หมายถึงระดับชั้นศาลครับ
คือนอกศาลแพ่ง กับศาลอาญาที่มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรแล้ว
ศาลท้องถิ่นก็จะมีศาลจังหวัดกับศาลแขวง ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีมโนสาเร่ คือคดีแพ่งทุนทรัพย์ต่ำ และคดีอาญาที่มีอัตราโทษต่ำ ส่วนศาลจังหวัดก็จะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย
การตั้งศาลจังหวัดในอำเภอต่าง ๆ ก็เพื่อลดภาระไม่ให้ประชาชนต้องเดินทางมาใจกลางจังหวัด และแบ่งคดีออกไปบ้าง สำหรับใน กทม.ศาลจังหวัดแห่งแรกคือศาลจังหวัดมีนบุรี เนื่องจากเป็นที่อยู่ไกล สมัยที่ตั้งศาลจังหวัดมีนบุรีใหม่ ๆ ตอนนั้นยังไม่มีทางรถยนต์เข้าถึงด้วยซ้ำ
ศาลที่เมืองจีน ทำเข้าท่ากว่าประเทศอื่น คือตัวศาลมี 3 ชั้นศาล แต่ฟ้องกันได้แค่ 2 ชั้นศาล
คดีเล็ก ก็ฟ้องกันที่ศาลพื้นฐาน แล้วอุทธรณ์ได้ที่ศาลกลาง ถึงที่สุดแค่นั้น ส่วนคดีใหญ่ก็เริ่มฟ้องกันที่ศาลกลาง แล้วอุทธรณ์ที่ศาลสูงสุด เป็นอันจบ
ตามที่ท่านอาจารย์ผู้การตอบไว้ครับ ศาลจังหวัดจะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย และขออนุญาตเสริมในส่วนนี้ว่าเฉพาะในคดีที่ขึ้นศาลที่เรียกว่า ศาลยุติธรรม เนื่องจากปัจจุบันมีศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะทาง เช่น ศาลปกครอง พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง หรือ ศาลแรงงาน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน เป็นต้น
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา ๑ ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์
และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒ ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาล
อาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น