เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 16, 2024, 10:37:25 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถามนักกฏหมาย ทนายความรุ่นพี่ๆ ความผิดตามพรบ.มั่นคง ม.18 เคลื่อนย้าย อวป.  (อ่าน 1814 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
oil
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 187
ออฟไลน์

กระทู้: 4146


ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง


« เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 02:48:28 PM »

พรบ.มั่นคงฯ ปี51 ม.18(4) ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน  และ ม.24 ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขอความรู้ด้านกฏหมายเป็นวิทยาทาน ( ทะแนะกับความเห็นส่วนตัวขออย่าทำให้กระทู้ที่มีประโยชน์เสียเปล่า และขอรอ้งอย่าเข้ามาฮาแบบไม่มีสาระ)
๑.กรณีผู้ต้องหาถูกตรวจค้นและพบ อวป.ในรถยนต์ ถูกจับกุมที่ด่านพรบ.มั่นคง ในพื้นที่ที่ประกาศใช้ พรบ. ขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าพนักงานตาม ป.วิอาญาจะมีความแตกต่างกับการจับกุมในสภาวะปรกติที่ไม่ได้ประกาศ พรบ.หรือไม่อย่างไร
๒.เมื่อถูกจับกุมในพืนที่ประกาศ พรบ. สิทธิของผู้ต้องหาตาม ป.วิอาญา ยังคงมีตามปรกติหรือไม่อย่างไร  มีการรอนสิทธิใดหรือไม่
๓.ในชั้นสอบสวน ผู้ต้องหา ทนายความ หรือบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ต้องหา สามารถยื่นหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัวในชั้นสอบสวนได้ตามปรกติหรือไม่อย่างไร
๔.กรณีอัยการสั่งฟ้อง ผู้ต้องหา ตามประสบการณ์ของท่านผู้รู้ อัยการจะสั่งฟ้องตามความผิดว่าด้วย พรบ.อวป. เรื่องการพกพาไปในทางฯโดยไม่มีเหตุอันควร หรือจะสั่งฟ้องตามความผิดว่าด้วย พรบ.มั่นคง ซึ่งเข้าใจว่าระวางโทษต่างกัน
๕.ในกรณีผู้ต้องหา ต้องการต่อสู้ในชั้นศาล แนวการต่อสู้จะใช้หนังสือของท่านอธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ เคื่องการพกพาปืนไปในทางโดยมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนได้หรือไม่  หรือ(ขอถามแบบโง่ๆ มือใหม่)จะต่อสู้เรื่องการขาดเจตนา กรณีปืนซุกไว้กระโปรงหลังท้ายรถ อ้างว่าเก็บปืนไว้แล้วลืมนำลงจากรถได้หรือไม่
ขอให้ท่านผู้รู้ที่เมตตามาตอบคำถาม จงมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป ขอบพระคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2014, 03:06:18 PM โดย oil » บันทึกการเข้า

Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 03:16:55 PM »

มารอรับความรู้ด้วยคน เยี่ยม
บันทึกการเข้า

naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 03:23:54 PM »

มารอฟังด้วยคน... ก็ขนาดตัวทนายความเอง ยังตั้งกระทู้ถามเสียเองเลยนี่ครับ... แฮ่ๆ...
บันทึกการเข้า
oil
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 187
ออฟไลน์

กระทู้: 4146


ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง


« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 03:26:26 PM »

ผมเห็นพี่ธำรงมาอ่านด้วย ช่วยแนะนำเป็นวิทยาทานให้น้องด้วยนะครับ   พี่โร๊ดอีกท่านนึงด้วย
บันทึกการเข้า

Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
คมขวาน รักในหลวง
"จากดินแดนที่ราบสูงแห่งใบขวาน ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล(ถ้านั่งเครื่อง) ข้ามภูเขา สู่ดินแดนแห่งด้ามขวาน "
Hero Member
*****

คะแนน 1830
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 19896


ดนตรี คืออาภรณ์ของปราชญ์


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 08:44:35 PM »

        รอฟังด้วยคน ครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

คลิ๊ก ทริปจักรยาน   "บินเดี่ยว ทางไกล ตามใจฝัน"     ลูกอิสาน พลัดถิ่น  จากแดนดิน  "ไหปลาแดก"  เร่ร่อน รอนแรม เดินทางดั้นด้น  มาสู่  "โคนต้นสะตอ"
436
Sr. Member
****

คะแนน 110
ออฟไลน์

กระทู้: 593



« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 09:05:39 PM »

