โพสนี้ผมขอให้ข้อมูลกับผู้ที่เข้ามาอ่านนะครับ
แนวแรงเมื่อกระสุนลั่นออกไปกระสุนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า(ลูกศรสีฟ้า) ก็จะมีแรงกระทำในทิศทางตรงข้าม(ลูกศรสีแดง) ตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน
รูปที่1.
การเคลื่อนที่ถอยหลังของปืนมีสองส่วน คือชุดลำเลื่อนและชุดโครงปืน ชุดลำเลื่อนมีสปริงรีคอยล์ดันให้เดินหน้าสุดตลอดเวลา
เมื่อชุดลำเลื่อนเคลื่อนที่ถอยหลังจะดันสปริงรีคอยให้ยุบตัว ในขณะที่สปริงก็พยายามจะยืดตัวออกส่งแรงไปที่โครงปืน
ทั้งสองชิ้นจึงมีความเร็วถอยหลังทั้งคู่แต่อาจจะไม่ได้ถอยด้วยความเร็วเท่ากัน ตามรูปที่2.
ถ้าเราตั้งปืนกระบอกนี้ไว้เฉยๆแล้วลั่นไก โครงปืนที่ไม่มีแรงต้านจะวิ่งถอยหลังด้วยความเร็วใกล้เคียงกับลำเลื่อน
ลำเลื่อนจะ "ถอยหลังบนโครงปืน" ด้วยความเร็วลดลงอย่างมาก ผลคือลำเลือนถอยไม่สุดหรือถอยไม่แรงพอที่จะคัดปลอกให้พ้นช่องคายปลอก
รูปที่2.
ถ้าเรายึดโครงปืนไม่ให้ถอยได้เลย ลำเลื่อนจะถอยหลังบนโครงปืนได้เร็วขึ้น ปลอกกระสุนจะกระแทกตัวเตะปลอกแรงขึ้น การคัดปลอกก็จะแน่นอนขึ้น
มันคือวิธีแก้ไขพื้นฐานเมื่อปืนคัดปลอกไม่แน่นนอน ที่สอนกันคือกริปปืนให้แน่นขึ้นหรือเกร็งข้อมือสู้แรงรีคอยล์ของปืน มันคือการ "เพิ่มแรงต้านการถอยของโครงปืน"
รูปที่3.
ถ้าสงสัยว่าถ้าแรงกระทำในทิศทางตรงข้าม ทำไมแนวลำกล้องถึงเงยขึนด้านบน สาเหตุ "เพราะมีคนถือปืนกระบอกนี้ครับ"
ลูกศรใหญ่สีน้ำเงินคือแนวแรงต้านจากแขนที่ถือปืน วงกลมสีดำคือข้อมือซึ่งเป็นจุดหมุน
รูปที่4.
เมื่อกระสุนลั่นออกไปแรงรีคอยล์ดันปืนทั้งกระบอกให้ถอยหลัง แต่ส่วนโครงด้ามมีแรงต้านจากแนวแขนทำให้ถอยตามได้ช้าลง
ในขณะที่แรงในแนวลำกล้องยังดันให้ชุดลำเลื่อนถอยหลังอยู่ แรงถอยในแนวลำกล้องอยู่สูงกว่าข้อมือที่เป็นจุดหมุน
แรงรึคอยล์จึงเปลี่ยนทิศทางลงข้างล่าง ดึงแนวลำกล้องให้เงยขึ้นไป ตามรูปที่5.
รูปที่5.
การเพิ่มอุปกรณ์ใต้คางปืนซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักที่ปลายโครงปืน โครงปืนกระดกตามการเปลี่ยนแนวแรงจากรีคอยล์น้อยลงเพราะมีน้ำหนักมาถ่วง
ผลคือลำเลื่อนถอนหลังเร็วขึ้น การคัดปลอกก็จะแน่นอนขึ้นด้วย ยิ่งน้ำหนักถ่วงมากก็ยิ่งมีผลมากขึ้น
รูปที่6.
