ยายบ๊าบค้นกูเกิ้ลซิ... คำว่า"พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457"...
เจอแล้วช่วยอ่านความในมาตรา 4 เสียงดังๆด้วยนะเออ...
ขอเฉลยในฐานะที่เคยเป็น จนท.ผู้ปฏิบัติตามกฎอัยการศึก กับเคยร่างแก้ไขกฎฯ กับยกเลิกกฎฯ มา 2-3 รอบ
กฎอัยการศึก มีอยู่แล้วตามกฎหมาย สิ่งที่ต้องทำก็คือการประกาศใช้กฎ ฯ
และผู้มีอำนาจประกาศคือผู้บังคับบัญชาในระดับผู้บังคับกองพันขึ้นไป และต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีพื้นที่รับผิดชอบด้วย เพราะสามารถประกาศใช้กฎ ฯ ได้เฉพาะพื้นที่ในความรับผิดชอบของตนเองเท่านั้น
เหตุผลคือ ในสมัยก่อนการติดต่อสื่อสารยังไม่สะดวก เช่นกรมทหารราบที่ 4 อยู่นครสวรรค์ แต่มีกองพันที่ 4 อยู่ที่จังหวัดตาก ถ้าเกิดเรื่องที่แม่สอด แล้วต้องรายงานตามสายการบังคับบัญชามาที่นครสวรรค์ นครสวรรค์รายงานกลับไปพิษณุโลก พิษณุโลกรายงานมา กทม. แม่สอดอาจจะกลายเป็นแม่อื่นไปแล้ว
แล้วถ้าอ่านให้ดี จะมีข้อความเพิ่มเติมว่า "เป็น ผบช.ในป้อมหรือที่มั่น" ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นถึงผู้พัน ก็ประกาศใช้กฎ ฯ ในพื้นที่รับผิดชอบของตนได้
แต่ในทางปฏิบัติ ไม่เคยปรากฏว่ามีผู้พันคนไหนประกาศใช้กฎฯ มาก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นพระบรมราชโองการ หรือไม่ก็ประกาศโดยคณะรัฐประหาร เพราะกฎอัยการศึกเป็นเรื่องใหญ่มาก ประกาศใช้ง่าย แต่เลิกยาก เพราะตอนเลิกต้องทำเป็นพระบรมราชโองการ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง ฯ
เท่าที่ผมรวบรวมไว้ เคยมีการประกาศในตำแหน่ง ผบ.ทบ.เพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือ กฎฯ 12 ต.ค.2476 โดย พันเอกพระยาพหล ฯ (ผบ.ทบ.และนายกรัฐมนตรี) ซึ่งเดือนต่อมาท่านก็ยกเลิกในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้รับสนอง ฯ
ประกาศครั้งที่สอง กฎฯ 8 ม.ค.2484 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 วันที่ 7 ม.ค.2484) เกิดในช่วงสงครามอินโดจีน ผู้ประกาศคือคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ร.๘)
หลังจากนั้นก็เป็นพระบรมราชโองการมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงยุคจอมพลผ้าขาวม้าแดง จึงประกาศใช้กฎ ฯ ในตำแหน่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ (กฎฯ 20 ต.ค.2501)
ถ้า ผบ.พัน เห็นจลาจลเกิดขึ้นสามารถนำกำลังเข้าไปแก้ไขสถานการณ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศกฎอัยการศึกได้เลยรึเปล่าครับ
หรือต้องประกาศกฎอัยการศึกก่อนเท่านั้น ถึงจะทำกำลังเข้าไปแก้ไขสถานการณ์ได้
ตามปกติแล้ว กฎอัยการศึกจะใช้เพื่อการรบเป็นหลัก
เช่นอำนาจในการยึด การกัก การตรวจค้น การทำลาย ก็จะทำเพื่อวัตถุประสงค์ในทางยุทธการ ไม่ใช่การรักษาความสงบโดยทั่วไป ซึ่งมี จนท.ฝ่ายปกครอง และตำรวจเป็นผู้ดำเนินการอยู่แล้ว
บางเรื่อง เช่นการเกณฑ์ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้กฎอัยการศึก เพราะสามารถใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.การเกณฑ์ช่วยราชการทหาร พ.ศ.2530 ในเรื่องการเกณฑ์ในเวลาปกติได้อยู่แล้ว (การยึดตามกฎอัยการศึก ก็ต้องยึดมาเก็บ ห้ามเอามาใช้งาน สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารเคยถูกฟ้องเรื่องโรงงานไม้อัด แพ้คดีมาแล้ว)
นอกจากนั้น การไปเกณฑ์ รถรา ม้าช้าง ของชาวบ้านตาม พ.ร.บ.การเกณฑ์ช่วยราชการทหาร ฯ ตรงนี้ทหารไปยึดมาเองไม่ได้นะครับ ต้องแจ้งให้ฝ่ายปกครองไปดำเนินการให้ แล้วทหารต้องจ่ายเงินด้วย ไม่ใช่เอามาใช้ฟรี ๆ