เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 16, 2024, 04:06:00 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4 ... 6
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เชือดขรก.เบี้ยวหนี้ ล้มละลายต้องออก ก่อหนี้ทะลัก1ล้านล.  (อ่าน 5338 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 01:28:27 PM »



ข้าราชการแบกภาระหนี้อ่วมกว่า 1 ล้านล้านบาท ก.พ.หวั่นจูงใจทุจริต ออกกฎเหล็กปรามเรื่องการก่อหนี้ ตั้งเงื่อนไขถูกศาลพิพากษาล้มละลาย ผู้บังคับบัญชาต้องมีคำสั่งให้ออกฐานมีลักษณะต้องห้าม ร่อนหนังสือแจ้งหน่วยงานทั่วประเทศปฏิบัติเข้ม ชี้ใช้จ่ายเกินตัวเจอฟ้องทั้งหนี้ซื้อบ้าน-บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล แบงก์กรุงไทย-ออมสินตั้งการ์ดรับ ด้าน ธปท.สั่งจับตาหนี้กลุ่มข้าราชการ


แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.พ. ได้ลงนามในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้าม กรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และกรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล พ.ศ. 2556 ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. 2556 มีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งประกาศเมื่อ 7 มิ.ย. 2556 ล่าสุด ก.พ.ได้ทำหนังสือเวียนแจ้งให้หน่วยงานราชการยึดถือปฏิบัติตามกฎใหม่ เพื่อเน้นย้ำให้ข้าราชการในแต่ละหน่วยงานปฏิบัติตามกฎ ด้วยการสั่งการให้



ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ออกจากราชการตามแต่กรณี ถ้าขาดคุณสมบัติ 1.ไม่มีสัญชาติไทย 2.อายุต่ำกว่า 18 ปี 3.ไม่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนต้องห้าม ได้แก่ 1.ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2.เป็นบุคคลล้มละลาย

จี้หน่วยงานฟัน ขรก.ล้มละลาย

ที่ผ่านมา พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีที่ข้าราชการจะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามไว้ชัดแจน แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหา โดยเฉพาะลักษณะต้องห้ามเรื่องการเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งมักเกิดขึ้นภายหลังจากบรรจุเข้าเป็นข้าราชการ เนื่องจากหน่วยงานส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสอบ ส่งผลให้ข้าราชการบางส่วนที่มีลักษณะต้องห้ามจากที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายยังสามารถรับราชการตามปกติกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้จึงย้ำให้ผู้บังคับบัญชาทำตามกฎระเบียบ

ถือเป็นหนึ่งในมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ของข้าราชการที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และจูงใจให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะหนี้ภาคครัวเรือนพุ่งสูงถึง 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ที่ผ่านมายอดหนี้ของข้าราชการเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่การร้องเรียนเกี่ยวกับหนี้ไปยังหน่วยงานต้นสังกัด และร้องเรียนผ่านทาง ก.พ.ก็มีเพิ่มขึ้น


จากข้อมูลที่ ก.พ.สำรวจ พบว่า ข้าราชการพลเรือนที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย มีทั้งการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากภาระหนี้สินที่ตนเองก่อขึ้น และการค้ำประกันหนี้ให้กับญาติพี่น้องหรือ

เพื่อนฝูง ซึ่งในระเบียบปฏิบัติหากข้าราชการที่ค้ำประกันหนี้ให้กับญาติพี่น้องไม่ถือเป็นโทษทางวินัย และให้โอกาสหัวหน้างานพิจารณาเป็นรายกรณีไป ยกเว้นข้าราชการมีหนี้สินจำนวนมาก และถูกศาลตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะต้องออกจากราชการตามระเบียบ

หนี้ครัวเรือนข้าราชการพุ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยผลสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนในปี 2555 เกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และภาวะหนี้สิน โดยเก็บข้อมูลจากข้าราชการทุกประเภท ทุกระดับตำแหน่ง ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 13,252 ราย พบว่าครัวเรือนข้าราชการมีแนวโน้มมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจาก 749,771 บาท ในปี 2551 เป็น 1,111,425 บาท ในปี 2555 หรือมีหนี้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 48%

โดยหนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนข้าราชการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 18.2 เท่าในปี 2551 เป็น 22.3 เท่าในปี 2555 โดยเฉพาะครอบครัวข้าราชการทุกประเภท และระดับตำแหน่ง มีหนี้สิน 83.2% โดยมีจำนวนหนี้เฉลี่ย 1,111,425 บาทต่อครอบครัว แบ่งเป็นข้าราชการประเภททั่วไป มีสัดส่วนของครอบครัวที่เป็นหนี้สูงสุด 86.3% ประเภทวิชาการและอำนวยการ มีหนี้ 83.4% และ 65.5% ตามลำดับ ประเภทบริหารมีสัดส่วนที่เป็นหนี้ต่ำสุด 31.9%

สาเหตุของการเป็นหนี้ มาจากหนี้สินเพื่อที่อยู่อาศัยสูงที่สุด คือ 54.7%, รองลงมา หนี้เพื่อซื้อหรือซ่อมแซมยานพาหนะ 16.5%, หนี้เพื่อใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค 15.4%, หนี้เพื่อการลงทุนในธุรกิจของครอบครัว 5.9% และหนี้สินเพื่อการศึกษา 3.6%



ฟ้องบังคับคดี 8 แสนคดี

ส่วนข้อมูลจากกรมบังคับคดีระบุว่า ปี 2553 ที่ผ่านมา มีการฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ที่ศาลมีคำพิพากษา แต่ยังไม่มีการบังคับคดีรวม 8 แสนคดี ในจำนวนนี้มีทั้งการฟ้องร้องลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และเจ้าหนี้เป็นบุคคลธรรมดา 50% คิดเป็นมูลหนี้รวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท ที่น่าห่วงคือ ลูกหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ถูกเจ้าหนี้ว่าจ้างบริษัททวงหนี้ข่มขู่จะยื่นฟ้องล้มละลาย ซึ่งจะถูกออกจากราชการหากไม่ยอมชำระหนี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมเจรจาปรับโครงสร้างหนี้หรือลดหนี้ให้ หวังเรียกเก็บหนี้เต็มจำนวนบวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือบางรายหาก

ยืดเยื้อ ยอดหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะถูกฟ้องยึดทรัพย์บังคับคดี ถือเป็นเรื่องอันตรายต่อข้าราชการมาก



กรุงไทย-ออมสินช่วยครูแก้หนี้

นอกจากข้าราชการพลเรือนแล้วภาระหนี้ของข้าราชการครูก็มีปัญหาหนักเช่นเดียวกัน เพราะจากการสำรวจล่าสุดพบว่า ปี 2555 ที่ผ่านมา ครูทั่วประเทศกว่า 4 แสนราย มีหนี้สินเฉลี่ยรายละ 1 ล้านบาท คิดเป็นมูลหนี้รวมกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งล่าสุด นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงแนวทางช่วยเหลือครูที่มีหนี้สินว่า ได้เจรจากับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน เพื่อให้ธนาคารให้กู้ยืม Refinance ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาอัตราดอกเบี้ย จะได้ข้อสรุปภายในเดือนกันยายนนี้

ขณะเดียวกันจะจัดทำโครงการเพิ่มรายได้ให้กับครู โดยจะเสนอโครงการเข้าที่ประชุมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) วันที่ 29 กรกฎาคมนี้


เผยยอดหนี้ ขรก. 6.3 แสนล้าน

ด้านแหล่งข่าวจากธนาคารออมสินเปิดเผยว่า สินเชื่อสำหรับกลุ่มอาชีพข้าราชการ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ครู ตำรวจ และข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปี 2556 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. มียอดอนุมัติสินเชื่อ 4.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็นจำนวนลูกหนี้ 3.25 หมื่นราย ถึงปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อกลุ่มดังกล่าวของธนาคารมียอดสินเชื่อคงเหลือจากสิ้นปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ 6.22 แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 6.31 แสนล้านบาท ณ 30 มิ.ย. 2556 แบ่งเป็นหนี้ข้าราชการครู 5.25 แสนล้านบาท, ทหาร 3.4 หมื่นล้านบาท และข้าราชการอื่น ๆ 7 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ดี จำนวนลูกหนี้ลดลงจาก 7.5 แสนราย เหลือประมาณ 7 แสนราย เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แค่ 0.3% โดยกลุ่มที่เป็นเอ็นพีแอลสัดส่วนมากสุด คือ ทหาร รองลงมาได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา



นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ระบุว่า 6 เดือนแรกของปีนี้ เอ็นพีแอลในภาพรวมของธนาคารเพิ่มจาก 1.1% เป็น 1.3% ของยอดสินเชื่อรวม 1.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 2.2 หมื่นล้านบาท สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากมีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการช่วงต้นปี ทำให้การหักชำระเงินจากยอดเงินเดือนสะดุดบางส่วน และบางส่วนเกิดจากโรงงานบางแห่งปิดตัวลง

ชะลอปล่อยกู้รายย่อย

แหล่งข่าวจากธนาคารออมสินให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าครึ่งปีหลังนี้ธนาคารได้ติดตามตัวเลขหนี้ภาคครัวเรือนอย่างใกล้ชิดและระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากต้นปีเร่งปล่อยสินเชื่อรายย่อยและกลุ่มข้าราชการต่าง ๆ สูงขึ้นต่อเนื่อง จากนี้จะลดความร้อนแรงโดยลดสัดส่วนการปล่อยกู้รายย่อยลง จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนรายย่อยราว 90% หันไปเน้นปล่อยกู้สินเชื่อภาครัฐและสินเชื่อมากขึ้น

นายบูชา ศิริชุมแสง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดูแลด้านกฎหมายและการติดตามหนี้ บมจ.บัตรกรุงไทย (เคทีซี) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า โดยนโยบายของเคทีซีจะไม่มีการฟ้องล้มละลายลูกค้า รวมถึงส่วนใหญ่หนี้บัตรเครดิตจะมียอดหนี้ไม่ถึง 1 ล้านบาท ซึ่งเข้าเกณฑ์ฟ้องล้มละลาย ฉะนั้นกรณีลูกค้ามีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระได้และอยู่ในขั้นถูกดำเนินคดี จะเข้าไปร่วมร้องขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น

แบงก์ชาตเริ่มจับตา

ขณะที่นายประสารไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ถือเป็นโจทย์ที่น่าสนใจที่ ธปท.จะให้ความสำคัญหนี้ครัวเรือนในกลุ่มข้าราชการเป็นการเฉพาะมากขึ้น จากปกติที่เวลาคำนวณตัวเลขจะนับรวมกันทั้งหมด โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในภาพรวม ณ สิ้นไตรมาส 2/2556 ยังอยู่ใกล้เคียง 80% ของการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่เสี่ยง อย่างไรก็ดี คาดว่าในครึ่งปีหลังน่าจะชะลอลง เพราะสถาบันให้กู้ยืมเงินต่าง ๆ มีการระมัดระวังกันมากขึ้น

 
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374666223
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2013, 01:36:33 PM โดย เบิ้ม » บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1204
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 02:00:44 PM »

ถึงหนี้ผมจะเยอะ... แต่ผมก็ไม่เคยเบี้ยวครับ... ดังนั้น... ยังสบายใจอยู่... คิก คิก คิก คิก คิก คิก


บันทึกการเข้า
zamphol
ปืน-อยู่-ที่-ปาก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 831
ออฟไลน์

กระทู้: 2628


ชีวิต-ดั่ง-ละคร


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 02:11:44 PM »

ผมกู้ไม่เป็นอยู่อย่างเดียว.... Grin อ๋อย ไหว้
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 02:43:54 PM »

รัฐบาลต้องหาวิธีแก้โจทย์ให้ข้าราชการมีรายได้เพิ่มขึ้นครับ คือหาวิธีไม่ให้ล้มละลาย, ไม่ใช่มาลงดาบเอาเพราะเหมาว่าล้มละลายคือความผิด อย่างนี้มันไม่ค่อยเข้าท่าครับ... คนที่เป็นข้าราชการเฉลี่ยแล้วสมองดีกว่าคนทั่วไปในภาคเอกชนแยะครับ(สอบเข้ารับราชการยากมาก), แต่ที่มาล้มละลายก็เพราะไม่โกงไม่กินฯ...

