โลหิตเป็นสิ่งสำคัญในดำรงรักษาชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน
แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่น ๆ ที่มาทดแทนโลหิตได้ ฉะนั้นเมื่อยามที่ร่างกายเสียโลหิต
จากอุบัติเหตุ, ผ่าตัด หรือโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยโลหิตจึงจำเป็นต้องรับบริจาคโลหิตจากบุคคลหนึ่ง เพื่อ
นำไปให้อีกบุคคลหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือชีวิตให้ทันท่วงทีนั่นเอง
โลหิต 77 % ที่ได้รับบริจาคถูกนำไปใช้เพื่อทดแทนโลหิตที่สูญเสียไปในภาวะต่างๆ
เช่น อุบัติเหตุ, การผ่าตัด โรคกระเพาะอาหาร, การคลอดบุตร ฯลฯ
อีก 23 % เป็นการนำโลหิตไปใช้เฉพาะโรค เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, เกล็ดโลหิตต่ำ, ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น
เลือดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ตามปรกติแล้ว มนุษย์จะมีโลหิตไหลเวียนอยู่ในร่างกายประมาณ 4,000-5,000 ซีซี.
ดังนั้น การบริจาคโลหิตเพียง 350-450 ซีซี. หรือประมาณ 9% จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ
แต่จะมีผลดี คือ ช่วยให้ร่างกายมีการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดใหม่ออกมาชดเชย
การบริจาค สามารถทำได้ทุก 3 เดือนสำหรับผู้ชาย และ ทุก 6 เดือนสำหรับผู้หญิง
คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต - อายุ 17 - 60 ปี
- น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 45 กิโลกรัม
- สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ ลมชัก
- พักผ่อนมาเพียงพอ ควรนอนหลับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- ควรรับประทานอาหาร ก่อนบริจาคโลหิตภายใน 4 ชั่วโมง
- ไม่อยู่ในระหว่าง กินยาปฏิชีวนะ หรือยากันโลหิตแข็ง
- ไม่ได้รับการถอนฟันภายใน 74 ชั่วโมงก่อนการบริจาคโลหิต
รวมทั้งไม่มีบาดแผลสด หรือแผลติดเชื้อตามร่างกาย
- ไม่มีประวัติ หรือตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี , ซี , เชื้อโรคเอดส์ หรือเชื้อซิฟิลิส
- ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่างๆ ไอเรื้อรัง
ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคโลหิตชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก
โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
- ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยา ชนิดใช้เข็มฉีด
- ไม่มีประวัติความเจ็บป่วย ที่มาจากการบริจาคโลหิตอันก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง
- ผู้หญิงไม่อยู่ในระหว่างการมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร
- ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี
การปฎิบัตตัวหลังจากบริจาคโลหิต - นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
- ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
- ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
- หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียง หรือขณะเดินทางกลับ ต้อง
รีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้มได้
- งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงาน
ปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
- รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
- หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
- งดสูบบุหรี่ ครึ่งชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันอาการคลื่นใส้ อาเจียน
- งดดื่มแอลกอฮอล์ จนกว่าจะได้รับการับประทานอาหารก่อน
กรุ๊ปเลือดที่ขาดแคลน และเป็นที่ต้องการได้แก่ A negative( A Rh- ) , B negative( B Rh- ) , O negative( O Rh- )
ซึ่งเป็นกรุ๊ปเลือดพิเศษ และมีผู้บริจาคจำนวนน้อยที่มีเลือดกรุ๊ปกล่าว
( ที่มา : วารสารแผ่นพับ ธนาคารเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ศริราชพยาบาล และ ข้อมูลจาก
http://www.nbc.in.th/index.asp สภากาชาดไทย )
ขอสุขภาพแข็งแรงเป็นของทุกท่านค่ะ