เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 28, 2024, 05:39:27 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟองสบู่แตกรอบใหม่  (อ่าน 6637 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
yutthakarn
Hero Member
*****

คะแนน 554
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2354


สิ่งที่คนต้องการ คือ โอกาส


« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 03:28:29 PM »

มีคำเตือนออกมาหนาหูถึงสภาวะฟองสบู่แตกของเศรษฐกิจบ้านเราครั้งใหม่ ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ท่านผู้รู้มีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ จะเตรียมตัวอย่างไร และเมื่อถึงเวลานั้น ตลาดปืนจะเป็นอย่างไร เพราะในสายตาประชาชนทั่วไป อาวุธปืนไม่ใช่ของจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน
บันทึกการเข้า
Earthworm
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 211
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1359


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 04:48:54 PM »

ดูจากเวปข้างๆ ที่ปล่อยๆปืนแต่ละกระบอกออกมา ผมว่ามันแตกไปแล้วสำหรับหลายๆคนครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 05:12:30 PM »

มีปล่อยพระเครื่องกล้องถ่ายรูปด้วย
บันทึกการเข้า
rambo1th
Hero Member
*****

คะแนน 143
ออฟไลน์

กระทู้: 1349


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 06:13:25 PM »

อ๋อ สำหรับผมมันแตกไปตั้งนานแล้วในระดับจุลภาค แต่สำหรับมหภาคในภาพรวมของประเทศ ผมยังรอดูต่อไป .......... แต่ที่สัมผัสได้คือคนระดับหาเช้ากินค่ำ ลำบากมากขึ้น ข้าวของแพง งานการหายากลำบากสำหรับเด็กจบใหม่ (ไม่นับงานราชการ) สมัยนี้ใครๆก็อยากรับราชการทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 06:19:49 PM »

ดร.วีรไท ผู้ว่าการคนใหม่ฮะ

http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/blog/634480
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 09:04:07 PM »

คงไม่เกิดขึ้นในบ้านเราหลอกครับภาวะฟองสบู่แตกเนี่ย เพราะเราไม่มีฟองให้แตก
ตัวเลขเศรษฐกิจก็ซึมมาหลายปี ซึ่งส่วนตัวคิดว่าตัวเลข วิธีการคำนวณอาจจะไม่เหมาะสมกับประเทศเรา
เพราะผมกลับเห็นว่าเศรษฐกิจ4-5ปีหลังดีเอาๆ คนรวยกันขึ้นเยอะ ห้างเปิดกี่แห่งๆก็แน่น
บันทึกการเข้า
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 10:29:04 PM »

ในมุมมองของผมเวลาเศรษฐกิจถดถอยตามรอบของมัน  ผมว่าดีๆกว่าปล่อยให้ภาคธุรกิจลืมตัวกับdemand ที่เป็นภาพลวงตาแล้วกู่ไม่กลับ
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
yutthakarn
Hero Member
*****

คะแนน 554
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2354


สิ่งที่คนต้องการ คือ โอกาส


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 11:25:00 PM »

ดร.วีรไท ผู้ว่าการคนใหม่ฮะ

http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/blog/634480

นักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ให้คำอธิบายในเชิงเปรียบเทียบ แต่ไม่ชี้ชัดถึงสภาพการณ์และการแก้ปัญหาให้เข้าใจได้โดยตรง แต่ก็พอเข้าใจได้ว่า สถานการณ์น่าเป็นห่วงมาก และการแก้ไขทำไม่ได้ง่ายๆ และก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร จากโวหารในเชิงเปรียบเทียบของนักวิชาการที่มารับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่
บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 12:05:58 AM »

อ่านข่าวไม่กี่วันก่อน ตัวเลขNPLแบงค์ยังไม่ถึง3%  น่าจะยังพอไหวอยู่ครับ  แต่แบงค์เข้มมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ ช่วงนี้ใครจะสร้างไร กู้บ้าน ต้องทำการบ้านเยอะหน่อย ไม่งั้นไม่ผ่าน ถึงผ่านก็โดนบีบขายพ่วงประกันอ้วก  โดนชก


รัฐต้องทำการบ้านเยอะๆ ส่งออกนับวันจะถดถอย ต่างชาติย้ายฐาน ไปประเทศค่าแรงต่ำกว่า แถมมีกำลังซื้อสูงเพราะเป็นประเทศเกิดใหม่

ภาคท่องเที่ยวต้องสร้างอะไรใหม่ๆเยอะขึ้นครับ ไม่งั้นมันซ้ำซาก จำเจ ไม่มีอะไรใหม่ดึงดูดใจ คู่แข่งธรรมชาติเค้าซิงๆ และมากมายกว่าเราหลายเท่า พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ไทยจะหวังแบบเดิมๆน่าจะยากแล้ว หมดยุคฝรั่งมีกะตังค์แล้วในช่วง10ปีที่ผ่านมา

เมื่อวานมีข่าวสร้างกระเช้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา อืมม...เริ่มมีไอเดียดี แต่ยังไม่พอ...

