เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 18, 2024, 01:23:59 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ครม.ผ่านร่าง กม.รักษาความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ – พระรัชทายาท  (อ่าน 3792 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:13:59 PM »

แล้วของเดิมเป็นอย่างไรครับ..ช่วยเปรียบเทียบให้เห็นจะจะหน่อยได้มั้ย 
ของเดิมเป็นแค่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรครับ
http://law.longdo.com/law/578/
ไม่ได้เป็นพระราชบัญญัติแบบนี้ครับ

นายสมชายไม่ทราบความนัยว่าทำไมยกศักดิ์ศรีขึ้นมาเป็น พรบ. นะครับ... เอาหลักการทั่วไปก่อน เผื่อท่านอื่นมองเห็นความนัยเบื้องหลังครับ...

คือหลักการเรื่องนี้มันมีอยู่ว่า ของเดิมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔... ดังนั้นหากมีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายอื่นที่ศักดิ์ศรีสูงกว่า เช่นมีฐานะเป็น พรบ. ระเบียบนี้ก็จะโดนกฎหมายฐานะสูงกว่าครอบบังคับเอาไว้ครับ...

แต่หากยกฐานะให้เป็น พรบ. ปุ๊บ, ก็จะมีฐานะเป็นกฎหมายพิเศษ หากขัดแย้งกับ พรบ.ฉบับอื่นที่ศักดิ์เท่ากัน(เป็น พรบ.เหมือนกัน) แต่ฉบับนี้จะอยู่สูงกว่า เพราะเป็นกฎหมายเฉพาะทาง... ทำนองเดียวกับกฎหมายเรื่องภาษีเงินได้(พรบ.สรรพากร - เป็นกฎหมายทั่วไป) จะโดน พรบ.ส่งเสริมการลงทุนฯ(BOI) ยกเลิกหากมีข้อความขัดแย้งกันครับ เพราะเป็นกฎหมายเฉพาะ, เช่นยกเลิกเก็บ ภงด. ในบริษัทที่ได้ BOI เป็นต้น...
บันทึกการเข้า
ake_lovegun
Full Member
***

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 146



« ตอบ #16 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:20:58 PM »

....พวกนี้มันชอบเล่นที่เผลอทุกที แล้วระวังจะโดนเล่นทีเผลอกลับบ้าง  Angry Angry Angry Angry
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:24:30 PM »

นายสมชายนึกออกหนึ่งเรื่องครับ...

ก่อนหน้านี้ กรมราชองครักษ์ขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหม แปลว่า รมว.กลาโหม/ปลัดกลาโหม/ผบ.เหล่าทัพฯ ดูแลอยู่ครับ, แต่ของใหม่นี่ย้ายสังกัดไปให้ฝ่ายการเมืองรับผิดชอบครับ... หากคิดแบบแรงๆ ก็คือฝ่ายการเมืองสามารถเปลี่ยนตัวสมุหราชองครักษ์ได้ หาก"ไม่สนองนโยบาย"ครับ...

กึ๋ยส์...
บันทึกการเข้า
Zeus-รักในหลวง
อะฮู้.....ไฮยีน่าก็เป็นแมวนะคราบบบ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 817
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10983


I'm going to make him an offer that he can't refus


« ตอบ #18 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:34:04 PM »

ไม่เห็นด้วยครับ Undecided
บันทึกการเข้า

“A fear of weapons is a sign of retarded sexual and
emotional maturity.”
- Sigmund Freud

“ความกลัวอาวุธคือสัญญาณของความถดถอยทางเพศและวุฒิภาวะทางอารมณ์”
- ซิกมุนด์ ฟรอยด์
bigbang
จงใช้สติก่อนใช้ปืน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1018
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6603


รูปจากเวปผู้จัดการครับ


« ตอบ #19 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:41:51 PM »

การถวายการอารักขาฯนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและเรื่องปกติของเหล่าทัพที่จะจัดมา กี่สมัยไม่มีปัญหา
ไม่จำเป็นต้องให้มาผ่านหรืออยู่ภายใต้อำนาจของนายก มาเปลี่ยนแปลงอย่างนี้มีนัยแบบเลวๆ แล้วนะครับ
บันทึกการเข้า

อเสวนา จะ พาลานัง
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #20 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:51:54 PM »









