คุณengagemenโพสท์ไว้ในเฟสบุคครับต้นทางมาจากเพจของTakern อยากจะเข้าใจว่าผู้แปลคือ"ตาเกิ้น"แห่งarcherythai
อ่านแล้วเห็นว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก.....และมันกำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยที่รักยิ่งของเรา
บทเรียนจาก Rhodesia
ใครเคยได้ยินชื่อประเทศโรดีเซียบ้างครับ 99% ของผู้คนยุคนี้คงไม่เคยรู้จัก เพราะประเทศนี้มีอายุสั้นเพียง10 กว่าปี จากรุ่งเรืองสุดขีดจนล่มสลาย เรื่องราวของประเทศนี้เป็นบทเรียนที่น่าสนใจไม่น้อยเลยของเราครับ เอ้า เร่เข้ามา ผมจะเล่าให้ฟังคร้บ
โรดีเซียเป็นประเทศในด้านใต้ของทวีปแอฟริกาซึ่งเดิมอยู่ในพื้นที่ปกครองของอังกฤษ ไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่เดิมเป็นพื้นที่ป่ารกร้างซึ่งมีชนเผ่า Mashona และ Matabele ที่อยู่กันอย่างไม้เบื่อไม้เมาพยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีบ้านเมืองอะไรจนกระทั่งเร่ิมมีชาวผิวขาวเข้ามาตั้งรกรากและเร่ิมเป็นชุมชนในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พร้อมๆกับประเทศสิงค์โปร์
ความนี่สนใจในเรื่องของโรดีเซียเริ่มขึ้นตรงนี้ ด้วยเสรีภาพและโอกาสของประเทศใหม่แห่งนี้เป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนที่มีความสามารถจากทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์, วิศวกร, ทหาร เก่งๆ เข้าไปเป็นประชากรจนได้ประชากรที่มีคุณภาพดีมากๆ (เมื่อวัดแล้ว IQ ของเด็ก Rhodesia สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กยุโรปประมาณ 10%) และก็ทำให้ประเทศพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สร้างความมั่งคั่งแซงหน้าหลายประเทศอย่างรวดเร็ว ด้วยทรัพยากรธรรมชาติเช่นแร่ Chromium และแร่ธาติอื่นๆที่มีอยู่มากมาย และที่สำคัญที่สุด คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์บวกกับผู้นำที่เข้มแข็ง
ต่างกับประเทศอื่นในแอฟริกา โรดีเซียไม่ได้มีการเหยียดผิว ไม่มีการจำกัดโอกาส รัฐบาลพยายามสนับสนุนการศึกษาให้กับคนผิวดำ (เรียนฟรีหมด) และพยายามให้คนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศ แต่ก็ได้รับการต่อต้านและยุแหย่จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น โมซัมบิค และ แซมเบีย ตลอดเวลา
ปัญหาเกิดขึ้นที่ส่วนผสมของประชากร ในตอนนั้นมีชนพื้นเมืองอยู่ประมาณ 5 ล้านคน มีคนใหม่ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ประมาณ 3 แสนคน แต่คนสามแสนนี้เป็นคนที่สร้างให้เกิดประเทศขึ้นมา,จ่าย 97.5% ของภาษี และเป็นเจ้าของที่ 50%ของประเทศ
รัฐบาลโรดีเซียในตอนนั้นกำหนดวิธีลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่แตกต่างเพื่อรักษาทิศทางของประเทศไว้ให้ได้ โดยการกำหนดว่าคนที่มีสิทธิในการลงคะแนนจะต้องจบการศึกษาระดับมัฐยม, เป็นเจ้าของที่ขนาดเล็กๆ , มีรายได้และเสียภาษี ทั้งหมดนี้อาจจะฟังดูเหมือนความอยุติธรรมในสายตาของเราผู้ที่ถูกปลูกฝังมาตลอดว่าประชาธิปไตยต้องมาจากสิทธิที่เท่าเทียมเท่านั้น แต่หากในสถานการณ์ของโรดีเซีย นี่เป็นทางเดียวที่ประเทศจะอยู่รอดได้ และถ้าจะเปลี่ยนก็จะต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่เชื่อลองอ่านต่อให้จบนะครับ