คาสิโนมัวแต่เถียงกันมานาน 4-5ประเทสรอบๆเรามีตั้ง70กว่าแห่ง ช้าไปมั้ย
 คิก คิก
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 12:14:35 AM »

พวกเอนเตอร์เทนเม้นคอมเพล๊ก+ศุนย์ประชุมระดับนานาชาติ+คาสิโน(การกลั้นกรองคนเข้ามันทำได้อยู่ อย่าวิตกมากเกินไป เงินเข้าบ้านสำคัญที่สุด มีกินมีใช้สำคัญที่สุด)

พวกดิสนีแลนด์อะไรเงี่ย คนมาหลายสิบล้านแน่นอน  Grin
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 12:21:49 AM »

การดูแลธรรมชาติรบ.ทำดีแล้ว ชายหาดสวยงามขึ้น ดูดีขึ้นมากครับ เอาให้ดีขึ้นอีกครับ การปล่อยน้ำเสียลงทะเล ภูเขาหัวโล้น เอาให้อยู่ครับ ที่ผ่านมาปล่อยกันจนเละ อย่าว่าแต่ต่างชาติ เรามองสีน้ำขุ่นๆดำๆ สีของทรายชายหาดที่สกปรก เรายังหดหู่ใจ(คิดในใจ ใครจะอยากมาเที่ยววะ) การบุกรุกป่าเขา สร้างอย่าให้มันรกเกินไป จนไม่น่าเที่ยว  ขนาดตึงๆเข้มๆยังเอาไม่อยู่ นึกไม่ออกถ้าปล่อยเมื่อไหร่ จะกลับไปสภาพเดิม  เศร้า  Grin
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
yutthakarn
Hero Member
*****

คะแนน 554
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2354


สิ่งที่คนต้องการ คือ โอกาส


« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 12:34:34 AM »

 +1 ทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
chonthai-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 353
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1291


4152


« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 12:58:24 AM »

ส่วนตัวผมมองว่าธุรกิจผิดกฎหมายหลายๆอย่างถูกทำลายลงไปทำให้เงินที่หล่อเลี้ยงระดับรากหญ้าพลอยฝืดลงไปด้วย
บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 01:06:33 AM »

ส่วนตัวผมมองว่าธุรกิจผิดกฎหมายหลายๆอย่างถูกทำลายลงไปทำให้เงินที่หล่อเลี้ยงระดับรากหญ้าพลอยฝืดลงไปด้วย

คงไม่เชิงหรอกครับ พวกหวยใต้ดินยังปกติ ไม่เห็นมีข่าวจับเลย พวกบ่อนเล็กบ่อยน้อย พวกนั้นเศษเสี้ยวเงินไม่กี่บาท ไม่มีผลไรเลย

ธุรกิจกลางคืนขายนาผืนน้อยก็ปกติ มีแต่คนจะมีกำลังซื้อรึเปล่า?  คิก คิก

ภาคที่มีพลังจริงๆน่าจะเป็นภาคอสังหาครับ การสร้างบ้านซักหลัง ใช้วัสดุ คนงานหลายสิบชีวิต ตามมาด้วยการซื้อ-โอนตรงนี้ภาษีเยอะมากหลังนึงภาษี1-2แสน(บ้าน2-3ล้าน) ตามมาด้วยเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟ้ฟ้า แต่งสวน จิปาถะ...ฯ  ยกตัวอย่างบ้าน1หลัง หรือซื้อคอนโด1ห้อง  มีเงินหมุนเวียนของเยอะมาก  ไม่นับถึงพวกระดับไฮเอนหลังละเป็นสิบๆล้าน  ยิ่งมีมูลค่าเพิ่มมากๆ   Grin

พวกขายรถอีก รถยนต์คันนึงภาษีโขอยู่ จำไม่ได้ว่ารถคันนึงเสียภาษีตั้งแต่โรงงาน-ผู้ซื้อหลักแสนต่อคัน แถมเก็บภาษีรายปีได้อีก ยังไม่รวมรายได้ของไฟแนนซ์,แบงค์ที่ปล่อยกู้อีก ผ่อนรถยังต้องเสียVatอีก

คือเซ้กเม้นใหญ่ๆพวกนี้แหละ ทำเงินเข้ารัฐมากทีเดียว ถ้าสะดุดรึไม่เดินนี่สิเรื่องใหญ่ครับ  ไหว้

