ฟังไว้ แล้วติดตามข่าวเป็นระยะก็พอครับ
เชื่อกันจริงๆ เหรอครับว่าทำได้ง่ายๆ
ประเด็นแรก ไปดูเรื่องสิทธิในทรัพย์สินตามรัฐธรรมนูญกันก่อน
แม้จะเปิดช่องทาง แต่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ ครับ
ประเด็นต่อมา กฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่มีผลกระทบกับสิทธิไม่ได้ทำเสร็จในวันสองวัน เดือนสองเดือนนะครับ
กระบวนการร่างกฎหมายมีขั้นตอน มีรายละเอียดที่เราไม่ทราบกันอีกเยอะ ไม่ใช่เขียนประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
คอยดูไปก่อน เค้าโยนหินถามทางให้เต้น ก็อย่าไปเต้นตามครับ
รัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดของประเทศ เขายังจะแก้ให้ได้ภายในไม่กี่เดือนเลยครับ รับหลักการวาระ 1 วาระ 2 - วาระ 3 พิจารณารวดเดียว นับประสาอะไรกับการออกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติสักฉบับ สมมุตินะครับ "ร่างพระราชบัญญัติควบคุมอาวุธปืน พ.ศ. ................" โดยเขียนเลยว่ายกเลิกพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน พ.ศ. 2490 และในบทเฉพาะกาล หรืออาจมีบางมาตราเขียนว่ากฎหมายนี้ไม่ใช้บังคับกับอาวุธปืนในส่วนของทหาร ตร. หรือข้าราชการผู้มีหน้าที่ปราบปราม หรือผู้ที่รมว.มหาดไทย เห็นสมควร แค่นี้ก็เกมส์แล้ว
การที่จะอ้างว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ แต่ๆๆๆๆๆๆ รัฐธรรมนูญเขาห้ามประชาชนยื่นต่อศาลโดยตรง ต้องยื่นผ่านช่องทางที่กำหนดเช่นผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น
การแก้รัฐธรรมนูญที่กล่าวถึง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนหลักการ ขั้นตอน ถูกต้องหรือไม่ เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งตอนนี้ ก็เป็นไปตามกระบวนการแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้วินิจฉัย
กลับมากรณีการปรับปรุงแก้ไข พรบ อาวุธปืนฯ ซึ่งผมมิได้บอกว่าเห็นด้วยกับการแก้ไข
แต่กระบวนการแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัตินั้น ไม่ง่ายครับ
มีกระบวนการและขั้นตอนชัดเจน ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของการเสนอกฎหมาย
ถ้ามีจริง ยังไงเราก็มีสิทธิแสดงความคิดเห็นในขั้นตอนนั้นได้ ไม่ใช่อุบอิบเสนอครับ
ตอนนี้เค้าโยนหินถามทาง ให้เราตื่นข่าว ก็ไม่อยากให้เต้นตาม
ไว้เร้ามีร่าง พรบ อาวุธปืนฯ ฉบับที่ พ.ศ. .... จริงค่อยมาว่ากันก็ไม่สาย
ตราบใดที่ตอนนี้เราๆ ท่านๆ ยื่นขอ ป. 3 ตามขั้นตอน แล้วเค้ายังอนุมัติ แสดงว่าสถานการณ์ยังปกติครับ