เห็นถกเถียงกัน ผมก็งง ไม่รู้ว่าอันไหนผิดอันไหนถูก...ก็เลยไปหาในกูเกิ้ล...แค่พิมพ์ " กม.เมาไม่ขับ " ก็ปรากฎว่ามึ้นมาเพียบ ก็เลยลอกมาดุ้นนึง เท็จจริงประการใด ยกความดีให้กูเกิ้ลและเวบสอบสวนครับ
มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ใดขับขี่รถ
(๒) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
มาตรา ๑๔๒ เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ
ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๑) หรือ (๒) ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่
มาตรา ๑๕๔ ผู้ใด
(๑) ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๓๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๔๒ วรรคหนึ่ง
(๓) ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสอง หรือ
ถ้าไม่เป็นความผิดที่กำหนดโทษไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท (...ครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท....)
มาตรา ๑๓๑/๑ ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อ
พิสูจน์ข้อเท็จจริงตามมาตรา ๑๓๑ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุหรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ (ข้อสังเกตส่วนตัว วรรคหนึ่ง มิได้กำหนดอัตราโทษจำคุกไว้)
กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ข้อ ๑ การทดสอบผู้ขับขี่ว่าเมาสุราหรือไม่ ให้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์
ในเลือดของผู้ขับขี่โดยใช้วิธีการตามลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจวัดลมหายใจ
(๒) ตรวจวัดจากปัสสาวะ
(๓) ตรวจวัดจากเลือด
การตรวจวัดตาม (๒) หรือ (๓) ให้ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถทดสอบตาม (๑)
ได้เท่านั้น (คนเมาไม่เป่า ก็ถือว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถทดสอบตาม ๑ ได้แล้ว)
สรุป
๑) เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถได้ตาม มาตรา ๑๔๒
๒) เมื่อหยุด เห็นว่าเมา เจ้าหน้าที่สามารถจะสั่งให้มีการตรวจวัดความเมาได้ตาม มาตรา ๑๔๒ วรรคสอง
๓) ไม่ยอมเป่า /ขั้นตอนแรก กักตัวจนกว่าจะเป่า/ ถ้าไม่ยินยอมจริง ๆ จะมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ตาม มาตรา ๑๕๔ วรรคสอง และเจ้าหน้าทื่ตำรวจผู้สั่งให้ตรวจสามารถจับกุมผู้ขับขี่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๗๘ (๑)...(ความผิดซึ่งหน้า)
๔) เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ขับรถนำส่ง พงส. /พงส.มีอำนาจสั่งให้ตรวจวัดความเมาได้อีกชั้นหนึ่ง /หากไม่ยอม - ให้ พงส.ส่งผู้ขับขี่นั้นไปให้แพทย์ทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดความเมาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๑/๑
๕) ถ้าผู้ขับขี่ไม่ยินยอมให้แพทย์ตรวจวัดความเมาอีก ให้สันนิษฐานว่าผู้ขับขี่นั้นเมาสุราในขณะขับรถ