เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 16, 2024, 02:45:46 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความยากจนในสหรัฐอเมริกา  (อ่าน 1953 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2013, 05:48:01 PM »

พวกเราที่อยู่ข้างนอก ไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานจนได้เห็นส่วนลึกของอเมริกา ก็คงจะนึกว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกนั้น ประชาชนอเมริกันทุกคนคงจะมีความสุขสบายร่ำรวยไปหมด ความจริงมิได้เป็นอย่างนั้น



คนอเมริกันโดยเฉลี่ยต่อหัวเป็นผู้ที่ใช้จ่ายเพื่อความอยู่ดีกินดีมากที่สุดในโลก มีบ้านสวย ๆ แพง ๆ อยู่ มีเครื่องปรับอากาศทำความร้อนทำความเย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า มีเครื่องใช้ในครัวเรือน ระบบภายในบ้านเปิดปิดประตูโดยกลไกอัตโนมัติ มีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างแม้กระทั่งเครื่องบินส่วนตัว ยกเว้นไม่มีคนคอยรับใช้ในบ้าน แต่ก็มีคนมาทำความสะอาด มาจัดการต่าง ๆ ในครัวเรือนให้สำหรับคนชั้นกลางระดับสูง

เกษตรกรของสหรัฐส่วนมากเป็นคนมีฐานะดี เพราะมีพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่ ใช้เครื่องมือเครื่องจักรทั้งหมด ใช้เครื่องบินหว่านเมล็ดพืชและยาฆ่าแมลง และเกษตรกรก็มีจำนวนจำกัดรัฐบาลโดย CCC หรือ Commodity Credit Cooperation หรือบรรษัทสินเชื่อเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ รับประกันราคาพืชผลทั้งหมดโดยเฉลี่ยสูงกว่าราคาตลาดโลกถึง 5 เท่า แต่ใครจะเป็นชาวไร่ชาวนาได้ต้องเป็นผู้ที่รัฐรับจดทะเบียนเท่านั้น



จู่ ๆ จะประกาศตัวเป็นเกษตรกรแล้วไปขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไม่ได้ รัฐบาลกลางเป็นผู้กำหนดพื้นที่และประเภทของสินค้าเกษตร กำหนดให้เกษตรกรแต่ละครัวเรือนพื้นที่ไหน เพาะปลูกอะไร มากน้อยเท่าไหร่ รัฐบาลกลางจะจัดงบประมาณจากภาษีอากรมาช่วยอุดหนุน บรรษัทสินเชื่อเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ให้เกษตรกรทั่วประเทศจำกัดจำนวนเกษตรกรไว้เพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ประมาณอีก 97 เปอร์เซ็นต์มิได้เป็นเกษตรกร


ประชากร 97 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้เป็นเกษตรกร ส่วนใหญ่ก็เป็นพนักงานลูกจ้างของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ รวมทั้งพนักงานรัฐวิสาหกิจและพนักงานของรัฐ ทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนมลรัฐ และส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระหรือค้าขาย ใหญ่บ้างเล็กบ้างแต่ก็มีไม่มากเช่นกัน



พนักงานของบริษัททั้งใหญ่น้อยก็มีระดับผู้บริหาร หรือพนักงานที่นั่งโต๊ะที่เรียกว่าพนักงานปกเสื้อขาว หรือ White Collar Workers กับพนักงานที่เป็นนายช่าง กรรมกรผู้ใช้แรงงาน เรียกกันว่าพนักงานเสื้อน้ำเงิน หรือ Blue Collar Workers

ผู้คนส่วนใหญ่ทำงานเป็นพวกพนักงานปกเสื้อสีน้ำเงิน ไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ และที่สำคัญคนผิวสีส่วนใหญ่จะเป็นพวกพนักงานปกเสื้อน้ำเงิน