โรดีเซียพยายามจะประกาศตัวเป็นประเทศอิสระในปี 1965 แต่อังกฤษไม่ยอม ด้วยเงื่อนไขที่ว่าจะต้องเลือกตั้งด้วยสิทธิเท่าเทียมก่อนเท่านั้นอังกฤษถึงจะยอมให้อิสรภาพ แต่รัฐบาลโรดีเซียบอกว่าทำไม่ได้จริงๆ และในที่สุดก็ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษข้างเดียว (ก็แบบที่อเมริกาทำนั่นแหละครับ)
เพราะวิธีเลือกตั้งที่แตกต่าง ทำให้โรดีเซียถูกต่อต้านและบอยคอตจากอังกฤษและอเมริกาผู้ที่ต้องการให้ทุกคนใส่เสื้อไซส์เดียวกัน แต่โรดีเซียก็ยังต่อสู้ต่ออย่างเข้มแข็ง การค้ายังคงดำเนินไปกับประเทศอื่นๆ ด้วยการส่งสินค้าผ่านประเทศแอฟริกาใต้ การพัฒนาประเทศเดินหน้าต่อ เศรษฐกิจร่ำรวยมั่งคั่ง
กองโจรจากโมซัมบิค และ แซมเบียใช้ชื่อว่ากองกำลังเพื่ออิสระภาพที่อยู่ทางเหนือพยายามเข้าแทรกแซงและบุกเข้ามาปล้นฆ่าผู้คนในโรดีเซียอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่โรดีเซียก็มีกองทัพที่เข้มแข็งซึ่งมีทั้งคนผิวขาวผิวดำร่วมกันรบปกป้องประเทศของพวกเขา ซึ่งก็สามารถต่อต้านภัยรุกรานจากกองโจรเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งต่างชาติ (กองทัพโรดีเซียเป็นกองทัพที่แข็งแกร่งมากเพราะผู้คนที่อพยพเข้ามาส่วนมากเป็นทหารผ่านศึกที่ช่ำชองสงครามมาก่อนจากทั่วโลก รวมทั้งนายกรัฐมนตรีที่เป็นอดีตนักบินขับไล่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)
จุดผกผันของโรดีเซียอยู่ที่ อเมริกาและอังกฤษไม่ยอมปล่อยให้ประเทศนี้เดินหน้าต่อไป (ทั้งที่ประเทศอื่นๆในแอฟริกามีปัญหามากกว่านี้อีกมาก) กระทรวงต่างประเทศอเมริกาหักหลังโดยการบีบบังคับให้แอฟริกาใต้ที่เป็นทางออกทะเลทางเดียวเลิกค้าขายกับโรดีเซีย ซึ่งนั้นก็ทำให้เศรฐกิจของโรดีเซียมีปัญหาในแทบจะทันที เมื่อไม่มีเงิน อาวุธร่อยหรอโรดีเซียก็เริ่มต้านทานการรุกรานจากเพื่อนบ้านเกเรไม่ไหว ปัญหาความมั่นคงเร่ิมรุนแรงขึ้นด้วยการก่อการร้ายจนหลายคนต้องเร่ิมอพยพหนี อเมริกาเดินเกมส์ต่อด้วยการบีบบังคับให้โรดีเซียมีการเลือกตั้ง ปรกติให้เร็วที่สุด
สถานการณ์เลวร้ายลงจนกระทั่งในปี 1979 รัฐบาลของโรดีเซียต้องยอมให้มีการเลือกตั้งแบบปรกติ ซึ่งทำให้หัวหน้าเผ่าผิวดำเสียงข้างมากได้เป็นรัฐบาล จากนั้นสงครามกลางเมืองล้างเผ่าพันธุ์และการปล้นฆ่าก็เกิดขึ้นไปทั่ว ประชาชนที่มีคุณภาพต้องอพยพย้ายหนีตายออกจากประเทศ เศรฐกิจดิ่งลงเหวจากประเทศแนวหน้าเป็นประเทศยากจนในเวลารวดเร็วเหลือเชื่อ โรดีเซียเปลี่ยนชื่อเป็นซิมบับเว่ ประเทศที่เรารู้จักกันว่ายากจนและเต็มไปด้วยการรบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาตลอดกว่า 35 ปี
จนถึงวันนี้ ประเทศซิมบับเว่ก็ยังไม่เคยมีการเลือกตั้งอย่างยุติธรรม เพราะทุกครั้งรัฐบาลที่กุมอำนาจก็จะใช้ทั้งเงินและอำนาจข่มขู่ให้ได้เสียงข้างมากมาตลอด
หมายเหตุ: ผมมิได้เห็นด้วยกับวิธีการต่างของโรดีเซีย แต่หากเพียงต้องการนำเรื่องที่น่าสนใจ มาให้คิดกันว่าสถานการณ์ที่แตกต่าง ย่อมต้องการวิธีที่แตกต่างเพื่อผลที่ดีและความอยู่รอด
แรงบันดาลใจจากบทความเรื่อง Rhodesian Elegy ในหนังสือ Fireworks ของ Jeff Cooper