เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กันยายน 27, 2024, 06:19:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เก็บมาเล่า... ฮาร์ดดิสก์ ตัวการสำคัญในการที่จะเก็บข้อมูล (ไร้สาระ...ไปวันๆ)  (อ่าน 2777 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2006, 08:29:20 PM »

    ฮาร์ดดิสก์  เป็นอุปกรณ์ ที่รวมเอาองค์ประกอบ ทั้งกลไกการทำงาน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์ นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นอุปกรณ์ ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การอธิบายการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถือว่าได้ง่าย ภายในฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter หลายแผ่นหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่น ขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อต่างกันไป เมื่อผู้ใช้ พิมพ์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แขนกลของฮาร์ดดิสก์ จะรอบรับคำสั่งและเคลื่อนที่ ไปยังส่วนที่ถูกต้องของ Platter เมื่อถึงที่หมาย ก็จะทำการอ่านข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์นั้น หัวอ่านจะอ่านข้อมูลแล้วส่งไปยัง ซีพียู จากนั้น ไม่นานข้อมูลที่ต้องการก็จะปรากฏ การทำงานเขียนอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิกส์ จะมีการทำงาน คล้ายกับการทำงาน ของของเทปคาสเซ็ท แพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ นั้นจะเคลือบไปด้วยวัตถุจำพวกแม่เหล็ก ที่มีขนาดความหนา เพียง 2-3 ในล้านส่วนของนิ้ว แต่จะต่างจากเทปทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์นั้นจะใช้หัวอ่านเพียง หัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่าน และเขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิกส์ ส่วนเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นหัวอ่านจะได้ รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่ คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อสร้างรูปแบบแม่เหล็กบนสื่อ ที่เคลือบอยู่บนแพล็ตเตอร์ซึ่งเท่า กับเป็นการเขียนข้อมูลลงบน ฮาร์ดดิสก์ การอ่านนั้น ก็จะเป็นการแปลงสัญญาณรูปแบบแม่เหล็กที่ได้บันทึก อยู่บนฮาร์ดิสก์กลับแล้วเพิ่ม สัญญาณและทำการ ประมวลผล ให้กลับมาเป็นข้อมูลอีกครั้งอีก

 
จากรูปเป็นภาพตัดขวางของฮาร์ดดิสค์แสดงแผ่นจาน แกนหมุน Spindle หัวอ่านเขียน และก้านหัวอ่านเขียน

    จุดที่แตกต่าง กันของการเก็บข้อมูลระหว่าง ออดิโอเทปกับฮาร์ดดิสก์นั้นก็ คือเทปจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของ สัญญาณ อนาล็อก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้นจะ เก็บในรูป สัญญาณ ดิจิตอลโดยจะเก็บเป็นเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ฮาร์ดดิสก์ จะเก็บข้อมูลไว้ใน Track หรือ เส้นวงกลม โดยจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ด้านนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นจึงไล่เข้ามาด้านในสุด โดยฮาร์ดดิสก์ จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสุ่มเข้าถึงข้อมูลได้ คือการที่หัวอ่าน สามารถเคลื่อนที่ ไปอ่านข้อมูลบนจุดใดของ ฮาร์ดดิสก์ก็ได้ ไม่เหมือนกับเทปเพลง ที่หากจะต้องการฟังเพลง ถัดไปเราก็ต้องกรอเทป ไปยังจุดเริ่มต้นของเพลงนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ นั้นสามารถบินอยู่เหนือพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลทันทีที่ได้รับตำแหน่ง มาจากซีพียู ซึ่งการเข้า ถึงข้อมูลแบบสุ่มนี้เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ สามารถแทนที่เทป ในการเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์นั้นสามารถ เก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้านของ แพล็ตเตอร์ ถ้าหัวอ่านเขียนนั้นอยู่ทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นฮาร์ดดิสก์ที่ มีแพล็ตเตอร์ 2 แผ่นนั้นสามารถมีพื้นที่ ในการ เก็บข้อมูลได้ถึง 4 ด้าน และมีหัวอ่านเขียน 4 หัวการเคลื่อนที่ของ หัวอ่านเขียนนี้จะมีการเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กันโดยจะมีการเคลื่อนที่ที่ตรงกัน Track วงกลมนั้นจะถูกแบ่งออก เป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector การเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้น จะเริ่มเขียนจากรอบนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นเมื่อข้อมูลใน Track นอกสุดถูกเขียนจนเต็มหัวอ่าน ก็จะเคลื่อนมายังแทร็กถัดมา ที่ว่างแล้วทำการเขียน ข้อมูลต่อไป ซึ่งก็ด้วยวิธีการนี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูง เป็นอย่างมากเพราะหัวอ่านเขียนสามารถบันทึกข้อ มูลได้มากกว่า ในตำแหน่งหนึ่งก่อน ที่จะเคลื่อนที่ไปยังแทร็คถัดไป