คนจนส่วนมากจะเป็นพวกนี้ บางทีต้องหาเช้ากินค่ำ เช่าห้องอยู่ในเขตชุมชนยากจน หรือในสลัมซึ่งยังมีอยู่จำนวนไม่น้อย สลัมในสหรัฐอเมริกาไม่ใช่บ้านที่ทำด้วยเศษสังกะสีหรือเศษไม้อัดแผ่นป้ายโฆษณาอย่างบ้านเรา แต่เป็นตึกอาคารชุดที่เสื่อมโทรม ห้องขนาด 4 คูณ 4 เมตร หรือ 5 คูณ 5 เมตร บางที่อัดกันอยู่ถึง 4-5 ครอบครัว นึกไม่ออกเหมือนกันว่าอยู่กันได้อย่างไร หลาย ๆ แห่งไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีน้ำประปาให้ เพราะผู้อยู่อาศัยไม่มีเงินจ่ายค่าน้ำค่าไฟ


เขตคนจนราคาที่ดินก็ต่ำหรือไม่มีราคาเอาเสียเลย ภาษีที่ดินก็เลยต่ำไปด้วย ส่วนที่อยู่ของเขตคนรวยที่สามารถจ่ายภาษีที่ดินแพง ๆ ได้ ก็จะไปรวมตัวกันอยู่ในเขตชานเมือง เช้าขึ้นก็นั่งรถไฟใต้ดินหรือบนดินเข้ามาทำงาน เย็นลงก็กลับบ้าน ส่วนคนจนทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะค่าโดยสารเดินทางมีราคาแพง

ในเมืองใหญ่ ๆ เราจะเห็นเขตคนจนเป็นเขตที่ไม่ปลอดภัย มียาเสพติด มีโจรผู้ร้าย ฉกชิงวิ่งราวปล้นจี้กันมาก มีตำรวจคอยเฝ้าระวังเป็นจำนวนมาก เย็นลงจะเห็นคนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง สวมเครื่องนุ่งห่มเก่า ๆ เดินสะเงาะสะแงะ ข่มขู่แกมขอเงินกับผู้เดินทางสัญจรไปมา หรือนอนอยู่ข้างถนน น่าสังเวชและน่ากลัวไปพร้อม ๆ กัน

สำหรับค่ารักษาพยาบาลนั้น สหรัฐเป็นประเทศที่ค่ารักษาพยาบาลแพงที่สุดในโลก เพราะสาเหตุหลายประการ แพทยสมาคมสหรัฐจะผลักดันให้รัฐบาลกีดกันบุคลากรทางการแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ตัวแพทยสมาคมสหรัฐก็กีดกันชาวต่างประเทศโดยไม่ยอมออกใบประกอบโรคศิลปะให้โดยง่าย เพื่อจำกัดจำนวนแพทย์และพยาบาลในสหรัฐ ขณะเดียวกันพวกทนายก็มักจะยุให้คนไข้ฟ้องร้องโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล เรียกค่าเสียหายแพง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับแพทย์ในเชิงเพื่อนมนุษย์จึงหมดไป แพทย์ต้องระวังตัวอยู่เสมอ เมื่อคนไข้มาหาก็ต้องสั่งตรวจทุกอย่างหมดตามมาตรฐาน ทั้งที่บางเรื่องอาจจะใช้ดุลพินิจไม่ต้องตรวจก็ได้ แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำ เพราะถ้าพลาดไปอาจถูกฟ้องร้องหมดเนื้อหมดตัวได้ ค่าทนายความก็แพง คิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง

แพทย์พยาบาลทุกคนจึงต้องซื้อประกัน เพื่อปกป้องตนเองจากการล้มละลายถ้าแพ้คดี ค่าประกันก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ คนจนจึงไม่มีปัญญาที่จะรักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วย


ดังนั้นคนอเมริกันทุกคนจึงต้องดิ้นรนหางานทำเพื่อมีรายได้ จ่ายค่าเช่าบ้าน จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเครื่องทำความร้อนในฤดูหนาว ค่าอาหาร และที่สำคัญเพื่อจะได้มีประกันสุขภาพในยามเจ็บป่วย เพราะค่าประกันสุขภาพนายจ้างต้องออกให้ส่วนหนึ่ง แม้จะมีงานทำเพื่อสิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่ค่อยจะเพียงพอในการดำรงชีวิต

เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดการว่างงาน แม้จะมีสวัสดิการ รัฐบาลจ่ายจากงบประมาณของทางการให้ก็ไม่พอจะจ่ายเพื่อการกินอยู่หลับนอนได้ คนเหล่านี้มีประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 20-30 ล้านคน ซึ่งก็เป็นจำนวนมากพอสมควร

ไม่เหมือนบ้านเรา ถ้าตกงานก็สามารถกลับบ้าน ไปช่วยพ่อแม่พี่ป้าน้าอาทำไร่ไถนา ทำงานหัตถกรรม ภาคเกษตรกรรมของเราเป็นระบบเปิดเสรี ไม่ใช่ระบบปิดโดยรัฐแบบอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นระบบที่เกษตรกรก็คือเกษตรกร ไม่ใช่เกษตรกรก็ไม่ใช่เกษตรกร แยกกันชัดเจนเด็ดขาด

เมื่อมีข่าวว่าขณะนี้ชาวอเมริกันตกงานถึง 7-8 เปอร์เซ็นต์ ที่ว่าตกงานคือคนทำงานได้และอยากทำงานแต่ไม่มีงานทำ ไม่รวมคนทำงานไม่ได้ เช่น คนเจ็บป่วยเรื้อรัง คนติดยาเสพติด และเด็ก จำนวนคนตกงานขนาดนี้ก็คงเดาได้ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายเพียงใด คงจะมีคนไม่มีที่อยู่จำนวนมาก กฎหมายของอเมริกาไม่เหมือนกฎหมายไทย กฎหมายไทยเอียงไปทางปกป้องผู้เช่า แต่กฎหมายอเมริกันเอียงไปในทางปกป้องนายทุนเจ้าของบ้านผู้ให้เช่า อากาศก็หนาว ถ้าไม่มีที่อยู่ก็ต้องนอนข้างถนน ตามบันไดตึก เก็บเศษอาหารหรือขโมยอาหารในตลาดสดกิน

สิ่งที่ต่อเนื่องกันมาก็คือ ปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ปัญหายาเสพติดรุนแรง ผู้คนต้องไปหาเศษอาหารตามถังขยะ ทั้งในยุโรปและอเมริกาจึงไม่แปลกใจ เพราะเคยพบเคยเห็นมาแล้วเมื่อครั้งทำงานอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ที่สำคัญก็คือ ทัศนคติของคนอเมริกันนั้นแย่กว่าคนยุโรป กล่าวคือคนอเมริกันมีความคิดในเรื่องเสรีนิยมอย่างรุนแรง ไม่อยากให้รัฐบาลเก็บภาษีสูงเอามาช่วยคนจน คำว่า "สังคมนิยม" หรือแม้แต่คำว่า "สวัสดิการ" จากรัฐ เป็น "คำสกปรก" หรือ "Dirty Word" ทุกคนมีสิทธิ์จะ "รวย" หรือ "จน" ได้อย่างเสรี ไม่มีใครช่วยใคร แม้ว่าทุกคนจะเกิดมาเท่าเทียมกัน หรือ "All Men Are Created Equal" ก็ตาม แต่เท่าเทียมกันทางการเมืองระหว่างพวกตนเท่านั้น คนผิวสีเพิ่งจะได้รับการยอมรับว่าเท่าเทียมกันเมื่อ 30-40 ปีนี้เอง แม้คำกล่าวนี้จะกล่าวมากว่า 250 ปีแล้วก็ตาม


เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลสหรัฐจะมีโปรแกรมช่วยคนยากจน ในเรื่องที่อยู่อาศัยก็ดี เครื่องนุ่งห่มก็ดี อาหารก็ดี ทั้ง ๆ ที่อเมริกามีเนื้อที่เพาะปลูกเหลือมากมาย แต่ก็จำกัดไว้เพราะกลัวราคาพืชผลตก หรือรัฐบาลจะมีโครงการรักษาพยาบาลฟรีก็ดี ก็จะรับการคัดค้านจากคนชั้นกลางและคนชั้นสูงผู้เสียภาษี เช่น โครงการสุขภาพดีทั่วหน้า โดยออกกฎหมายบังคับให้ประชาชนทุกคนต้องซื้อประกันสุขภาพ ถ้าไม่ซื้อของเอกชนก็ต้องซื้อของรัฐบาลซึ่งมีราคาถูกกว่า เพราะรัฐบาลตั้งงบประมาณอุดหนุนตัวแทนของผู้ที่มีปรัชญาอย่างนี้ คือพรรครีพับลิกันนั่นเอง

การแบ่งชนชั้นในสหรัฐอเมริกาตามฐานะทางเศรษฐกิจ ตามเชื้อชาติ ตามถิ่นที่อยู่ แม้แต่อาชีพการงาน แม้ว่าจะเบาบางลงมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีอยู่ในส่วนลึกของจิตใจคนส่วนใหญ่ ยังไม่ได้หมดไป แต่ที่แย่มาก ๆ ก็คือ การที่จะยอมให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือคนยากจนจริง ๆ นั้น ที่ประเทศไหน ๆ แม้คนชั้นกลางและคนชั้นสูงจะไม่เห็นด้วยก็ไม่กล้าแสดงออก ทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในลักษณะอย่างเป็นทางการขององค์กรที่สำคัญ เช่น พรรคการเมือง หรือองค์กรอิสระ เป็นต้น สังคมอเมริกันเป็นสังคมตัวใครตัวมันจริง ๆ


การเปลี่ยนฐานะของบุคคลโดย "การศึกษา" ก็เป็นไปได้ยาก แม้ว่าปรัชญาหลักของสังคมประชาธิปไตย คือ การให้ "โอกาสที่เท่าเทียมกัน" แต่สถานศึกษาที่ดี ๆ ส่วนมากเป็นของเอกชน ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยม ไปจนถึงมหาวิทยาลัย ค่าเล่าเรียนแพงมาก ทุนการศึกษาสำหรับคนจนก็น้อย สถานศึกษาของรัฐราคาถูกแต่คุณภาพก็ไม่ดีเท่า เพราะเงินเดือนครูอาจารย์ไม่สูงเท่าสถานศึกษาเอกชน อุปกรณ์การศึกษาก็ด้อยกว่า กลับกันกับของบ้านเรา โรงเรียนดี ๆ วิทยาลัยดี ๆ มหาวิทยาลัยดี ๆ เป็นของรัฐ และได้รับความนิยมดีกว่า โอกาสไต่เต้าผ่านการศึกษาของประเทศเราจึงมีมากกว่าถ้าเป็นคนจน จนอยู่บ้านเราดีกว่าสหรัฐ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384938352
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2013, 06:21:31 PM โดย เบิ้ม » บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2013, 05:48:20 PM »

 Wink
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2013, 06:21:00 PM โดย เบิ้ม » บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2013, 06:40:07 PM »

ดร.โกร่งพูดมา ไม่จริงทั้งหมดครับ บางส่วนก็จริงบางส่วนก็ไม่จริง... แต่ที่ ดร.โกร่งไม่ได้พูดถึงก็คือการบังคับใช้กฎหมายที่โน่นแข็งแรงกว่าประเทศไทยแยะครับ...

ที่โน่นมันแบ่งเขตกันอยู่ เขตคนจน(มีทั้งคนมืดและคนขาว แต่คนมืดกับพวกเม็กซิกัน หรือพวกหลบหนีเข้าเมืองแยะ)มันก็เป็นแบบนั้นแหละครับ ส่วนเขตที่สงบเรียบร้อยก็มี... ใครไปอยู่ใหม่ๆ ก็ต้องสังเกตดูให้ดีก่อนเข้าไป(แม้แต่ขับรถผ่านก็ไม่ควร)...

