ไม่สงสัยหรือครับว่าทำไมปืนอย่าง Walther PPK จึงมีคาลิเบอร์ใหญ่สุดที่ .380 (9 มม.สั้น) ไม่มีขนาด 9 มม.พาราฯ
PPK มีมาทั้ง .22 .25 .32 .380 แต่ไม่มี 9 มม.พาราฯ .... เพราะถ้าจะทำ 9 มม. พาราฯ ในระบบปืนแบบ PPK (Blowback) ทำได้แต่ใช้ไม่สะดวก เพราะต้องใช้สปริงแข็งมาก และลำเลื่อนหนักขึ้นครับ
ที่เพื่อนคุณ tOnz เข้าใจน่ะ ผิดแน่ ๆ ... เพราะพอเป็นกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ ปุ๊บ ระบบการทำงานของปืนก็จะเปลี่ยนจากระบบถอยหลังตรง ๆ ใช้สปริงอัด เป็นระบบที่มีการหน่วงเวลา เช่น ระบบรีคอยล์ของบราวนิ่ง ระบบลำกล้องหมุนตัว ระบบปีกขัดกลอน ฯลฯ ... ดังนั้นจึงอนุมานโดยไม่ต้องดูตัวเลขได้ว่า 9 มม. พาราฯ แรงกว่า .380 เห็น ๆ
ส่วนในบทความที่บอกว่า 9 มม. พาราฯ มีแรงรีคอยล์น้อยไปนั้น .... ก็ต่อเมื่อจะเอาแรงนั้นไปใช้ดันสไลด์หนัก ๆ ของ 1911 ลำกล้อง 5 นิ้วครับ ...
... ปืน 1911 ออกแบบมาสำหรับ .45 ACP และเมื่อนำมาขายให้กับประชาชน ก็มีการทำขนาด .38 super ซึ่งเป็นกระสุนที่แรงพอ ๆ กับ .357 Magnum ครับ
อำนาจทะลุทะลวงจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่นชนิดของหัวกระสุน รูปร่างของหัวกระสุน น้ำหนักของหัวกระสุน ความเร็วของหัวกระสุน ... ดังนั้นถ้าท่าน tOnz ไปดูเทียบความเร็วปากลำกล้อง กับน้ำหนักหัวกระสุนก็จะพบว่า 9 มม. พาราฯ นำหน้า .380 ACP มากอยู่ครับ
อำนาจทะลุทะลวงดี ก็ใช่ว่าการทำลายจะดี และยังไม่นับถึงอำนาจหยุดยั้ง ซึ่งมีหลายความคิดมากครับ ยังไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ... ส่วนมากเราจะดูจากผลงานในอดีต ทำให้กระสุนขนาด .45 หรือ .357 เป็นกระสุนที่ได้รับการยอมรับในเรื่องอำนาจหยุดยั้ง ในขณะที่ 9 มม. พาราฯ ท่านว่าคมไป คือกระสุนทะลุออกจากเป้าโดยยังไม่ทำลายเนื้อเยื่ออะไรมากนัก ...