อ่านเนื้อหาทั้งหมดโดยละเอียดแล้วเหมือนไม่มีอะไร

แต่ตรงที่ตีเป็นตัวสีแดงไว้ มันใส่ไข่ให้เมื่อฝ่ายการเมืองต้องการให้มีเมื่อไหร่ มันก็มีได้เมื่อนั้นแหละครับ

ผมเห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เป็นเรื่องของความกตัญญู , สำนึกผิด ชอบ ชั่ว ดี , ความสำนึกรู้ในสิ่งที่ควร-ไม่ควรที่คนไทยทุกคนพึงมี



อยู่อย่างจงรัก

ตายอย่างภักดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 04, 2013, 02:09:59 PM โดย แก่ ติงต๊อง บ้านนอก » บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
SA-KE
เมื่อเดินผิด ย่อมมิใช่มนุษย์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 702
ออฟไลน์

กระทู้: 3612


เรารักในหลวง


« ตอบ #21 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:55:51 PM »

ไม่ว่าจะอย่างไร?ก็แล้วแต่ ในการออกกฎหมาย ผู้ที่ต้องรับสนองพระบรมราชโองการ ก็หนึ่ไม่พ้นผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหารอยู่ดี

ส่วนการออกกฎเกณฑ์ ก็คงหนีผู้รู้ในตำแหน่งเดิมๆไม่พ้นหรอกครับ  สำหรับปัจจุบัน ศักดิ์ศรีของกฎหมายฉบับนี้ยังมีศักดิศรีเท่าเดิม  

เนื่องจากก่อนปี 2549  เป็นเพียงแค่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ  (2546)   ก็ออกมาในสมัยทักษิณ  และเพิ่งยกฐานะระเบียบดังกล่าว มาเป็น" พ.ร.บ."  

ในสมัย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)  ตามประกาศของ คปค. ฉบับที่ 36  ส่วนรายละเอียดลองเทียบเคียงกันดูว่า

นัยยะที่ต้องมีการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาใหม่คือและเพื่ออะไร?  ( หากคิดมาก.. ?  Wink )   แต่ที่เห็นชัดๆคือ การอ้างว่ามีการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาใหม่นั่น  

โดยเฉพาะการกล่าวอ้างเพื่อให้เกิดความรัดกุมและชัดเจนในบางความหมายนั่น   แต่ผลปรากฎที่เป็นรูปธรรมหนึ่งที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน คือ เริ่มมีการกล้าประกาศยกเลิก

ประกาศของ คปค.  เมื่อปี 2549  แล้วครับ
....  Wink
บันทึกการเข้า

คนต่างกับสัตว์ที่ "ความคิด"  ,  คนต่างกับมนุษย์ที่ "ศีลธรรม"
แปจีหล่อ
Hero Member
*****

คะแนน 6324
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8251



« ตอบ #22 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 02:00:55 PM »

ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่ารายละเอียดมากกว่านี้เป็นยังไงผมไม่ทราบแต่ถ้าตามตัวแดงแล้ว นายกมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยมากแค่ไหนครับทำไมต้องให้นายกเห็นชอบด้วยครับ แล้วแบบที่ทำกันมาก่อนหน้านี้ขั้นตอนเป็นอย่างไรและมันมีข้อบกพร่องตรงไหนครับ เรื่องนี้อยากทราบความเห็นของทางกองทัพด้วยครับว่าคิดอย่างไร
บันทึกการเข้า

สีกากีเป็นสีของดิน ข้าราชการควรต้องติดดิน ออกพื้นที่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน ข้าราชการคือ ข้าที่ทำกิจการต่างๆให้กับพระราชา เครื่องแบบข้าราชการสีกากีคือสีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #23 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 02:24:10 PM »

ถามกันเยอะ ใครจะกล้าตอบบ้างเนี่ย
เอาอย่างนี้เดินไปหน้ากรม.... แล้วถามเอาเองด้วยปากเปล่า
บางครั้งของเดิมมันมีข้อขัดข้องนิดๆอาศัยอะลุ่มอะล่วยช่วยๆกันไป ทำให้มันชัดเจนน่าจะดีทุกวันนี้มีเรื่องมั่วๆหรือเข้ามาตีมั่ว จนท.ผู้ปฎิบัติจะได้สบายใจ
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #24 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 03:41:07 PM »

ออกไปทำธุระ แล้วกลับมานั่งอ่านอีกเที่ยวนึง... ความเห็นนายสมชายว่านี่เป็นเรื่องการจัดการเรื่องการบริหารงานบุคคลครับ...