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2015, 01:12:18 AM โดย เบิ้ม » บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 09:24:40 AM »

55555  ยายขออนุญาต  " ท่านอัยการ ยุทธการ " นำบทความนี้มาแสดง อ่ะ ฮา555 เศร้า เศร้า เศร้า


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429177112

พวงทอง ภวัครพันธุ์ : มองกรณีสหรัฐฯ ตั้ง"กลิน เดวีส์"นั่งเอกอัครราชทูต

วันที่ 16 เม.ย. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์
ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้แสดงความคิดเห็นถึงกรณีที่สหรัฐฯ แต่งตั้งนายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ นักการทูตอาชีพ
และอดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือ ระหว่างปี 2555-2557
มาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า


กรณีสหรัฐอเมริกาส่งนายกลิน เดวีส์ (Glyn Davies) นักการทูตที่มีประสบการณ์รับมือกับปัญหายากๆ
แบบเกาหลีเหนือ มาประจำประเทศไทย ชี้ว่าสหรัฐฯให้ความสำคัญกับไทยอย่างแน่นอน
แต่ไม่ได้หมายความว่าเขากำลังจะหันมาเอาใจรัฐบาลทหารของไทยสักนิด

นายเดวี่ส์ เป็นนักการทูตที่มีประสบการณ์การทำงานในปัญหาด้านความมั่นคงที่สหรัฐฯ
ให้ความสำคัญสูง เช่น ปัญหาการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ โดยเขาเคยเป็นผู้แทนพิเศษ (ฐานะเท่าเอกอัคราชทูต)
ประจำสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ International Atomic Energy Agency (IAEA)
จึงทำให้เขาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน และต่อมาได้เป็น
 “ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศว่าด้วยนโยบายเกาหลีเหนือ” ซึ่งพยายามคิดค้นอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน

(หมายเหตุ: เขาไม่ได้มีตำแหน่งทูตประจำเกาหลีเหนือ เพราะสหรัฐฯ
ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับเกาหลีเหนือ จึงไม่มีทูตประจำ)

เป็นที่รู้กันว่าทั้งอิหร่านและเกาหลีเหนือเป็นเสมือนกระดูกชิ้นใหญ่ที่เคี้ยวยากสำหรับสหรัฐฯ
เป็นภัยคุกคามต่อนโยบายความมั่นคงของสหรัฐเสมอมาและมีปัญหาประชาธิปไตย
ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่านายเดวีส์ เป็นนักการทูตที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานเรื่องสำคัญสำหรับสหรัฐฯ
มีประสบการณ์ทำงานกับประเทศยากๆ มาแล้ว การที่สหรัฐฯ ส่งนายเดวีส์มาไทยจึงชี้ว่าสหรัฐฯ
ให้ความสำคัญกับไทยไม่น้อย แต่ก็ต้องไม่หลงละเมอเพ้อพกไปว่า ไทยสำคัญอยู่ประเทศเดียว
หรือสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จนทำให้สหรัฐฯกำลังจะโอนอ่อนผ่อนตามรัฐบาลทหารไทย เพราะกลัวอิทธิพลจีน

แน่นอนว่าสหรัฐฯ ย่อมไม่สบายใจที่เห็นรัฐบาล คสช. พยายามเล่นไพ่จีน
(และรัสเซีย ซึ่งกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก) เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ
กดดันเรียกร้องให้ไทยเคารพในหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
แต่ไม่ได้หมายความว่า ความกังวลนี้จะทำให้สหรัฐฯ
ละทิ้งแนวนโยบายของตนจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างทันทีทันใด เพราะอะไร

หนึ่ง ในแง่เศรษฐกิจ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ใครๆ ก็มองว่าประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลาง
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก
จนกลายเป็นสาวเนื้อหอมสำหรับนักลงทุนจากทั่วทุกภูมิภาค ความมั่นคงทางการเมืองของไทย
จึงสำคัญต่อกระเป๋าเงินของทั้งภูมิภาคและนักลงทุนทั่วโลก

แต่ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาจนเกือบจะครบทศวรรษและยังไม่มีท่าทีจะยุติลง
ในระยะเวลาอันใกล้แถมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกลับถดถอยลงนับแต่การรัฐประหารโดย คสช.
ทำให้นักลงทุนทั้งหลายเริ่มเห็นว่าการฝากความหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค
โดยไม่มองหาช่องทางอื่นบ้าง คงไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาแน่ ฉะนั้น นับแต่ปีที่ผ่านมา
เราเริ่มเห็นบรรรษัทใหญ่ๆ เริ่มย้ายฐานการลงทุนอุตสาหกรรมไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นๆ

