กรณีนี้น่าศึกษาเรื่องรัฐธรรมนูญ เป็นอย่างมากว่าเป็นกฎหมายสูงสุดจริงหรือไม่ บ้านเขาจะยกเรื่องสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาอ้างกันเยอะมาก
บ้านเราก็ยกขึ้นมาอ้างเยอะมากแต่ต้องไปศาลรัฐธรรมนูญ บางครั้งบางกรณีประชาชนห้ามยื่นโดยตรงอีก แถมรัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างแยบคายว่าเว้นแต่จะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายยกเว้นไว้ บางอย่างสิทธิตามรัฐธรรมนูญมีรับรองไว้ แต่ดันไม่มีกฎหมายลูกมารองรับซะอีก กลายเป็นสิทธิลอยๆ ไปซะอย่างนั้น แต่อย่างว่าแหละครับวัฒนธรรม ประเพณี รูปแบบการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ของแต่ละประเทศ ก็แตกต่างกันไป จะมาเปรียบเทียบกันแบบตัวบทต่อตัวบทคงไม่ได้
ระบบไม่เหมือนกันนี่ครับ
ศาลไทยเป็นศาลของรัฐเดี่ยว ส่วนอเมริกาเป็นสมาพันธรัฐ มีศาล 2 ระบบ คือศาลรัฐบาลกลางและศาลของมลรัฐ ศาลของรัฐบาลกลางจึงตีความรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาของรัฐบาลกลางมีศาลเดียว และมีผู้พิพากษาแค่ 9 คน มีคดีขึ้นไปปีละ 100-150 คดีเท่านั้น
อ้อ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับเดียว แต่อเมริกามี 50 รัฐ จึงมีรัฐธรรมนูญ 51 ฉบับ
โครงสร้างทางรัฐศาสตร์ของอเมริกาเป็นสมาพันธรัฐ แต่เขาตั้งชื่อประเทศว่า United State เพื่อให้เห็นว่าเป็นการรวมตัวอย่างเหนียวแน่น แต่ถ้าศึกษาระบบกฎหมายของเขาแล้ว จะเห็นลักษณะพิเศษ ที่ไม่เหมือนสหรัฐหรือสมาพันธรัฐอื่น ๆ เลย ตรงที่ประเทศอื่นจะให้มีลักษณะที่รัฐบาลกลางกระจายอำนาจออกไปให้มลรัฐต่าง ๆ แต่ของอเมริกาจะเป็นเรื่องของการที่รัฐสมาชิกมอบอำนาจของตนให้กับรัฐบาลกลาง และสงวนอำนาจบางเรื่องไว้เป็นการภายใน ยกตัวอย่างเรื่องครอบครัว จะเป็นเรื่องที่รัฐบาลกลางไม่สามารถออกกฎหมายเข้าไปแทรกแซงได้