เรื่องการศึกษานี่ไม่ใช่เลย, ที่โน่นมาตรฐานการศึกษาดีกว่าประเทศไทยแยะครับ ม.ของรัฐ ที่ราคาถูกก็มีแยะ ก็เช่นพวกที่ลงท้ายว่า "State U." ทั้งหลายนั่นแหละครับ... เรื่องทำการค้าก็ไม่ใช่อีกนั่นแหละ เพราะประเทศโน้นตลาดใหญ่กว่า การขนส่งดีกว่า, สามารถสร้างโอกาสรวยได้ดีกว่าในสินค้าที่เทียบเคียงกันได้กับขายในไทย...
บันทึกการเข้า
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2013, 06:44:35 PM »

ดร.โกร่งพูดมา ไม่จริงทั้งหมดครับ บางส่วนก็จริงบางส่วนก็ไม่จริง... แต่ที่ ดร.โกร่งไม่ได้พูดถึงก็คือการบังคับใช้กฎหมายที่โน่นแข็งแรงกว่าประเทศไทยแยะครับ...

ที่โน่นมันแบ่งเขตกันอยู่ เขตคนจน(มีทั้งคนมืดและคนขาว แต่คนมืดกับพวกเม็กซิกัน หรือพวกหลบหนีเข้าเมืองแยะ)มันก็เป็นแบบนั้นแหละครับ ส่วนเขตที่สงบเรียบร้อยก็มี... ใครไปอยู่ใหม่ๆ ก็ต้องสังเกตดูให้ดีก่อนเข้าไป(แม้แต่ขับรถผ่านก็ไม่ควร)...

เรื่องการศึกษานี่ไม่ใช่เลย, ที่โน่นมาตรฐานการศึกษาดีกว่าประเทศไทยแยะครับ ม.ของรัฐ ที่ราคาถูกก็มีแยะ ก็เช่นพวกที่ลงท้ายว่า "State U." ทั้งหลายนั่นแหละครับ... เรื่องทำการค้าก็ไม่ใช่อีกนั่นแหละ เพราะประเทศโน้นตลาดใหญ่กว่า การขนส่งดีกว่า, สามารถสร้างโอกาสรวยได้ดีกว่าในสินค้าที่เทียบเคียงกันได้กับขายในไทย...



Ha Ha Ha  ฮา  " Oh yes "  จ๊านโฉมชาย (ฮา)  อ่ะ ฮา

จานโฉมชาย(ฮา)  พูดจริง  พูดหมด คนเดียวเรย ฮา

จาน จ๊าน  มีเงินเท่าไหร่  ในยูเอสเอ
55555 เขาถึงจะเรียกว่า "ไม่ลำบาก" อ่ะ ฮา   ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2013, 08:49:01 PM »

จาน จ๊าน  มีเงินเท่าไหร่  ในยูเอสเอ
55555 เขาถึงจะเรียกว่า "ไม่ลำบาก" อ่ะ ฮา   ขำก๊าก ขำก๊าก

ผู้ใหญ่เดือนละ 5000 เหรียญ(เงิน พขต. ข้าราชการ) เด็กเรียนหนังสือมหาลัย ไม่เกิน 2000 เหรียญ ค่าหนังสือ+ค่าเทอมต่างหาก(เงินนักเรียนทุน ก.พ.)... เงินจำนวนนี่้เอาไปจ่ายค่าเช่าที่พักรายเดือน หากอยากซื้อของก็ทำงานหนักหน่อยแล้วเก็บตังค์เพิ่ม...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 08:55:50 AM »

ใน US. หางานใช้แรงงานได้ไม่ยาก คือมันมีตลาดแรงงานอยู่ทุกที่ ที่ผู้คนสื่อสารกันได้ ซึ่งในประเทศไทยไม่ค่อยมีช่องทางสื่อสารเช่นว่านั้น... ตัวอย่างเช่นตามศูนย์การค้าประเภทโลตัสฯ ในประเทศไทย แต่ที่โน่นจะเป็น Wall-Mart ฯลฯ ก็มักจะมีบอร์ดขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่สำหรับสื่อสารกันในชุมชนแถวนั้น แล้วก็จะมีคนเขียนกระดาษที่ต้องการสื่อสาร เอามาแปะเอาไว้แยะ...

