีบความสำเร็จเป็นของผู้มีความเร็วสูงกว่า
การแข่งขันระหว่างประเทศนักล่าดินแดนช่วงนี้จึงก้าวหน้าสูงสุด ส่งผลให้มีการกีดกันดินแดน
ไม่ให้คู่แข่งขันเข้าไปยึดครอง ในเวลาเดียวกันก็พยายามเข้าไปครอบครอง ดินแดนที่มีประโยชน์
สำหรับการป้องกันทางทหารของจักรวรรดินิยมเดิม ไม่ให้คู่แข่งขันรุกล้ำเข้ามา
ผลกระทบจากการแข่งขันแย่งชิงดินแดนระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมครั้งใหม่ แสดงให้เห็นกรณีของเกรทบริเตน
http://en.wikipedia.org/wiki/Evolution_of_the_British_Empireการมีเศรษฐกิจยิ่งใหญ่จากภาคอุตสาหกรรมการค้า และการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้ง
การมีแสนยานุภาพทางทะเลยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดช่วงศตวรรษที่ 19 ทำให้ เกรทบริเตน ในช่วงนี้
หยุดพักผ่อนการหาอาณานิคมแห่งใหม่มาเพิ่มเติม ในขณะเดียวกันเกรทบริเตนทุ่มเทความพยายาม
สร้างจักรวรรดิที่มีอยู่ในมือให้เข้มแข็ง และพยายามสร้างจักรวรรดิที่ไม่ใช่รูปแบบ (ไม่มีอาณานิคม) ขึ้นมา
แต่การท้าทายจากการสร้างจักรวรรดิหน้าใหม่ซึ่งมีอำนาจทางทะเลมาสนับสนุน ทำให้อังกฤษต้องการ
ขยายจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลของตนออกไปให้กว้างขวาง เมื่อดินแดนมีให้ล่าน้อยลงไป
มหาอำนาจมีกำลังน้อยกว่าจึงกระตุ้นเตือนให้มหาอำนาจมีกำลังมากกว่า แก้ไขความไม่เท่าเทียมกัน
ในเรื่องขนาดของจักรวรรดิ โดยให้แบ่งโลกของอาณานิคมใหม่ การต่อสู้เพื่อชิงดินแดนและเพื่อแบ่งปัน
ดินแดนกันใหม่ ทำให้เกิดสงครามระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมเพิ่มมากขึ้น การดำเนินงานทางการทูต
เพิ่มความเข้มมากขึ้น
ประเทศอุตสาหกรรมใหม่
ควบคู่กันกับการมีมหาอำนาจหน้าใหม่ซึ่งต้องการมีที่อยู่ในโลกของอาณานิคมและการแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น
ระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมที่มีอยู่เดิม มีประเทศอุตสาหกรรมหน้าใหม่มีความสามารถต้องการแข่งขันกับอังกฤษ
ซึ่งเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการเงิน และการค้าของโลกในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เศรษฐกิจของอังกฤษ
อยู่สูงกว่าคู่แข่งสุดขอบฟ้า แต่พอถึงไตรมาสสุดท้ายขอศตวรรษนั้น อังกฤษต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งขันสำคัญ
ซึ่งต้องการส่วนแบ่งมากขึ้นในตลาดการค้าและการเงินของโลก ประเทศเหล่านี้
ปฏิวัติอุตสาหกรรม อย่างจริงจัง
จนมีความมั่นคงพอเผชิญหน้ากับอังกฤษ
ยิ่งไปกว่านั้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของช่วงท้ายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้ศักยภาพ
ในการแข่งขันของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ก้าวหน้า ข้อได้เปรียบของอังกฤษในเรื่องเป็นผู้บุกเบิกเริ่มต้น
สร้างอุตสาหกรรมก่อนประเทศอื่นสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก ลดความสำคัญลงไปมากมาย เมื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
และแหล่งพลังงานของยุคที่เรียกว่า
ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองเริ่มเข้ามามีความสำคัญเหนือวงการอุตสาหกรรม
ผู้เริ่มต้นช้ากว่าแต่ได้ย่อยเอาผลดีของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก บัดนี้พละกำลังทางด้านอุตสาหกรรมไม่แพ้อังกฤษ
