ท้ายสุดอังวะก็มารบกับไทยแล้วมาแพ้ตอนมารบกับรัตน๋โกสินทร์ มาเจอกับการป้องกันประเทศแบบใหม่ซึ่งเราใช้มาจนทุกวันนี้ไม่ต้องรอให้มาประชิดเขตออกไปตีกระบาลเแม่งก่อนเลย แต่คงไม่ตีกระบาลเขาไกลๆแบบลุงแซมนะ
ยุค กรุงรัตนโกสินทร์ กับ กรุงศรีอยุธยา มีเงื่อนไขทางธรรมชาติ ที่แตกต่างกัน
ครั้งกรุงเก่าฯ ธรรมชาติ กรณีน้ำท่วมทุ่ง เป็นผลดีกับการตั้งรักษาเมือง
ทำให้เกิด หลักการต่อสู้ ที่ยังผูกติดกับการตั้งรับ โดยหวังธรรมชาติช่วย
นี่เป็นจุดอ่อน ซึ่งฝ่ายรุก สามารถ เอาชนะทางได้ไม่ยาก
แต่เมื่อครั้ง สมเด็จพระนเรศ เปลี่ยนจากรับ เป็นรุก และ ใช้พื้นที่ ห่างไกล เป็นที่รับศึก ก็สามารถเอาชนะ
ศึก จากอังวะ ได้ทุกศึก
ครั้ง กรุงรัตนโกสินทร์ พื้นที่ทางธรรมชาติ ไม่เป็นใจ คนจึงต้องก้าวข้ามธรรมชาติ
ไม่อาจนำเรื่องธรรมชาติ มารับศึกได้อีก และตัดทิ้ง การรับศึกแบบอดีตไปซะ
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ไปรับศึกพม่า ที่ กาญจนบุรี และ จัดทัพ ไปยันไว้
ไม่ให้ทัพพม่าใหญ่ของพม่า ลงมาจากช่องเขา ให้ แออัด อยู่ในช่องเขา และให้
เจ้าขุนเณร จัดชุดกองโจร คอยซุ่ม บั่นทอนกำลังพม่า
และใช้ทุ่งลาดหญ้า ห่างจากตัวเมืองกาญจน์ ๑๐ กม.+/- กำจัด ทัพของพม่า ให้สิ้นซากที่นี่
ส่วนทัพพม่า ที่ ล่วงหน้ามาก่อน แถวท่ามะกา ก็ถูกทัพสยาม ล้อมไว้ จนอดอยาก หมดสภาพ จะทำการรบได้อีก