ตอบแบบพอรู้บ้างแต่ไม่กูรูนะครับ
ปกติตามพรบ.อาวุธปืน ฯ กับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ ก็เขียนห้ามเรื่องพาปืนออกนอกบ้านโดยไม่มีใบพกหรือว่าไม่มีเหตุสมควร อันจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์อยู่แล้ว  ใครพาไปผิด

แต่ถ้าใครมีใบพกป.๑๒ และไม่ได้พกโดยเปิดเผยหรือพกพาไปในงานที่จัดให้มีการมนัสการหรืองานรื่นเริงแล้ว  อันนี้ไม่ผิด

ทีนี้พอมีพรบ.ความมั่นคงฯ ตัวนี้ออกมา   ยิ่งตอกย้ำชัดเข้าไปอีกว่า   ไม่ว่าจะมีใบพกป.๑๒ หรือไม่มี  ก็ผิดพรบ.นี้

ส่วนเรื่องการถูกดำเนินคดีก็ยังเห็นว่า ต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา ว่าด้วยเรื่อง  จับกุม
สอบสวน  ขึ้นศาล  ประกันตัว  คิดว่าก็น่าจะเหมือนคดีอาญาทั่วไปนะครับ

ส่วนเรื่องข้อหาที่ถูกสั่งฟ้อง หากไม่มีใบพก ป.๑๒ ก็โดนทั้ง ประมวลกฎหมายอาญา  พรบ.อาวุธปืน และพรบ.ความมั่นคงฯ  แต่อาจเป็นความผิดกรรมเดียว ( เจตนาเดียว )  แตไปผิดกฎหมายหลายบท  ต้องไปลงโทษตามกฎหมายที่มีบทลงโทษหนักที่สุด

แตถ้ามีใบพกป.๑๒ ก็อาจโดนข้อหาตามพรบ.ความมั่นคงฯ ข้อหาเดียว

ส่วนเรื่อง หลักการพาปืนของอธิบดีณรงค์  นั้น  คิดว่า มีป.๑๒ ยังโดน ตามพรบ.ความมั่นคงฯ นี้
หลักการนั้นจึงน่าจะไม่คุ้มครองให้รอดข้อหาตามพรบ.นี้ได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2014, 09:15:47 PM โดย 436 » บันทึกการเข้า

ใจสงบ.  ใจสว่าง.  คือทางสุข ...&
436
Sr. Member
****

คะแนน 110
ออฟไลน์

กระทู้: 593



« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 09:21:55 PM »

ส่วนข้อที่ ๕ หากสู้ว่าหลงลืมไว้ท้ายรถโดยขาดเจตนา
หากเป็นอย่างนั้นจริง เห็นว่ายังไม่น่าจะผิดเลย เพราะขาดเจตนา  เมื่อไม่ได้มีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย  ก็ไม่ผิด

แต่ที่สำคัญอยู่ที่ว่า จะนำสืบหรือต่อสู้ เสนอพยานหลักฐานให้ตำรวจ  อัยการ หรือศาลเห็นและเชื่อได้หรือไม่  ว่าเราหลงลืมจริง
หากอ้างไปแล้วเขาไม่เชื่อ ก็อาจซวยได้เลยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2014, 09:25:33 PM โดย 436 » บันทึกการเข้า

ใจสงบ.  ใจสว่าง.  คือทางสุข ...&
rambo1th
Hero Member
*****

คะแนน 143
ออฟไลน์

กระทู้: 1349


« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 09:38:30 PM »

ขออนุญาตมาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนครับ

1. หลักปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจเหมือนกับการปฏิบัติตามปกติในการ จับ ค้น ควบคุมตัว ตามป.วิอาญา ทุกประการ แต่จะมีขั้นตอนภายในของตำรวจเอง ที่ต้องรายงานเหตุไปยังหน่วยเหนือตนขึ้นไป อีกหลายคน ปกติคดีจับกุมพกพาอาวุธปืนฯ ไม่ใช่เหตุอุกฉกรรจ์ที่ต้องรายงาน
2. สิทธิของผู้ต้องหา มีตาม ป.วิ อาญา ทุกประการ ครับ
3. ยื่นประกันตัวได้ตามปกติครับ แต่ดุลพินิจในการอนุญาต ปกติระดับโรงพัก คดีความผิดฐานพกพาฯ (ปืนมีทะเบียน) ผกก. สั่งให้ประกัน ได้เลย กรณีนี้อาจส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปพิจารณาอีก ซึ่งอาจมีการใช้ดุลพินิจไม่ให้ประกันได้ โดยบอกว่าให้ไปขอประกันตัวชั้นศาล
4. หลักการร่างคำฟ้องของพนักงานอัยการ จะบอกว่าจำเลยได้บังอาจพาอาวุธปืน..................ซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ.ความมั่นคง , พรบ.อาวุธปืน , ประมวลกฎหมายอาญา เขียนไปหมดทุกฐานความผิดครับ (ตัวบท) แต่ในการปรับบทลงโทษ ศาลก็ลงตามบทหนักอยู่แล้ว ในกรณีกรรมเดียวผิดหลายบทนะครับ
5. เรื่องเหตุความจำเป็นเร่งด่วนนะครับ บอกได้เลยครับว่าถ้าจะหลุดๆ ในชั้นจับกุม สอบสวน และอัยการแล้วละ 99% สั่งฟ้องหมด เหตุผลนั้นไปยื่นคำให้การแก้ตัวในชั้นศาลเอาเอง ห้ามพาอาวุธออกนอกเคหสถาน ในขณะที่ประกาศ พรบ.ความมั่นคงฯ เหตุผลว่าขาดเจตนา ผมว่าอ้างไม่ขึ้นนะครับ เพราะการกระทำที่หยิบปืนใส่ท้ายรถ แม้ปืนไม่มีกระสุนก็ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว เรื่องลืมไรนี่มันเป็นคำกล่าวอ้างลอยๆนะครับ เว้นแต่จะอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 - 68 มาอ้างโดยยกเหตุผลที่แน่นแฟ้นจริงๆ ถึงจะยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษครับ ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
oil
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 187
ออฟไลน์

กระทู้: 4146


ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง


« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 02, 2014, 09:49:06 PM »

ขอบคุณทุกความเห็นนะครับ 
บันทึกการเข้า

Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #9 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 11:07:40 AM »

เห็นว่าชอบเอาหลักาการของอดีตอธิบดีมาใช้เป็นข้ออ้างนั้นน่าจะเลิกคิดกันได้แล้วยุคสมัยเปลี่ยนไปเผลอๆพกเงินสดไปเยอะถูกอายัติไว้ตรวจสอบอีกว่าเอาไปจ่ายอะไรไม่ได้เอาใช้ประกันตัวเองอีกแหล่ะและไม่ใช่คำสั่งหรือกฎหมายจนท.สามารถใช้ดุลพินิจของตัวเองได้ซึ่งแน่นอนครับ 99.99% จับส่งฟ้องก่อน เหลืออีก 0.01% นั่นสำหรับบางคน
บันทึกการเข้า
oil
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 187
ออฟไลน์

กระทู้: 4146


ใครหนอ โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง


« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 12:42:16 PM »

เห็นว่าชอบเอาหลักาการของอดีตอธิบดีมาใช้เป็นข้ออ้างนั้นน่าจะเลิกคิดกันได้แล้วยุคสมัยเปลี่ยนไปเผลอๆพกเงินสดไปเยอะถูกอายัติไว้ตรวจสอบอีกว่าเอาไปจ่ายอะไรไม่ได้เอาใช้ประกันตัวเองอีกแหล่ะและไม่ใช่คำสั่งหรือกฎหมายจนท.สามารถใช้ดุลพินิจของตัวเองได้ซึ่งแน่นอนครับ 99.99% จับส่งฟ้องก่อน เหลืออีก 0.01% นั่นสำหรับบางคน
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของท่านเองหรืออ่านแนวฏีกาคำพากษามาแล้วครับ  สมาชิกจะได้นำไปเป็นแนวทางได้จริง
บันทึกการเข้า

Thailand must not welcome f..cking bag packer, get lost
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #11 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 08:46:06 PM »

ขออนุญาตมาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนครับ

1. หลักปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจเหมือนกับการปฏิบัติตามปกติในการ จับ ค้น ควบคุมตัว ตามป.วิอาญา ทุกประการ แต่จะมีขั้นตอนภายในของตำรวจเอง ที่ต้องรายงานเหตุไปยังหน่วยเหนือตนขึ้นไป อีกหลายคน ปกติคดีจับกุมพกพาอาวุธปืนฯ ไม่ใช่เหตุอุกฉกรรจ์ที่ต้องรายงาน
2. สิทธิของผู้ต้องหา มีตาม ป.วิ อาญา ทุกประการ ครับ
3. ยื่นประกันตัวได้ตามปกติครับ แต่ดุลพินิจในการอนุญาต ปกติระดับโรงพัก คดีความผิดฐานพกพาฯ (ปืนมีทะเบียน) ผกก. สั่งให้ประกัน ได้เลย กรณีนี้อาจส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปพิจารณาอีก ซึ่งอาจมีการใช้ดุลพินิจไม่ให้ประกันได้ โดยบอกว่าให้ไปขอประกันตัวชั้นศาล
4. หลักการร่างคำฟ้องของพนักงานอัยการ จะบอกว่าจำเลยได้บังอาจพาอาวุธปืน..................ซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ.ความมั่นคง , พรบ.อาวุธปืน , ประมวลกฎหมายอาญา เขียนไปหมดทุกฐานความผิดครับ (ตัวบท) แต่ในการปรับบทลงโทษ ศาลก็ลงตามบทหนักอยู่แล้ว ในกรณีกรรมเดียวผิดหลายบทนะครับ
5. เรื่องเหตุความจำเป็นเร่งด่วนนะครับ บอกได้เลยครับว่าถ้าจะหลุดๆ ในชั้นจับกุม สอบสวน และอัยการแล้วละ 99% สั่งฟ้องหมด เหตุผลนั้นไปยื่นคำให้การแก้ตัวในชั้นศาลเอาเอง ห้ามพาอาวุธออกนอกเคหสถาน ในขณะที่ประกาศ พรบ.ความมั่นคงฯ เหตุผลว่าขาดเจตนา ผมว่าอ้างไม่ขึ้นนะครับ เพราะการกระทำที่หยิบปืนใส่ท้ายรถ แม้ปืนไม่มีกระสุนก็ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว เรื่องลืมไรนี่มันเป็นคำกล่าวอ้างลอยๆนะครับ เว้นแต่จะอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 - 68 มาอ้างโดยยกเหตุผลที่แน่นแฟ้นจริงๆ ถึงจะยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษครับ ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนครับ

ขอเพิ่มโจทก์ให้อีก ๑ ข้อครับ
เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔ กระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ ๒๐๐/๒๕๕๔ ให้ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนยาวขนาด .๒๒๓ ขนาด .๓๐ - ๐๖ ขนาด .๓๐๘ และขนาด .๓๓๘ หรือขนาดที่เทียบเท่าและมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปส่งมอบอาวุธปืนดังกล่าวให้แก่นายทะเบียนท้องที่ที่ออกใบอนุญาตหรือรับแจ้งการย้ายเข้าของใบอนุญาต ภายในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ เพื่อเก็บรักษาไว้และจัดทำประวัติการใช้อาวุธปืน  โดยผู้ที่อยู่ใน กทม.ให้นำอาวุธปืนไปมอบที่ศูนย์บริการประชาชน  กรมการปกครอง  แขวงสี่แยกมหานาค  เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร

แต่ในขณะนั้น นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา ๑๘ ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ ให้เขตพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดุสิต เขตปทุมวัน เขตวังทองหลาง เขตวัฒนา และเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔   และมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ   ทั้งนี้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ออกข้อกำหนดห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถานในพื้นที่ดังกล่าว

ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ปรากฏว่าเจ้าของปืนไรเฟิลนับร้อยคนได้พร้อมใจกันยื่นฟ้องต่อศาลปกครองทั่วประเทศ  และศาลได้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ทำให้ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง มท.

โจทก์ของผมก็คือ  หากไม่มีการฟ้องศาลปกครอง และมีผู้นำอาวุธปืนไปมอบให้กับนายทะเบียนที่วังไชยา ตามคำสั่ง มท.ดังกล่าว  จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ หรือไม่  และ มท.๑ ผู้ออกคำสั่งดังกล่าว จะต้องรับผิดชอบอย่างไร หรือไม่
บันทึกการเข้า
436
Sr. Member
****

คะแนน 110
ออฟไลน์

กระทู้: 593



« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 09:28:12 PM »

โจทก์ของผมก็คือ  หากไม่มีการฟ้องศาลปกครอง และมีผู้นำอาวุธปืนไปมอบให้กับนายทะเบียนที่วังไชยา ตามคำสั่ง มท.ดังกล่าว  จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ หรือไม่  และ มท.๑ ผู้ออกคำสั่งดังกล่าว จะต้องรับผิดชอบอย่างไร หรือไม่
[/quote]

ถ้าดูตามเจตนา ผมเห็นว่าน่าจะยังไม่ผิดพรบ.ความมั่นคงฯ ครับ  เพราะ เจตนาที่ออกพรบ.ความมั่นคงฯที่ห้ามเอาอาวุธออกนอกเคหสถานก็เพราะกลัวและป้องกันมิให้สุ่มเสียงต่อการนำไปก่อเหตุร้ายต่างๆโดยใช้อาวุธก็เลยป้องปรามไว้ด้วยพรบ.นั้น