สาเหตุการเกิด Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์
 
   ในปัจจุบันที่เรามักจะพบกันได้บ่อยๆ และเป็นปัญหาที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ก็คือฮาร์ดดิสก์ เกิด Bad Sector ซึ่งจะส่งผลให้ข้อมูลที่เรามีอยู่ในเครื่องเกิดสูญหายไป ดังนั้นเราน่ามีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ โดยมาดูกันว่าสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหา Bad Sector มีอะไรกันบ้าง
 
1. สินค้าฮาร์ดดิสก์ เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อแรงกระแทกค่อนข้างมาก ดังนั้น ไม่ควรกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อตัวฮาร์ดดิสก์ เพราะจะทำให้เกิดปัญหา Bad Sector ได้ง่าย ตัวอย่างของแรงกระแทก ได้แก่
   1.1 กรณีที่ตัวเคสวางอยู่ใต้โต๊ะทำงาน แล้วขาไปกระแทกเคส ในขณะที่เครื่องกำลัง อ่านหรือเขียนข้อมูลอยู่
   1.2 กรณีที่มีการขนย้ายเครื่อง ตัวฮาร์ดดิสก์จะไม่มีตัวป้องกันแรงกระแทกเลย เนื่องจากตัวมันเองจะถูกยึดติดอยู่กับเคส และตัวเคส ส่วนใหญ่เวลาที่มีการเคลื่อนย้าย มักไม่มีการหีบห่อใดๆ เลย
   1.3 กรณีที่เป็นสินค้าใหม่ ถ้ามาจากโรงงาน จะมีกล่องใสๆ ห่อหุ้มอยู่ เพื่อกันแรงกระแทก ซึ่งเรียกว่า SeaShell คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามีไว้ทำไม จึงไม่ค่อยใส่ฮาร์ดดิสก์ในกล่องนี้ ทำให้เกิดแรงกระแทกได้ง่าย
   1.4 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในเคส ก็มักจะมีการเปิดฝาเคสไว้เพื่อความสะดวก แล้วก็ทำการเปิดเครื่องดูว่าเครื่องสามารถทำงานได้ตามความต้องการหรือไม่
        ในกรณีที่การติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งมักพบเห็นได้บ่อยๆ ว่าช่างที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ จะมีการเคลื่อนย้าย ขยับ หรือหมุนตัวเคส ไป-มา ทั้งๆ ที่ยังเปิดเครื่องอยู่ ซึ่งตรงนี้จะก่อให้เกิดแรงกระแทกระหว่างหัวอ่านกับจาน ของฮาร์ดดิสก์ และทำให้เกิด Bad Sector ตามมา
   1.5 การติดตั้งโดยที่ขันน๊อตไม่ครบ ทั้ง 4 ตัว โดยปกติในการติดตั้งฮาร์ดดิสก์เข้ากับตัวเคสเราจะต้องยึดน๊อตทั้งหมด 4 ตัว เพื่อให้เกิดความมั่นคงและแข็งแรง
        แต่ในบางครั้งเราก็พบว่ามีการยึดน๊อตเพียง 2 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของเคสที่ออกแบบมาไม่ดีมีรูยึดอุปกรณ์ไมี่ครบก็ได้
        ดังนั้นในการเลือกซื้อเคส ให้พิจารณาเรื่องรูสำหรับยึดน๊อตของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย เมื่อเรายึดน๊อตไม่ครบ ปัญหาที่ตามมาคือตัวฮาร์ดดิสก์จะมีการสั่นคลอนและเกิดเสียงดังเวลาที่ทำงาน และจะเกิดแรงสั่นสะเทือน เมื่อใช้ไปนานๆ จะก่อให้เกิดปัญหา Bad Sector ได้เช่นกัน
 
2. อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ทุกชนิด ต้องการแรงดันไฟเพื่อนำไปเลี้ยงให้กับส่วนต่างๆ ทำงาน ดังนั้นแรงดันไฟ จึงมีผลต่อประสิทธิภาพและการทำงานของฮาร์ดดิสก์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างของ Bad Sector ที่มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากแรงดันไฟ ได้แก่
   2.1 เกิดไฟฟ้าดับระหว่างที่ฮาร์ดดิสก์ กำลังเขียนข้อมูล ทำให้ ณ จุดที่กำลังเขียนข้อมูลอยู่นั้นไม่สมบูรณ์ ครั้งต่อไปที่ในอ่านข้อมูล ตรงนี้
        ระบบก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลตรงนี้ เขียนว่าอย่างไร และจะรายงานผลออกมาว่าเป็น Bad Sector
   2.2 เกิดไฟกระชาก ( ซึ่งอาจเกิดจากมีฟ้าแลบ หรือฟ้าผ่า บริเวณใกล้บ้านท่าน แล้วเกิดไฟฟ้าแรงสูงวิ่งมาตามสายไฟ มาเข้าบ้านท่าน) ขณะที่กำลัง เขียนข้อมูล
         ก็จะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับข้อ 2.1
   2.3 ตัวจ่ายไฟ (Power Supply) เกิดความบกพร่อง โดยอาจจะจ่ายไฟ ออกมาไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่กำลังเขียนข้อมูล ซึ่งมักจะเกิดขึ้น ขณะที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากๆ
         พร้อมๆ กัน เช่น ขณะที่เขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ก็มีการอ่านข้อมูลจากซีดีด้วย พร้อมๆ กัน หรือมีการ Eject ซีดี ซึ่งช่วงที่มอเตอร์ ทุกชนิดกำลังจะเริ่มหมุน
         จะมีการดึงกระแสไฟมากกว่าปกติ ซึ่งเรื่องนี้ ผู้ใช้งานหลายๆ คนมักจะมองข้ามความสำคัญของ ตัวจ่ายไฟ ส่งฮาร์ดดิสก์มาเคลม แล้ว เคลมอีก
ใช้แป๊บเดียวก็จะเสียอีกเช่นเดิม


หมายเหตุ อาการ Bad Sector ที่เกิดจากสาเหตุในหัวข้อนี้ มักจะสามารถแก้ไขได้ โดยใช้โปรแกรม แนะนำให้ใช้ คือ โปรแกรม Disk Manager
 
3. การติดตั้งที่ไม่ระวังจนทำให้ฟอยด์ที่เป็นอลูมิเนียมด้านข้างฮาร์ดดิสก์ เกิดการฉีกขาด จนเป็นรู ทำให้อากาศภายนอกเข้าไปในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งอากาศที่เข้าไปในฮาร์ดดิสก์จะมีพวกฝุ่นผงอยู่ ทำให้ไปแทรกอยู่ระหว่างหัวอ่านกับตัวจาน เมื่อมีการหมุนก็จะทำให้เกิดรอยบนจาน กลายเป็น Bad Sector ซึ่งในกรณีนี้ ทางโรงงานผู้ผลิต ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการรับประกัน เนื่องจากการเก็บรักษาและใช้งานที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดดิสก์ และไม่รับเคลม ดังนั้นท่านผู้ใช้ต้องระวังเรื่องนี้ให้มากๆ

รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของการผิดเงื่อนไขการรับประกัน
 
1. ฟอยด์ ด้านข้างขาด หรือทะลุ จนมีรูให้อากาศเข้าไปภายในฮาร์ดดิสก์
  2. ยางหุ้มสีดำ ฉีกขาด หรือหลุดหาย
  3. ซีเรียลของสินค้า ด้านบนและด้านของของตัวฮาร์ดดิสก์ ไม่ตรงกัน
  4. มีร่องรอยของการแกะ ฮาร์ดดิสก์
  5. มีรอยกระแทก จน ยุบ , บุบ ,งอ ,หรือบิ่น
  6. ตัวลาเบลด้านบนมีรอยย่น เนื่องจากมีการถอดยางหุ้ม
  7. Connector มีรอยแตก หรือหัก หรือเข็มงอ , หาย
  8. มีรอยหยอดกาวที่คอนเนคเตอร์
  9. บาร์โค๊ด ด้านข้างของตัวฮาร์ดดิสก์ หายไปทั้งแถบ
10. มีรอยไหม้บนตัวอุปกรณ์
11. มีคราบของเหลว หรือสนิม บนตัวอุปกรณ์

 
 หลงรัก กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ทนอ่านจนจบ (เนื้อหาค่อนข้างเยอะ) หวังว่ากระทู้นี้คงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย นะครับ....
บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
day<รักในหลวง>
อดีตคือบทเรียน ปัจจุบันคือข้อสอบ
Full Member
***

คะแนน 25
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 442



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2006, 08:44:13 PM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
woodenowl
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2006, 09:23:32 PM »

ได้ประโยชน์ครับ
บันทึกการเข้า
Sig228-kolok
KU47 AGGIE / SOTUS HS9VOL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2947
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 40236



« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2006, 09:38:52 PM »

ด้วยความเคารพครับ.......


มาครับ....... Grin Grin Grin


ขอบคุณครับ..................
บันทึกการเข้า

ขายที่ดิน 20 ไร่ บริเวณคลอง 8 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมฯ ไร่ละ 1.8 ล้าน โทร 086-2859988
กดที่นี่ >>http://www.wikimapia.org/#lat=14.0499777&lon=100.7824481&z=17&l=0&m=b
หรอย
การไม่เป็นโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 618
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6416



« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2006, 09:47:04 PM »

ขอบคุณครับ ชอบมากเลยครับและจะติดตามอ่านเสมอนะครับ
บันทึกการเข้า
ต.แม่สาย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 490
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6544



« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2006, 10:36:23 PM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ผู้ใดทำใจให้เป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
tra-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 30
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1347


เป๊กแรก.....มันยากที่จะยอมรับ....


« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2006, 01:11:48 PM »

ไปเจอจาก e-mail ครับ

17 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ Harddsik

 มีความเชื่อต่างๆ นานาเกี่ยวกับ HDD.และการใช้งาน HDD.ซึ่งเป็นความเชื่อบางอย่างที่มันเป็นความเชื่อ
ที่ผิดๆ และทำให้เราไม่สามารถใช้งาน HDD. ได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันว่าความเชี่อเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ความเชื่อที่ 1 :
 การฟอร์แมต HDD.บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมต HDD.ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD.แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น
การฟอร์แมต HDD. ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ HDD.ต้องแบกรับภาะหนัก หัวอ่านของ HDD.จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต
สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD. 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD. อื่นๆ เลย

ความเชื่อที่ 2 :
การฟอร์แมต HDD.จะทำให้มีข้อมูล หรือปฎิกรณ์ ;อะไรสักอย่าง
วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด;bad sector ได้

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น HDD. เนื่องจาก HDD.เป็นระบบปิด ดั้งนั้นฝุ่นหรือปฏิกรณ์จะ ยากที่จะเข้าไปยังดิสก์ได้ และแม้จะมีฝุ่นก็ตามแต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝุ่นจะต้องมากับการฟอร์แมต

 ความเชื่อที่ 3 :
การฟอร์แมต HDD. จะมีความเค้นต่อเข็มหัวอ่าน (head actuator) สูง

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มีความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่าน HDD.