ตัวอย่างที่ผู้คนชอบสื่อสารกัน ก็เช่น หมา/แมวหาย(มีรูปหมาด้วย), ใครจะขายรถยนต์มือสอง, บ้านไหนจะเปิดการาจเซล(Garage Sale), ใครประกาศหางาน, ร้านไหนต้องการรับลูกจ้าง... มีแม้แต่ประกาศหาแฟน!!! หรือนักเรียนเพิ่งย้ายเข้ามาเรียนหนังสือในเมือง ต้องการหาคนแชร์ค่าห้องพักรายเดือน...

บอร์ดเช่นว่านี้มีทุกที่ ที่ผู้คนผ่านไปผ่านมาแยะ, เช่นตามร้านอาหาร ตามหน้าตึกในมหาลัย ตามหน้าหอพักนักศึกษา แม้แต่หน้าโรงพักเขาก็ยังอุตส่าห์เอาบอร์ดว่างๆ ไปตั้งให้ผู้คนแปะโน่นนี่... ตรงข้ามกับประเทศไทย หากใครทำบอร์ดเช่นว่านี่เอาไปวางไว้ ก็จะมีพวกชอบมือบอนไปเขียนด่ากัน(เช่นสถาบันไหนเป็นพ่อสถาบันไหน) หรือไม่ก็ตัวบอร์ดเองจะโดนขโมยเอาไปเป็นฝาบ้าน/กั้นรั้ว/กั้นแปลงปลูกต้นไม้/กั้นกันหมาฉี่ใส่ล้อรถ ฯลฯ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 09:04:08 AM »

วิธีที่นักเรียนไทยใช้ชีวิตอยู่ใน US. ก็ต้องเลือกสถานที่อยู่ เลือกสถานที่กิน เลือกสถานที่ซื้อของ และทำตัวเป็น"ผู้ดีเดินตรอก" คือทำตัวไม่เด่น แผล็บเดียวก็ทำงานหาเงินเก็บได้ตั้งแยะ... เรียนจบกลับมาเมืองไทยมีเงินซื้อรถยนต์ป้ายแดงที่ประเทศไทยกันออกเยอะแยะ ทั้งที่ระหว่างเรียนอยู่ที่โน่นเป็นนักเรียนทุน(ทำตัว Low Profile) และหางานรับจ้างสะเปะสะปะ เช่นพนักงานเสิรฟในร้านอาหารฯ พนักงานขายดังกิ้นส์โดนัท หรือแม้แต่เป็นคนเฝ้าช่องยิงฯ/ล้างปืนเช่าฯ ในสนามยิงปืน...  
บันทึกการเข้า
Ghostreporting
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

กระทู้: 1392


ขอเจอตัวจริงของเทอสักครั้ง


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 09:08:47 AM »

เหมือนอาจารย์ผณิศวรตอนเรียน ป.เอกเห็นแกไปเป็นช่างซ่อมปืนที่โน่นด้วย
บันทึกการเข้า

http://www.thaispyshot.com/index.php?topic=718.0 อ้างเพิ่มระดับความเขี้ยวของมาตรฐานไอเสีย เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม เราไม่โง่พอที่จะเชื่อคุณหรอก ที่รถบรรทุกทิ้งหินทิ้งทราย ทิ้งควันดำปื๋อดันไม่ไปกวดขัน ทุเรศประเทศสารขันธ์
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 09:13:46 AM »

จาน จ๊าน  มีเงินเท่าไหร่  ในยูเอสเอ
55555 เขาถึงจะเรียกว่า "ไม่ลำบาก" อ่ะ ฮา   ขำก๊าก ขำก๊าก

ผู้ใหญ่เดือนละ 5000 เหรียญ(เงิน พขต. ข้าราชการ)
เด็กเรียนหนังสือมหาลัย ไม่เกิน 2000 เหรียญ
ค่าหนังสือ+ค่าเทอมต่างหาก(เงินนักเรียนทุน ก.พ.)...
เงินจำนวนนี่้เอาไปจ่ายค่าเช่าที่พักรายเดือน
หากอยากซื้อของก็ทำงานหนักหน่อยแล้วเก็บตังค์เพิ่ม...



