โตโยต้าหรือจริงๆรถทุกค่ายมีนโยบายลดต้นทุนการผลิตทุกปีจริงครับ เนื่องจาก mass product จะแพงค่าโมลล์ในช่วงแรกๆของไลน์การผลิต พอปีต่อๆมา เริ่มคุ้มค่าโมลล์แล้ว ก็ต้องลดราคาหรือกดราคากันได้บ้าง ยิ่งรถผลิตมาเกือบ 10 ปี ต้นทุนโมลล์ยิ่งต่ำหรืออาจจะเหลือศูนย์เลยครับ...
แต่เรื่องการลดต้นทุนถึง 40% ผมนึกไม่ออกครับว่าจะลดยังไงจากตัวรถทั้งคัน ผมคิดว่าแค่ 10-20% ก็ยังยากแล้วครับ...
การเพิ่มกำไรมีหลายวิธี การลดต้นทุนก็เป็นหนึ่งในวิธีสร้างกำไร ปัญหาคือจะลดต้นทุนตรงจุดไหนลง
และรถยนต์แต่ล่ะยี่ห้อต้นทุนเท่าไหร่ ราคาขายเท่าไหร่ คุณภาพสินค้าที่ได้มาเป็นอย่างไร
กำไรขั้นต้น = ราคาขาย - ต้นทุน
เพิ่มกำไรขั้นต้น ก็คือ เพิ่มราคาขาย หรือไม่ก็ลดต้นทุน
ต้นทุน = วัตถุดิบทางตรง + ค่าแรงทางตรง+ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน+ค่าการขนส่ง+ค่าเก็บรักษาสินค้าคงคลัง
เรื่องลดต้นทุน 40% ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ลองมาดูกัน ลองคิดกับแบบพื้นๆ
สมมุติลองลดต้นทุนเหล็ก เหล็กแชสสีส์เดิมราคา 750$/Tonne เหล็กตัวถังเดิม 665$/Tonne
ถ้าเปลี่ยนสั่งเหล็กให้ราคาถูกลงเหลือ 600$/Tonne และ 535$/Tonne ต้นทุนเฉพาะเหล็ก2ชนิดนี้ลดไปเท่าไหร่
ขั้นตอนการผลิตเดิมใช้เหล็กแชสสีส์หนา 5mm. ลดลงเหลือ 4mm. เหล็กตัวถังเดิมหนา 0.7mm. ลดลงเหลือ 0.56mm.
ใช้หล็กบางลงใช้พลังงานในการขึ้นรูปน้อยลง ต้นทุนในขั้นตอนการขึ้นรูปโดยรวมลดลงเท่าไหร่ ยังไม่รวมชิ้นส่วนประกอบอีกหลายสิบชิ้น
ในขั้นตอนการผลิตจ้างบ.ซับคอนแทคที่มีค่าแรงถูกลง บ้านเราส่วนใหญ่เป็นคนงาน ม.3-6 คิดค่าแรงรายวัน
บ.ใหม่ที่คิดค่าแรงถูกกว่า ได้รับสัญญาจ้างชิ้นใหญ่ ต้องเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องจักรที่ต้องกู้เงินซื้อเพิ่ม ต้นทุนการผลิตลดลงอีกเท่าไหร่
ยังไม่รวมเรื่องวัสดุอื่นเช่นพลาสสติกที่ใช้ทั้งคัน ล้อแม็กส์ ยาง ยิ่งถ้าเป็นรถที่โมเดลเชนจ์ยิ่งลดต้นทุนได้ง่ายเพราะบางส่วนลงทุนไว้แล้ว
สุดท้ายเรื่องQC จุดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการชี้คุณภาพของรถแต่ล่ะรุ่น/ยี่ห้อ และเป็นจุดที่มีผลมากต่อต้นทุนการผลิต
ซึ่งแต่ล่ะยี่ห้อก็มีระดับในความละเอียดของQCไม่เท่ากัน เขี้ยวมากก็ได้คุณภาพสินค้าตรงตามที่ออกแบบ แต่ก็ใช้ต้นทุนมากขึ้นด้วย
กลับกันถ้าQCหลวมก็ลดต้นทุนการผลิตลงได้ แต่ก็จะได้สินค้าคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เท่าที่ทำงานมา Honda QCเขี้ยวที่สุด
ส่วนเรื่องแม่พิมพ์ที่พี่ว่าทน10ปีไม่ถึงหรอก ถ้าเป็นการออกแบบอาจจะใช่ในสมัยก่อน แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนโฉมก็ต้องออกแบบใหม่บางส่วน
โมเดลเชนจ์ครั้งนึงต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด แม่พิมพ์ก็ต้องผลิตตามที่ออกแบบใหม่ รถคันนึงใช้ชิ้นส่วนขึ้นรูปเท่าไหร่ก็ต้องใช้แม่พิมพ์จำนวนเท่ากัน
แล้วตัวแม่พิมพ์เองมันไม่ได้ทนอย่างที่คิดหรอกเขาผลิต ,ซ่อม ,แก้ไขกันทุกวันครับ
สุดท้ายรถยนต์มันก็เป็นเรื่องของความพอใจและรสนิยมซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมเรียนสายช่างมานานก็มีมุมมองและวิธีพิจารณาสินค้าของผม
ซึ่งอาจจะไม่เหมือนคนอื่น เพียงแต่พิจารณาในมุมของผมแล้ว Toyota ไม่เข้าตาผมเมื่อมองเงินที่จ่ายเทียบกับสินค้าที่ได้รับครับ