เซเว่น อีเลฟเว่น กับยุทธศาสตร์หมากล้อมเมือง... !!!
CP ได้ซื้อ License 7-Eleven จากบริษัท เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 และได้ฤกษ์เปิดร้านเป็นสาขาแรกในเมืองไทยตรงหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2532
ช่วง 2 ปี แรกที่ดำเนินการ 7-11 ใช้กลยุทธ์ซื้ออาคาร เพื่อเปิดร้าน ซึ่งกลยุทธ์นี้ ทำให้การขยายตัวของ 7-11 เป็นไปอย่างเชื่องช้า ส่งผลให้ขาดทุนร่วม 100 ล้านบาท ทำให้ปี 2534 คุณก่อศักดิ์ได้รับมอบหมายให้เข้ามาฟื้นฟู 7-11 โดยการเปลี่ยนกลยุทธ์ จากซื้อเป็นเช่า ทำให้เจ้าของอาคารพาณิชย์ ร่วมมือกับทาง 7-11 มากขึ้นส่งผลให้การเปิดร้านสาขาเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ทำให้ ปี 2541 เปิดครบ 1,000 สาขา ปี 45 เปิดร้านสาขาได้ 2,000 สาขา ,ปี 47 เปิดครบ 3,000 และปัจจุบันมี 6,800 สาขา ด้วยยอดขายเกือบ 2 แสนล้าน
** เราจะเห็นว่า จุดเปลี่ยนที่สำคัญของ 7-11 คือการได้คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ มาเป็นผู้บริการ
คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบกีฬาหมากล้อมหรือโกะจนถึงเข้าขั้นหลงใหล ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย ประธานสมาพันธ์หมากล้อมจีนโลก และ 1 ใน 10 กรรมการสมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติ
คุณก่อศักดิ์ ได้กล่าวไว้ว่า เกมนี้ฝึกคนให้สมบูรณ์ เล่นแล้วได้ทั้งไอคิว อีคิว เอคิว เอ็มคิว ได้อีคิวเพราะมันมีหลักที่แปลกที่สุดคือ เมื่อคุณคิดเอาชนะ คุณจะแพ้ ในเมื่อคุณต้องอยู่กับหลายสนามรบ และคุณมีทรัพยากรจำกัดเหมือนกัน คุณสามารถส่งทหารออกไปวันละ 1 กองร้อยเท่ากัน คุณเอาไปช่วยสนามรบที่ประจันหน้ากันอยู่ สมมติมี 10 สนาม คุณไปให้สนามรบใด สนามรบที่เหลือที่ไม่ได้ทรัพยากรก็อ่อนแอ ถ้าคุณมุ่งให้แต่สนามรบที่มุ่งเอาชนะ คุณก็จะให้ตรงนั้นมาก แล้วในที่สุดคุณก็จะเอาชนะสนามรบนั้นได้ นั่นคือสิ่งที่คู่ต่อสู้ยอมให้คุณเอาสนามรบเล็กๆ ไปสักแห่งสองแห่ง แต่คุณก็จะมีทรัพยากรเปราะ ไม่พอสำหรับอีกหลายสนามรบ คุณก็จะชนะสนามรบที่คุณได้ แต่คุณจะแพ้สงคราม เกมนี้จึงเป็นเกมที่ไม่ได้ฝึกให้เอาชนะ แต่ฝึกให้ไม่แพ้ ในชีวิตก็เหมือนกัน ไปเอาชนะคนคนก็ไม่ชอบ ทุ่มเทชีวิตไปกับการล่าเงิน คุณก็อาจจะได้เงิน แต่คุณจะเสียครอบครัว จะเสียชื่อเสียง คุณจะได้ในสิ่งที่คุณอยากได้มาก แต่จะสูญเสียใหญ่ และสูญเสียระยะยาว
นั่นจึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ 7-11 คือ เดินหมากล้อมเมือง เพราะหัวใจของธุรกิจค้าขายคือ ทำเล ทำเล และทำเล
ปัจจุบันธุรกิจ 7-11 เป็นธุรกิจ Debt Free คือไม่มีหนี้ธนาคารเลย เพราะเป็นธุรกิจที่รับรายได้เป็นเงินสดปีละ 2 แสนล้าน แต่สินค้าที่จะนำมาขายใน 7-11 ได้นั้นต้องให้เครดิตทางการค้า 72 วัน หรือพูดง่ายๆ คือ Supplier ต้องส่งสินค้าให้ 7-11 ขายฟรีก่อน 72 วัน จากนั้นถึงจะชำระค่าสินค้าที่ขาย ทำให้ธุรกิจมีเงินสดมากองที่บริษัทเฉลี่ยปีละ 4 หมื่นล้านฟรีๆ
รายได้หลักของ 7-11 มาจากอาหารถึง 87% ซึ่งมีกำไรขึ้นต้นอยู่ที่ 32% ส่วนสินค้าทั่วไปสร้างรายได้เพียง 13% ของยอดขายรวมเท่านั้น และก็มีกำไรขึ้นต้นน้อยมากแค่ 15% เท่านั้น ดังนั้นการที่ 7-11 มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งทั้งหมดเพราะมีฐานของ CP รองรับผลิตภัฑณ์อาหารทั้งหมดที่คุมต้นทุนได้แม้แต่วัตถุดิบอาหารสัตว์ และที่โหดร้ายยิ่งกว่านั้น สินค้าชนิดใดขายนดี 7-11 จะผลิตแบรนด์ใหม่ขึ้นมาขายเองแข่งเลย จะสังเกตุว่าขนมปังฟาร์มเฮ้าจะค่อยๆ ลดลงจากเช้ล และยังมีสินค้าอื่นๆ อีกมากที่เป็นแบรนด์แฝงของ CP !!!
