เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 18, 2024, 05:16:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลัทธิล่าอาณานิคม มหันตภัยของไทยทั้งชาติ (ประวัติศาสตร์ยุโรป)  (อ่าน 11481 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2006, 01:45:34 PM »

ต่อจากกระทู้ ลัทธิล่าอาณานิคม มหันตภัยของไทยทั้งชาติ
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php/topic,18937.0.html

เลื่อนเมาส์ไปที่รูปภาพหรือข้อความ เมื่อขึ้นเป็นรูปมือแล้วคลิ๊กเมาส์
จะลิงค์ไปที่เวปของ วิกิพีเดีย (WIKI PEDIA) เพื่ออ่านหรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 31, 2006, 12:10:44 PM โดย narongt » บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2006, 01:48:07 PM »

จักรวรรดินิยมใหม่ ค.ศ. 1875-1914

การแข่งขันล่าดินแดนฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก

ถึงแม้ว่าจะมีความเห็นแตกต่างกันมากในเรื่องเหตุผลของการเกิด "ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่"
รวมทั้งเรื่องความสำคัญของลัทธินี้ แต่เกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าอย่างน้อยที่สุดมีเหตุการณ์
สองประการที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายศตวรรษที่ 19 และช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 คือสัญญานของ
การเกิดลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ เหตุการณ์ทั้งสองเรื่องคือ

1. มีการแสวงหาอาณานิคมแบบใหม่ซึ่งมีความรวดเร็วในการครอบครองดินแดนสูง

2. จำนวนของมหาอำนาจอาณานิคมมีจำนวนเพิ่มขึ้น

การแสวงหาอาณานิคมแบบใหม่ การผนวกเอาดินแดนในช่วงนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากลัทธิล่าดินแดน
สมัยก่อนศตวรรษที่ 19 ส่วนในศตวรรษที่ 19 การผนวกดินแดนโพ้นทะเลของประเทศอื่นมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่
และส่วนใหญ่ต้องการเอาดินแดนที่ผนวกได้ ให้มีความมั่นคงเข้มแข็งโดยวิธีขยายดินแดนลึกเข้าไปบนตัวทวีป
และจัดการปกครองคนพื้นเมืองด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง จักรวรรดินิยมใหม่
เข้ายึดครองเกือบทั้งทวีปแอฟริกา เข้ายึดครองดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของเอเชีย และเกาะมากมายใน
มหาสมุทรแปซิฟิก การเสาะแสวงหาอาณานิคมครั้งใหม่ด้วยความจริงจังในช่วงนี้ แสดงให้เห็นจากข้อเท็จจริง
ที่อัตราของการเข้าครอบครองดินแดนแห่งใหม่ของจักรวรรดินิยมใหม่ มีเพิ่มเป็นเกือบสามเท่าของสมัยก่อนหน้านั้น
ดังนั้นดินแดนใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 75 ปีแรกของศตวรรษที่ 19 จะมีประมาณโดยเฉลี่ย 83,000 ตารางไมล์
(210,000 ตารางกิโลเมตร) ต่อปี เมื่อเปรียบกับตัวเลขนี้กับตัวเลขของมหาอำนาจอาณานิคมซึ่งได้ดินแดนเพิ่มขึ้น
โดยเฉลี่ยประมาณ 240,000 ตารางไมล์ (620,000 ตารางกิโลเมตร) ต่อปีระหว่างช่วงท้ายทศวรรษของปี
ค.ศ. 1870 ถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914-18)

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 ดินแดนใหม่ๆ ที่มหาอำนาจอาณานิคมได้มาทั้งหมดได้มาจากการทำสงคราม
ชนะการต่อสู้ด้วยกำลังทหารของชาวพื้นเมืองถูกปราบจนหมดสิ้น ดังนั้นในปี ค.ศ. 1914 ผลจากการล่าดินแดนครั้งใหม่
และครั้งใหญ่นี้มหาอำนาจอาณานิคมจึงมีฐานะสูงส่งยิ่งกว่าศตวรรษที่ผ่านมา อาณานิคมของมหาอำนาจครั้งใหม่และ
อาณานิคมเดิมรวมกันคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมดโลก การควบคุมทางเศรษฐกิจและการเมือง
โดยมหาอำนาจชั้นนำคลุมบริเวณเกือบทั้งโลก เพราะนอกเหนือไปจากการปกครองอาณานิคมโดยตรงแล้ว
มหาอำนาจอาณานิคมยังนำรูปแบบของอิทธิพลต่างๆ มาใช้ เช่น การทำสนธิสัญญาทางการค้าแบบพิเศษ
การครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยวิธีให้เงินกู้ยืมโดยมีหลักการอยู่ว่า ประเทศที่เป็นลูกหนี้ย่อมเกรงกลัวทุกเรื่อง
ที่ประเทศมหาอำนาจอาณานิคมให้เงินกู้ยืม ดังนั้นจึงมีบทบาทควบคุมประเทศ ที่ต้องการกู้ยืม


มหาอำนาจใหม่ออกล่าดินแดน

การออกล่าดินแดนอย่างเข้มงวดครั้งนี้แสดงออกมาให้เห็นว่า คลื่นลูกใหม่ปฏิบัติการยิ่งใหญ่กว่ามหาอำนาจอาณานิคม
ยุคเก่ารวมทั้งรัสเซีย นอกจากนั้นจักรวรรดินิยมใหม่ยังมีชาติใหม่ๆ เข้ามาร่วมวง มหาอำนาจใหม่ที่เข้ามาสมทบใน
วงการล่าดินแดนโพ้นทะเลในช่วงนี้ มี
เยอรมัน

สหรัฐ

เบลเยี่ยม

และ ญี่ปุ่น

สำหรับญี่ปุ่นนับว่าเป็นมหาอำนาจอาณานิคมชาติแรกของเอเชียที่วัดรอยเท้าจักรวรรดินิยมตะวันตก
ความจริงมหาอำนาจนักล่าดินแดนมากมายหลายชาติในช่วงนี้เกิดขึ้นมาในช่วงเวลาสั้นๆ จึงเร่งจังหวะ
การเสาะแสวงหาดินแดน พื้นที่ว่างเปล่าเหมาะต่อการตั้งนิคมของนักล่าในช่วงนี้มีจำกัด เพราะส่วนใหญ่
มหาอำนาจอาณานิคมยุคก่อนครอบครองไว้จนหมดสิ้น ดังนั้นมหาอำนาจอาณานิคมที่เพิ่มขึ้นมาใหม่
และต่างเสาะแสวงหาดินแดนในเวลาพร้อมๆ กันจึงต้องเร่งรีบความสำเร็จเป็นของผู้มีความเร็วสูงกว่า
การแข่งขันระหว่างประเทศนักล่าดินแดนช่วงนี้จึงก้าวหน้าสูงสุด ส่งผลให้มีการกีดกันดินแดน
ไม่ให้คู่แข่งขันเข้าไปยึดครอง ในเวลาเดียวกันก็พยายามเข้าไปครอบครอง ดินแดนที่มีประโยชน์
สำหรับการป้องกันทางทหารของจักรวรรดินิยมเดิม ไม่ให้คู่แข่งขันรุกล้ำเข้ามา

ผลกระทบจากการแข่งขันแย่งชิงดินแดนระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมครั้งใหม่ แสดงให้เห็นกรณีของเกรทบริเตน

http://en.wikipedia.org/wiki/Evolution_of_the_British_Empire
การมีเศรษฐกิจยิ่งใหญ่จากภาคอุตสาหกรรมการค้า และการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้ง
การมีแสนยานุภาพทางทะเลยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดช่วงศตวรรษที่ 19 ทำให้ เกรทบริเตน ในช่วงนี้
หยุดพักผ่อนการหาอาณานิคมแห่งใหม่มาเพิ่มเติม ในขณะเดียวกันเกรทบริเตนทุ่มเทความพยายาม
สร้างจักรวรรดิที่มีอยู่ในมือให้เข้มแข็ง และพยายามสร้างจักรวรรดิที่ไม่ใช่รูปแบบ (ไม่มีอาณานิคม) ขึ้นมา
แต่การท้าทายจากการสร้างจักรวรรดิหน้าใหม่ซึ่งมีอำนาจทางทะเลมาสนับสนุน ทำให้อังกฤษต้องการ
ขยายจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลของตนออกไปให้กว้างขวาง เมื่อดินแดนมีให้ล่าน้อยลงไป
มหาอำนาจมีกำลังน้อยกว่าจึงกระตุ้นเตือนให้มหาอำนาจมีกำลังมากกว่า แก้ไขความไม่เท่าเทียมกัน
ในเรื่องขนาดของจักรวรรดิ โดยให้แบ่งโลกของอาณานิคมใหม่ การต่อสู้เพื่อชิงดินแดนและเพื่อแบ่งปัน
ดินแดนกันใหม่ ทำให้เกิดสงครามระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมเพิ่มมากขึ้น การดำเนินงานทางการทูต
เพิ่มความเข้มมากขึ้น

ประเทศอุตสาหกรรมใหม่

ควบคู่กันกับการมีมหาอำนาจหน้าใหม่ซึ่งต้องการมีที่อยู่ในโลกของอาณานิคมและการแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น
ระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมที่มีอยู่เดิม มีประเทศอุตสาหกรรมหน้าใหม่มีความสามารถต้องการแข่งขันกับอังกฤษ
ซึ่งเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการเงิน และการค้าของโลกในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เศรษฐกิจของอังกฤษ
อยู่สูงกว่าคู่แข่งสุดขอบฟ้า แต่พอถึงไตรมาสสุดท้ายขอศตวรรษนั้น อังกฤษต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งขันสำคัญ
ซึ่งต้องการส่วนแบ่งมากขึ้นในตลาดการค้าและการเงินของโลก ประเทศเหล่านี้ ปฏิวัติอุตสาหกรรม อย่างจริงจัง
จนมีความมั่นคงพอเผชิญหน้ากับอังกฤษ

ยิ่งไปกว่านั้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของช่วงท้ายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้ศักยภาพ
ในการแข่งขันของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ก้าวหน้า ข้อได้เปรียบของอังกฤษในเรื่องเป็นผู้บุกเบิกเริ่มต้น
สร้างอุตสาหกรรมก่อนประเทศอื่นสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก ลดความสำคัญลงไปมากมาย เมื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
และแหล่งพลังงานของยุคที่เรียกว่า ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองเริ่มเข้ามามีความสำคัญเหนือวงการอุตสาหกรรม
ผู้เริ่มต้นช้ากว่าแต่ได้ย่อยเอาผลดีของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก บัดนี้พละกำลังทางด้านอุตสาหกรรมไม่แพ้อังกฤษ
ประเทศเหล่านี้เริ่มต้นจากฐานเดียวกันในการหาผลประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง อุตสาหกรรมใหม่
ในช่วงนี้มีลักษณะโครงสร้างสำคัญ คือ การผลิตเหล็กกล้าครั้งละมากๆ ใช้พลังไฟฟ้า และน้ำมันเป็นแหล่งพลังงาน
มีการสร้างอุตสาหกรรมเคมีและเครื่องยนต์สันดาปภายใน การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง แผ่คลุมอยู่เหนือยุโรปตะวันตก
สหรัฐและในที่สุดแผ่ขยายมาคลุมถึงญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศอุตสาหกรรมใหม่เหล่านี้ จึงมีนโยบายจักรวรรดิเช่นเดียวกับอังกฤษ
สมัยอังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก อังกฤษได้แสดงเป็นตัวอย่างให้เห็นมาก่อนว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกของตน
ทำให้อังกฤษมีอาณานิคมทั่วโลก มีเศรษฐกิจและมีกำลังทหารโดยเฉพาะอำนาจทางทะเลยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้น
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ดังกล่าว ประเทศเหล่านี้จึงกลายเป็นนักล่าอาณานิคมหน้าใหม่
เข้ามาแข่งขันกับอังกฤษและขอส่วนแบ่งผลประโยชน์จากอังกฤษ ช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20
อังกฤษนักล่าดินแดนหน้าเก่า มีจักรวรรดิโพ้นทะเลทั่วโลกสมัยยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก จึงต้องเผชิญหน้าประเทศ
อุตสาหกรรมหน้าใหม่และเป็นนักล่าอาณานิคมหน้าใหม่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองด้วยความเข้มข้น จนระเบิดออกมาเป็น
สงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกครั้งแรก คือ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1914

เศรษฐกิจโลก

เพื่อให้การสร้างอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อุตสาหกรรมใหม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง นักอุตสาหกรรมใหม่
จึงสนับสนุนการสร้างตลาดเงินทุน และสถาบันธนาคารและการเงินขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องมากพอในการจัดหา
เงินทุนให้กับอุตสาหกรรมใหม่ ในเรื่องนี้ตลาดเงินทุนขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมผลักดันให้ประเทศอุตสาหกรรมใหม่
หาตลาดทั่วโลก ตอนนี้จึงมีเงินทุนมากขึ้นสำหรับการกู้ยืมและลงทุน ธุรกิจขนาดใหญ่มีทรัพยากรสำหรับการค้นหา
ตลาดทั่วโลก และมีทรัพยากรมากพอ สำหรับพัฒนาวัตถุดิบที่จำเป็นต่อความสำเร็จและความมั่นคงของการลงทุน
ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ไม่เพียงแต่ต้องการวัตถุดิบที่จำเป็นต่อความสำเร็จและความมั่นคงของการลงทุนเท่านั้น
แต่ยังต้องการอาหารสำหรับผู้คนภายในเมือง ซึ่งบัดนี้สังคมเมืองขยายตัวกว้างไกลออกไปเพราะการสร้างอุตสาหกรรม
ทั้งวัตถุดิบและอาหารต้องหาจากบริเวณไกลออกไปจากประเทศอุตสาหกรรม ความก้าวหน้าของการสร้างเรือ
ให้สามารถขนวัตถุดิบและอาหารจากระยะทางไกลโพ้นทะเลมายังประเทศอุตสาหกรรมได้ในราคาถูกๆ ภายใต้แรงกดดัน
และโอกาสในช่วงทศวรรษท้ายๆ ของศตวรรษที่ 19 ดินแดนทั่วโลกกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับประเทศอุตสาหกรรม
บริเวณต่างๆ ของโลกที่เคยมีอดีต อันมีเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตัวเองอยู่ในสังคมเช่นนั้น บัดนี้สูญหายไป
กลายเป็นสังคมที่ฝากโชคชะตาไว้กับเศรษฐกิจโลก
ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแบ่งแรงงานระหว่างประเทศ
ซึ่งประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำเป็นผู้ผลิตสินค้าและจำหน่ายสินค้าที่ผลิตได้ไปทุกบริเวณของโลก และทุกบริเวณของโลก
เป็นผู้ขายวัตถุดิบและอาหารให้กับประเทศอุตสาหกรรม นี่คือภาพรวมของเศรษฐกิจโลกนับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ครั้งที่สองเป้นต้นมา