ประเด็นคือระเบียบทุกอย่างทุกประการ จะต้องผ่านความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่ามีสมุหราชองครักษ์เจ้านายใหม่เป็นนายกรัฐมนตรีครับ เพราะต้องรายงาน/เสนอเซ็นต์ ส่งงานให้นายกฯ... แล้วเรื่องราวสืบเนื่องต่อจากนี้ก็คือ ประเดี๋ยวก็จะมีการแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ให้สอดคล้องกับเจ้านายใหม่ครับ...

เรื่องระเบียบบริหารงานบุคคลที่ว่ามันก็เกี่ยวกับเรื่องเจ้าของอัตรากำลัง(เงินบัญชีถือจ่ายเงินเดือนของตำแหน่ง) เรื่องสรรหา เรื่องการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ตลอดจนเรื่องการประเมินพิจารณาความดีความชอบปลายปีของตำแหน่งนี้ อาจจะเปลี่ยนสังกัดสำนักนายกนายกรัฐมนตรีครับ... เรื่องนี้มันขั้นตอนที่ 2 เพราะต้องไปแก้ พรบ.กรมราชองครักษ์ พ.ศ.2480 เสียใหม่ครับ...

พรบ.กรมราชองครักษ์ ลิ้งก์นี้ครับ... http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538974880&Ntype=19

มีที่น่าแปลกใจว่าเนื้อหา พรบ.ใหม่ ที่สื่อมวลชนเอามาลง มีข้อความทับซ้อนกับ พรบ.ราชองครักษ์ 2480 บางเรื่อง... และที่สำคัญที่สุดคือ ม.5 ของเดิมบอกเอาไว้ว่า"มาตรา ๕ สมุหราชองครักษ์ ต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และต้องปฏิบัติหน้าที่ส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ให้ต้องตามพระราชประสงค์"

พรบ. พรบ.ราชองครักษ์ ตามตัวแดงข้างล่างครับ...

พระราชบัญญัติ
ราชองครักษ์
พุทธศักราช ๒๔๘๐
                   
 
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)
อาทิตย์ทิพอาภา
เจ้าพระยายมราช
พล.อ. เจ้าพระยาพิชเยนทร โยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๐
เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติราชองครักษ์เพื่อให้เหมาะแก่กาลสมัย
 
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช ๒๔๘๐”
 
มาตรา ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช ๒๔๖๙ พระราชบัญญัติราชองครักษ์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๕ กับทั้งบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๔ ให้มีราชองครักษ์สังกัดกรมราชองครักษ์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสมุหราชองครักษ์ มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ ทั้งนี้โดยต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชประสงค์
 
มาตรา ๕ สมุหราชองครักษ์ ต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และต้องปฏิบัติหน้าที่ส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ให้ต้องตามพระราชประสงค์
 
มาตรา ๖ ราชองครักษ์แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. ราชองครักษ์พิเศษ
๒. ราชองครักษ์เวร
๓. ราชองครักษ์ประจำ
 
มาตรา ๗ ราชองครักษ์พิเศษ เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตร และต้องปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ในบางโอกาสตามราชประเพณี
 
มาตรา ๘ ราชองครักษ์เวร แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และคงรับราชการตามตำแหน่งเดิม มีหน้าที่ประจำตามเสด็จ รักษาการ และปฏิบัติกิจการอย่างอื่นในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์
 
มาตรา ๙ ราชองครักษ์ประจำ แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และเข้ารับราชการประจำในกรมราชองครักษ์ มีหน้าที่ปฏิบัติกิจการในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
 
มาตรา ๑๐ การแต่งตั้งสมุหราชองครักษ์และราชองครักษ์ทุกประเภท ให้เป็นไปโดยประกาศพระบรมราชโองการ
 
มาตรา ๑๐ ทวิ ให้สมุหราชองครักษ์มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดมา ขึ้นสมทบกรมราชองครักษ์เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ช่วยราชองครักษ์ในการปฏิบัติหน้าที่
ในการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้สมุหราชองครักษ์ออกบัตรประจำตัวให้ แต่สมุหราชองครักษ์จะแต่งตั้งเป็นหนังสือเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งคราวก็ได้
บัตรประจำตัวเจ้าพนักงานให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
มาตรา ๑๐ ตรี ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สมุหราชองครักษ์ ราชองครักษ์และเจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๐ ทวิ มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยอยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบของสมุหราชองครักษ์
 