ในปีทีผ่านมา ยอดขาย 7-11 อยู่ที่ 82,420 บาท/สาขา/วัน และมีทั้งหมดจำนวน 6,800 สาขา ดังนั้นยอดขาย 7-11 ทั้งหมดต่อปีคือ 2 แสนล้านบาท/ปี โดยแบ่งเป็นยอดขายเฉลี่ย 2 แสนต่อวันสำหรับ old store sale ส่วน new store มียอดขายเฉลี่ย 7,500 บาทต่อวันเท่านั้น
ดังนั้นยอดขาย 82,000 บาทต่อวัน คือยอดขายเฉลี่ยต่อ 1 สาขา
นอกจากนั้น ใครก็ตามที่จะไปเปิดเฟนไชร์กับ 7-11 ได้ต้องวางเงินก่อน 2 ล้าน โดย 1 ล้านคือค่าลิขสิทธิ์ และอีก 1 ล้านคือค่าตกแต่งร้าน และต้องส่ง ผจก.สาขา และรอง ผจก. ไปอบรมอีกอย่างน้อย 1 เดือนเต็ม เท่านั้นไม่พอ เนื่องจาก 7-11 ทุกสาขามีระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันหมด เงินสดที่ขายได้ทั้งหมดในแต่ละวันนั้นจะต้องส่งเงินกลับสำนักงานใหญ่ทันทีโดยไม่มีการหักค่าใดๆ ทั้งสิ้น จากนั้นทาง บ.แม่ ถึงจะส่งเงินที่หักต้นทุนสินค้าและส่วนแบ่งกำไรมาให้เจ้าของ โดยเจ้าของสาขาจะได้แค่ 40% ของกำไรที่ทำได้เท่านั้น แม้ค่าน้ำ ค่าไฟ บ.แม่ จะจ่ายให้แต่เงินเดือนพนักงานทั้งหมด เจ้าของสาขาต้องรับผิดชอบเอง !!!
อะไรคือยุทธศาสตร์ที่ 7-11 เข้า Take Over MAKRO มูลค่าเกือบ 2 แสนล้าน
1. MAKRO มีฐานข้อมูลลูกค้าที่เป็นร้านโชวห่วยอยู่ทั้งประเทศ แต่ข้อมูลเหล่านั้นปัจจุบันอยู่ในมือ CPALL เรียบร้อยแล้ว >> มีการคาดการณ์กันว่า (คาดการณ์) จะมีการส่งทีม Sale เข้าไปเจรจาแบบไมตรี เพื่อเปลี่ยนร้านโชว์ห่วยที่ขายดีเหล่านั้นให้เป็น 7-11 ใหม่หมด หรือใช้ยุทธศาสตร์หมากล้อมเมือง คือเปิด 7-11 ขึ้นมาประกบ แม้เดิมที 7-11 ไม่มีนโยบายฆ่าคู่แข่ง แต่เพราะทั้ง Lotus, BigC, Fresh Mart ต่างพยายามตีตลาด 7-11 ด้วยห้างขนาดเล็กมาเปิดแข่ง จึงทำให้ตลาดเริ่มเดือด 7-11 จึงต้องรีบกินรวบให้ได้
2. ใช้ MAKRO เป็นช่องทางในการปลดล็อค Brand 7-11 เพื่อขยายสาขาในต่างประเทศในแบรนด์ Makro
3. ใช้ MAKRO เป็นช่องทางกระจายสินค้าและอาหารสดของ CP เพราะฐานลุกค้าหลักของ MAKRO คือภัตคาร ร้านอาหาร และโรงแรม และร้านอาหารเล็กๆทั่วไป ซึ่งเรียกรวมว่ากลุ่ม โฮเรก้า โดยลุกค้ากลุ่มนี้มีฐานขยายปีละ 24% ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกมส์นี้คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ CP Group
*** ถ้าจะบอกว่าอาหารทั้งประเทศในอนาคต จะมาจาก CP ทั้งหมด คงไม่เหนือความคาดหมายเป็นแน่
4. เจ้าสัวเคยเกริ่นไว้ว่า เราอาจจะเห็น MAKRO ในรูป Hypermarket แบบเดียวกับ BigC ก็ได้
5. MAKRO มีสาขาในประเทศไทย 62 แห่ง ที่ดินส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ของบริษัท โดย 7 แห่งเป็นที่ดินเช่า ที่ดินที่ MAKRO มีอยู่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