การเป็นข้าราชการนั้นถือว่าเป็นความเสียสละส่วนหนึ่งด้วย เพราะรายได้ในตำแหน่ง/ความสามารถที่เทียบระดับกันได้ในเอกชนนั้น เอกชนสูงกว่ามากครับ... ตัวอย่างเช่นตำแหน่ง C8 เทียบได้กับ ผจก. ทั่วไปประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไปนั่น เงินเดือนแสนบาทขึ้นไปครับ...
บันทึกการเข้า
คนตัวอ้วน+ผมรักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1057
ออฟไลน์

กระทู้: 3266



« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 02:47:26 PM »

ขรก.เป็นหนี้ล้นพ้นตัว...แล้วถูกฟ้องถึงขั้นให้เขาออกจากงาน...มันเป็นแก้ไขปัญหาหรือครับ...
บันทึกการเข้า

จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 02:51:45 PM »

ขรก.เป็นหนี้ล้นพ้นตัว...แล้วถูกฟ้องถึงขั้นให้เขาออกจากงาน...มันเป็นแก้ไขปัญหาหรือครับ...

ยิ่งซวยใหญ่ล่ะไม่ว่าครับ... ก็คนเขาไม่มีรายได้ไม่พอหนี้ ยังไปไล่เขาออก...
บันทึกการเข้า
babor
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 02:54:15 PM »

ถึงหนี้ผมจะเยอะ... แต่ผมก็ไม่เคยเบี้ยวครับ... ดังนั้น... ยังสบายใจอยู่... คิก คิก คิก คิก คิก คิก



เพราะว่าเงินเดือนโดนหักก่อนที่จะถึงมือเพื่อเบี้ยวได้  Grin



ผมกู้ไม่เป็นอยู่อย่างเดียว.... Grin อ๋อย ไหว้


กู้ระเบิด Grin



รัฐบาลต้องหาวิธีแก้โจทย์ให้ข้าราชการมีรายได้เพิ่มขึ้นครับ คือหาวิธีไม่ให้ล้มละลาย, ไม่ใช่มาลงดาบเอาเพราะเหมาว่าล้มละลายคือความผิด อย่างนี้มันไม่ค่อยเข้าท่าครับ... คนที่เป็นข้าราชการเฉลี่ยแล้วสมองดีกว่าคนทั่วไปในภาคเอกชนแยะครับ(สอบเข้ารับราชการยากมาก), แต่ที่มาล้มละลายก็เพราะไม่โกงไม่กินฯ...

การเป็นข้าราชการนั้นถือว่าเป็นความเสียสละส่วนหนึ่งด้วย เพราะรายได้ในตำแหน่ง/ความสามารถที่เทียบระดับกันได้ในเอกชนนั้น เอกชนสูงกว่ามากครับ... ตัวอย่างเช่นตำแหน่ง C8 เทียบได้กับ ผจก. ทั่วไปประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไปนั่น เงินเดือนแสนบาทขึ้นไปครับ...


หลายคน เงินเดือนเกือบครึ่ง กลายเป็นค่าเดินทางไปทำงาน  Grin


ขรก.เป็นหนี้ล้นพ้นตัว...แล้วถูกฟ้องถึงขั้นให้เขาออกจากงาน...มันเป็นแก้ไขปัญหาหรือครับ...


นั่นซิครับ หากออกจากงานแล้ว จะเอาเงินที่ไหนใช้หนี้ Grin
บันทึกการเข้า
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 02:55:00 PM »

ล้มละลายรับราชการต่อไปไม่ได้อยู่แล้วนี่น้า
บันทึกการเข้า

                
คนตัวอ้วน+ผมรักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1057
ออฟไลน์

กระทู้: 3266



« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 03:02:04 PM »