ลัทธิทหาร

ความซับซ้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่เกิดมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
หรืออุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งเรื่องการค้าของโลกขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้การแข่งขันทางการค้า
เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น เช่น มีการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าไว้สูง รวมทั้งการแข่งขันการสร้างความเข้มแข็งทางทหาร
ในเรื่องทางทหารที่มีความสำคัญเป็นพิเศษคือ การแข่งขันกันสร้างแสนยานุภาพทางทะเล ซึ่งพบความสำเร็จ
เพราะมีการสร้างเรือรบแบบใหม่ๆ ขับเคลื่อนด้วยไอน้ำ มีเกราะหุ้มและติดอาวุธปืนที่สามารถยิงผ่านเกราะหุ้ม
ก่อนที่เทคโนโลยีใหม่นี้จะได้รับการพัฒนาขึ้นมา ความเหนือกว่าของกำลังทางทะเลของอังกฤษ ยิ่งใหญ่จน
ไม่มีประเทศใดในโลกทำลายได้ แต่เป็นเพราะช่วงนั้นเกรทบริเตนต้องสร้างกองทัพเรือแบบใหม่โดยสิ้นเชิง
ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งมีขีดความสามารถทางด้านอุตสาหกรรม เมื่อทุ่มเททรัพยากรสร้างเรือรบ
มีเทคโนโลยีสูงเเช่นนั้น ย่อมเป็นภัยคุกคามความยิ่งใหญ่ทางทะเลของอังกฤษ

ลัทธิทหารแบบใหม่และความเข้มของการแข่งขันกันหาอาณานิคม เป็นสัญญานเตือนให้รู้ว่าสภาพที่ค่อนข้างสงบสุข
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 กำลังสิ้นสุดลง ข้อขัดแย้งปัญหาเอาทวีปแอฟริกาทั้งทวีปมาแบ่งกัน
สงครามแอฟริกาใต้(สงครามบัวร์), สงครามจีน-ญี่ปุ่น, สงครามสเปน-สหรัฐ, และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
สงครามเหล่านี้แสดงว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ เปิดศักราชใหม่ซึ่งใช่อะไรอื่นนอกจากเพื่อ "สันติภาพ"

นอกจากนั้นลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ยังแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่มีมาช้านานก่อนหน้านั้น ได้ก่อความรุนแรง
เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่นการที่สหรัฐตัดสินใจทำสงครามกับสเปน แยกไม่ออกจากเรื่องที่สหรัฐต้องการดินแดน
ในแคริบเบียนและแปซิฟิกมาช้านานแล้ว การรบชนะสเปนและการปราบการปฏิวัติเพื่ออิสระภาพในคิวบาและ
ฟิลิปปินส์ในที่สุด ทำให้สหรัฐมีความเข้มแข็งมากขึ้น บัดนี้สหรัฐกลายเป็นมหาอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในแคริบเบียน
และเปิดประตูไปสู่การสาะแสวงหาอิทธิพลมากขึ้นในดินแดนทุกประเทศของลาตินอเมริกา การครอบครองฟิลิปปินส์
ทำให้สหรัฐมีผลประโยชน์ทางการค้าของแปซิฟิก ดังที่สหรัฐให้ความสนใจฮาวายมานาน

และในที่สุดก็ผนวกฮาวายเป็นดินแดนของสหรัฐ ในปี ค.ศ. 1898 ความสนใจของสหรัฐในตะวันออก
ยังแสดงออกมาให้เห็นโดยการส่งนายพลจัตวา แมทธิว เปอร์รี่

นำเรือรบไปข่มขู่ญี่ปุ่นให้ญี่ปุ่นเปิดประตูประเทศทำการค้าในปี ค.ศ. 1853
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2006, 07:54:03 PM โดย narongt » บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2006, 12:05:51 AM »

การแสวงหาดินแดนของตะวันตกในเอเชียยุคจักรวรรดินิยมใหม่

การขยายดินแดนไปทางตะวันออกของรัสเซีย

ในช่วงท้ายศตวรรษที่ 19 ประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นขยายอิทธิพลและควบคุมตลอดทั่วทวีปเอเชีย
รัสเซีย

เป็นประเทศเดียวของยุโรปที่ขยายตัวเข้ามาพิชิตดินแดนของเอเชียทางภาคพื้นดิน แทนที่จะใช้เส้นทางทะเล
เหมือนมหาอำนาจตะวันตกทุกประเทศ ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์ของที่ตั้งตัวประเทศของรัสเซีย ซึ่งมีเขตแดน
ติดต่อกับเอเชียทางตะวันออก ในแง่นี้มีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างระหว่างรัสเซียกับสหรัฐ ในการขยายดินแดน
ออกไปข้างนอกจนเลยเขตทวีปของตน แต่ก็มีความแตกต่างกันมากระหว่างรัสเซียกับสหรัฐกล่าวคือ
การขยายดินแดนของสหรัฐทำให้ ชาวอินเดียนแดง ซึ่งเป็นคนท้องถิ่นเดิมต้องพลัดถิ่นและล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
ชาวอินเดียนแดงที่ยังเหลืออยู่ต้องไปอยู่ในเขตสงวนเฉพาะ ตรงกันข้าม การขยายดินแดนของรัสเซียข้ามเขตยุโรปเข้ามา
ยังเอเชียทำให้เกิดการรวมตัวกันทางวัฒนธรรมและสังคมของชาวท้องถิ่นเดิมกับชาวรัสเซียและเป็นอาณานิคมจริงๆ
ของจักรวรรดิรัสเซีย ในขณะเดียวกัน มีพื้นที่มากพอรองรับการเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวรัสเซีย

ถึงแม้ว่าการพิชิตไซบีเรีย

และการเข้าถึงแปซิฟิกจะเป็นที่สนใจทางด้านทหารของรัสเซียมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 16 แล้ว แต่การเข้าครอบครอง
ดินแดนในเอเชียเพิ่มขึ้นและการรวมกันทางเศรษฐกิจกับดินแดนที่ยึดครองไว้ตั้งแต่สมัยก่อน เป็นการเปลี่ยนแปลง
ครั้งใหม่ของรัสเซียในศตวรรษที่ 19 สมัยก่อนอิทธิพลของรัสเซียในดินแดนที่ยึดครองไว้มีอยู่อย่างจำกัด โดยที่รัสเซีย
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรที่มีอยู่ภายใต้การยึดครองของตนได้
นอกเหนือไปจากสิ่งของที่แย่งชิงมาและบรรณาการจากเผ่าต่างๆ ที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซีย
เป้าหมายสำคัญของรัสเซียในดินแดนเอเชียที่รัสเซียเข้าไปครอบครองในช่วงนั้น คือเรื่องการค้าหนัง ขนสัตว์
การเพิ่มการค้ากับจีนและในแปซิฟิกให้มากยิ่งขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงสังคมของรัสเซียในศตวรรษที่ 19
โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามไครเมีย (ปี ค.ศ. 1853-1856)

เป็นสัญญานว่า สังคมของรัสเซียเปลี่ยนโฉมหน้าไป ทั้งนี้เป็นเพราะประการแรก การแพ้สงครามในครั้งนั้น
เป็นการทำลายความหวังของ รัสเซียในการเข้าไปครอบครองในบริเวณบอลข่านและตะวันออกใกล้

แต่เนื่องจากความทะเยอทะยานและกำลังทางทหารของรัสเซียยังมีอยู่ พลังของการขยายดินแดนจึงหันไปพิชิต
ดินแดนในเอเชีย ด้านที่ติดอยู่กับรัสเซีย ประการที่สอง การเลิกทาสของรัสเซียในปี 1861 เป็นการล้มเลิกระบอบศักดินา
ชาวนามีที่ดินน้อย เป็นอิสระไม่เป็นทาสของเจ้าที่ดินขนาดใหญ่อีกต่อไป เรื่องนี้ทำให้ชาวรัสเซีย และยูเครน

จำนวนมากอพยพหลั่งไหลเข้ามายังเอเชีย ครั้งแรกเข้าไปอยู่ในไซบีเรีย ต่อมาจึงเข้าไปอยู่ในเอเชียกลาง
ประการที่สาม การเร่งรีบสร้างอุตสาหกรรม การค้าต่างประเทศ และการสร้างเส้นทางรถไฟในช่วงหลัง
สงครามไครเมีย เป็นการปูทางให้เอเชียของรัสเซียรวมตัวกัน ซึ่งก่อนหน้านั้นเอเชียของรัสเซีย
ประกอบด้วยอาณานิคมของรัสเซีย ซึ่งแยกกันอยู่ไม่ได้รวมตัวเป็นหน่วยเดียวกันจากการรวมตัวกัน
ในบริเวณหลายแห่งในเอเชียของรัสเซีย โดยเฉพาะในเอเชียกลาง ในบริเวณนี้สังคมของผู้ถูกพิชิต
ถูกเปลี่ยนเป็น "อาณานิคม" ให้มีความเหมาะต่อความจำเป็นทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของผู้พิชิต

กระบวนการล่าดินแดนและเข้าไปปักหลักอย่างมั่นคงในเอเชียของรัสเซียเช่นนี้ ขยายตัวออกไปทั้ง 4 ทิศทาง คือใน
ไซบีเรีย ตะวันออกไกล คอเคซัส และเอเชียกลาง การล่าดินแดนเพื่อสร้างจักรวรรดิของพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียเช่นนี้

นอกจากเพื่อสร้างจักรวรรดิให้กว้างใหญ่ ยังเพื่อหาทางมีท่าเรือด้านแปซิฟิก กระบวนการเช่นนี้ของรัสเซียต้องพบกับ
การปะทะและขัดแย้งจำนวนมากมาย ขณะที่ออกเดินทางไปพิชิต ในที่สุดการขยายดินแดนของรัสเซียถูกจำกัด
ไม่ใช่จากการต่อต้านอย่างรุนแรงดุร้ายของชาวพื้นเมืองซึ่งขณะนั้นมีเพียงชนเผ่ากลุ่มเล็กๆ ตั้งอยู่กระจัดกระจาย
แต่เกิดจากแรงต้านของนักสร้างจักรวรรดิคู่แข่งขัน เช่น เกรทบริเตนและญี่ปุ่น ทั้งเกรทบริเตนและรัสเซียต่างก็ตกใจ
เมื่อพบว่า ระยะทางระหว่างแนวเขตแดนรัสเซียที่ขยายออกไป กับระยะทางที่จะมายังอินเดียมีระยะทางสั้นยิ่งขึ้น
ในที่สุดจุดที่หนึ่งของความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศแก้ไขได้ เมื่อทั้งสองมหาอำนาจตกกลงกำหนดแนวเขตแดน
ทางด้านเหนือของอัฟกานิสถาน

จุดที่สองของความขัดแย้งอยู่ที่บริเวณเอเชียกลาง ปัญหานี้ทั้งสองมหาอำนาจตกลงกันโดยจัดทำ
สนธิสัญญาอังกฤษ-รัสเซีย ปี ค.ศ. 1907 โดยแบ่งเปอร์เซียออกเป็นสองเขตอิทธิพลคงให้เปอร์เซีย

เป็นประเทศเอกราชแต่เพียงในนามเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เปอร์เซียเป็นประเทศกันชนระหว่าง
อังกฤษกับรัสเซียในเอเชียกลาง

เช่นเดียวกับกรณีของอัฟกานิสถานและเปอร์เซีย กล่าวคือการขยายดินแดนของรัสเซียเข้าไปในเขตแดนของจีน
ทำให้เกิดการปะทะและขัดแย้ง จากทั้งรัฐบาลจีนและมหาอำนาจอาณานิคมประเทศอื่นๆ ในช่วงหนึ่งขณะที่จีน
กำลังยุ่งอยู่กับการต่อสู้มหาอำนาจประเทศอื่นๆ ที่บุกรุกเข้ามาในเขตแดนของจีน จึงเปิดทางให้รัสเซียแทรกเข้าไป
ในดินแดนของจีนได้โดยง่าย ในปี ค.ศ. 1860 เมื่อทหารอังกฤษ-ฝรั่งเศส บุกเข้าถึงปักกิ่ง รัสเซียจึงสามารถเอา
มณฑลอามูร์จากจีน

และมีสิทธิพิเศษอยู่ใน แมนจูเรีย ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำอามูร์ จากจุดนี้รัสเซียใช้เป็นฐานสำหรับเข้าไป
ยึดครองบริเวณชายฝั่งทางเหนือของเกาหลี แล้วจัดตั้งเมืองขึ้นที่ วลาดิวอสตอค

แต่เนื่องจากอ่าวที่วลาดิวอสตอคเป็นน้ำแข็งในช่วงปีหนึ่งนาน 4 เดือน ไม่เหมาะสำหรับการตั้งฐานทัพเรือ รัสเซียจึง
เริ่มต้นสนใจการเข้าไปครอบครองบริเวณชายฝั่งทะเลของเกาหลี ซึ่งอาจพบบริเวณอ่าวเหมาะต่อการตั้งฐานทัพเรือ
ความพยายามของรัสเซียที่จะเข้าไปในเกาหลีรวมทั้งความพยายามจะเข้าไปครอบครองแมนจูเรียไว้ทั้งหมด
รัสเซียต้องพบกับการต่อต้านจากทั้งอังกฤษและญี่ปุ่น ในที่สุดการบุกรุกเข้าไปในดินแดนของจีน เลยบริเวณอามูร์
และมณฑลติดชายฝั่งทะเลของจีนต้องหยุดชะงัก เมื่อรัสเซียแพ้สงคราม รัสเซีย-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1905
บันทึกการเข้า
nick
Hero Member
*****

คะแนน 12
ออฟไลน์

กระทู้: 1587


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2006, 12:26:45 AM »

ขอบคุณครับ  ดีครับชอบอ่านครับ
บันทึกการเข้า
sutin999
ส วั ส ดี ทุ ก ค น ค รั บ
Hero Member
*****