มาตรา ๑๑ สมุหราชองครักษ์และราชองครักษ์พิเศษนั้นพ้นจากตำแหน่งโดยประกาศพระบรมราชโองการ
 
มาตรา ๑๒ ราชองครักษ์เวรพ้นจากตำแหน่งในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
๑. ออกจากประจำการ
๒. ไปรับราชการฝ่ายพลเรือน และพ้นจากตำแหน่งในกระทรวงกลาโหม
๓. ได้เป็นราชองครักษ์เวรครบ ๓ ปีบริบูรณ์
 
มาตรา ๑๓ ราชองครักษ์ประจำพ้นจากตำแหน่งในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
๑. ออกจากประจำการ
๒. ไปรับราชการที่อื่น และขาดจากตำแหน่งหน้าที่ในกรมราชองครักษ์
 
มาตรา ๑๔ ราชองครักษ์เวรและราชองครักษ์ประจำเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับพระราชทานเข็มอักษรพระปรมาภิไธยย่อประกอบด้วยแพรแถบสีตามวันพระราชสมภพในรัชกาลนั้น ๆ เป็นเกียรติยศ
 
มาตรา ๑๕ ผู้ที่เป็นราชองครักษ์อยู่ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้คงเป็นราชองครักษ์ต่อไป
 
มาตรา ๑๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พ.อ. พหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี



พระราชบัญญัติราชองครักษ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๖
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเหล่าทหาร พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งมิได้แบ่งทหารออกเป็นพลรบและผู้ช่วยพลรบเหมือนแต่ก่อน
 
พระราชบัญญัติราชองครักษ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๒๑
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีข้าราชการที่มิใช่ราชองครักษ์ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์อยู่ด้วย สมควรกำหนดให้ข้าราชการเหล่านั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย และโดยที่สมควรให้ราชองครักษ์และเจ้าพนักงานที่แต่งตั้งจากข้าราชการดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #25 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 04:02:28 PM »

ถามกันเยอะ ใครจะกล้าตอบบ้างเนี่ย
เอาอย่างนี้เดินไปหน้ากรม.... แล้วถามเอาเองด้วยปากเปล่า
บางครั้งของเดิมมันมีข้อขัดข้องนิดๆอาศัยอะลุ่มอะล่วยช่วยๆกันไป ทำให้มันชัดเจนน่าจะดีทุกวันนี้มีเรื่องมั่วๆหรือเข้ามาตีมั่ว จนท.ผู้ปฎิบัติจะได้สบายใจ

คาดว่าคงเป็นเรื่องการถวายอารักขานอกเขตพระราชฐานกระมังครับ... เห็นตามระเบียบของเดิมให้หลายฝ่ายรับผิดชอบ โดยเฉพาะระหว่างประทับอยู่บนยานพาหนะ เช่นรถไฟ หรือเครื่องบิน, ของใหม่ก็ให้อำนาจกำหนดนิยามคำว่าเขตพระราชฐานเสียใหม่...

