http://news.mthai.com/hot-news/114789.htmlรถไฟความเร็วสูง โปรเจ็คล่าท้าฝัน! รอการสานต่อจากรัฐบาลชุดใหม่
ข่าว » ข่าวเด่นประจำวัน, สกู๊ปข่าว »
รถไฟความเร็วสูง โปรเจ็คล่าท้าฝัน! รอการสานต่อจากรัฐบาลชุดใหม่
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2554 | nattawat_86
รถไฟความเร็วสูง โปรเจ็คล่าท้าฝัน รอการสานต่อจากรัฐบาลชุดใหม่
โครงการรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีด เทรน ที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยต้นทุนและงบประมาณมหาศาล
ภายใต้การสนับสนุนของจีน ที่ต้องการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน
บิ๊กโปรเจคนี้ สร้างความหวังให้กับประชนชนชาวไทยว่า จะมีการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว
ซึ่งถึงแม้ว่า จะมีการเลือกตั้งในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงยังคงเดินหน้า
ดำเนินต่อไปตามที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการ
เพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูป แบบ PPPsได้กล่าวเอาไว้
ความเป็นไปได้ของโครงการมีความชัดเจนเมื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ได้เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
จากการประชุมคณะกรรมการประสานงานความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-จีน
โดยจะเริ่มเจรจา และสรุปร่างเอ็มโอยูทั้งสองฝ่าย โดยมีกรอบการเจรจาทั้ง 5 เส้นทาง
คือ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี
แต่ทางการจีนได้เพิ่มเส้นทางกรุงเทพฯ-อรัญประเทศขึ้นมา
ซึ่งในส่วนของ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายนั้น จะเสร็จทันก่อนยุบสภา
และสามารถประกาศประกวดราคาได้ในช่วงปลายปี 2554 หรือต้นปี 2555
อย่างไรก็ตาม ร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทยและจีน
ในโครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 สาย
คือ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์
ตามที่ครม.ได้อนุมัติไว้ ต้องชะงัก เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ได้ประกาศยุบสภาเมื่อเดือนที่ผ่านมา
เป็นเหตุให้ต้องเลื่อนการลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นออกไปก่อน
และต้องรอให้มีการเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาสานงานต่อให้เรียบร้อยทั้งหมด
ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง
คือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ระยอง-ตราด และกรุงเทพฯ-อุบลราชธานีนั้น
ขณะนี้กระทรวงคมนาคม กำลังจัดทำรายละเอียดของโครงการลงทุนในเชิงลึก
ก่อนชงครม.ใหม่ตัดสินใจอีกครั้ง
แต่ความหวังของประชาชนคนไทย ยังคงรอรถไฟความเร็วสูง
จะยังคงเดินหน้าต่อไปในรัฐบาลชุดหน้า สอดรับกับความคิดเห็นของหลายๆฝ่าย
อาทิ มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากประธานหอการค้า 17 จังหวัดภาคเหนือ
เห็นพ้องต้องกันที่จะนำรถไฟความเร็วสูงมาใช้
เพื่อตอบสนองทางด้านเศรษฐกิจและการคมนาคมขนส่ง
และหากเป็นเช่นนั้น สายการบินโลว์คอสทั้งหลาย
ต้องระส่ำระส่ายขาดรายได้อย่างมหาศาลหากมีการนำมาใช้จริง
เพราะนอกจากราคาที่ถูกลงแล้ว ความสะดวกรวดเร็ว
รถไฟความเร็วสูงถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
ทั้งนี้ โอกาสของบิ๊กโปรเจค รถไฟความเร็วสูง มีโอกาสเกิดขึ้นสูง
ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเอง
ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร รวมทั้งเวลาเดินทาง สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน
ไว้เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งราคานั้นอาจมีการปรับลดลงอีก โดยระบุไว้ดังต่อไปนี้
สายเหนือ
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) นครสวรรค์ (หนองปลิง) เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) พิษณุโลก เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 845 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 912 บาท
สายใต้
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) แม่กลอง หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 295 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 1,571 บาท
สายตะวันออก
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) ฉะเชิงเทรา ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) บางปะกง ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) ฉะเชิงเทรา จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) ฉะเชิงเทรา อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 400 บาท
ต่อจากนี้ไป การรถไฟไทย ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการบริการที่ด้อยกว่าการคมนาคมอื่นๆ
จะรอการ เปลี่ยนโฉมหน้าการรถไฟไทยให้เป็นที่เชิดหน้าชูดตา
เทียบเท่ากับอารยะประเทศให้ได้หรือไม่ เพราะปัจจัยทางการเมืองยังมีผลให้รอลุ้นกันอีกว่า
สุดท้ายแล้ว รถไฟความเร็วสูงจะเป็นโครงการแบบลูกผีลูกคนหรือไม่