คะแนน 6
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1486


พร้อมทุกที่ มีดีทุกครั้ง


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2006, 01:34:02 AM »

ตอนนี้ไทยก็กำลังถูกล่าอนานิคมอยู่ครับ

สิงคโปร์ มีพื้นที่ทั่วโลกมากกว่าประเทศไทยแล้วครับ Angry
บันทึกการเข้า

                                    ศัตรูของศัตรูข้า คือมิตรข้า                                                                
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2006, 03:35:12 PM »

การแบ่งประเทศจีน

วิวัฒนาการเรื่องการเข้ามาครอบครองดินแดนในเอเชียของประเทศมหาอำนาจอาณานิคม
เป็นธรรมดาอยู่เองที่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายเรื่อง เช่น สภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ
ของประเทศนักล่าดินแดน กลยุทธ์ของเจ้าหน้าที่ทหารของประเทศนักล่าดินแดน ปัญหาที่เผชิญหน้ากับ
ผู้ปกครองอาณานิคมในแต่ละท้องถิ่น แรงกดดันจากชาวผิวขาวและนักธุรกิจในอาณานิคม รวมทั้งเรื่อง
ความกดดัน เรื่องขีดจำกัดของทรัพยากรทางเศรษฐกิจและทางทหารของมหาอำนาจจักรวรรดินิยม
องค์ประกอบเหล่านี้เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยในทุกขั้นตอนของการขยายดินแดนในอาณานิคมให้กว้างไกล
ออกไปอีกของดัทช์ในอินโดนีเซีย ฝรั่งเศสในอินโดจีน และอังกฤษในมาลายา พม่า และ บอร์เนียว

อย่างไรก็ดี แม้จะมีอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ตามที่กล่าวมา แต่โดยทั่วๆไปแล้วการล่าดินแดนแบ่งออก
ได้สามประเภท ประเภทหนึ่งในบรรดาทั้งสามประเภท เป็นการขยายดินแดนเพื่อปราบปรามการต่อต้านของ
ชาวพื้นเมือง ซึ่งต่อต้านการปกครองของต่างชาติ การต่อต้านของชาวพื้นเมือง อาจมีหลายรูปแบบ
ตั้งแต่ทำการก่อขบถอย่างเปิดเผยจนถึงการลอบทำลายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในอาณานิคม
ทั้งสองเรื่องนี้มักจะเกิดขึ้นมากที่สุดในบริเวณชายแดนห่างไกลจากศูนย์กลางของมหาอำนาจอาณานิคม
กาขยายการควบคุมทางทหารไปยังบริเวณชายแดน มักจะทำให้เกิดความกลัวและเกิดการขัดขวางจาก
ประเทศหรือชนเผ่าที่ตั้งอยู่ติดกับชายแดนแห่งนั้น การแก้ปัญหานี้ มหาอำนาจอาณานิคมจึงขยายดินแดน
ออกไปอีก ดังนั้น ความพยายามทำให้เกิดความมั่นคงทางทหาร จึงต้องขยายเขตแดนออกไปอีกรวมทั้ง
ผนวกเอาประเทศที่ตั้งอยู่ติดกับชายแดนแห่งนั้นเข้ามาเพิ่มให้กับอาณานิคมเดิม

การขยายดินแดนแบบที่สอง เป็นการตอบสนองให้ตรงกับโอกาสทางเศรษฐกิจที่จะได้จากการเข้าไปครอบครอง
ดินแดนที่อยู่ลึกเข้าไปจากบริเวณเดิม การค้าแบบเก่าแก่และกำลังทางตลาดในอเชียไม่ทำให้ได้วัตถุดิบและ
อาหารมากพอ หรือเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ตามที่มหาอำนาจอุตสาหกรรม นักล่าอาณานิคมต้องการ
ด้วยเหตุนี้ การสร้างอุตสาหกรรมและเงินทุนจากต่างประเทศจึงเป็นเรื่องจำเป็น การทำเหมืองและการเพาะปลูก
ต้องจัดการใหม่ แรงงานต้องมีมากพอและสร้างเศรษฐกิจการเงินขึ้น เรื่องทั้งหมดนี้เป็นสิ่งแปลกประหลาดของเอเชีย
ดังนั้นวิธีปฏิบัติให้ได้ผลดีที่สุดเพื่อจุดมุ่งหมายดังกล่าว ต้องควบคุมอาณานิคมที่ขยายเพิ่มขึ้นด้วยความเข้มงวดกวดขัน
เอากฏหมายและระเบียบของผู้พิชิตมาใช้บังคับ

การขยายดินแดนแบบที่สาม เป็นผลมาจากการแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจอาณานิคม เมื่อใดมีโอกาส
จะหาดินแดนใหม่ หรือขยายเขตแดนของอาณานิคมเดิมออกไปอีกเพื่อป้องกันการเข้ามายึดครองของคู่แข่งขัน
หรือใช้เป็นกันชน เพื่อความมั่นคงทางทหารต่อต้านการขยายดินแดนของมหาอำนาจอาณานิคมที่มีอาณานิคม
อยู่ใกล้ๆ ดินแดนใดที่มหาอำนาจอาณานิคมชาติหนึ่งเข้าไปยึดครองดินแดนนั้นได้แต่ผู้เดียว มหาอำนาจต่างๆ
ก็หันหน้ามาตกลงกันแบ่งดินแดนแห่งนั้นจัดแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างกัน จัดทำสนธิสัญญาการค้าแบบไม่เสมอภาค
กับดินแดนแห่งนั้น ในขณะที่ประเทศที่ถูกจัดการเช่นนั้นคงมีอิสรภาพแต่เพียงในนาม

การเข้าไปจัดการจีน

ของมหาอำนาจอาณานิคม คือตัวอย่างดีมากของการขยายตัวแบบนี้ในช่วงศตวรรษที่ 19 บริเวณภาคกลาง
ของเอเชียตะวันออก (ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน) มีประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรของเอเชียทั้งหมด
แต่ยังได้รับผลกระทบจากการแทรกแซงจากตะวันตกเพียงเล็กน้อย พอถึงช่วงสิ้นศตวรรษนั้น
เกาหลี

ถูกผนวกโดยนักจักรวรรดินิยมแห่งเอเชียรายแรก คือ ญี่ปุ่น ซึ่งวัดรอยเท้ามหาอำนาจตะวันตก จนกลายเป็น
ประเทศมหาอำนาจจักรวรรดินิยมชั้นนำ ขณะนั้นจีนคงมีอิสรภาพทางการเมืองแม้จะได้รับการครอบงำ
อย่างกว้างขวางจากมหาอำนาจภายนอก การแข่งขันกันอย่างรุนแรงระหว่างมหาอำนาจอาณานิคมตะวันตก
ช่วยให้จีนปลอดภัยจากการถูกยึดครองทันที (เหมือนอย่างอินเดียตกเป็นเหยื่อมาแล้ว) จีนถูกกดดันรอบด้าน
เพราะมหาอำนาจแข่งขันหาผลประโยชน์ทางการค้าและหาดินแดนจากจีน คือ จากรัสเซียทางเหนือ,
เกรทบริเตน (โดยผ่านทางอินเดียและพม่า) จากทางใต้และตะวันตก, ฝรั่งเศส (ผ่านทางอินโดจีน) จากทางใต้,
ญี่ปุ่นและสหรัฐ (ส่วนหนึ่งจากทางฟิลิปปินส์) จากทางตะวันออก

สงครามฝิ่น

ช่วงแรกของการเข้าไปแย่งชิงดินแดนของจีน โดยจักรวรรดินิยมตะวันตกมาในรูปของ สงครามฝิ่น สองครั้ง
เกรทบริเตนเคยซื้อชาจากจีนเพิ่มขึ้น แต่มีสินค้าอยู่บางรายการที่จีนต้องการซื้อจากเกรทบริเตนโดยวิธีแลกเปลี่ยนสินค้า
ในที่สุดเงินที่อังกฤษจ่ายสำหรับการซิ้อชาจากจีนก็หยุดเมื่ออังกฤษเข้าครอบครองอินเดีย เมื่อพ่อค้าอังกฤษควบคุม
การค้าระหว่างประเทศของอินเดีย และศูนย์กลางของการค้าอยู่ที่ลอนดอน จึงมีระบบแลกเปลี่ยนการค้าสามทางเกิดขึ้น
กล่าวคือ ชาที่อังกฤษนำมาจากจีน อังกฤษเอามาจ่ายค่าฝิ่นและฝ้ายของอินเดียแล้วนำไปจำหน่ายให้กับจีน เนื่องจาก
ในอังกฤษความต้องการชามีมากขึ้น พ่อค้าอังกฤษจึงส่งฝิ่นและฝ้ายจากอินเดียไปจำหน่ายให้จีนเพื่อหากำไร แลกชา
กับจีน แลกชากับจีนเอาไปหากำไรอีกต่อหนึ่งในอังกฤษ

เมื่อชาวจีนติดฝิ่นมากยิ่งขึ้น การส่งฝิ่นเข้าไปในจีนก็เพิ่มมากขึ้น จนจีนเสียดุลการค้ากับอังกฤษมากมาย
กอร์ปกับร่างกายและจิตใจของผู้ติดฝิ่นทรุดโทรม เจ้าหน้าที่ของจีนจึงห้ามการค้าฝิ่นในตอนแรกเรื่องนี้
สร้างความยุ่งยากให้กับพ่อค้าอังกฤษอยู่บ้าง พ่อค้าอังกฤษหันไปใช้วิธีลักลอบเอาฝิ่นเข้าไปจำหน่ายในจีนต่อไป
แต่เมื่อทางจีนเข้าเข้มงวดกวดขันเรื่องการค้าฝิ่นมากขึ้น ในช่วงท้ายๆ ทศวรรษของปี ค.ศ. 1830 เจ้าหน้าที่จีน
เข้ายึดริบสถานที่เก็บฝิ่นและปิดโรงยาฝิ่น นอกจากนั้นพ่อค้าอังกฤษยังพบปัญหาหนักตามมา
เมื่อจีนจำกัดการค้าทั้งหมดของชาวต่างชาติไว้แค่ให้อยู่ที่ท่าเรือกวางตุ้งเท่านั้น
http://en.wikipedia.org/wiki/First_Opium_War

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1840 กองเรือรบอังกฤษเดินทางมาถึงปากแม่น้ำกวางตุ้ง

แล้วเริ่มต้นสงครามฝิ่น ในปี ค.ศ. 1842 ภายหลังกองเรือรบของอังกฤษเดินทางมาถึงแยงซี

จีนยอมจำนนเมืองเซี่ยงไฮ้แตก

เมืองนานกิง

อยู่ใต้กระบอกปืนของอังกฤษ ผลของการทำสงครามฝิ่นครั้งนี้จีนต้องลงนาม สนธิสัญญาแห่งนานกิง กับอังกฤษ

เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่จีนต้องทำสัญญาการค้าเช่นนี้ต่อจากนั้นมาอีกหลายฉบับสนธิสัญญานานกิงนั้นระบุว่า

1. จีนยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ

2. เปิดเมืองท่า 5 แห่ง ซึ่งอังกฤษมีสิทธิเข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้า
3. สิทธิของคนเชื้อชาติอังกฤษในจีน เมื่อถูกกล่าวหากระทำความผิดทางอาชญากรรมต้องพิจารณาคดีในศาลอังกฤษ
4. กำหนดอัตราภาษีนำเข้าและส่งออกในอัตราปานกลาง

ประเทศอื่นๆ ในไม่ช้าก็ฉกฉวยโอกาสจากการเปิดประตูเมืองจีนด้วยกำลังของอังกฤษในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี
หลังจากนั้น สนธิสัญญาในลักษณะคล้ายคลึงกันกับสนธิสํญญาฉบับนี้ จีนต้องลงนามกับสหรัฐ ฝรั่งเศส และรัสเซีย

อย่างไรก็ดี จีนพยายามรักษาอิสรภาพบางอย่างของตนไว้ โดยห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติเข้าไปในบริเวณส่วนลึกของประเทศ
สถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศยังคงไม่บุบสลาย ตลาดสำหรับสินค้าของตะวันตก เช่น เสื้อผ้าและเครื่องจักร
ไม่ดีพอสำหรับมหาอำนาจตะวันตก ชุมชนแบบมีความเพียงพออยู่ในตัวเองของจีนไม่พังทลายตัวเหมือนอย่างในประเทศอินเดีย
ภายใต้การปกครองโดยตรงของอังกฤษ พ่อค้าอังกฤษคงลักลอบค้าฝิ่นเถื่อนให้จีนต่อไป พ่อค้าชาติตะวันตก
พยายามแก้ไขตลาดในจีนให้ดีขึ้น แต่ในขณะที่จีนอ่อนแอพร้อมกับถูกแรงกดดันจากการแทรกแซงของ
ต่างประเทศขณะนั้นจีนพบปัญหาหนัก เพราะชาวนาก่อขบถ โดยเฉพาะการขบถครั้งใหญ่เป็นเวลานาน 14 ปี
ของ ขบถไต้ผิง ในช่วงปี ค.ศ. 1850-1864

มหาอำนาจตะวันตกฉวยโอกาสจากความยุ่งยากของจีนในช่วงนี้ กดดันให้จีนทำสนธสัญญาการค้าเสียเปรียบยิ่งขึ้น
เรื่องนี้จึงลงเอยด้วยฝรั่งเศสกับอังกฤษต้องทำสงครามกับจีนในปี ค.ศ. 1856-1860 เป็นการทำสงครามกับ
มหาอำนาจตะวันตกครั้งที่สองของจีน มหาอำนาจตะวันตกรุกรานจีนครั้งนี้ด้วยจุดหมายใหญ่สองเรื่อง คือ
เพิ่มแรงกดดันในการจัดทำสนธสัญญาการค้าฉบับใหม่กับจีน และร่วมกับจีนปราบขบถไต้ผิง เพราะมีความเห็นว่า
ถ้าหากพวกไต้ผิงเป็นฝ่ายชนะ ย่อมมีการปฏิรูปจีนย่อมมีความเข้มแข็งต่อต้านการรุกรานของตะวันตกมากยิ่งขึ้น
การแพ้สงครามกับตะวันตกเป็นครั้งที่สอง จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาอีกหลายฉบับกับ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย
และสหรัฐ ที่เมืองเทียนสิน

