ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ ที่รวมเอาองค์ประกอบ ทั้งกลไกการทำงาน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์ นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นอุปกรณ์ ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การอธิบายการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถือว่าได้ง่าย ภายในฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter หลายแผ่นหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่น ขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อต่างกันไป เมื่อผู้ใช้ พิมพ์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แขนกลของฮาร์ดดิสก์ จะรอบรับคำสั่งและเคลื่อนที่ ไปยังส่วนที่ถูกต้องของ Platter เมื่อถึงที่หมาย ก็จะทำการอ่านข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์นั้น หัวอ่านจะอ่านข้อมูลแล้วส่งไปยัง ซีพียู จากนั้น ไม่นานข้อมูลที่ต้องการก็จะปรากฏ การทำงานเขียนอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิกส์ จะมีการทำงาน คล้ายกับการทำงาน ของของเทปคาสเซ็ท แพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ นั้นจะเคลือบไปด้วยวัตถุจำพวกแม่เหล็ก ที่มีขนาดความหนา เพียง 2-3 ในล้านส่วนของนิ้ว แต่จะต่างจากเทปทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์นั้นจะใช้หัวอ่านเพียง หัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่าน และเขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิกส์ ส่วนเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นหัวอ่านจะได้ รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่ คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อสร้างรูปแบบแม่เหล็กบนสื่อ ที่เคลือบอยู่บนแพล็ตเตอร์ซึ่งเท่า กับเป็นการเขียนข้อมูลลงบน ฮาร์ดดิสก์ การอ่านนั้น ก็จะเป็นการแปลงสัญญาณรูปแบบแม่เหล็กที่ได้บันทึก อยู่บนฮาร์ดิสก์กลับแล้วเพิ่ม สัญญาณและทำการ ประมวลผล ให้กลับมาเป็นข้อมูลอีกครั้งอีก
จากรูปเป็นภาพตัดขวางของฮาร์ดดิสค์แสดงแผ่นจาน แกนหมุน Spindle หัวอ่านเขียน และก้านหัวอ่านเขียน
จุดที่แตกต่าง กันของการเก็บข้อมูลระหว่าง ออดิโอเทปกับฮาร์ดดิสก์นั้นก็ คือเทปจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของ สัญญาณ อนาล็อก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้นจะ เก็บในรูป สัญญาณ ดิจิตอลโดยจะเก็บเป็นเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ฮาร์ดดิสก์ จะเก็บข้อมูลไว้ใน Track หรือ เส้นวงกลม โดยจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ด้านนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นจึงไล่เข้ามาด้านในสุด โดยฮาร์ดดิสก์ จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสุ่มเข้าถึงข้อมูลได้ คือการที่หัวอ่าน สามารถเคลื่อนที่ ไปอ่านข้อมูลบนจุดใดของ ฮาร์ดดิสก์ก็ได้ ไม่เหมือนกับเทปเพลง ที่หากจะต้องการฟังเพลง ถัดไปเราก็ต้องกรอเทป ไปยังจุดเริ่มต้นของเพลงนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ นั้นสามารถบินอยู่เหนือพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลทันทีที่ได้รับตำแหน่ง มาจากซีพียู ซึ่งการเข้า ถึงข้อมูลแบบสุ่มนี้เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ สามารถแทนที่เทป ในการเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์นั้นสามารถ เก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้านของ แพล็ตเตอร์ ถ้าหัวอ่านเขียนนั้นอยู่ทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นฮาร์ดดิสก์ที่ มีแพล็ตเตอร์ 2 แผ่นนั้นสามารถมีพื้นที่ ในการ เก็บข้อมูลได้ถึง 4 ด้าน และมีหัวอ่านเขียน 4 หัวการเคลื่อนที่ของ หัวอ่านเขียนนี้จะมีการเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กันโดยจะมีการเคลื่อนที่ที่ตรงกัน Track วงกลมนั้นจะถูกแบ่งออก เป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector การเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้น จะเริ่มเขียนจากรอบนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นเมื่อข้อมูลใน Track นอกสุดถูกเขียนจนเต็มหัวอ่าน ก็จะเคลื่อนมายังแทร็กถัดมา ที่ว่างแล้วทำการเขียน ข้อมูลต่อไป ซึ่งก็ด้วยวิธีการนี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูง เป็นอย่างมากเพราะหัวอ่านเขียนสามารถบันทึกข้อ มูลได้มากกว่า ในตำแหน่งหนึ่งก่อน ที่จะเคลื่อนที่ไปยังแทร็คถัดไป
สาเหตุการเกิด Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์ ในปัจจุบันที่เรามักจะพบกันได้บ่อยๆ และเป็นปัญหาที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ก็คือฮาร์ดดิสก์ เกิด Bad Sector ซึ่งจะส่งผลให้ข้อมูลที่เรามีอยู่ในเครื่องเกิดสูญหายไป ดังนั้นเราน่ามีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ โดยมาดูกันว่าสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหา Bad Sector มีอะไรกันบ้าง
1. สินค้าฮาร์ดดิสก์ เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อแรงกระแทกค่อนข้างมาก ดังนั้น ไม่ควรกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อตัวฮาร์ดดิสก์ เพราะจะทำให้เกิดปัญหา Bad Sector ได้ง่าย ตัวอย่างของแรงกระแทก ได้แก่
1.1 กรณีที่ตัวเคสวางอยู่ใต้โต๊ะทำงาน แล้วขาไปกระแทกเคส ในขณะที่เครื่องกำลัง อ่านหรือเขียนข้อมูลอยู่
1.2 กรณีที่มีการขนย้ายเครื่อง ตัวฮาร์ดดิสก์จะไม่มีตัวป้องกันแรงกระแทกเลย เนื่องจากตัวมันเองจะถูกยึดติดอยู่กับเคส และตัวเคส ส่วนใหญ่เวลาที่มีการเคลื่อนย้าย มักไม่มีการหีบห่อใดๆ เลย
1.3 กรณีที่เป็นสินค้าใหม่ ถ้ามาจากโรงงาน จะมีกล่องใสๆ ห่อหุ้มอยู่ เพื่อกันแรงกระแทก ซึ่งเรียกว่า SeaShell คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามีไว้ทำไม จึงไม่ค่อยใส่ฮาร์ดดิสก์ในกล่องนี้ ทำให้เกิดแรงกระแทกได้ง่าย
1.4 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในเคส ก็มักจะมีการเปิดฝาเคสไว้เพื่อความสะดวก แล้วก็ทำการเปิดเครื่องดูว่าเครื่องสามารถทำงานได้ตามความต้องการหรือไม่
ในกรณีที่การติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งมักพบเห็นได้บ่อยๆ ว่าช่างที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ จะมีการเคลื่อนย้าย ขยับ หรือหมุนตัวเคส ไป-มา ทั้งๆ ที่ยังเปิดเครื่องอยู่ ซึ่งตรงนี้จะก่อให้เกิดแรงกระแทกระหว่างหัวอ่านกับจาน ของฮาร์ดดิสก์ และทำให้เกิด Bad Sector ตามมา
1.5 การติดตั้งโดยที่ขันน๊อตไม่ครบ ทั้ง 4 ตัว โดยปกติในการติดตั้งฮาร์ดดิสก์เข้ากับตัวเคสเราจะต้องยึดน๊อตทั้งหมด 4 ตัว เพื่อให้เกิดความมั่นคงและแข็งแรง
แต่ในบางครั้งเราก็พบว่ามีการยึดน๊อตเพียง 2 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของเคสที่ออกแบบมาไม่ดีมีรูยึดอุปกรณ์ไมี่ครบก็ได้
