หากต้องการให้ทุกฝ่ายพอใจนั้น เป็นเรื่องพ้นวิสัยในสังคมมนุษย์ครับ...
วิธีให้สังคมสงบได้ ต้องใช้หลักคุณธรรมครับ... ปรัชญาพื้นฐานของสังคมศาสตร์คือ"สมอง/ความถนัดของคนในสังคมไม่เท่ากัน", ดังนั้นต้องมีกระบวนการคัดสรรสมาชิกในสังคม เพื่อหาความถนัด และให้ผู้คนใช้ชีวิตตามความถนัด โดยต้องมีกระบวนการแบ่งสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม...
หากดูในระบบราชการฯ ก็มีระบบคัดเลือกคนเข้าทำงานตามคุณวุฒิ/ความสามารถฯ แล้วไปแบ่งชั้นกันที่หน้าที่ความรับผิดชอบ... ก็คือคนไม่เท่ากัน ถึงแม้สิทธิพื้นฐานเท่ากันก็ตาม, แต่ความรับผิดชอบ อำนาจในการสั่งการ ฯลฯ ไม่เท่ากันครับ...
ประเด็นก็คือ ต้องเสริมสร้างระบบคุณธรรม(Merit System) ในสังคม, แล้วกระบวนการเริ่มต้นคือต้องคัดสรรบุคคลเข้าเป็นสมาชิกสภาประชาชนให้ได้ตามระบบนี้... ส่วนที่ว่ากลุ่มใดไม่ยอมรับ นั่นก็ต้องมีกระบวนการ"บังคับ"ด้วยกฎหมาย หรืออะไรก็ตามแต่ ฯลฯ, โดยกฎหมายต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมฯ...
หากดูตามศาสนาพุทธฯ... ก็ต้องเริ่มที่หลักบัว 4 เหล่าครับ...
เมื่อไม่กี่วันก่อนได้อ่านบทความที่พี่Daimyoเอามาเผยแพร่แล้วชอบใจ
กฎหมายโรมันโบราณ ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง"เฉพาะผู้ที่เสียภาษี"เท่านั้น อยากมี"สิทธิ์"ก็ต้องทำหน้าที่เสียก่อน
เสิร์ชหารายละเอียดมาอ่านเพิ่มพบว่าผู้ที่เสียภาษีและผ่านการรับใช้ชาติในแนวหน้ามาแล้วจะได้สิทธิพลเมืองที่สูงขึ้นไปอีกชั้น
ผู้ที่ไม่เคยทำคุณประโยชน์ให้ชาติและสังคมมีเพียงสิทธิ์ของการเป็นประชากรโดยกำเนิด
ผมเห็นว่าวิธีนี้เหมาะเจาะกับนิสัยคนไทยและสารพัดเลือดผสมที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีจริตขี้โอ่ รักหน้าตา....จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนไทยหันมาผลักดันกันเองให้มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น
ถ้าใช้วิธีนี้ผมเองก็จะกลายเป็น"ประชากรชั้นสอง"ด้วยอีกคนหนึ่ง เพราะผมไม่เคยต้องเกณฑ์/สมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ
ความดูดายต่อส่วนรวม ความเอามักง่าย เห็นแก่ได้ฯลฯ ประพฤติต่อๆกันมาจนกลายเป็นนิสัยของชนชาติไทยไปแล้ว
จะแก้ไขให้ได้ก็ต้องสนับสนุนให้"ต้อง"ทำ ทำกันเป็นชั่วคน ราชอาณาจักรไทยถึงจะกลายเป็นแผ่นดินแห่งคุณธรรมได้จริง