จากสนธิสัญญาฉบับนี้ ทำให้โลกตะวันตกเข้าไปแทรกแซงกิจการของจีนได้ลึกยิ่งขึ้น นอกจากเรื่องอื่นๆ แล้ว
สนธิสัญญาเทียนสิน ยังให้สิทธิชาวต่างชาติเดินทางเข้าไปในดินแดนส่วนลึกของประเทศ ให้สิทธิเรือต่างชาติ
ทำการค้าและลาดตระเวณบนแม่น้ำแยงซี ให้จีนเปิดเมืองท่ามากขึ้นและเพิ่มอำนาจการพิจารณคดี
ให้มหาอำนาจตะวันตกเป็นผู้พิจารณาคดี เมื่อบุคคลมีเชื้อชาติของตนที่อาศัยอยู่ในจีนกระทำความผิด
โดยลำพังแต่ฝ่ายเดียว

อภิสิทธิ์ของต่างชาติในจีน

สนธิสัญญาดังกล่าว จีนยังต้องให้อภิสิทธิ์แก่ชาวต่างชาติ นอกจากนั้นประเทศตะวันตกเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งรวมทั้ง เยอรมัน อิตาลี เดนมาร์ก ดัทช์ สเปน เบลเยี่ยม และออสเตรีย-ฮังการี ฉวยโอกาสครั้งใหม่นี้
เข้ามาลงนามในสนธิสัญญาเช่นนั้นกับจีน พอถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมืองท่าประมาณ 90 แห่งของจีน
ต้องเปิดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลจีนคงมีอธิปไตยในเมืองท่าเหล่านั้นเพียงแต่
ในนามเท่านั้น การปกครองเพียงแต่ในนามเช่นนี้ มหาอำนาจตะวันตกประเทศหนึ่งหรือมากกว่านำมาใช้กับจีน
ตัวอย่างเช่น ในเซี่ยงไฮ้ เกรทบริเตนกับสหรัฐร่วมกันจัดตั้งนิคมระหว่างประเทศแห่งเซี่ยงไฮ้เพื่อคุ้มกันและแสวงหา
ผลประโยชน์ในจีน ในเมืองท่าทุกแห่งตามสนธิสัญญาดังกล่าว จีนต้องให้พื้นที่กว้างขวางให้กับรัฐบาลต่างชาติเช่า
ด้วยราคาถูกๆ กงสุลในบริเวณที่เช่าเหล่านี้มีอำนาจพิจารณาคดีต่อบุคคลเชื้อชาติของตนซึ่งเป็นผู้หนีกฏหมาย
และการเก็บภาษีของจีนเข้ามาหลบซ่อน นิคมของต่างชาติมีกองกำลังตำรวจและระบบภาษีเป็นของตนเอง
ดำเนินกิจการของตนอย่างเป็นอิสระโดยจีนมีอำนาจอธิปไตยเพียงในนาม

(ความเห็นส่วนตัวว่า เป็นสูตรเดียวกันกับการออกกฏหมายเศรษฐกิจพิเศษของไทยในปัจจุบัน โดยทางสิงคโปร์,
ต่างชาติอีกหลายประเทศที่จะเข้ามาในเมืองไทย รวมทั้งผู้มีอำนาจในไทยเอง ไม่ต้องโดนจับหรือขึ้นศาลไทย)


นิคมเหล่านี้ไม่เพียงแต่รุกล้ำอธิปไตยของจีนเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นในที่สุดเรื่องการค้าฝิ่นกลายเป็นเรื่องถูกต้อง
ตามกฏหมาย อัตราภาษีศุลกากรถูกบังคับให้ลดลง เพื่ออำนวยความสะดวกให้สินค้าของตะวันตกเข้ามาแข่งขัน
(ความเห็นส่วนตัวว่า เหมือนกับข้อตกลง FTA ที่ไทยทำแล้วเสียเปรียบต่างชาติ) เรือปืนของต่างชาติลาดตระเวณ
ตรวจอยู่ตามลำแม่น้ำของจีน ชาวต่างชาติเข้าไปประจำอยู่ในสำนักงานจัดเก็บภาษีของจีน เพื่อให้แน่ใจว่า
จีนมีเงินจ่ายค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาหลายฉบับ ในการตอบโต้การถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรีของจีนเช่นนี้
และท่ามกลางความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติของจีน รัฐบาลจีนพยายามปฏิรูปเพื่อให้จีนทันสมัย และมีกำลัง
เพียงพอต่อสู้กับการรุกรานของต่างชาติ จีนพยายามเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของตะวันตก
จีนจัดตั้งอู่ต่อเรือและสร้างคลังอาวุธ จัดตั้งกองทัพบก กองทัพเรือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี
การปฏิรูปก้าวไปไม่ไกล เพราะจีนไม่ได้ถอนรากถอนโคนจุดอ่อนของจีนทิ้ง จุดอ่อนของจีนคือ
โครงสร้างทางสังคมและทางการเมือง ที่สำคัญจีนเริ่มต้นปฏิรูปช้าไปภายหลังที่ต่างชาติได้เข้ามาปักหลัก
อย่างมั่นคงในดินแดนของจีนแล้ว นอกจากนั้นอาจเป็นเพราะการปฏิรูปอาจทำไม่ได้เต็มที่ เพราะมีแรงผลักดัน
ขัดขวางกั้นอยู่สองแนวทาง ในแนวทางหนึ่งจีนต้องการอิสรภาพเต็มที่ แต่อีกแนวทางหนึ่ง
จีนต้องการความช่วยเหลือจากต่างชาติ เพราะรัฐบาลอ่อนแอในการปราบปรามการก่อขบถ
และการต่อต้านภายในประเทศ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2006, 03:40:40 PM โดย narongt » บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2006, 05:14:42 PM »

ญี่ปุ่นเติบใหญ่เป็นมหาอำนาจอาณานิคม

ญี่ปุ่นเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกไกลประเทศเดียวที่รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก
ประเทศในยุโรปและสหรัฐพยายาม "เปิดประตู" ประเทศญี่ปุ่น เรื่องนี้พบความสำเร็จพอควร
แต่ญี่ปุ่นสามารถสลัดการตกเป็นอาณานิคมทั้งแบบมีรูปแบบ (มีดินแดนเป็นอาณานิคม) และ
ทั้งแบบไม่ใช่รูปแบบ (ไม่มีดินแดนเป็นอาณานิคม) นอกจากนั้นแล้วดินแดนของเอเชียทุกแห่ง
ตกเป็นอาณานิคมของยุโรปโดยสิ้นเชิง ถ้าหากไม่ใช่แบบมีรูปแบบ ก็เป็นแบบไม่ใช่รูปแบบ
อย่างเป็นทางการ นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังเดินไปบนถนนสายการสร้างอุตสาหกรรมอย่างที่ยุโรปและ
สหรัฐได้เดินทางบนถนนสายนั้นมาก่อน ดังนั้นแทนที่ญี่ปุ่นจะตกเป็นอาณานิคมของนักล่าดินแดน
จากตะวันตก ญี่ปุ่นก็กลายเป็นนักจักรวรรดินิยม เป็นการวัดรอยเท้าตะวันตกและแข่งขันกับมหาอำนาจ
ตะวันตกเรื่อยมา

ญี่ปุ่น

แต่เดิมพยายามหลีกเลี่ยงการถูกแทรกแซงจากตะวันตก เป็นเวลานานหลายปีญี่ปุ่นยอมให้ดัทช์เพียงชาติเดียว
เท่านั้นค้าขายกับญี่ปุ่น โดยจำกัดให้พ่อค้าชาวดัทช์อยู่บนเกาะแห่งหนึ่ง (เกาะเดชิม่า)

ใกล้ๆกับเมืองท่า นางาซากิ

ญี่ปุ่นไม่ยอมให้คนต่างชาติไม่ว่าจากประเทศใดเข้าไปในดินแดนของญี่ปุ่น แม้ว่า รัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษจะพยายาม
แต่พบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย การพังสิ่งกีดขวางทางการค้าและการเดินทางเข้าไปในญี่ปุ่นครั้งสำคัญ ครั้งแรกเกิดจาก
การใช้กำลังบังคับของสหรัฐ

โดย สหรัฐพยายามเสริมความเข้มแข็งผลประโยชน์ทางการค้าในตะวันออกไกล กระบอกปืนและเรือรบญี่ปุ่นขณะนั้น
ยังเทียบไม่ได้กับอำนาจการยิงถล่มจากเรือปืนของสหรัฐ ภายใต้การนำของนายพลจัตวา เปอร์รี่

ที่นำมาข่มขู่ญี่ปุ่นอยู่หน้าเมือง โตเกียว ในปี ค.ศ. 1853 ครั้งหนึ่ง

กับในปี ค.ศ. 1854 อีกครั้งหนึ่ง

เป็นการบังคับญี่ปุ่นให้เปิดประตูประเทศค้าขายกับมหาอำนาจอุตสาหกรรมตะวันตก ญี่ปุ่นตระหนักดีถึงการรุกราน
จากต่างชาติจากที่สังเกตุเห็นสิ่งที่มหาอำนาจอาณานิคมทำกับจีน ญี่ปุ่นจึงพยายามจำกัดการค้าของตะวันตก
ไว้ที่บริเวณท่าเรือเพียงสองแห่ง อย่างไรก็ดีในปี ค.ศ. 1858 ญี่ปุ่นตัดสินใจทำ สนธิสัญญาการค้าเต็มที่กับสหรัฐ
หลังจากนั้นญี่ปุ่นทำสัญญาทำนองเดียวกันนี้กับ ดัทช์ รัสเซีย ฝรั่งเศส และเกรทบริเตน รูปแบบของธิสัญญา
ทั้งหมดมีเหมือนกัน กล่าวคือ ท่าเรือทุกแห่งเปิดให้กับการค้าของต่างชาติ ชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในญี่ปุ่น
มีสิทธินอกอาณาเขตอย่างเดียวกับในจีน ภาษีนำเข้าและส่งออกต้องกำหนดไว้ก่อน

มีทฤษฏีอยู่มากที่พยายามอธิบายว่าเหตุใดญี่ปุ่นขณะที่ยังอ่อนแอเช่นนั้นจึงไม่ถูกนักจักรวรรดินิยมใหม่เข้ายึด
เป็นอาณานิคม หรืออย่างน้อยที่สุดก็ทำกับญี่ปุ่นเหมือนอย่างที่ทำกับจีนมาแล้ว แต่ไม่มีทฤษฏีใดมีเหตุผลมากพอ
จนเป็นที่ยอมรับทัวๆ ไป อย่างไรก็ดีปัญหาที่ว่าเหตุใดนักจักรวรรดินิยมใหม่จึงไม่ยึดเอาญี่ปุ่นเป็นอาณานิคม
มีองค์ประกอบสำคัญอยู่สองเรื่อง เรื่องแรก ประเทศตะวันตกไม่ได้กดดันเพื่อพยายามเข้าไปครอบครองญี่ปุ่นอย่างรุนแรง
เหมือนอย่างที่ทำกับบริเวณอื่นๆ ของโลกในเอเชีย เพราะขณะนั้นผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้อำนาจกดดันอย่างเต็มที่
มีศูนย์กลางอยู่ที่อินเดีย จีน และบริเวณใกล้เคียง เรื่องต่อมา พอถึงช่วงเวลาที่จะได้ผลประโยชน์มากขึ้นจากการบังคับข่มขู่
ญี่ปุ่นให้เปิดประตูประเทศตั้งแต่ช่วงทศวรรษของปี ค.ศ. 1850 ถึง 1860 เป็นช่วงเวลาที่มหาอำนาจชั้นนำต้องเผชิญหน้า
กับปัญหาหนักๆ เช่น เรื่องการก่อขบถของทหารอินเดีย ในปี ค.ศ. 1857, การเกิดขบถไต้ผิงในจีน, การเกิดสงครามไครเมีย,
การแทรกแซงของฝรั่งเศสในเมกซิโก

และเกิดสงครามกลางเมืองในสหรัฐ

นอกจากนั้นความริษยาระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญในเรื่องการขัดขวางไม่ให้มหาอำนาจประเทศหนึ่งประเทศใด
เข้าไปครอบครองประเทศอื่นไว้ลำพังแต่ประเทศเดียว หากว่าไม่ได้ประโยชน์ร่วมด้วย อีกประการหนึ่ง ในญี่ปุ่นเอง
ผู้นำประเทศมองเห็นภัยจากการรุกรานทางทหารของต่างชาติ การเกิดวิกฤติขึ้นในสังคมศักดินาแบบที่ญี่ปุ่นเป็นอยู่
การเติบโตของการค้าและความไม่พอใจของชาวนา เรื่องราวเหล่านี้นำไปสู่การต่อสู้แย่งชิงอำนาจภายในประเทศอย่างรุนแรง
ในที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมของประเทศครั้งใหญ่โต เกิดโครงสร้างประเทศให้ทันสมัยทุกแนวทาง เรื่องเหล่านี้
สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและทหารให้กับญี่ปุ่นมากพอจนสามารถต่อต้านการถูกรุกรานจากต่างชาติได้สำเร็จ

พลังต่อต้านระหว่างสองฝ่ายในสงครามกลางเมืองของญี่ปุ่น

ในช่วงอันตรายจากตะวันตกกำลังเผชิญหน้ากับญี่ปุ่นขณะนั้น เกิดขึ้นมาระหว่างฝ่ายสนับสนุนตระกูล โตกุกาวา

ซึ่งเป็น โชกุน ปกครองญี่ปุ่นตามระบบสังคมศักดินาเดิมของญี่ปุ่น กับฝ่ายสนับสนุนจักรพรรดิเมจิ

สงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลของโชกุนโตกุกาวาถูกโค่นล้ม เป็นอันสิ้นสุดการปกครองระบบศักดินา
ฝ่ายชนะสงครามเอาอำนาจการปกครองประเทศกลับคืนมาให้องค์จักรพรรดิ เมจิ การปฏิรูปเมจิครั้งนั้นญี่ปุ่นได้กลุ่มคนรุ่นใหม่
เป็นศุนย์กลางอำนาจทางการเมือง และเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในแนวทางของตะวันตกอย่างจริงจังและเร่งด่วน

ศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปเมจิครั้งนี้ คือ การทำลายระบบสังคมศักดินาเดิมจัดโครงร่าง
ทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ตามรูปแบบอุตสาหกรรมทุนนิยม ญี่ปุ่นใหม่ให้การค้ำประกันนักอุตสาหกรรม
รัฐบาลลงทุนสร้างอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน เช่น สร้างเส้นทางรถไฟ สร้างอู่ต่อเรือ สร้างระบบคมนาคมและสร้างเครื่องจักรกล
นอกเหนือไปจากการทุ่มเทการสร้างอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นยังเร่งปฏิรูปสังคมโดยขจัดระบบศักดินาให้หมด เร่งการศึกษามวลชน
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีของตะวันตก ผลได้จากการสร้างเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมเช่นนี้ ทำให้ญี่ปุ่นมีขีดความสามารถ
ทำสงครามสมัยใหม่ และสามารถยืนหยัดต่อต้านการถูกรุกรานทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหารจากนักจักรวรรดินิยมตะวันตก

ในไม่ช้าญี่ปุ่นไม่เพียงแต่เดินไปในเส้นทางของการสร้างอุตสาหกรรมแบบตะวันตกเท่านั้น ญี่ปุ่นยังเริ่มต้นเป็นประเทศรุกราน
ประเทศอื่นเช่นเดียวกับประเทศตะวันตก โดนก่อนอื่นญี่ปุ่นเข้าไปเอาดินแดนเกาะใกล้เคียงเป็นอาณานิคม เช่น
ญี่ปุ่นผนวกเอาหมู่เกาะริวกิว (รวมทั้งเกาะโอกินาวา)

หมู่เกาะคิวริล

หมู่เกาะโบนิน และเกาะฮอกไกโด

โครงการล่าดินแดนต่อไปของญี่ปุ่น คือ เข้าไปยึดครองเกาหลี แต่เมื่อถูกมหาอำนาจอื่นๆ คัดค้าน ญี่ปุ่นจึงเลื่อนเวลา
แผนการเปลี่ยนเกาหลีให้เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น การเข้าไปมีอิทธิพลในเกาหลีทำให้ญี่ปุ่นต้องทำสงครามกับจีน
ในปี ค.ศ. 1894 ถึง 1895

จีนต้องยอมรับผลประโยชน์ของญี่ปุ่นในเกาหลี ต้องยกเกาะไต้หวัน

เปสคาดอเรส และ แมนจูเรียภาคใต้ให้ญี่ปุ่น
เมื่อถึงจุดนี้มหาอำนาจคู่แข่งขันเข้ามาขัดขวางบีบบังคับญี่ปุ่นเรื่อง ญี่ปุ่นเข้าไปครอบครองแมนจูเรีย
ในขณะที่ฝรั่งเศส อังกฤษ(เกรทบริเตน) กำลังหาทางทำลายการสร้างจักรวรรดิ ของญี่ปุ่นอยู่นั้น
ญี่ปุ่นปะทะกับรัสเซียโดยตรงในปัญหาเรื่องเกาหลีและแมนจูเรียภาคใต้ การมีชัยของญี่ปุ่นต่อรัสเซีย
ในสงคราม รัสเซีย-ญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1904-1905

ทำให้ญี่ปุ่นได้ คาบสมุทรเลียวตุง , เกาะสักกะลินภาคใต้
และได้รับการยอมรับเรื่อง "ผลประโยชน์ใหญ่โต" ของญี่ปุ่นในเกาหลี ในช่วงนั้นจากแรงกดดันของ
อังกฤษและสหรัฐ ทำให้ญี่ปุ่นยังครอบครองดินแดน แมนจูเรีย ไม่ได้ทั้งหมดตามแผน อย่างไรก็ดีพอถึงช่วง
ศตวรรษที่ 20 จากวิธีใช้การครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมือง ในที่สุด ญี่ปุ่นได้แมนจูเรียทั้งหมดจากจีน
รวมทั้งได้เกาหลี และเกาะใกล้เคียง
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2006, 10:39:11 PM »

สงครามโลกครั้งที่ 1 และช่วงหลังสงคราม ค.ศ. 1914-39

การแบ่งอาณานิคมยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1


มหาอำนาจยุโรปตะวันตก ฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งแรก เอาอาณานิคมของฝ่ายแพ้สงครามมาแบ่งกัน
ยกเว้นเฉพาะสหรัฐ ซึ่งวางนโยบายสร้างอิทธิพลในระหว่างประเทศให้มากขึ้น โดยกลยุทธ์อิสระไม่ผูกพัน
กับมหาอำนาจในยุโรปฝ่ายชนะสงครามในครั้งนั้น เยอรมัน

ผู้แพ้สงครามถูกบังคับให้เลิกกรรมสิทธิ์การครอบครองดินแดนโพ้นทะเลตาม สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ปี ค.ศ. 1919
อาณานิคมของตุรกีในจักรวรรดิออตโตแมนของตุรกี

ถูกนำมาแบ่งกันตาม สนธิสัญญาแห่งโลซานน์ ปี ค.ศ. 1923 นอกจากนั้นการแบ่งอาณานิคมในรูปแบบใหม่
กำหนดขึ้นเป็นดินแดนภายใต้การ "อาณัติ" ตามมาตรา 22 ของสันนิบาตชาติ ตามมาตรานี้ สันนิบาตชาติ
กำหนดให้ประเทศมหาอำนาจฝ่ายชนะสงครามเป็นผู้รับผิดชอบการปกครองดินแดนโพ้นทะเลของประเทศอื่น

สันนิบาตชาติ กำหนดดินแดนภายใต้การอาณัติไว้สามประเภทดังนี้


1. ประเภทของการอาณัติดินแดนชั้น A เป็นการอาณัติดินแดนในอดีตเป็นอาณานิคมอยู่ใน
จักรวรรดิออตโตแมนของตุรกี ซึ่งคาดหมายว่าดินแดนเหล่านี้จะได้รับอิสรภาพปกครองตนเองในไม่ช้า
ภายใต้การอาณัติประเภทนี้ สันนิบาตชาติกำหนดให้ ซีเรีย

และ เลบานอน อยู่ภายใต้การอาณัติของฝรั่งเศส
ให้ อิรัก , ปาเลสไตน์ และ ทรานส์จอร์แดน อยู่ภายใต้การอาณัติของเกรทบริเตน

2. การอาณัติดินแดนชั้น B การอาณัติชั้นนี้ สันนิบาตชาติกำหนดให้ดินแดนจำนวนหนึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง
แยกต่างจากการปกครองอาณานิคมเดิมที่มีอยู่ ดินแดนในอาณัติประเภทนี้ ได้แก่ ดินแดนในแอฟริกาที่อยู่นอกเหนือ
บริเวณแอฟริกาตะวันตกใต้ คือ โตโก้แลนด์ และ แคเมอรูน ถูกนำมาแบ่งกันระหว่าง ฝรั่งเศสกับเกรทบริเตน
แทนแกนยิกา ถูกยกให้กับ เกรทบริเตน รอนดา-ยูรันดี ถูกยกให้ เบลเยี่ยม

3. การอาณัติดินแดนประเภทที่ 3 ถูกกำหนดใช้ในดินแดนแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (กำหนดให้สภาพแห่งแอฟริกาใต้)
และบริเวณหมู่เกาะในแปซิฟิก (แบ่งกันระหว่างเกรทบริเตน ออสเตเรีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น) ในการอาณัติประเภทนี้
เจ้าของดินแดนผู้เข้ามาอาณัติดินแดนมีสิทธิผนวกเอาดินแดนที่ได้มารวมกับดินแดนของตน แล้วแต่จะเห็นชอบ
ตามความพอใจของตนเอง

การเติบโตของกระบวนการเพื่ออิสรภาพ

ในขณะที่มหาอำนาจกำลังจัดสรรปันส่วนดินแดนกันอยู่ คลื่นของกระบวนการชาตินิยมเพื่อความเป็นอิสรภาพของประเทศชาติ
แพร่หลายตลอดทั่วโลกของอาณานิคม เรื่องนี้มีอิทธิพลสำคัญต่อการปกครองอาณานิคมของมหาอำนาจและในที่สุดนำไปสู่
การล่มสลายของอาณาจักรโพ้นทะเลของจักรวรรดินิยมตะวันตกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เชื้อของลัทธิชาตินิยม
เริ่มเพาะตัวขึ้นมาและเติบโตขึ้นในอาณานิคม เพราะถูกกดขี่จากการปกครองของจักรวรรดินิยมตะวันตกอยู่ช้านานแล้ว
สงครามโลกครั้งที่ 1 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องทำให้ความรู้สึกเรื่องชาตินิยมในอาณานิคมของตะวันตกเพิ่มความรุนแรง
และกระตุ้นให้เกิดรูปแบบใหม่ของกระบวนการเพื่อหาความเป็นอิสรภาพให้กับประเทศชาติของผู้ที่อยู่ในโลกอาณานิคม
ของตะวันตก ในโลกอาหรับแนวโน้มในเรื่องนี้ได้รับแรงกระตุ้นมากขึ้นจากความแตกต่างกันมาก ระหว่างการตกไปอยู่
ภายใต้อาณัติของตะวันตกแทนที่จะได้รับอิสรภาพตามคำมั่นของตะวันตกขณะทำสงคราม เป็นการแลกเปลี่ยนที่
โลกอาหรับให้การสนับสนุนฝ่ายพันธมิตรในแนวรบด้านตุรกี

ในไม่ช้าเป็นที่เห็นได้ชัดว่าขณะที่ตะวันตกให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้อิสรภาพภายหลังสงครามโลกในยุคนั้น
ตะวันตกกำลังแบ่งโลกอาหรับซึ่งขณะนั้นอยู่ในจักรวรรดิออตโตแมนของตุรกีระหว่างกัน ยิ่งไปกว่านั้น
ประกาศบัลเฟอร์ของอังกฤษในปี ค.ศ. 1917 และการอาณัตดินแดนตามข้อกำหนดของสันนิบาตชาติ ปี ค.ศ. 1922
ทั้งสองกรณีนี้เป็นการตกลงกันของมหาอำนาจตะวันตก โดยโลกอาหรับไม่ทราบเรื่องมาก่อน เป็นการประกาศจัดตั้ง
ประเทศอิสราเอล

ในปาเลสไตน์

ทั้งสองเรื่องเป็นการจุดเปลวไฟของลัทธิชาตินิยมของโลกอาหรับให้ลุกโชติช่วงขึ้น ในขณะเดียวกัน
สร้างความหวังให้กับชาว ยิว

ผลที่ได้ประการหนึ่งจากกระบวนการชาตินิยมที่เติบโตขึ้นมาในตะวันออกกลางหลังสงครามโลกครั้งแรก
คือ อียิปต์ ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1922

อิรัก ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1932

ถึงแม้ว่าจะมีสนธิสัญญากำหนดให้ประเทศอียิปต์และอิรักอยู่ใต้อิทธิพล และภายใต้กำลังทางทหารของอังกฤษต่อไป
หรืออังกฤษยังคงครอบครองความเป็นใหญ่อยู่ในตะวันออกกลาง หรืออังกฤษยังคงสามารถเข้าไปมีส่วนแบ่งของ
แหล่งน้ำมันมหาศาลในตะวันออกกลางต่อไป
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2006, 03:35:20 PM »

การปฏิวัติของรัสเซีย

แรงกระตุ้นสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำให้เกิดการทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในโลกของอาณานิคม
คือ การปฏิวัติของรัสเซียปี ค.ศ. 1917

เรื่องนี้จุดประกายความหวังของมวลชนในอาณานิคมให้ลุกโชติช่วงขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย
เพราะการปฏิวัติของรัสเซียแสดงให้เห็นว่าสามัญชนสามารถต่อสู้และจัดการเรื่องราวต่างๆ ของตนเองได้
ทั้งๆ ที่ได้รับการต่อต้านจากมหาอำนาจจักรวรรดินิยมที่สำคัญยิ่งกว่านั้น จากการปฏิวัติของรัสเซีย
สหภาพโซเวียต (จัดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1922-1991)

ประกาศตัวต่อต้านจักรวรรดินิยม โซเวียตจึงเป็นศัตรูกับโลกตะวันตก นับตั้งแต่วันนั้น จนถึงการล่มสลายของ
สหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ประณามอภิสิทธิ์ของจักรวรรดินิยม นอกจากนั้น
สหภาพโซเวียตยังค้นที่เก็บเอกสารของพระเจ้าซาร์

แล้วเปิดเผยให้ทราบว่า มีเอกสารลับเป็นข้อตกลงจักรวรรดินิยมของพระเจ้าซาร์ในปี ค.ศ. 1919 พวกบอลเชวิก

ของสหภาพโซเวียต ประกาศประกาศิตการาข่านให้ประชาชนชาวจีนทราบว่า จะส่งคืนดินแดนที่รัฐบาล
สมัยพระเจ้าซาร์เอามาจากจีนกลับคืนไปเป็นของจีนตามเดิม และประกาศยกเลิกสิทธินอกอาณาจักรในจีน
ซึ่งชาวรัสเซียเคยได้รับสิทธิเช่นนั้นในสมัยพระเจ้าซาร์ แรงกระตุ้นที่สำคัญน้อยกว่าเรื่องการปฏิวัติของรัสเซีย
ในปี ค.ศ. 1917 แต่มีอิทธิพลในเรื่องของการเป็นตัวอย่างที่ดีของกระบวนการชาตินิยมในโลกของอาณานิคม
คือ เรื่องการได้รับอิสรภาพในไอร์แลนด์ทางใต้

และการจัดตั้ง รัฐอิสระไอริช ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1923