ดังนั้นในการเลือกซื้อเคส ให้พิจารณาเรื่องรูสำหรับยึดน๊อตของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย เมื่อเรายึดน๊อตไม่ครบ ปัญหาที่ตามมาคือตัวฮาร์ดดิสก์จะมีการสั่นคลอนและเกิดเสียงดังเวลาที่ทำงาน และจะเกิดแรงสั่นสะเทือน เมื่อใช้ไปนานๆ จะก่อให้เกิดปัญหา Bad Sector ได้เช่นกัน
2. อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ทุกชนิด ต้องการแรงดันไฟเพื่อนำไปเลี้ยงให้กับส่วนต่างๆ ทำงาน ดังนั้นแรงดันไฟ จึงมีผลต่อประสิทธิภาพและการทำงานของฮาร์ดดิสก์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างของ Bad Sector ที่มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากแรงดันไฟ ได้แก่
2.1 เกิดไฟฟ้าดับระหว่างที่ฮาร์ดดิสก์ กำลังเขียนข้อมูล ทำให้ ณ จุดที่กำลังเขียนข้อมูลอยู่นั้นไม่สมบูรณ์ ครั้งต่อไปที่ในอ่านข้อมูล ตรงนี้
ระบบก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลตรงนี้ เขียนว่าอย่างไร และจะรายงานผลออกมาว่าเป็น Bad Sector
2.2 เกิดไฟกระชาก ( ซึ่งอาจเกิดจากมีฟ้าแลบ หรือฟ้าผ่า บริเวณใกล้บ้านท่าน แล้วเกิดไฟฟ้าแรงสูงวิ่งมาตามสายไฟ มาเข้าบ้านท่าน) ขณะที่กำลัง เขียนข้อมูล
ก็จะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับข้อ 2.1
2.3 ตัวจ่ายไฟ (Power Supply) เกิดความบกพร่อง โดยอาจจะจ่ายไฟ ออกมาไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่กำลังเขียนข้อมูล ซึ่งมักจะเกิดขึ้น ขณะที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากๆ
พร้อมๆ กัน เช่น ขณะที่เขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ก็มีการอ่านข้อมูลจากซีดีด้วย พร้อมๆ กัน หรือมีการ Eject ซีดี ซึ่งช่วงที่มอเตอร์ ทุกชนิดกำลังจะเริ่มหมุน
จะมีการดึงกระแสไฟมากกว่าปกติ ซึ่งเรื่องนี้ ผู้ใช้งานหลายๆ คนมักจะมองข้ามความสำคัญของ ตัวจ่ายไฟ ส่งฮาร์ดดิสก์มาเคลม แล้ว เคลมอีก
ใช้แป๊บเดียวก็จะเสียอีกเช่นเดิมหมายเหตุ อาการ Bad Sector ที่เกิดจากสาเหตุในหัวข้อนี้ มักจะสามารถแก้ไขได้ โดยใช้โปรแกรม แนะนำให้ใช้ คือ โปรแกรม Disk Manager 3. การติดตั้งที่ไม่ระวังจนทำให้ฟอยด์ที่เป็นอลูมิเนียมด้านข้างฮาร์ดดิสก์ เกิดการฉีกขาด จนเป็นรู ทำให้อากาศภายนอกเข้าไปในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งอากาศที่เข้าไปในฮาร์ดดิสก์จะมีพวกฝุ่นผงอยู่ ทำให้ไปแทรกอยู่ระหว่างหัวอ่านกับตัวจาน เมื่อมีการหมุนก็จะทำให้เกิดรอยบนจาน กลายเป็น Bad Sector ซึ่งในกรณีนี้ ทางโรงงานผู้ผลิต ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการรับประกัน เนื่องจากการเก็บรักษาและใช้งานที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดดิสก์ และไม่รับเคลม ดังนั้นท่านผู้ใช้ต้องระวังเรื่องนี้ให้มากๆ รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของการผิดเงื่อนไขการรับประกัน 1. ฟอยด์ ด้านข้างขาด หรือทะลุ จนมีรูให้อากาศเข้าไปภายในฮาร์ดดิสก์
2. ยางหุ้มสีดำ ฉีกขาด หรือหลุดหาย
3. ซีเรียลของสินค้า ด้านบนและด้านของของตัวฮาร์ดดิสก์ ไม่ตรงกัน
4. มีร่องรอยของการแกะ ฮาร์ดดิสก์
5. มีรอยกระแทก จน ยุบ , บุบ ,งอ ,หรือบิ่น
6. ตัวลาเบลด้านบนมีรอยย่น เนื่องจากมีการถอดยางหุ้ม
7. Connector มีรอยแตก หรือหัก หรือเข็มงอ , หาย
8. มีรอยหยอดกาวที่คอนเนคเตอร์
9. บาร์โค๊ด ด้านข้างของตัวฮาร์ดดิสก์ หายไปทั้งแถบ
10. มีรอยไหม้บนตัวอุปกรณ์
11. มีคราบของเหลว หรือสนิม บนตัวอุปกรณ์ กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ทนอ่านจนจบ (เนื้อหาค่อนข้างเยอะ) หวังว่ากระทู้นี้คงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย นะครับ....