็Ha Ha Ha  ฮา  "Oh yes"  จ๊านโฉมชาย (ฮา) อ่ะ ฮา

โธ่  ถามช้าง  ดั๊นไปตอบม้า  ฮา   น้ำลายหก

ยายถามว่า  มี  "Asset"  เท่าไหร่  ถึงจะไม่ลำบาก อ่ะ ฮา

เอ้า  ถามใหม่  ค่าแรงขั้นต่ำ หากมี  Work Permit ได้เท่าไหร่ต่อชั่วโมง
เอาแบบ อาชีพพื้นๆ  ไม่ใช่  "ทำความสะอาดพืน หรือ ถูพื้น"  น๊าาาา ฮา ขำก๊าก

5555 อ่านหนังสือ ด้านหลัง มาหา ด้านหน้า อีกแล้วอ่ะ ฮา  ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 09:30:28 AM »

็Ha Ha Ha  ฮา  "Oh yes"  จ๊านโฉมชาย (ฮา) อ่ะ ฮา

โธ่  ถามช้าง  ดั๊นไปตอบม้า  ฮา   น้ำลายหก

ยายถามว่า  มี  "Asset"  เท่าไหร่  ถึงจะไม่ลำบาก อ่ะ ฮา

เอ้า  ถามใหม่  ค่าแรงขั้นต่ำ หากมี  Work Permit ได้เท่าไหร่ต่อชั่วโมง
เอาแบบ อาชีพพื้นๆ  ไม่ใช่  "ทำความสะอาดพืน หรือ ถูพื้น"  น๊าาาา ฮา ขำก๊าก

5555 อ่านหนังสือ ด้านหลัง มาหา ด้านหน้า อีกแล้วอ่ะ ฮา  ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก

ยายบ๊าบคือตัวอย่างของคนไม่มีปัญญาสื่อสารให้ตรงประเด็น แล้วก็เหมือนเดิมอีกแล้ว... คือมองภาพรวมไม่ออก ไม่รู้จักเอาจิ๊กซอว์มาต่อให้รวมเป็นผืน... ฮา...

ตัวเลขที่ว่านั่นคือค่าใช้จ่ายรายเดือนที่พออยู่/พอกิน มีเงินเก็บเล็กน้อยพอให้ท่องเที่ยว/ใช้จ่ายได้ตามฐานานุรูปข้าราชการในต่างแดน(หรือนักเรียนทุนรัฐบาล)... อยากรู้ว่ามันควรจะเป็นสินทรัพย์เท่าไหร่ ก็คูณเป็นรายเดือน/รายปีเอาก็ได้นี่หว่า... ฮา...

ส่วนหากจะซื้อบ้านนั่นที่โน่นเขาไม่ค่อยนิยมซื้อหรอก เพราะอพาร์ตเม็นต์เกลื่อนเมือง ราคาไม่แพง ไม่พอใจก็ย้ายที่ได้ง่ายๆ ไม่ต้องอยู่ติดกับที่ให้เป็นภาระต้องผ่อนรายเดือน... ผู้คนที่โน่นย้ายบ้านย้ายที่อยู่กันเป็นเรื่องปรกติ ลองดูธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายนี่เพียบบบบ เลย(เช่น www.uhaul.com)...

แล้วหากอยากรู้ว่าถ้าซื้อบ้านจริงๆ มันต้องมีเงินเท่าไหร่ ก็ง่ายนิดเดียว ค้นกูเกิ้ลเข้าไป, ส่วนราคารถยนต์ก็ค้นกูเกิ้ลอีกนั่นแหละ... ที่หาข้อมูลยากๆ จะเป็นค่าครองชีพรายเดือน เราก็ไปดู"ตัวเลขมาตรฐาน"ที่คนอื่นเขาคิดเอาไว้ไแล้ว เช่น พ.ข.ต. หรืออัตราจ่ายเงินของนักเรียนทุน ก.พ., ดีกว่ามานั่นคิดเองให้มันยุ่งยาก...