แต่ตัวอย่างจากภายนอกประเทศเช่นนั้น ไม่ได้สร้างกระบวนการชาตินิยมให้เติบใหญ่ได้มากนัก
อย่างดีที่สุดเป็นเพียงแต่เพิ่มแรงกระตุ้นที่มีอยู่แล้วในบรรดาชาวอาณานิคมทั่วโลกให้มีความพยายามมากขึ้น
ในการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง, ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ
จากมหาอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตก ในหลายบริเวณอาณานิคมกระบวนการชาตินิยมเจริญเติบโต จนกลายเป็น
การก่อขบถต่อสู้กับผู้กดขี่อย่างเปิดเผย ในอาณานิคมบางแห่งเกิดรูปแบบต่างๆ ของการเคลื่อนไหวทางการเมือง
สหภาพแรงงานในโมรอกโกนำโดย อับด์ เอลกริม นำกำลังต่อต้านผู้ปกครองชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง
ตลอดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1926 ในช่วงกลางทศวรรษของปี ค.ศ. 1920 พวกต่อสู้เพื่อ
ความเป็นอิสรภาพของประเทศในชวาและสุมาตรา นำโดยพวกคอมมิวนิสต์ต่อสู้กับดัทช์ไม่สำเร็จ
ในแอฟริกาแถบกลางทวีป การต่อสู้กับลัทธิจักรวรรดินิยมและการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประเทศมักจะอยู่ใน
เสื้อคลุมของศาสนา ทั้งองค์กรศาสนาและพลเรือนจะต่อต้านผู้ปกครองชาวต่างชาติ รวมทั้งต่อต้าน
การสร้างความเดือดร้อนเรื่องอื่นๆ เช่นเรื่องการเกณฑ์ทหาร การเก็บภาษีโหด และการบังคับใช้แรงงาน
การต่อสู้กับเรื่องเหล่านี้ระเบิดออกมาหลายครั้ง
ในคองโกของเบลเยี่ยม

ในซูดานของฝรั่งเศส

ในไนจีเรียภาคใต้

ในลิเบอเรีย

ในแม่น้ำวอลตาตอนบน

และในบริเวณเขตแดนอื่นๆ หลายแห่ง การปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนเริ่มต้นช่วงท้ายๆ ของทศวรรษปี ค.ศ. 1920
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 พรรคครองเกรสแห่งชาติของอินเดีย
พัฒนาองค์กรมวลชนที่ทแจริงขึ้นมาดำเนินงานต่อต้านการปกครองของอังกฤษอย่างต่อเนื่อง
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2006, 03:36:08 PM »

มหาอำนาจอาณานิคมปรับทิศทางใหม่

นอกเหนือไปจากการเอาอาณานิคมของประเทศแพ้สงครามมาแบ่งกันแล้ว สงครามโลกครั้งที่ 1
ยังทำให้ฐานะของผู้ชนะสงครามในโลกของอาณานิคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตัวอย่างสำคัญ
ของเรื่องนี้ คือ สหรัฐมีฐานะยิ่งใหญ่เหนือเกรทบริเตน พร้อมๆ กันนั้นกำลังทางภาคพื้นทะเลทั้งสหรัฐ

และญี่ปุ่นเติบโต

เกรทบริเตน(อังกฤษ)เริ่มสูญเสียความเป็นใหญ่ทางภาคพื้นทะเล โดยเฉพาะในแปซิฟิค
การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้อิทธิพลของสหรัฐ
ในแคนาดา

และออสเตรเลีย มีสูง

ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของอังกฤษเพราะผลจากการทำสงคราม พร้อมกับฐานะทางการเงินของสหรัฐ
เพิ่มความแข็งแกร่ง เพราะสหรัฐเป็นประเทศผลิตอาวุธจำหน่ายให้ฝ่ายพันธมิตร ในไม่ช้าสหรัฐกลายเป็น
ตลาดเงินทุนชั้นนำของโลก สหรัฐขยายธนาคารระหว่างประเทศและลงทุนในดินแดนโพ้นทะเล
สหรัฐยังแข่งขันกับเกรทบริเตน ในเรื่องการครองความเป็นใหญ่เหนือแหล่งปริมาณน้ำมันสำรองของโลก

ก่อนสงครามโลกครั้งแรกเป็นเวลานานที่สหรัฐเริ่มสร้างอิทธิพลในลาตินอเมริกา การที่สหรัฐใช้กลยุทธ์แทรกแซง
ทางด้านทหารและการยึดครองในบริเวณนี้ มีผลทำให้
คิวบา

โดมินิกัน

ปานามา

นิการากัว

และไฮติ

กลายเป็นประเทศอยู่ภายในการคุ้มกันของสหรัฐ เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้าและการลงทุน
ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งแรก ทำให้ประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาเข้ามาอยู่ในวงโคจรทางเศรษฐกิจ
และการเมืองของสหรัฐ แทนที่จะอยู่ในวงโคจรเดิมของอังกฤษ

สงครามโลกครั้งที่ 1 เปิดโอกาสใหม่ให้ญี่ปุ่นขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของตนต่อไป ในปี ค.ศ. 1915
ขณะที่สงครามโลกครั้งแรกยังร้อนระอุอยู่ในทวีปยุโรป ญี่ปุ่นก็ส่ง ข้อเรียกร้อง 20 ข้อ ให้จีนไปพิจารณา
ถ้าหากจีนยอมรับก็เท่ากับว่าจีนอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น แต่สหรัฐกับอังกฤษขัดขวาง ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนวิธีการ
บีบจีนให้ต้องทำสนธิสัญญากับญี่ปุ่น เป็นสัญญาที่ญี่ปุ่นได้เปรียบทุกมหาอำนาจในจีน จากฐานะที่ได้เปรียบเช่นนี้
ญี่ปุ่นแสวงหาผลประโยชน์ต่อไป ในปี ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรีย แล้วจัดตั้ง รัฐบาลหุ่น ที่นั่น
ขั้นตอนต่อไปในการสร้างความยิ่งใหญ่ในเอเชียของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจัดสร้าง "วงไพบูลย์ร่วมกันแห่งเอเชีย"
ซึ่งความจริงเป็นแผนการทำสงครามพิชิตจีน เรื่องนี้เป็นแรงกระตุ้นสำคัญทำให้เกิดกระบวนการชาตินิยมและ
กระบวนการปฏิวัติเกิดขึ้นมาในจีน ปี ค.ศ. 1937

ญี่ปุ่นเริ่มบุกจีนอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งญี่ปุ่นปราชัยในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งแรก การใช้นโยบายก้าวร้าวเพื่อแสวงหาดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเล
มาจากประเทศ ฟาสซิสม์ สองประเทศในยุโรป ในช่วงท่ามกลางเศรษฐกิจโลกตกต่ำครั้งใหญ่ คือ
ในช่วงทศวรรษของปี ค.ศ. 1930 ความต้องการเอาอดีตอาณานิคมของเยอรมันกลับคืนมาเป็น
ความต้องการอยู่ตลอดเวลาของบรรดาผู้นำของ สาธารณรัฐไวมาร์แห่งเยอรมัน

แต่ไม่ใช่นโยบายหลักของรัฐบาลเยอรมัน จนกระทั่งพรรคนาซี

ของฮิตเลอร์

มีอำนาจปกครองประเทศ อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่า พรรคนาซีจะมีนโยบายเอาอาณานิคมโพ้นทะเลกลับคืน
แต่กลยุทธ์แรกของนาซีเน้นเรื่องการสร้างจักรวรรดิเยอรมันขึ้นมาในบริเวณยุโรปภาคกลางและยุโรปตะวันออก
ในอีกแนวทางหนึ่ง เบนิโต มุสโสลินี แห่งอิตาลี

ฉกฉวยโอกาสของความไม่แน่นอน และการเปลี่ยนแปลงความสามัคคีระหว่างมหาอำนาจในยุโรป
ขยายจักรวรรดิของอิตาลีในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ ให้กว้างขวางออกไป กล่าวคือ ในปี ค.ศ. 1935
กองทัพอิตาลีบุก เอธิโอเปีย

จากการมีชัยทางทหารครั้งนี้อิตาลีผนวกเอา เอธิโอเปีย ในปีต่อมา
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2006, 09:55:08 PM »

จักรวรรดินิยม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

อิสรภาพของอาณานิคม

ในช่วงหลังสงครามครั้งแรก ลัทธิล่าอาณานิคมยังคงเติบใหญ่ แต่พอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ลัทธิชาตินิยมซึ่งฟักตัวขึ้นมาอย่างแพร่หลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่เพียงแต่เพิ่มความเข้มมากยิ่งขึ้น
ยังกลายเป็นองค์กรมีระบบแบบแผนที่เด่นชัด เรื่องนี้นำไปสู่การพลิกกลับทิศทางของกระแสคลื่นจักรวรรดินิยม
ของศตวรรษที่ผ่านมา บัดนี้จักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเล ขนาดใหญ่ทั้งหมดทุกแห่งเริ่มหดตัวเล็กลงไป
เพราะมีประเทศอิสรภาพทางการเมืองเกิดใหม่เข้ามาแทนที่

สภาคองเกรสรวมแอฟริกา

รวมชาวแอฟริกันและผู้สืบเชื้อสายของชาวแอฟริกันในประเทศอื่นๆ เปิดประชุมกัน เมื่อสิ้นสงครามโลกทั้งสองครั้ง
การประชุมสภาคองเกรสรวมแอฟริกาครั้งที่ 2 เปิดประชุมกันที่ปารีส ปี ค.ศ. 1919 ที่ประชุมได้ขอร้องต่อ
การประชุมของพันธมิตร ซึ่งเปิดประชุมในปีเดียวกันที่การประชุมสันติภาพแห่งแวร์ซายส์ โดยเรียกร้องให้มีผู้แทน
ของชาวแอฟริกันมากขึ้นอยู่ในรัฐบาลปกครองอาณานิคมตะวันตก เพื่อเลิกทาสและการบังคับใช้แรงงาน
รวมทั้งการปฏิรูปเรื่องอื่นๆ ในระบบการปกครองกดขี่อาณานิคม เรื่องนี้มีลักษณะตรงกันข้ามกับการประชุม
สภาคองเกรสรวมแอฟริกาครั้งที่ 5 ซึ่งประชุมกันที่ แมนเชสเตอร์ ปี ค.ศ. 1945 ที่ประชุมลงมติยอมรับ
ข้อเรียกร้องให้ยุติลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจและการเมืองทุกรูปแบบ สนับสนุนการใช้กำลังเพื่อให้ได้มา
ซึ่งอิสรภาพของแอฟริกาถ้าหากว่าการใช้วิธีอื่นๆ ล้มเหลว การประชุมเช่นนี้ไม่ได้เป็นการคุกคามมหาอำนาจตะวันตก
แบบโง่ๆ เพราะภายในตัวทวีปแอฟริกาเกิดมีพรรคการเมืองของมวลชนเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
เป็นพรรคการเมือง
มีระเบียบแบบแผนดีขึ้น มีปฏิบัติการรุนแรงมากขึ้น และมีกำลังทหารมากขึ้นกว่าสมัยอดีตที่ผ่านมา
นอกจากนั้นบัดนี้
สามารถเรียกได้ว่าเป็นทหารแห่งแอฟริกาที่มีประสบการณ์จากสนามรบ มีความรู้เรืองการใช้อาวุธก้าวหน้า
ซึ่งพวกตนได้มาจากสงครามโลกครั้งที่ 2

การที่ญี่ปุ่นได้ครอบครองอาณานิคมหลายแห่งของยุโรปในเอเชียและแปซิฟิค และมีกระบวนการต่อต้าน
ของชาวพื้นเมืองต่อการยึดครองของชาวต่างชาติ ทำให้ระบบอาณานิคมในบริเวณนั้นสั่นคลอน นอกเหนือไปจาก
จีนคอมมิวนิสต์ และจีนคณะชาตินิยม ทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่นที่เข้ามายึดครองจีนแล้ว กองทัพประชาชน
ติดอาวุธเคลื่อนไหวหนักในอินโดจีน อินโดนีเซีย พม่า และฟิลิปปินส์ และแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่ได้อยู่ภายใต้
การยึดครองของญี่ปุ่น การที่ประเทศแม่ปกครองอาณานิคมไม่เข้มแข็งพอเพราะต้องต่อสู้กับกลุ่มอักษะ
ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประชากรในอาณานิคมเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพ ตัวอย่างเช่น
พอสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ อินเดียพร้อมต่อสู้กับอังกฤษ ซึ่งกำลังหมดพลังจากทำสงครามโลกครั้งที่ 2 และไม่สามารถ
ควบคุมจักรวรรดิของตนได้อย่างเข้มแข็งเหมือนสมัยอดีตที่ผ่านมา กำลังทางภาคพื้นทะเลของอังกฤษสูญสลาย
ไปเกือบหมดสิ้น เมื่อกำลังทางการเงินของอังกฤษอยู่ในฐานะหมดตัวเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษจึงไม่สามารถ
สร้างกองทัพอากาศใหม่ อังกฤษยังไม่สามารถสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินและฐานทัพอากาศ ซึ่งจำเป็นสำหรับป้องกัน
จักรวรรดิทั่วโลกของอังกฤษ และเนื่องจากเชื้อของลัทธิชาตินิยมที่เพาะตัวขึ้นในอาณานิคมอังกฤษ จึงไม่สามารถ
ใช้กองทหารเกณฑ์มาจากชาวอาณานิคม เพื่อนำมาใช้รักษากฏหมายและความสงบภายในอาณานิคมเหมือนสมัยก่อน
ความอ่อนแอและขีดจำกัดทำนองเดียวกันนี้ ในไม่ช้าเกิดกับมหาอำนาจอาณานิคมประเทศต่างๆ รวมทั้ง ฝรั่งเศส,
เนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม

มีมหาอำนาจเพียงประเทศเดียวที่มีพลังมากพอเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ และพยายามรักษาระบบอาณานิคมเดิมไว้
โดยวิธีเดินไปบนเส้นทางเต็มไปด้วยเล่ห์ คือ สหรัฐ
เมื่อมหาอำนาจยุโรปตะวันตก สิ้นพลังจากสงครามโลกครั้งที่แล้ว
ไปจนหมด สหรัฐสนใจและปฏิบัติดังนี้

1. สร้างประเทศของยุโรปตะวันตกขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นพันธมิตรกับสหรัฐต่อสู้กับสหภาพโซเวียต

(ความเห็นส่วนตัวว่า เช่น การตั้งกลุ่มพันธมิตร NATO ขึ้นมา)

2. ต่อต้านการปฏิรูปสังคมที่จะปิดประตูการค้าและการลงทุนของสหรัฐ

(ความเห็นส่วนตัวว่า เช่น การพยายามให้มีเขตการค้าเสรีในปัจจุบัน)

3. ขยายเขตอิทธิพลของสหรัฐไปยังดินแดนที่เคยเป็นของพันธมิตรมาก่อน

(ความเห็นส่วนตัวว่า เช่น การพยายามเข้าไปแทรกแซงทางด้านเศรษฐกิจผ่าน ตลาดหุ้น, IMF, WORLDBANK
และการเมืองผ่านกลุ่ม NGO's ต่างๆ หรือการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนในพม่า
เพราะไม่สามารถส่งกองทหารเข้าไปยึดเหมือนอดีต)