แต่เมืื่อมีเหตุเอาออกไป เพื่อจะนำไปคืนทางการจริงๆตามคำสั่ง มท.  ก็น่าจะขาดเจตนาฝ่าฝืนและมีเหตุอ้างให้พ้นผิดได้

แต่ที่สำคัญ ก็อยู่ที่ว่าเราจะเสนอหลักฐานยังไงให้เขาเชื่อได้ว่า เราเอาอาวุธปืนออกนอกบ้านเพื่อไปคืนทางการจริงๆ
ไม่ได้ใช้จังหวะนั้นสวมรอย นำออกมาเพื่อประสงค์อื่น  ถ้าตำรวจ อัยการ รวมถึงศาลเขาไม่เชื่อเรื่องเจตนาเราว่าเป็นอย่างนั้นจริง ก็อาจซวยได้เช่นกัน

แต่ยังไงเรื่องนี้หากถูกจับขึ้นศาล ก็เชื่อว่าน่าจะหลุดเพราะเหตุสงสัยยกประโยชน์ฟังให้เป็นคุณได้ว่าน่าจะเอาออกมาเพื่อไปคืนทางการได้ เว้นแต่จะมีพฤติกรรมอย่างอื่นที่ส่อให้เห็นว่าจะเอาออกมาก่อเหตุหรือจุดประสงค์อื่นจริงๆ  มิใช่การเอาออกมาคืนทางการ

ส่วน มท.๑ ต้องรับผิดกับคำสั่งนั้นหรือเปล่า  อาจต้องดูว่าใครออกคำสั่งก่อน  ตัวนายกฯหรือ มท.๑
หากมท.๑ ออกคำสั่งมาก่อน แล้วนายกมาออกพรบ.ความมั่นคงฯตามมาเอง  มท.๑  ก็พ้นความรับผิดชอบ
แต่ถ้านายกออก.พรบ.มาก่อน  แล้ว มท.๑ มาออกคำสั่งทีหลัง  มท.๑อาจต้องรับผิดชอบกับคำสั่งของตน ครับ
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมครับ  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2014, 09:41:38 PM โดย 436 » บันทึกการเข้า

ใจสงบ.  ใจสว่าง.  คือทางสุข ...&
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #13 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 10:36:04 PM »

พรบ.ความมั่นคง เป็นกฎหมายพิเศษ เหตุผลเพื่อความมั่นคงเป็นการเฉพาะ เพื่อควบคุม ไม่เกิดเหตุรุนแรง
มีเขตพื้นที่ กำหนด ชัดเจน

ผลในทางปฎิบัติ คงเหมือนความผิดทั่วไป แต่ จะหนักไปทางอัตราโทษ ที่พนักงานอัยการ
จะขอให้ศาลพิจารณาลงโทษให้หนักขึ้น  แต่อย่างไร ก็ยังอยู่ ในดุลพินิจที่จะรอการลงโทษให้ได้

ข้ออ้างใด ๆ ที่ไม่ชัดเจนทางข้อกฎหมาย คงถูกดำเนินคดีทั้งหมด เว้นแต่ การย้ายบ้าน การรับปืนใหม่จากร้าน
หรือ นำปืนไปให้ จนท.เรียกตรวจสอบ จะต้อง ไม่มีกระสุนอยู่ในตัวปืน และต้องไม่ใช่เป็นการพาอาวุธปืนติดตัว
หรือที่เรียกแบบติดปาก ว่า "พกปืน"

โดยสรุป กระบวนการ อาจเพิ่มความรำคาญมากขึ้น รวมถึง หลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราวที่สูงขึ้นด้วย นะครับ  Grin
บันทึกการเข้า

Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #14 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 10:42:49 PM »

เห็นว่าชอบเอาหลักาการของอดีตอธิบดีมาใช้เป็นข้ออ้างนั้นน่าจะเลิกคิดกันได้แล้วยุคสมัยเปลี่ยนไปเผลอๆพกเงินสดไปเยอะถูกอายัติไว้ตรวจสอบอีกว่าเอาไปจ่ายอะไรไม่ได้เอาใช้ประกันตัวเองอีกแหล่ะและไม่ใช่คำสั่งหรือกฎหมายจนท.สามารถใช้ดุลพินิจของตัวเองได้ซึ่งแน่นอนครับ 99.99% จับส่งฟ้องก่อน เหลืออีก 0.01% นั่นสำหรับบางคน
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของท่านเองหรืออ่านแนวฏีกาคำพากษามาแล้วครับ  สมาชิกจะได้นำไปเป็นแนวทางได้จริง

ราบละเอียดต้องกลับดูกระทู้เก่าๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 21 คำสั่ง