ประเทศเหล่านี้เริ่มต้นจากฐานเดียวกันในการหาผลประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง อุตสาหกรรมใหม่
ในช่วงนี้มีลักษณะโครงสร้างสำคัญ คือ การผลิตเหล็กกล้าครั้งละมากๆ ใช้พลังไฟฟ้า และน้ำมันเป็นแหล่งพลังงาน
มีการสร้างอุตสาหกรรมเคมีและเครื่องยนต์สันดาปภายใน การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง แผ่คลุมอยู่เหนือยุโรปตะวันตก
สหรัฐและในที่สุดแผ่ขยายมาคลุมถึงญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศอุตสาหกรรมใหม่เหล่านี้ จึงมีนโยบายจักรวรรดิเช่นเดียวกับอังกฤษ
สมัยอังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก อังกฤษได้แสดงเป็นตัวอย่างให้เห็นมาก่อนว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกของตน
ทำให้อังกฤษมีอาณานิคมทั่วโลก มีเศรษฐกิจและมีกำลังทหารโดยเฉพาะอำนาจทางทะเลยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้น
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ดังกล่าว ประเทศเหล่านี้จึงกลายเป็นนักล่าอาณานิคมหน้าใหม่
เข้ามาแข่งขันกับอังกฤษและขอส่วนแบ่งผลประโยชน์จากอังกฤษ ช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20
อังกฤษนักล่าดินแดนหน้าเก่า มีจักรวรรดิโพ้นทะเลทั่วโลกสมัยยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก จึงต้องเผชิญหน้าประเทศ
อุตสาหกรรมหน้าใหม่และเป็นนักล่าอาณานิคมหน้าใหม่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองด้วยความเข้มข้น จนระเบิดออกมาเป็น
สงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกครั้งแรก คือ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1914
เศรษฐกิจโลก
เพื่อให้การสร้างอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อุตสาหกรรมใหม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง นักอุตสาหกรรมใหม่
จึงสนับสนุนการสร้างตลาดเงินทุน และสถาบันธนาคารและการเงินขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องมากพอในการจัดหา
เงินทุนให้กับอุตสาหกรรมใหม่ ในเรื่องนี้ตลาดเงินทุนขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมผลักดันให้ประเทศอุตสาหกรรมใหม่
หาตลาดทั่วโลก ตอนนี้จึงมีเงินทุนมากขึ้นสำหรับการกู้ยืมและลงทุน ธุรกิจขนาดใหญ่มีทรัพยากรสำหรับการค้นหา
ตลาดทั่วโลก และมีทรัพยากรมากพอ สำหรับพัฒนาวัตถุดิบที่จำเป็นต่อความสำเร็จและความมั่นคงของการลงทุน
ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ไม่เพียงแต่ต้องการวัตถุดิบที่จำเป็นต่อความสำเร็จและความมั่นคงของการลงทุนเท่านั้น
แต่ยังต้องการอาหารสำหรับผู้คนภายในเมือง ซึ่งบัดนี้สังคมเมืองขยายตัวกว้างไกลออกไปเพราะการสร้างอุตสาหกรรม
ทั้งวัตถุดิบและอาหารต้องหาจากบริเวณไกลออกไปจากประเทศอุตสาหกรรม ความก้าวหน้าของการสร้างเรือ
ให้สามารถขนวัตถุดิบและอาหารจากระยะทางไกลโพ้นทะเลมายังประเทศอุตสาหกรรมได้ในราคาถูกๆ ภายใต้แรงกดดัน
และโอกาสในช่วงทศวรรษท้ายๆ ของศตวรรษที่ 19 ดินแดนทั่วโลกกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับประเทศอุตสาหกรรม
บริเวณต่างๆ ของโลกที่เคยมีอดีต อันมีเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตัวเองอยู่ในสังคมเช่นนั้น บัดนี้สูญหายไป