4. การลดอิทธิพลของสหภาพโซเวียตให้ให้เหลือน้อยลง สามารถทำได้โดยวิธีให้การสนับสนุน
กระบวนการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอาณานิคม


(ความเห็นส่วนตัวว่า เช่น การสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการในเวียดนามใต้หรือแม้แต่
การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอย่างลับๆ เช่น บินลาเดนในสงครามอัฟกานิสถาน เป็นต้น)


สาเหตุและจุดมุ่งหมายที่ซับซ้อนของสหรัฐเช่นนี้ ทำให้กระบวนการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสรภาพของ
บรรดาอาณานิคมทวีความเข้มมากขึ้นในช่วงหลังสงคราม ในที่สุดมีประเทศใหม่เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ

สาเหตุของการได้อิสรภาพของบรรดาอาณานิคม

จากการวิเคราะห์พบว่า กระแสคลื่นของการได้รับอิสรภาพของบรรดาอาณานิคม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เกิดจากความเกี่ยวพันขององค์ประกอบสามเรื่องด้วยกันคือ

1. การปรับตัวใหม่ของมหาอำนาจของโลก โดยมีสหรัฐกับสหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศยิ่งใหญ่ของโลก

2. มหาอำนาจอาณานิคมเดิมไม่สามารถรักษาจักรวรรดินิยมโพ้นทะเล ไกลจากประเทศของตนไว้ได้อีกต่อไป

3. วิวัฒนาการของการต่อสู้เพื่อหาอิสรภาพให้กับประเทศชาติของบรรดาอาณานิคม มีความเข้มแข็งมากพอ
จนจักรวรรดินิยมตะวันตกซึ่งอ่อนพลังลงขณะนั้นไม่สามารถต้านทานได้

ถ้าหากค้นหาสาเหตุให้ลึกลงไปกว่านี้ จะพบว่าการก้าวไปมีอิสรภาพของอาณานิคมจะเป็นไปได้เร็วและไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
ในอาณานิคมใดก็ตามที่ประเทศเจ้าของอาณานิคมมีความมั่นใจว่าเป็นเพียงการโอนอำนาจไปให้รัฐบาลในอาณานิคมเดิม
ซึ่งคงอยู่ในวงโคจรทางเศรษฐกิจและการเมืองของตนต่อไป แต่จะเกิดสงครามรุนแรงและยาวนาน ในอาณานิคมใดก็ตาม
ที่กระบวนการเพื่อแสวงหาอิสรภาพนั้น ไม่ใช่เพียงแต่กระบวนการของกลุ่มชาตินิยมของดินแดนแห่งนั้นเท่านั้น แต่ยังเป็น
กระบวนการปฏิวัติ ซึ่งเมื่อได้อิสรภาพแล้วประเทศนั้นจะยึดอุตสาหกรรมและการลงทุนของต่างประเทศไว้จนหมดสิ้น
และตัดขาดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเจ้าของอาณานิคมเดิม และบางทีอาจเคลื่อนตัวไปสู่วงจรของประเทศ
กลุ่มสังคมนิยมด้วย เรืองนี้ต้องเพิ่มเรื่องอิทธิพลที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องบทบาทของคนผิวขาวส่วนใหญ่ที่เข้าไป
ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณานิคม คนกลุ่มนี้ต่อต้านรุนแรง ขัดขวางการเสาะแสวงหาอิสรภาพของบรรดาชาวอาณานิคมอย่างเช่น
ในแอลจีเรีย

รวมทั้งขัดขวางการโอนอำนาจปกครองประเทศไปให้คนพื้นเมืองอย่างเช่น โรดีเซียใต้


ประเทศแรกที่ได้รับอิสรภาพในระหว่างหรือเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ คือ
ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งได้รับอิสรภาพไปในปี ค.ศ. 1946
สหรัฐเคยให้คำมั่นว่าจะให้อิสรภาพมานานแล้ว รัฐในอาณัติแรกๆ ที่ได้รับอิสรภาพได้แก่
เลบานอน ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1941

ซีเรีย ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1941

และ ทรานส์จอร์แดน ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1946
รัฐในอาณัติที่เหลือในตะวันออกกลางคือ ปาเลสไตน์ ไม่ได้รับอธิปไตยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1948

เพราะการแบ่งดินแดนนี้มีเชื้อของสงคราม อาหรับ-ยิว

ทำให้เกิดการแบ่งปาเลสไตน์จริงๆ เป็นการแบ่งระหว่าง จอร์แดน (เดิมคือ ทรานส์จอร์แดน)

กับประเทศเกิดใหม่คือ อิสราเอล
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2006, 09:56:25 PM »

เมื่อมีการร่างกฏบัตรสหประชาชาติ (ก่อตั้งขึ้นแทนที่ สันนิบาตชาติ)

เป็นที่คาดหวังกันว่า ดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติในบริเวณอืนๆ นอกจากในตะวันออกกลาง
ควรนำมาอยู่ ภายใต้การพิทักษ์ของสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้

ปฏิเสธไม่ยอมเลิกการเข้าไปปกครองแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ในปี ค.ศ. 1968 สหประชาชาติประกาศให้
แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (นามิเบีย) อยู่ใต้การควบคุมของสหประชาชาติ

แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1972 นามิเบีย ยังคงเป็นอาณานิคมของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
ดินแดนในอาณัติแห่งอื่นๆ ทั้งหมด รวมทั้งอาณานิคมของญี่ปุ่นและอิตาลีได้รับอิสรภาพหรือไม่ก็เป็น
ดินแดนในการพิทักษ์ของสหประชาชาติ ปี ค.ศ. 1972 ดินแดนในพิทักษ์เดิมของสหประชาชาติ 11 แห่ง
แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
นิวกินี อยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรเลีย

หมู่เกาะในแปซิฟิคตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐ


กลุ่มประเทศถัดไปที่ได้รับอิสรภาพภายหลังฟิลิปปินส์และตะวันออกกลางได้รับอิสรภาพไปแล้ว
ได้แก่อาณานิคมของอังกฤษในเอเชีย ในพม่า

กองทัพแห่งชาติของพม่า ลุกขึ้นต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นที่เข้ามายึดครองพม่า ชาวพม่าตั้งความหวังไว้ว่าจะได้รับ
อิสรภาพหลังญี่ปุ่นแพ้สงครามการหน่วงเหนี่ยวของอังกฤษในเรื่องให้อิสรภาพต่อพม่าทำให้เกิดจลาจล
ใหญ่โตตลอดทั่วพม่าในปี ค.ศ. 1946 พอถึงปี ค.ศ. 1948 พม่าจึงได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
ในปีเดียวกัน ศรีลังกา

ได้รับอิสรภาพและเป็นสมาชิกอยู่ในจักรภพแห่งอังกฤษ ขั้นตอนก้าวไปสู่อิสรภาพของอินเดีย

เริ่มต้นท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทหารญี่ปุ่นคุกคามพม่าและอินเดียด้านตะวันออก
ในขณะที่อังกฤษกำลังต้องการความช่วยเหลือจากชาวอินเดีย ในปี ค.ศ. 1942 อังกฤษเสนอให้
อินเดียมีฐานะเป็นเขตแดนอิสรภาพแต่ได้รับการปฏิเสธจากกลุ่มนักชาตินิยมของอินเดีย เพราะเห็นว่า
ยังไม่เพียงพอและเป็นอันตราย เพราะเป็นการเร่งให้มีการแบ่งอนุทวีปอินเดีย ในที่สุดเมื่อได้รับอิสรภาพ
ในปี ค.ศ. 1947 แล้ว

อนุทวีปอินเดียก็ถูกแบ่งจริงๆ

แบ่งออกเป็น อินเดียกับปากีสถาน

ตามคำแนะนำของอังกฤษ การแบ่งอนุทวีปอินเดียออกเป็นสองประเทศ ทำให้ชาวมุสลิมพากันอพยพ
เข้าไปอยู่ในปากีสถาน พวกฮินดูอพยพเข้าไปอยู่ในอินเดีย เช่นเดียวกับอาณานิคมในแอฟริกาและ
ในเวสต์อินดีส

ของอังกฤษในช่วงต่อมา อังกฤษพยายามให้อาณานิคมเดิมเมื่อได้รับอิสรภาพไปแล้ว
มีโครงร่างเศรษฐกิจ, การเมือง และการทหารเพื่อผลประโยชน์ของอังกฤษเอง เช่น
ในมาลายา

อังกฤษยังไม่ให้อิสรภาพจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1957 เพราะอังกฤษต้องการปราบปรามกระบวนการปฏิวัตินำโดย
พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ให้สงบราบคาบก่อน อังกฤษต้องใช้เวลาขจัดคอมมิวนิสต์ในมาลายานานถึง 8 ปี
เมื่อให้อิสรภาพแก่มาลายาแล้วประเทศนั้นจึงอยู่ในค่ายโลกเสรีตามความต้องการของอังกฤษ

การปฎิวัติและการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสรภาพของประเทศระบาดไปทั่วในดินแดนทุกแห่งของเอเชีย
การจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1949 ภายหลังสงครามกลางเมืองในจีน

ต่อสู้กับการรุกรานของญี่ปุ่นเป็นเวลานานสิ้นสุดลงแล้ว อิทธิพลของจักรวรรดินิยมทั้งหมดถูกขจัดออกไปจากประเทศจีน
ยกเว้นฮ่องกงอาณานิคมของอังกฤษ

มาเก๊าอาณานิคมของโปรตุเกส

และ ไต้หวันเขตอิทธิพลของสหรัฐ


เนเธอร์แลนด์โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารอังกฤษ พยายามเอาอินโดนีเซียกลับคืนภายหลัง
ญี่ปุ่นแพ้สงครามและถอนตัวออกไปจากอินโดนีเซียแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ ภายหลังต้องทำสงครามต่อสู้กับ
สาธารณรัฐอินโดนีเซียนาน 4 ปี ในที่สุดอินโดนีเซียได้รับอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1949 ฝรั่งเศสไม่พบความสำเร็จ
ในการเอาอินโดจีนกลับคืน

การทำสงครามต่อสู้กับญี่ปุ่นในอินโดจีนทำให้กองทัพของชาวอินโดจีนเพิ่มความเข้มแข็งและทำให้เกิดกระบวนการ
เพื่ออิสรภาพของประเทศในอินโดจีน นอกเหนือไปจากเรื่องอิสรภาพของประเทศแล้ว ประเทศในอินโดจีนยังต้องการ
เปลี่ยนแปลงโครงร่างพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ หรือต้องการเข้าไปอยู่ในวงจรของสังคมนิยม
ในการหวนกลับมาเอาอินโดจีนกลับคืน กองทัพฝรั่งเศสต้องทำสงครามกับ
เวียดนาม

อย่างรุนแรงเป็นสงครามระดับใหญ่นาน 9 ปี

ทั้งๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและขวัญอย่างใหญ่โตจากสหรัฐ แต่ฝรั่งเศสต้องพบกับความปราชัยครั้งใหญ่
โดยเฉพาะใน ยุทธภูมิแห่งเดียนเบียนฟู

ในการประชุมสันติภาพระหว่างประเทศปี ค.ศ. 1954 ที่นครเจนีวา ที่ประชุมตกลงให้อิสรภาพ แก่
ลาว

เขมร

และเวียดนาม ถูกแบ่งออกเป็นสองเขตโดยใช้ เส้นขนานที่ 17 เป็นแนวเขตกั้นระหว่าง เวียดนามเหนือ
กับ เวียดนามใต้

แต่กำหนดให้มีการลงประชามติเพื่อรวมเวียดนามทั้งสองแห่งในเดือน กรกฏาคม ค.ศ. 1956 เวียดนามใต้
ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลใหญ่ของสหรัฐตัดสินใจไม่ยอมให้มีการลงประชามติเพื่อรวมประเทศตามที่กำหนด
เวียดนามเหนือจึงสนับสนุนพวกเวียดกง

ทำสงครามล้มรัฐบาลเวียดนามใต้ จนกลายเป็นสงครามเวียดนาม

สหรัฐบุกโจมตีทางอากาศในดินแดนเวียดนามเหนือครั้งใหญ่ จนกระทั่งมีการเจรจาหยุดยิงระหว่างกันในปี ค.ศ. 1973

หลังจากนั้นเวียดนามเหนือจึงรวมเวียดนามใต้เป็นประเทศเดียวสำเร็จ นี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งของ
ดินแดนใดก็ตามที่เสาะแสวงหาอิสรภาพของประเทศ ไม่ต้องการเข้าไปอยู่ในวงโคจรของโลกตะวันตก
ต้องเผชิญกับการต่อสู้ด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของผู้คนจำนวนมหาศาล และเป็นการต่อสู้ที่ต้องใช้เวลายาวนาน
แตกต่างไปจากดินแดนที่แสวงหาอิสรภาพให้กับประเทศแล้ว เข้าไปอยู่ในวงโคจรของโลกตะวันตก


ในแอฟริกาเหนือ การได้อิสรภาพเริ่มต้นในทศวรรษปี ค.ศ. 1950
ลิบยา (ลิเบีย) ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1951

มอรอกโก

และ ตูนีเซีย

ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1956 กระบวนการชาตินิยมในประเทศเหล่านี้สนับสนุนการหาอิสรภาพให้กับประเทศ
อย่างกว้างขวาง สำหรับมอรอกโกและตูนีเซียต้องทำสงครามรุนแรง เพราะฝรั่งเศสต้องการทำลายกระบวนการ
ชาตินิยมในทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ดีความพยายามของฝรั่งเศสไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะกำลังทหารของฝรั่งเศส
ถูกนำไปใช้มากมายในอินโดจีน และ แอลจีเรีย