อย่างที่น้า นายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง พูดครับ ข้าราชการเป็นหนี้ เพราะเขาไม่โกง ไม่กิน เขาถึงยอมเป็นหนี้เพื่อความอยู่รอดของครอบครัว ขรก.คนที่ไม่มีหนี้ เพราะอะไรครับ อ่ะเพราะเขาใช้เงินเป็น เพราะเขารู้จักพออยู่พอกิน แต่ ขรก.ผู้น้อย ที่ต้นทุนเดิมไม่ได้ร่ำรวยอะไรเลยมาก่อน เขาก็ต้องกู้ กู้เพื่อความอยู่รอด ดีกว่าไปโกงไปกิน แล้วร่ำรวย เป็น พณฯ.ท่าน เป็น ฯลฯ. พวกที่คนร่วยๆล้นๆเหลือ แม่มไม่เห็นไปตรวจสอบ
บันทึกการเข้า

จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
babor
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 03:04:46 PM »

ล้มละลายรับราชการต่อไปไม่ได้อยู่แล้วนี่น้า


เออ นั่นซิ  Grin

แต่ปัญหานี้ แก้ง่ายนิดเดียว อย่าให้กู้เยอะ อย่าให้กู้หลายที่ ก็จบแล้ว (ถ้าทำได้)  Grin Grin

และต้องยอมรับว่าเขาก็มีกิเลสอยากได้โน่นนี่นั่นบ้างเพราะหาใช่พระอรหันต์ ก็จัดผ่านสวัสดิการให้ผ่อนผ่านหน่วยงาน ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ลดความเสี่ยง เพราะบางคนพื้นฐานเศรษฐกิจก่อนเป็นข้าราชการไม่เหมือนกัน  Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 03:31:38 PM »

ก็ดูการจัดรายการทั้งหลายซิสวัสดิการทั้งนั้นเพลินกันไปเลย
บันทึกการเข้า
carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2329
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 84478


« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 03:36:23 PM »

น่าสนใจครับ และน่าเห็นใจถ้าไม่โกงแล้วลำบาก
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
TUI 48
Sr. Member
****

คะแนน 332
ออฟไลน์

กระทู้: 927


« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 04:18:28 PM »

รัฐบาลต้องหาวิธีแก้โจทย์ให้ข้าราชการมีรายได้เพิ่มขึ้นครับ คือหาวิธีไม่ให้ล้มละลาย, ไม่ใช่มาลงดาบเอาเพราะเหมาว่าล้มละลายคือความผิด อย่างนี้มันไม่ค่อยเข้าท่าครับ... คนที่เป็นข้าราชการเฉลี่ยแล้วสมองดีกว่าคนทั่วไปในภาคเอกชนแยะครับ(สอบเข้ารับราชการยากมาก), แต่ที่มาล้มละลายก็เพราะไม่โกงไม่กินฯ...

การเป็นข้าราชการนั้นถือว่าเป็นความเสียสละส่วนหนึ่งด้วย เพราะรายได้ในตำแหน่ง/ความสามารถที่เทียบระดับกันได้ในเอกชนนั้น เอกชนสูงกว่ามากครับ... ตัวอย่างเช่นตำแหน่ง C8 เทียบได้กับ ผจก. ทั่วไปประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไปนั่น เงินเดือนแสนบาทขึ้นไปครับ...

คำตอบของท่านพี่สมชาย ชัดเจนและถูกใจมากทั้ง 2 ย่อหน้าครับ...2601ครับ..
บันทึกการเข้า
babor
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 04:20:27 PM »

ก็ดูการจัดรายการทั้งหลายซิสวัสดิการทั้งนั้นเพลินกันไปเลย



เพลินไปก็ช่วยไม่ได้ ส่วนหนึ่งสวัสดิการต้องดูแล ส่วนหนึ่งต้องมีวินัยทางการเงิน


แต่หน่วยงานที่อยู่ ไม่มีอะไรมาให้เพลินบ้างเลย หรือเราตกข่าวหว่า  บู่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2013, 04:22:52 PM โดย babor » บันทึกการเข้า
sombat_
Full Member
***

คะแนน -166
ออฟไลน์

กระทู้: 382


หูดับตับไหม้


« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 04:22:47 PM »

ยังนึกไม่ออกว่างานราชการนี่ทำอีท่าไหนถึงล้มละลายได้ครับ ยิ่งว่าไม่โกงไม่กินแล้วล้มละลายยิ่งนึกไม่ออก
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 22 คำสั่ง