 ความเชื่อที่ 4 :
การดีแฟรกเมนต์ (defragmenting) HDD.จะมีความเค้นที่หัวอ่านสูง

ข้อเท็จจริง : ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการดีแฟรกเมนต์ต้องอาศัยการควานหาตำแหน่งของเซ็กเตอร์อย่างสูงเนื่องจากการดีแฟรกเมนต์ก็คือการจัดระเบียบเซ็กเตอร์ต่างๆ เพื่อไม่ให้หัวอ่านต้องทำงานหนักเวลาที่ใช้หาข้อมูลในการใช้งานจริง
ดังนั้น แม้ในกระบวนการดีแฟร็กเมนต์ จะทำให้เข็มหัวอ่านมีความเค้นสูงก็ตาม แต่หลังจากที่ได้ทำการดีแฟรกเมนต์แล้ว เข็มหัวอ่านก็ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนก่อนที่จะทำการดีแฟรกเมนต์ เพราะจะหาเซ็กเตอร์ได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

ความเชื่อที่ 5 :
ถ้า HDD.ของคุณมี bad sector อยู่แล้ว การฟอร์แมต HDD.จะยิ่งทำให้
เกิดเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้น

ข้อเท็จจริง : ถ้า HDD. ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จะต้องพบเซ็กเอตอร์เสียเพื่มขึ้นเรื่อยๆ
การฟอร์แมตแล้วเห็นเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้เราได้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบ HDD.ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา

 ความเชื่อที่ 6 :
การดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะทำให้
อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

ข้อเท็จจริง : การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานของ HDD.ลดน้อยลงไป HDD.จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไฟล์ หรือว่าไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม ดังนี้โอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานท่าเดิม

 ความเชื่อที่ 7 :
พลังงาน (กระแสไฟ) ที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

ข้อเท็จจริง : กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ กับกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อแผ่นดิสก์ ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการสร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ที่เสียหายก็อาจเป็นความเสียหายของ OS.มากกว่า

 ความเชื่อที่ 8 :
ระบบกำลังไฟ หรือระบบสำรองไฟที่มีราคาถูก และไม่มีคุณภาพ อาจจะบั่นทอน
อายุการใช้งานของ HDD.เรื่อย ๆ และทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้า ๆ

ข้อเท็จจริง : ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้าๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุมกระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
อาจทำให้ HDD.ตายในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ
แต่ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียงพอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่มาสามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ HDD.จะไม่ตาย แต่ OS อาจตายหรือ พิการ

 ความเชื่อที่ 9 :
ถ้า HDD. มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่า
ระบบสำรองไฟในบางครั้งสามารถส่งกระแสไปที่พอสำหรับการทำงานได้
มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง
หมุนช้าลง

ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของ HDD.ให้เห็นอย่างแน่นอน
หมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงนั้น เป็นการการปกติของ HDD. ที่จะทำการวัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใช้งานแต่ละครั้ง

 ความเชื่อที่ 10:
เสียงคลิกที่ได้ยินจาก HDD. เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน

ข้อเท็จจริง : เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของ HDD. อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่น HDD.

 ความเชื่อที่ 11 :
เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้
อาจล้มได้หากมีการใช้งานมากเกินไป

ข้อเท็จจริง : เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้น ก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลวเมื่อมีการใช้งานมากเกินไป
สมัยก่อนนั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน เข็มหัวอ่านใช้ระบบ Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่านไปตามตำแหน่งที่ต้องการ

 ความเชื่อที่ 12 :
การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว

ข้อเท็จจริง : ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่าน HDD. นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือ HDD. หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงานบ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง
เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่งของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่าเข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มอเตอร์ดังว่ามีการ
เสื่อมแต่อย่างใด