ปี ค.ศ. 1954 ฝรั่งเศสสูญเสียกำลังทหารครั้งใหญ่และปราชัยในเวียดนาม การก่อปฏิวัติครั้งใหญ่เพื่อหาอิสรภาพ
ให้ประเทศแอลจีเรีย เริ่มต้นตอนปลายปี ค.ศ. 1954 เป็นสงครามขมขี่นและยาวนาน 8 ปี ทำให้ฝรั่งเศสต้องพบกับ
วิกฤติการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ การต่อสู้เพื่ออิสรภาพของแอลจีเรีย จึงพบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1962
ประเทศในแอฟริกาแถบกลางทวีปเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับอิสรภาพ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1956 ดินแดนในแถบนี้
ของแอฟริกาคงมีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่ได้รับอิสรภาพคือ ลิเบอเรีย ได้รับอธิปไตยในปี ค.ศ. 1941 เอธิโอเปีย
ภายหลังที่พันธมิตรได้รับชัยชนะต่อกองทัพของอิตาลีในแอฟริกาตะวันออก อีกประเทศหนึ่ง คือ ซูดาน
ซึ่งแยกออกจากอียิปต์ในปี ค.ศ. 1956 แต่เมื่อฝรั่งเศส เกรทบริเตน(อังกฤษ) และเบลเยี่ยม เริ่มยอมรับว่า
ไม่สามารถหยุดยั้งลัทธิชาตินิยมในแอฟริกาใต้ โดยปราศจากการทุ่มเททรัพยากรจำนวนมหาศาลและโดยไม่ก่อปัญหา
ยุ่งยากทางการเมืองขึ้นในสหประชาชาติ มหาอำนาจอาณานิคมเหล่านั้นจึงเปิดประตูให้กระแสคลื่นของกระบวนการ
ชาตินิยมในอาณานิคมของตนไหลผ่านไป มีเพียงโปรตุเกสและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เท่านั้นที่ยังสงบนิ่ง
การก่อความวุ่นวายและจลาจลระบาดไปทั่วใน
กาน่า

เคนยา

แทนแกนยิกา , โรดีเซียเหนือ และในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกาแถบเส้นศูนย์สูตรของฝรั่งเศส
เรื่องเหล่านี้สั่นคลอนการปกครองอาณานิคม แรงกดดันจากประเทศได้รับอิสรภาพใหม่ๆ แรงกดดันจากสหภาพโซเวียต
จากสาธารณรัฐประชาชนจีน และจากนโยบายต่อต้านจักรวรรดินิยมของ ที่ประชุมเอเชีย-แอฟริกา ที่เปิดประชุมที่บันดง
ประเทศอินโดนีเซีย (การประชุมบันดง) ในปี ค.ศ. 1955 แรงกดดันเหล่านี้ทำให้อาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก
จำนวนมากมายในแอฟริกาได้รับอิสรภาพครั้งใหญ่ จุดแตกดับขั้นเด็ดขาดของแนวหน้าจักรวรรดินิยมเกิดขึ้นเมื่อ
กาน่า(โกลด์โคสต์เดิม) กลายเป็นประเทศปกครองตนเองในปี ค.ศ. 1957 อีกห้าปีต่อมาจากปี ค.ศ. 1958-1962
มีประเทศอิสรภาพใหม่ 23 ประเทศเกิดขึ้นในบริเวณนั้น และจากปี ค.ศ. 1963-1968 มีประเทศอิสรภาพเพิ่มขึ้น
อีก 10 ประเทศในบริเวณภูมิภาคเดียวกันของแอฟริกา ประเทศอิสรภาพเกิดใหม่หลายประเทศคงมีความผูกพัน
ทางเศรษฐกิจและทางทหารเป็นพิเศษกับประเทศเจ้าของอาณานิคม

ในโรดีเซีย (โรดีเซียใต้เดิม)

พวกชาวผิวขาวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่นั้นเตรียมยึดอำนาจการปกครองประเทศ ดังนั้นในขณะที่โรดีเซียยังคงเป็น
อาณานิคมของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1965 โรดีเซียกลายเป็นประเทศปกครองโดยชนผิวขาวซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย
โปรตุเกสยังคงครอบครองอาณานิคมในแอฟริกาของตนต่อไป ในกินีของโปรตุเกส ในอังโกลาและโมซัมบิก
กองโจรชาตินิยมเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศได้รับการค้ำประกันความปลอดภัยจากสมาชิกของ
นาโต

ได้ส่งกองทหารของตนเป็นจำนวนมากไปประจำการอยู่ในอาณานิคมของตนในแอฟริกา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 03, 2006, 10:42:37 PM โดย narongt » บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2006, 09:09:07 PM »

ลัทธิจักรวรรดินิยมแบบใหม่ (NEOCOLONIALISM)

การล่มสลายอย่างรวดเร็วของลัทธิอาณานิคมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เป็นแรงกระตุ้นให้
ประเทศมหาอำนาจหาวิธีการใหม่ในการเข้าไปครอบงำประเทศที่มีความก้าวหน้าน้อยกว่า การควบคุมและ
การใช้อิทธิพลโดยวิธีอื่นๆ นอกเหนือไปจากวิธีครอบครองอาณานิคมโดยตรงไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ ความจริงแล้ว
จักรวรรดิไม่ใช่รูปแบบ (ไม่มีดินแดนเป็นอาณานิคม) เป็นส่วนประกอบสำคัญเรื่องหนึ่งตลอดช่วงเวลาวิวัฒนาการ
ของลัทธิทุนนิยม โดยถือว่าเป็นวิธียึดครองตลาดให้มั่นคง และเป็นวิธีของการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบพร้อมๆกับ
ลัทธิจักรวรรดินิยมควบคู่กันไป การสร้างจักรวรรดิไม่ใช่รูปแบบช่วยให้ประเทศมีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม
ได้วัตถุดิบและอาหารจากประเทศที่มีความเจริญน้อยกว่าหรือประเทศด้อยพัฒนา การแพร่หลายของจักรวรรดิไม่ใช่รูปแบบ
เข้ามาแทนที่จักรวรรดิตามรูปแบบ (อาณานิคม) การนำเอากลไกใหม่ๆ ของการครอบครองจักรวรรดิไม่ใช่รูปแบบ เป็นไป
อย่างกว้างขวางนับตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ทำให้เกิดคำว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมแบบใหม่
(NEOCOLONIALISM)
แทนคำว่า จักรวรรดิไม่ใช่รูปแบบ (INFORMAL IMPERALIST) ตามที่อังกฤษ
และสหรัฐ เคยนำมาใช้สมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

ความหมายของคำว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมแบบใหม่หรือลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ (NEOCOLONIALISM) หมายถึง
การควบคุมจากต่างประเทศต่อประเทศมีอิสรภาพแต่เพียงในนาม ในแง่มุมที่แคบมากที่สุด ลัทธิอาณานิคมแบบใหม่
หมายถึงว่า ประเทศภายนอกหรือกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่างชาติเข้ามาครอบงำเรื่องเศรษฐกิจและนโยบาย
ทางเศรษฐกิจของอีกประเทศหนึ่ง และโดยปกติจะลงเอยด้วยการเข้ามามีอิทธิพลในนโยบายทางการเมืองและ
ทางทหารของประเทศนั้นด้วย
นอกจากนั้นคำว่าลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ยังถูกนำมาใช้
เพื่อแสดงความหมาย ความยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมและคุณค่าของมหาอำนาจอาณานิคมเดิม

นอกเหนือไปจากจารีตประเพณีทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยอาณานิคมแล้ว อย่างเช่น
ในระบบการศึกษาและระบบข้าราชการ เทคนิคเดียวกันของการให้อิสรภาพแก่บรรดาอาณานิคม เป็นตัวกำหนด
โครงร่างของลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ให้กับหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น การเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่องของ
อาณานิคมเดิมของฝรั่งเศสและอังกฤษในปัจจุบันเป็นการสร้างความสะดวกในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า
ที่มีอยู่ให้คงทนถาวรตลอดไป นอกจากนั้นยังมีการใช้เทคนิคต่างๆ อีกมากมาย เช่นใช้วิธียืดเวลาเรื่องการผูกพัน
ทางเศรษฐกิจให้ยาวนาน การตั้งระบบโควตาสำหรับการส่งออกของประเทศที่มีอดีตเป็นอาณานิคมเดิมของตน
อย่างไรก็ดี ที่สำคัญมากที่สุดคือ ความต่อเนื่องของโครงสร้างทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานซึ่งวิวัฒนาการมาตั้งแต่
เป็นอาณานิคม และเป็นดินแดนในอาณัติให้เติบโตตรงกับความต้องการของศูนย์กลางของสังคมเมือง
เรื่องนี้หมายความว่า ในที่สุดสังคมของประเทศเช่นนั้นต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจ และการเงินจากศูนย์กลาง
ทางการเงินและอุตสาหกรรม ดังนั้นรูปแบบของการใช้ทรัพยากรภายในประเทศจึงถูกควบคุมและบริหาร
ส่วนใหญ่ โดยนักลงทุน โดยธนาคาร และโดยพ่อค้าของประเทศที่ก้าวหน้ากว่าที่ประเทศนั้นต้องการพึ่งพาอาศัย

บางทีตัวประกอบที่มีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องพัฒนาการของลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ คือ การเล่นบทบาท
ที่ขยายตัวแผ่คลุมไปทั่วโลกของสหรัฐ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติ สหรัฐเป็นประเทศมีพลังทางด้านเศรษฐกิจ
และการทหารยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้ สหรัฐสวมบทบาทของผู้นำโลกที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์แล้วลงปฏิบัติภารกิจ
ในหน้าที่เช่นนั้นในบทบาททุกอย่างเท่าที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้สำหรับบรรดาผู้นำของสหรัฐ รวมทั้งบรรดา
ผู้นำพันธมิตรของสหรัฐ อันตรายใหญ่โตที่กำลังเผชิญหน้ากับโลกของฝ่ายทุนนิยมอยู่ในขณะนั้น คือ
การขยายตัวของคอมมิวนิสต์ ดังนั้นปัญหาเร่งด่วนคือ ต้องคุ้มกันให้โลกอยู่ในแนวทางเศรษฐกิจและการเมือง
ที่เอื้ออำนวยอย่างต่อเนื่องตามรูปแบบของการค้าและการลงทุนที่เคยมีมาให้คงอยู่ต่อไป ดังนั้นความจำเป็นยิ่งก็คือ
ต้องป้องกันการปฏิวัติสังคมที่อาจนำไปสู่การยึดทรัพย์สินและอุตสาหกรรมของต่างชาติ หรือ
การปฏิวัติสังคมที่นำไปสู่การจำกัดโอกาสทางการค้าและการลงทุน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ

(ความเห็นส่วนตัวว่า ความขัดแย้งของการเมืองไทยคือ การต่อสู้กันระหว่างการเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิวัติ
ให้มีเศรษฐกิจที่อยู่แบบพอเพียงแต่ทำให้มีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เอื้อให้กลุ่มทุนที่มีอำนาจอยู่
ในปัจจุบันสูญเสียผลประโยชน์ กับเศรษฐกิจที่หลอกให้ลงทุนและบริโภคจนเกินตัว เพื่อเอื้อให้กลุ่มทุนที่มีอำนาจอยู่
ในปัจจุบันได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ผลลัพธ์คือ ต่างชาติจะเข้ามายึดครองประเทศได้ทั้งหมด)


กลยุทธ์ในการสกัดกั้นของประเทศสังคมนิยม และป้องกันหรือกดดันการปฏิวัติสังคม สหรัฐจึงจัดตั้งฐานทัพทางทหารเป็น
เครือข่ายครอบคลุมไว้ทั่วโลก มีฐานทัพหลายแห่งตั้งอยู่ในประเทศที่เคยมีอดีตเป็นอาณานิคม นอกจากการใช้เครือข่าย
ทางทหารคลุมโลกไว้แล้ว สหรัฐยังดำเนินงานทางทูตและทางทหารอย่างเข้มแข็งในประเทศ ซึ่งในความเห็นของสหรัฐแล้ว
เป็นภัยร้ายแรงต่อ "โลกเสรี" การทำสงครามใหญ่ในเวียดนามของสหรัฐ คือ ตัวอย่างดังมากที่สุดของสหรัฐในประเด็นนี้
ตัวอย่างที่ดังน้อยกว่าแต่เป็นการปฏิบัติได้ผลมาก คือสหรัฐโค่นล้มรัฐบาล โมชาดเดกของอิหร่าน ในปี ค.ศ. 1953

เพราะรัฐบาลนั้นโอนกิจการอุตสาหกรรมของต่างชาติเป็นของรัฐ ในวิธีเดียวกันในปีต่อมาสหรัฐ
ดำเนินการให้ทหารโค่นล้มรัฐบาลของ กัวเตมาลา เพราะรัฐบาลนั้นโอนไร่กล้วยของชาวอเมริกันเป็นของรัฐ
นอกจากนั้นแล้วสหรัฐยังส่งนาวิกโยธินเข้าไปในเลบานอนในปี ค.ศ. 1958

และส่งเข้าไปในสาธารณรัฐโดมินิกัน ในปี ค.ศ. 1965 เพื่อควบคุมเหตุการณ์ในประเทศดังกล่าวให้อยู่ในแนวทาง
ที่เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐ

ในบรรดาเทคนิคใหม่ๆ ที่สหรัฐนำมาใช้ เพื่อควบคุมประเทศอื่นในลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ หรือในจักรวรรดิไม่ใช่รูปแบบ
อีกเรื่องหนึ่ง คือการให้กู้ยืมเงินเพื่อเป็น "การช่วยเหลือ" ทางทหารและเศรษฐกิจ เป็นที่เห็นได้ชัดว่าการช่วยเหลือทางทหาร
เป็นเครื่องมือสำคัญให้มิตรประเทศของสหรัฐผูกพันอยู่กับสหรัฐแน่นหนายิ่งขึ้น และรักษาสถานะเดิมของประเทศนั้นไว้
ให้คงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ดีมีการแปลความขัดแย้งกันในเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ประเทศผู้รับการช่วยเหลือ
เข้าใจว่าประเทศมหาอำนาจที่ให้ความช่วยเหลือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางมนุษยธรรม ที่ประเทศมั่งคั่งแบ่งความมั่งคั่ง
เช่นนั้นให้กับประเทศยากจนกว่า แต่มีหลายประเทศมองเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือเช่นนั้น เป็นเพียงการเอาชนะและจูงใจ
ให้ประเทศผู้รับหันมาผูกพันทางการเมืองและทางทหาร และเป็นการสร้างบรรยากาศให้ดีขึ้นของการลงทุนจากประเทศผู้ให้
ความช่วยเหลือ รวมทั้งการได้วัตถุดิบจากประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือ
บันทึกการเข้า
narongt
Sr. Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 749


« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2006, 09:11:25 PM »

ขอจบกระทู้ ลัทธิล่าอาณานิคม มหันตภัยของไทยทั้งชาติ ไว้เพียงเท่านี้

หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับคนไทย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.193 วินาที กับ 21 คำสั่ง