ของเดิมครับ... เอามาจากนี่ http://www.radc.go.th/secureradc.html

๓.๒ การถวายความปลอดภัย ณ นอกเขตพระราชฐานที่ประทับในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยสมุหราชองครักษ์เป็นประธาน, ปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการ ในกรณีเสด็จพระราชดำเนินภายในเขตกรุงเทพมหานคร จะมีกรรมการเพิ่มอีก ๒ นาย คือ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับหน่วยทหาร ในพื้นที่ที่เสด็จพระราชดำเนินถึง และหากเป็นการเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดอื่น จะมีกรรมการเพิ่มขึ้นอีก ๓ นาย คือ ผู้บังชาการตำรวจภูธรภาค, ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ที่จะเสด็จ พระราชดำเนินถึง โดยสมุหราชองครักษ์มีอำนาจสั่งการแก่กำลังทหารและตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขบวนเสด็จพระราชดำเนิน
             ๓.๒.๑ ก่อนการเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง ต้องมีการประชุมและตรวจพื้นที่เพื่อเตรียมการเสด็จ
พระราชดำเนินโดยสมุหราชองครักษ์ จะต้องมอบหมายให้หน่วยที่รับผิดชอบจัดตั้งกองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัย โดยในเขตกรุงเทพมหานครจะมอบหมายให้ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้จัดตั้ง หากเป็นจังหวัดอื่นจะมอบหมายให้แม่ทัพภาคเป็นผู้จัดตั้งแล้วแต่กรณี
๓.๒.๒ การเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งในเขตกรุงเทพมหานครผู้บัญชาการตำรวจ
แห่งชาติเป็นผู้จัดยานพาหนะ และเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะถวายความปลอดภัยตามคำขอของสมุหราชองครักษ์ ในจังหวัดอื่นให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ที่จะเสด็จพระราชดำเนินถึงเป็นผู้จัดยานพาหนะและเจ้าหน้าประจำยานพาหนะในการถวายความปลอยภัย ตามที่สมุหราชองครักษ์ ร้องขอ
             ๓.๒.๓ การถวายความปลอดภัยขณะประทับอยู่ในขบวนรถไฟ หรือรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ไม่ว่าจะ
เป็นของทางราชการหรือเอกชน ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือผู้มีอำนาจสั่งการ หรือหน่วยราชการเจ้าของสัมปทานนั้น ๆ และผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค แล้วแต่กรณี
             ๓.๒.๔ การเสด็จพระราชดำเนิน โดยเรือ ไม่ว่าจะประทับเรือของทางราชการหรือเอกชน การถวาย
ความปลอดภัยในน่านน้ำหรือท้องน้ำให้อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพเรือ หรือผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคแล้วแต่กรณี และกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี
             ๓.๒.๕ การถวายความปลอดภัยขณะประทับอยู่ในอากาศยานให้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วน
ราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นเจ้าของอากาศยานพระที่นั่ง หากเป็นอากาศยานของเอกชน การถวายความปลอดภัยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วแต่กรณี
      ๓.๓ การวางแผนและอำนวยการถวายความปลอดภัยเมื่อเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โดยมี สมุหราชองครักษ์เป็นประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย ราชเลขาธิการ, เลขาธิการพระราชวัง, เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ และเสนาธิการกรมราชองครักษ์ โดย สมุหราชองครักษ์จัดประชุมเพื่อสำรวจพื้นที่ของประเทศที่จะเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อวางแผนและประสานการปฏิบัติการถวายความปลอดภัยร่วมกับผู้ช่วยทูตทหาร ณ ประเทศนั้น ๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของประเทศที่จะเสด็จพระราชดำเนินตามความเหมาะสม
บันทึกการเข้า
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #26 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 05:45:04 PM »

ผมกำลังอ่านFB สามก๊กอยู่เลย มีคนเปรียบเทียบ โจโฉ-ขงเบ้ง ก็มันดีครับ
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #27 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 06:20:11 PM »

นายสมชายนึกออกหนึ่งเรื่องครับ...

ก่อนหน้านี้ กรมราชองครักษ์ขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหม แปลว่า รมว.กลาโหม/ปลัดกลาโหม/ผบ.เหล่าทัพฯ ดูแลอยู่ครับ, แต่ของใหม่นี่ย้ายสังกัดไปให้ฝ่ายการเมืองรับผิดชอบครับ... หากคิดแบบแรงๆ ก็คือฝ่ายการเมืองสามารถเปลี่ยนตัวสมุหราชองครักษ์ได้ หาก"ไม่สนองนโยบาย"ครับ...
กึ๋ยส์...

ไปกันใหญ่แล้ว
รัฐธรรมนูญ
   มาตรา ๑๗  การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ากรมราชองครักษ์จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมก็จริง  แต่ก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย  ดังนั้นงานที่ต้องเสนอผ่านขึ้นมาถึงรัฐมนตรี จึงเป็นเพียงงานธุรการทั่วไป  งานสำคัญ ๆ ทำได้เอง

นอกจากนั้น ในข้อเท็จจริง สรอ.ทุกท่านจะมี "อาวุโสรุ่น" สูงมาก ยืนคุยกับ ปล.กห.หรือแม้แต่ รมว.กห. น้อง ๆ เหล่านั้นก็ต้องให้ความเคารพยำเกรง หรืออย่างน้อย ทุกคนก็รับรู้ว่า สรอ.มีผู้บังคับบัญชาเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