กลายเป็นสังคมที่ฝากโชคชะตาไว้กับเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแบ่งแรงงานระหว่างประเทศ
ซึ่งประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำเป็นผู้ผลิตสินค้าและจำหน่ายสินค้าที่ผลิตได้ไปทุกบริเวณของโลก และทุกบริเวณของโลก
เป็นผู้ขายวัตถุดิบและอาหารให้กับประเทศอุตสาหกรรม นี่คือภาพรวมของเศรษฐกิจโลกนับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ครั้งที่สองเป้นต้นมา
ลัทธิทหาร
ความซับซ้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่เกิดมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
หรืออุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งเรื่องการค้าของโลกขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้การแข่งขันทางการค้า
เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น เช่น มีการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าไว้สูง รวมทั้งการแข่งขันการสร้างความเข้มแข็งทางทหาร
ในเรื่องทางทหารที่มีความสำคัญเป็นพิเศษคือ การแข่งขันกันสร้างแสนยานุภาพทางทะเล ซึ่งพบความสำเร็จ
เพราะมีการสร้างเรือรบแบบใหม่ๆ ขับเคลื่อนด้วยไอน้ำ มีเกราะหุ้มและติดอาวุธปืนที่สามารถยิงผ่านเกราะหุ้ม
ก่อนที่เทคโนโลยีใหม่นี้จะได้รับการพัฒนาขึ้นมา ความเหนือกว่าของกำลังทางทะเลของอังกฤษ ยิ่งใหญ่จน
ไม่มีประเทศใดในโลกทำลายได้ แต่เป็นเพราะช่วงนั้นเกรทบริเตนต้องสร้างกองทัพเรือแบบใหม่โดยสิ้นเชิง
ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งมีขีดความสามารถทางด้านอุตสาหกรรม เมื่อทุ่มเททรัพยากรสร้างเรือรบ
มีเทคโนโลยีสูงเเช่นนั้น ย่อมเป็นภัยคุกคามความยิ่งใหญ่ทางทะเลของอังกฤษ
ลัทธิทหารแบบใหม่และความเข้มของการแข่งขันกันหาอาณานิคม เป็นสัญญานเตือนให้รู้ว่าสภาพที่ค่อนข้างสงบสุข
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 กำลังสิ้นสุดลง ข้อขัดแย้งปัญหาเอาทวีปแอฟริกาทั้งทวีปมาแบ่งกัน
สงครามแอฟริกาใต้(สงครามบัวร์), สงครามจีน-ญี่ปุ่น, สงครามสเปน-สหรัฐ, และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
สงครามเหล่านี้แสดงว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ เปิดศักราชใหม่ซึ่งใช่อะไรอื่นนอกจากเพื่อ
"สันติภาพ"นอกจากนั้นลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ยังแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่มีมาช้านานก่อนหน้านั้น ได้ก่อความรุนแรง
เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่นการที่สหรัฐตัดสินใจทำสงครามกับสเปน แยกไม่ออกจากเรื่องที่สหรัฐต้องการดินแดน
ในแคริบเบียนและแปซิฟิกมาช้านานแล้ว การรบชนะสเปนและการปราบการปฏิวัติเพื่ออิสระภาพในคิวบาและ
ฟิลิปปินส์ในที่สุด ทำให้สหรัฐมีความเข้มแข็งมากขึ้น บัดนี้สหรัฐกลายเป็นมหาอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในแคริบเบียน
และเปิดประตูไปสู่การสาะแสวงหาอิทธิพลมากขึ้นในดินแดนทุกประเทศของลาตินอเมริกา การครอบครองฟิลิปปินส์
ทำให้สหรัฐมีผลประโยชน์ทางการค้าของแปซิฟิก ดังที่สหรัฐให้ความสนใจฮาวายมานาน
และในที่สุดก็ผนวกฮาวายเป็นดินแดนของสหรัฐ ในปี ค.ศ. 1898 ความสนใจของสหรัฐในตะวันออก
ยังแสดงออกมาให้เห็นโดยการส่งนายพลจัตวา แมทธิว เปอร์รี่
นำเรือรบไปข่มขู่ญี่ปุ่นให้ญี่ปุ่นเปิดประตูประเทศทำการค้าในปี ค.ศ. 1853