1.1 Amorphous แผงโซล่าเซลล์ที่ไวแสงที่สุดคือแผงชนิดนี้ มีความไวแสงสูงสามารถทำงานได้แม้แต่ฝนตก
คุณสมบัติความไวแสงนี้ จึงถูกใช้ในเครื่องคิดเลขซึ่งสามารถรับได้กระทั่งแสงจากหลอดไฟนีออนตามบ้าน
ข้อดีคือ
ไวแสง ผลิตพลังงานได้ง่ายเหมาะกับสถานที่ๆมีหมอกจัด หรือฝนตกชุก
ข้อเสียคือ
หาอุปกรณ์ต่อพ่วงยาก แพง ไม่สามารถใช้ชาร์เจอร์ตามท้องตลาดทั่วๆไป, น้ำหนักมาก, กินพื้นที่มาก,แตกง่าย
แผงชนิดนี้เหมาะกับสภาพเมืองไทย แต่ตัวควบคุมหรือชาร์จเจอร์ที่ใช้คู่กัน มักมีปัญหาเกี่ยวกับความชื้นและค่าดูแลรักษาก็แพงตามไปด้วย
ขออณุญาตแย้งนิดนึงนะครับ
Amorphous ใช้ชาร์จเจอร์ทั่วไปได้ครับ หรือไม่ใช้เลย(ต่อแบต ตรงๆ)ก็ยังได้ เนื่องจากลักษณะโครงสร้างของมัน
เป็นฟิล์มบาง ความต้านทานภายในค่อนข้างสูง เวลาโหลดดึงกระแสมากๆ แรงดันจะดรอปลงไปเองครับ ไม่เหมาะกับระบบ On Grid
แต่เหมาะกับระบบชาร์จแบตที่โหลดไม่มากนัก ข้อดีของมันก็คือ จ่ายกระแสได้ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน เมฆบัง ฝนปรอย กระแสตกลงไม่มากนัก
(ก็มันจ่ายกระแสได้น้อยนะครับ) ข้อเสียของมันก็คือ หนักกว่า Poly/Mono Crystalize 7 เท่า กินพื้นที่มากกว่า Poly/Mono Crystalize 2.5 เท่า ที่วัตต์เท่ากัน
ปัจจุบันมันกลายเป็นวัตถุโบราณไปแล้วครับ

ผมมีใช้อยู่ 19 แผง(จาก 20 โดนหัวกระสุนจากฟากฟ้าแตกไป 1 )