ในทางวิชาการ  กฎหมายทุกฉบับจะต้องมีผู้รับผิดชอบ หรือผู้รักษาการตามกฎหมายเสมอ  ซึ่งได้แก่เป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการนั้น ๆ หรือนายก ฯ เอง ซึ่งตามกฎหมายฉบับนี้ หน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามอยู่ต่างสังกัดกัน คืออยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (สตช.) ดังนั้นการกำหนดให้ นายกฯ เป็นผู้รักษาการ จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม  และในเมื่อเป็นผู้รักษาการ จึงควรจะต้องมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบบ้าง ไม่เช่นนั้นก็เป็นเพียงตรายาง

อย่ากังวลเกินไปเลยครับ  สามเหล่าทัพมีทรัพยากรภายในตัวเอง ที่จะดูแลและถวายพระเกียรติได้อย่างเพียงพอ
เอาตัวอย่างง่าย ๆ ก็ได้  เคยทราบหรือไม่ว่า บ้านที่เสาเทเวศร์ที่ป๋าพักอยู่นั้น  ไม่ได้ใช้งบประมาณจากรัฐบาลแม้แต่เพียงบาทเดียว
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #28 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 06:32:55 PM »

นายสมชายนึกออกหนึ่งเรื่องครับ...

ก่อนหน้านี้ กรมราชองครักษ์ขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหม แปลว่า รมว.กลาโหม/ปลัดกลาโหม/ผบ.เหล่าทัพฯ ดูแลอยู่ครับ, แต่ของใหม่นี่ย้ายสังกัดไปให้ฝ่ายการเมืองรับผิดชอบครับ... หากคิดแบบแรงๆ ก็คือฝ่ายการเมืองสามารถเปลี่ยนตัวสมุหราชองครักษ์ได้ หาก"ไม่สนองนโยบาย"ครับ...
กึ๋ยส์...

ไปกันใหญ่แล้ว
รัฐธรรมนูญ
   มาตรา ๑๗  การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ากรมราชองครักษ์จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมก็จริง  แต่ก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย  ดังนั้นงานที่ต้องเสนอผ่านขึ้นมาถึงรัฐมนตรี จึงเป็นเพียงงานธุรการทั่วไป  งานสำคัญ ๆ ทำได้เอง

นอกจากนั้น ในข้อเท็จจริง สรอ.ทุกท่านจะมี "อาวุโสรุ่น" สูงมาก ยืนคุยกับ ปล.กห.หรือแม้แต่ รมว.กห. น้อง ๆ เหล่านั้นก็ต้องให้ความเคารพยำเกรง หรืออย่างน้อย ทุกคนก็รับรู้ว่า สรอ.มีผู้บังคับบัญชาเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

ในทางวิชาการ  กฎหมายทุกฉบับจะต้องมีผู้รับผิดชอบ หรือผู้รักษาการตามกฎหมายเสมอ  ซึ่งได้แก่เป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการนั้น ๆ หรือนายก ฯ เอง ซึ่งตามกฎหมายฉบับนี้ หน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามอยู่ต่างสังกัดกัน คืออยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (สตช.) ดังนั้นการกำหนดให้ นายกฯ เป็นผู้รักษาการ จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม  และในเมื่อเป็นผู้รักษาการ จึงควรจะต้องมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบบ้าง ไม่เช่นนั้นก็เป็นเพียงตรายาง

อย่ากังวลเกินไปเลยครับ  สามเหล่าทัพมีทรัพยากรภายในตัวเอง ที่จะดูแลและถวายพระเกียรติได้อย่างเพียงพอ
เอาตัวอย่างง่าย ๆ ก็ได้  เคยทราบหรือไม่ว่า บ้านที่เสาเทเวศร์ที่ป๋าพักอยู่นั้น  ไม่ได้ใช้งบประมาณจากรัฐบาลแม้แต่เพียงบาทเดียว

ขอบพระคุณครับ... แฮ่ๆ...
บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #29 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 07:10:05 PM »

ขอบพระคุณ และขออภัยครับ  ไหว้




ขออภัยสมาชิกทุกท่านที่ก่อให้เกิดความวิตก ด้วยความไม่รู้จริงของผมด้วยครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 22 คำสั่ง