ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยไทย
โหวตแล้ว ให้เหตุผลด้วยครับ....
โพลล์นี้กำหนดอายุ 10วัน
ไม่ vote ครับ เพราะผมกับบุคคลที่ตั้ง poll ไม่ถูกกัน...
ทำมาเป็นวิชาการ...แหวะ...คริ คริ
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)
กล่าวตอนหนึ่ง ในการสัมมนาเรื่อง ระบบฐานข้อมูล online เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย
ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ ว่า ที่ผ่านมาอุดมศึกษาไทยยังไม่เคยมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่เป็นระบบ
ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงได้ทำโครงการระบบฐานข้อมูล online เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลมหาวิทยาลัยให้สาธารณชนได้รับทราบ
โดยสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเลือกคณะและมหาวิทยาลัยได้
นอกจากนี้ยังทำให้มหาวิทยาลัยได้รู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง
เพื่อที่จะนำไปพัฒนา และเป็นข้อมูลที่จะนำมากำหนดเป็นกติกาในการรับการจัดสรรทรัพยากร
หรือช่วยในการปฏิรูประบบการเงินเพื่ออุดมศึกษาด้วย
เลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับข้อมูลที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยในปีนี้
สกอ.ได้นำมาจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย เพื่อให้เห็นทิศทางและศักยภาพในด้านต่าง ๆ เท่านั้น
โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม สำหรับดัชนีชี้วัดที่ใช้ในการประเมินศักยภาพมหาวิทยาลัยไทย
ได้เน้นใน 2 ส่วน คือ
1.ด้านการเรียนการสอน
และ 2.ด้านการวิจัย โดยประเมินศักยภาพเฉพาะภาควิชา คณะวิชา และสาขาวิชา
ที่จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา 7 กลุ่มสาขาวิชา
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยไทยมีทั้งหมด จำนวน 138 แห่ง
แต่มีมหาวิทยาลัยที่ส่งข้อมูลมาทั้งหมดจำนวน 51 แห่งเท่านั้น
ซึ่งประกอบด้วยมหาวิทยาลัยรัฐ จำนวน 22 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 2 แห่ง
มหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.)จำนวน 21 แห่ง
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)จำนวน 5 แห่ง
ข้อมูลที่สกอ.นำมาเปิดเผยในครั้งนี้ ผมเชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือ
ส่วนมหาวิทยาลัยจะรับหรือไม่รับก็ไม่เป็นไร
โดยเฉพาะเรื่องดัชนีชี้วัดที่หลายฝ่ายบอกว่าไม่ครอบคลุมทุกสาขานั้น
ตามหลักวิชาการสามารถที่จะมาโต้แย้งกันได้
ทั้งนี้ในปีต่อไป สกอ. ก็จะต้องทำเรื่องนี้อีก
และอยากฝากถึงมหาวิทยาลัยเอกชนด้วยว่า
การที่มหาวิทยาลัยคิดว่าไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ จึงไม่ส่งข้อมูลให้จัดอันดับนั้น
ความจริงแล้ว ถึงแม้จะมีการบริหารงานโดยเอกชน
แต่การจะจัดตั้งได้ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากสาธารณชนก่อน
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีหน่วยงานหลายแห่ง นำมหาวิทยาลัยไทยไปจัดอันดับอยู่ตลอดเวลา
และเมื่อผลออกมาก็รับกันไม่ได้
ดังนั้นเราน่าจะจัดกันเองจะดีกว่า
ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่ามหาวิทยาลัยที่ติดอยู่ในกลุ่มท้ายๆ จะถูกมองว่าเป็นตราบาป
ผมไม่อยากให้เข้าใจเช่นนั้น แต่จะทำให้รู้ว่าตัวเองอยู่จุดไหนมากกว่า
และจะได้พัฒนาและปรับปรุงต่อไป เลขาธิการกกอ. กล่าว
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งนี้
แต่เมื่อ ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ดึงดันที่จะจัดก็ต้องยอมรับ
แต่ข้อมูลที่ได้มานี้ต้องฟังหู ไว้หู และไม่เชื่อทั้งหมด
จะต้องดูที่เหตุผลประกอบ ส่วนข้อมูลใดที่มหาวิทยาลัยคิดว่าเชื่อถือได้
ก็จะนำไปพัฒนาปรับปรุงต่อไป ทั้งนี้ มศว. มั่นใจว่า ถ้าการจัดอันดับนั้นได้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด
ผลการจัดอันดับของ มศว. ด้านวิจัย
คงไม่อยู่กลุ่ม 3 และด้านการเรียนการสอนไม่น่าจะอยู่กลุ่ม 4
เพราะ มศว. มีความเข้มแข็งในหลายด้าน
แต่ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่ามีจุดอ่อน เช่นกัน
ส่วนในปีต่อไปควรจะมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยอีกหรือไม่
ก็ต้องขึ้นอยู่กับเลขาธิการ กกอ.คนใหม่
รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า
คงต้องยอมรับผลการจัดอันดับไปตามข้อเท็จจริง
แต่ควรดูตัวชี้วัดที่ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
ส่วนตัวเห็นว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีประโยชน์
แต่ สกอ. ควรบอกข้อจำกัดของตัวชี้วัดและจัดอันดับไปตามข้อจำกัดด้วย
เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งนั้นมีความพร้อมและภูมิหลังภารกิจแตกต่างกัน
หากนำมาเปรียบเทียบกันอาจเกิดความเข้าใจผิดเหมือนกับเอานักมวยคนละรุ่นมาเทียบกัน
ศ.ดร. พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) กล่าวว่า
ตนรู้มานานแล้วว่ามหาวิทยาลัยเป็นที่หนึ่ง
และที่ประเทศสิงคโปร์จัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย มม. ก็อยู่ในอันดับหนึ่ง
แต่การจัดอันดับของไทมส์เราไม่ติดอันดับ
เพราะคะแนนส่วนหนึ่งมาจากการสอบถามกลุ่มนักธุรกิจว่ารู้จัก มม.หรือไม่
ซึ่งนักธุรกิจไม่ค่อยรู้จัก มม. เพราะ มม.เน้นด้านวิทยาศาสตร์
แต่ตนคิดว่าการจัดอันดับเช่นนี้น่าจะเป็นผลดีที่จะทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ขวนขวายพัฒนาตนเอง
ส่วนสถาบันที่ได้คะแนนน้อยไม่ต้องเสียใจ
แต่ต้องพิจารณาว่ามีทางใดที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น
เพราะการจัดอันดับครั้งนี้ ไม่ใช่การแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตาย
แต่เป็นการแข่งขันกันฉันท์มิตร เพื่อประเมินเปรียบเทียบและช่วยกันยกระดับมหาวิทยาลัยของประเทศ
ด้าน ผศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดี มรภ.สวนดุสิต กล่าวว่า
เป็นเรื่องดีที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย
ถึงแม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งอยู่มาก
แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะได้นำข้อมูลมาใช้ปรับมหาวิทยาลัยของตัวเอง
โดยส่วนตัวเห็นว่า ไม่อยากให้ทุกมหาวิทยาลัยกังวลมากกับการจัดอันดับครั้งแรกของมหาวิทยาลัยไทย
และต้องคิดว่าเป็นการสะท้อนความเป็นจริงว่าตัวเองพร้อมหรือไม่พร้อม
ซึ่งเมื่อผลครั้งแรกออกมาไม่ดีเราก็ควรต้องกลับไปพัฒนา
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...