ค่าแรงขั้นต่ำจะชั่วโมงละกี่บาท ก็ค้นเอาในกูเกิ้ลนั่นแหละ... แต่นักเรียนไทยไม่ค่อยมีเปอร์มิตกันร๊อก อาศัยทำตัวเป็น"ผู้ดีเดินตรอก"ก็ไปได้ทุกที่แหละ เพราะนิสัยคนไทยไม่ค่อยเป็น"แม่เหล็กดูดความยุ่งยาก" ไม่เหมือนพวกควายแดงร๊อก ที่รวมกลุ่มตรงไหนชาวบ้านเดือดร้อนโม๊ด... ฮา...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 09:54:17 AM »

เผื่อท่านใดอยากรู้...

สถิติรายได้แยกตาม ประชากรศาสตร์(ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สีผิว ฯลฯ) ... http://www.bls.gov/news.release/pdf/wkyeng.pdf ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 09:57:10 AM »

ส่วนอันนี้เป็นรายได้แยกตามอาชีพ ในแต่ละอุตสาหกรรม... http://www.bls.gov/iag/tgs/iag_index_alpha.htm ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 09:57:58 AM »

สถิติพวกนี้เป็นสถิติทางการ ปีล่าสุด มีรายละเอียดแยะ ต้องนั่งสืบค้นลงไปเองครับ...
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 10:42:08 AM »

รุ้แต่ว่าถ้าทำงานแล้วไม่อดค่าครองชีพมันสมดุลย์กันรายได้ Mac ชุดนึงทำงานสองชั่วโมงก็ได้กินแล้ว (อยู่เมืองไทยผมไม่กินหรอกแพงแต่ตอนไปอเมริกาเหนือกินเพราะมันถูกและอิ่มมาก) หรือไปจ่ายตลาดทำกินเองก็ประหยัดไปอีก สมัยหลานไปอยู่ Indiana เล่าให้ฟังว่าข้างบ้านจ้างให้จูงหมาเดินเล่นก็มีหัวดำอย่างเรานี่ไปทำอะไรก้ไม่น่าเกลียดนะ
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 12:24:13 PM »

ปี 2009 ตอนเรียนวิศวะปี3ขึ้นปี4 สมัครไปเป็น intern engineer อยู่ san diego ได้ เดือนละ 3800 รู้สึกว่า อยู่ได้สบายมากๆครับ ค่าเช่า apartment+ไฟ+net(น้ำฟรี) แชร์กันตก 800-900 USD อาหารก็ทำกินเองบ้าง ไปกินข้างนอกบ้าง แต่ก็ร้านธรรมดาพวกอาหารจีน แชร์กันก็ตก 10-12  มีกลุ่มนักเรียนทุน ที่อาจารย์แนะนำให้รู้จักเขาได้ประมาณ 1500 เขาก็อยู่ได้สบายโดยไม่ต้องทำงานพิเศษอะไรนะครับ  ถ้าคนที่ขยันหน่อย ทำ Teacher/Research Assistant ก็ได้เพิ่มมาประมาณ 2000 USD

ปีทีไป เป็นปีที่ US กำลังทรุดหนักๆพอดี โดยเฉพาะ รัฐ california แต่สังคม+ชีวิตความอยู่ ดีกว่ากรุงเทพคนละเรื่อง ใหม่ๆ ไปเดินเล่นสำรวจสิ่งแวดล้อม รอบๆที่พัก แรกๆงงครับ เพราะอยู่ๆเจอคนมาทักทาย ไปนั่งป้ายรถเมล์รอรถจะไปทำงาน ก็มีคนชวนคุย แถมคุยแบบจริงจัง ถึงขนาดชวนคุยเรื่องหนังสือ ลงรถเมล์คนขับก็ทัก have a nice weekend รถเมล์ก็มาตรงเวลามากๆ ไม่เกิน2นาที ขับรถ ไปไหนคนก็มีมารยาท ใหม่ๆ ก็ทำชาวบ้านเขาเสียจังหวะ เปิดไฟเลี้ยวที เขาเบรกให้เราทันทีเลย
 
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.107 วินาที กับ 22 คำสั่ง