ี่
ที่พูดมาผิดนะครับ แสดงว่าคุณไม่เข้าใจหลักการทำงานและการออกแบบเพื่อการใช้งานของปืน
1. ผิดที่คุณไปสมมุติว่าโครงปืนต้องถอยตามลำเลื่อน ปืนออกแบบมาใช้งานให้คนจับถือเวลายิง เพราะฉะนั้นการออกแบบต้องออกแบบโดยให้โครงปืนถูกคนจับไว้ ก็คืออยู่นิ่งกับที่ จากนั้นค่อยไปคำนวนการทำงานของการถอยหลังของลำเลื่อน
2. ผิดที่คุณคิดว่าแรงรีคอยกดลงล่างทำให้ปืนกระดกขึ้น ฟิสิกส์ง่ายๆเลยนะครับ แรงเป็นปริมาณเวคเตอร์มีทิศทาง งานที่ได้จากแรงก็ต้องมีทิศทางตามแนวแรง งานในที่นี้คือปืนสะบัดขึ้นแสดงว่าแรงรีคอยมีทิศทางขึ้นบน
ซึ่งก็เนื่องมาจากจุดหมุนที่ข้อมือที่อยู่ต่ำกว่าแนวแรง ทำให้แรงที่อยู่ในแนวระนาบถูกแตกแรงออกไปบ้างตามมุมและระยะของจุดหมุนที่ข้อมือกับระยะไปถึงปลายลำกล้อง ปืนยาวกว่าจึงการสะบัดของรีคอยที่น้อยกว่าเพราะมุมระหว่างจุดหมุนและปลายไสด์จะน้อยกว่า การออกแบบปืนจึงพยายามให้แนวลำกล้องหรือบอร์เอกซิสต่ำที่สุด
ปืนจะไม่สะบัดเงยขึ้นเลยถ้าจุดจับปืนอยู่ในระนาบเดียวกับลำกล้อง ซึ่งในทางการออกแบบทำไม่ได้
อย่างไรก็ตามข้อนี้ผมขอชมเชยคุณตรงที่ อย่างน้อยคุณก็เข้าใจว่ามีแรงกระทำกับส่วนปลายของปืน
3. ความผิดข้อนี้ใหญ่หลวงนัก เป็นเรื่องสำคัญมากๆที่แสดงให้เห็นว่าคุณไม่เข้าใจระบบการทำงานของปืนอย่างแท้จริง
ความผิดที่ว่านี้ก็คือ การที่คุณบอกว่าสไลด์ถอยหลังเร็วขึ้นการคัดปลอกจะยิ่งแน่นอนขึ้น จากต้นฉบับของคลิ้นสมิธเค้าบอกว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากไฟฉายจะทำให้วงรอบการทำงานของสไลด์เปลี่ยนไป ไม่ได้ชี้ชัดว่าวงรอบช้าลงหรือเร็วขึ้น แต่คุณเข้าใจว่าทำให้มันมีวงรอบเร็วขึ้น(ก็ยิ่งดี ยิ่งคัดปลอกเร็วขึ้นในความคิดของคุณ) ส่วนผมผมมองว่ามันช้าลงเนื่องจากเกิดแรงเสียดทานหน้าผิวสัมผัสระหว่างสไลด์กับโครงปืน จุดนี้อย่างน้อยเราก็เห็นตรงกันและตรงกับคลิ้น สมิธ ว่าไฟฉายทำให้วงรอบการทำงานเปลี่ยนไป
ระบบการทำงานแบบบราวนิ่งที่กล็อกใช้อยู่ ก็คือการหน่วงเวลาและการขัดกลอนปลดกลอน ถ้าสไลด์ถอยยิ่งเร็วยิ่งดีจะไปหน่วงเวลามันทำไมล่ะครับ การที่สไลด์ถอยเร็วไปก็มีผลเสียคืออาจมีการจุดระเบิดนอกรังเพลิงเพราะสไลด์ไปเตะปลอกก่อนการจุดระเบิดสมบูรณ์หรือแรงดันในรังเพลิงยังสูงอยู่ การถอยช้าไปก็คือปืนขัดข้อง อาจคาบปลอก ดับเบิ้ลฟีดก็แล้วแต่ อย่าง FNP 45 ของผมสปริงรีคอยแข็งแรงต้านการเคลื่อนที่ของสไลด์สูง กระสุนแรงอ่อนๆอย่างพวกกระสุนซ้อมในบ้านเราจึงมีโอกาสทำปืนติดขัด
การหน่วงเวลาจึงต้องมีช่วงเวลาที่เหมาะสมครับ ไม่เร็วไปหรือช้าไป โดยมีเวลาเร็วสุดและเวลาช้าสุดที่ปืนทำงานได้ เพราะความแรงของกระสุน ความแข็งของรีคอยสปริงหลากหลาย ต่างๆกันไป แต่ถ้าจะเลือกระหว่างปืนติดขัดกับจุดระเบิดนอกรังเพลิง อย่างแรกปลอดภัยกว่าแน่นอนครับ