ความเชื่อที่ 13 :
ดิสก์จะมีการหมุนเร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข้อมูลเท่านั้น
แต่จะหมุนลดลงเมื่อ HDD .ไม่มีกิจกรรม (idle)

ข้อเท็จจริง : แผ่นดิสก์ภายใน HDD. หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงในช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

ความเชื่อที่ 14 :
การหมุนลดลงจะทำให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ได้

ข้อเท็จจริง : โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้ว ส่วนการรักษาความเร็วของการหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา
หากมีการใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์หมุนลดลงในช่วง idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้นที่ตัวมอเตอร์

ความเชื่อที่ 15 :
การตัดกระแสไฟอย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDD.ก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ

ความเชื่อที่16 :
เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์)
และสามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมต HDD.

ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรับการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหารทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือทีการเสื่อมลง ดังนั้น จึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได้

 ความเชื่อที่ 17 :
เซ็กเตอร์เสียสามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมต HDD.

ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเช็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพพื้นที่ว่างสำรองบน HDD. อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ HDD. ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำรองบน HDD.ด้วย อีกทั้งพื้นที่สำรองบน HDD.นั้นมีจำนวนจำกัด

สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องบางอย่างของ HDD. แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสียหาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง

ดังนั้น ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคง ควรหัดทำการแบ็คอัพข้อมูล และเปลี่ยน HDD.เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า HDD.จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า HDD. ของคุณมันใกล้ตายแล้วครับ

Hogan TDS.

อ้างอิงบทความจากนิตยสาร QuickPC ฉบับบที่ 166
บันทึกการเข้า

Metallica Enter Sandman
http://fr.youtube.com/watch?v=1QP-SIW6iKY
กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง
http://fr.youtube.com/watch?v=B0cxpbvDWq8
วิท'ลัยหลายใจ
http://fr.youtube.com/watch?v=oxGPz0tTQeI
ไม่ใช่แฟน...ทำแทนไม่ได้
http://fr.youtube.com/watch?v=Wb8h1nRzm2E
worth
Hero Member
*****

คะแนน 474
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3069


« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2006, 04:32:31 PM »

  เคยทำงานเกี่ยวกับ
บันทึกการเข้า

รักเธอ....ประเทศไทย
worth
Hero Member
*****

คะแนน 474
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3069


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2006, 04:35:37 PM »

  ขออภับครับมือไวไปนิด เคยทำงานที่บ.ผลิต HDD และเคยไปทำที่ต่างประเทศ (usa) คิดว่าไทยทำเนียนที่สุดครับ
บันทึกการเข้า

รักเธอ....ประเทศไทย
vichai01++รักในหลวง++
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 110
ออฟไลน์

กระทู้: 2775



« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2006, 07:52:59 PM »

 Grin Grinขอบคุณมากครับ และขออนุญาติท่าน จขท.คัดลอกไปสอนนักเรียนนะครับ Grin Grin
บันทึกการเข้า

คาถาป้องกันภัยพิบัติทั้งปวง
ปะโตเมตัง ปะระชิวินัง สุขะโต จุติ
จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ
nick
Hero Member
*****

คะแนน 12
ออฟไลน์

กระทู้: 1587


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2006, 09:36:37 PM »

กระทู้นี้ดีจังเลย
ขอบคุณคุณวัฒน์ และคุณอาร์ต

คุณวัฒน์ช่วยแนะนำการใช้โปรแกรม Disk Manager หน่อยสิครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2006, 09:59:59 PM »

กระทู้นี้ดีจังเลย
ขอบคุณคุณวัฒน์ และคุณอาร์ต

คุณวัฒน์ช่วยแนะนำการใช้โปรแกรม Disk Manager หน่อยสิครับ

ขอบคุณครับ


 Cheesy สนใจเรื่อง โปรแกรม Disk Manager  ที่นี่เลยครับ

http://www.dcomputer.com/proinfo/support_harddisk_40gb.html
บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.135 วินาที กับ 22 คำสั่ง