ทั้งนี้ นี่เป็นเพียงทฤษฎี ซึ่งมีองค์ประกอบอื่นอีกมากมายมาเบี่ยงเบนผลลัพภ์ อย่าเอานิยมนิยายอะไรมาก
ผลลัพธ์ ไม่ใช่ผลลัพภ์
ทีนี้ น้าฉ็องฟังผม ผมไม่ใช่ อาจงอาจารย์ด็อกเตอร์และศาสตราจารย์ทางวิชาการที่ไหน
แต่ขอเสนอแนวคิดหนึ่ง ที่เราอาจมองข้ามกันไป
ดูรูปประกอบนะครับ
สมมุติว่า เป็นเครื่องยนต์โอเวอร์ สแควร์ ที่ช่วงชักยาวกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางลูกสูบ ที่ว่าได้เปรียบกัน
จะเห็นได้ว่า เมื่อลูกสูบขึ้นสูงสุดนั้น จะเกิดการจุดระเบิดขึ้นมา
แน่นอนหากจุดระเบิดถูกจังหวะเวลา โครโมโซมxy ที่วิ่งได้เร็วในระยะสั้น ย่อมได้เปรียบในการเดินทาง
ต่อไป
หากตรงกันข้าม เกิดการจุดระเบิดผิดพลาด มาจุดระเบิดตอนลูกสูบเดินทางลงมาต่ำสุด แน่นอนว่า การ
เดินทางทั้งโครโมโซมxx และxy ต้องเดินทางต่อไปโดยต้องกินระยะทางที่ลูกสูบถอยหลังกลับมา
ไต่ระดับคืนกลับไป
ยิ่งถอยกลับมาเป็นระยะทางมากๆแบบเครื่องยนต์ โอเวอร์ สแควร์ โอกาสที่โครโมโซมxyจะไปหมดแรง
นอนพังพาบที่ระยะจุดระเบิดสูงสุด ปล่อยให้โครโมโซมxxแซงไปแบบเต่าแซงกระต่ายนั้นมีมาก
ดังนั้นบางทีการมีช่วงชักยาวๆแบบเครื่องยนต์โอเวอร์ สแควร์นั้น หาใช่ได้เปรียบแต่ประการใด
หากควบคุมจังหวะการจุดระเบิดไม่ได้ อาจเป็นผลเสียไปเสียด้วยซ้ำ
ตรงกันข้าม เพียงแค่เครื่องยนต์อันเดอร์ สแควร์ ที่ช่วงชักสั้นๆ ทำรอบได้สูง กำลังอาจน้อยแต่ได้เปรียบ
ความเร็ว หากควบคุมจังหวะการจุดระเบิดได้ สามารถสั่งให้จุดระเบิดตอนลูกสูบขึ้นไปอยู่จังหวะสูงสุด
เรื่องของการเข้าฮอร์ส โครโมโซมxy ก็มีโอกาสให้ไขว่คว้า
เรื่องเครื่องยนต์กลไก เรื่องลูกสูบ มีแบบไหน เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มาแบบไหนก็แบบนั้น
เพียงแต่เราสามารถที่จะ จูนเครื่องสักนิด ปรับตั้งระยะให้พอดี แล้วทุกอย่างสามารถทำได้ครับ
จบ