สอง ในแง่เศรษฐกิจ สหรัฐฯ สำคัญกับไทยมากกว่าที่ไทยสำคัญต่อสหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในสามตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้าไทย แค่สหรัฐฯ และอียูประกาศ
ลดระดับสถานะประเทศที่ป้องกันการค้ามนุษย์ของไทย จากระดับ 2 ไปเป็นระดับ 3
ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ไทยเต้นเป็นจ้าวเข้าได้

ไม่มีใครรับประกันได้ว่าหากปีหน้า ประเทศไทยยังไม่มีเลือกตั้งเสียที
เราจะเจอกับมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯด้วยหรือไม่
เพราะขณะนี้ทั่วโลกรู้ดีว่าเศรษฐกิจไทยกำลังวิกฤติ และเชื่อว่าจะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลทหาร
 ซึ่งที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน เช่น Joshua Kurlantzick ก็ได้เสนอให้สหรัฐฯ
เพิ่มมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารไทย เพราะเชื่อว่าจะทำให้แรงกดดันในประเทศเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน

สาม ในแง่การทหาร ไทยกับสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์แนบแน่นมาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์
ในปัจจุบันก็ยังมีข้อตกลงความร่วมมือด้านการทหารหลายฉบับ หนึ่งในข้อตกลงที่สำคัญคือ
คอบร้าโกลด์ อันเป็นการฝึกร่วมทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิค โดยไทยเป็นฐานสำหรับการฝึกซ้อมร่วม
แต่พอรัฐประหารปุ๊บ สหรัฐฯก็ประกาศ “ลดระดับ” การฝึกซ้อมกับไทย ให้เหลือแค่การช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรมและภัยธรรมชาติ และยังส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาย้ายที่ฝึกซ้อมร่วมไปออสเตรเลียแทน

นอกจากนี้ สหรัฐมองว่าการแอบอิงจีนไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านอาวุธของกองทัพไทย
ได้อย่างน่าพึงพอใจ เพราะเทคโนโลยี่ด้านอาวุธของสหรัฐฯ นั้น มีเหนือกว่าจีนมาก
แง่นี้แปลว่า เราต้องการสหรัฐฯ มากกว่าที่สหรัฐฯ ต้องการเรา

อันที่จริงในแง่การทหาร นับแต่สงครามเย็นยุติลง บทบาทของสิงคโปร์ด้านความร่วมมือด้านการทหาร
ได้โดดเด่นขึ้นมาแทนที่ฟิลิปปินส์ นับแต่ปี 1992 สิงคโปร์เปิดและพัฒนาฐานทัพของตน
เป็นฐานโลจิสติคส์ให้กับกองเรือรบที่ 7 (หน่วยรบนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ
ทำงานประสานกับฐานทัพทหารสหรัฐฯในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) และกองทัพอากาศของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าฟิลิปปินส์อาจเปิดฐานทัพของสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อคานอำนาจทางทหารกับจีน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทเขตแดนในทะเลจีนใต้


สี่ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ภัยคอมมิวนิสต์ยุติลง สหรัฐฯและยุโรปเริ่มใช้มาตรการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย
มาดำเนินความสัมพันธ์กับพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ของตนมากขึ้น เพื่อสถาปนาภาพลักษณ์ของผู้นำเสรีนิยม
แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ จะต้องใช้หลักการนี้อย่างเท่าเทียมกับทุกประเทศ
มันขึ้นกับการประเมินว่าแนวทางไหนกับประเทศใดที่จะทำให้เขาได้ประโยชน์สูงสุด
ในกรณีของไทย ปัจจุบันยังไม่มีภัยคุกคามที่น่ากลัวจนทำให้สหรัฐฯต้องละทิ้งหลักการปชต.
แล้วหันมาจูบปากกับรัฐบาลทหาร แบบที่เคยเกิดขึ้นในยุคคอมมิวนิสต์มาแล้ว

ห้า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อนับแต่รัฐประหารปี 2549 ดูเหมือนจะทำให้ผู้นำสหรัฐฯ
เริ่มเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมีต่อชนชั้นนำ-กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างมีนัยสำคัญ

ในอดีต ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กระทำผ่านกลุ่มชนชั้นอนุรักษ์นิยมเป็นหลัก
เพราะมีจุดยืนต่อต้านคอมมิวนิสต์ร่วมกัน และสหรัฐฯมองว่ากลุ่มนี้คือ
ผู้กุมอำนาจและกำหนดทิศทางการเมืองไทยเป็นหลัก ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพได้อย่างน่าพอใจ
แม้จะมีรัฐประหารบ่อย แต่เสถียรภาพทางการเมืองก็ไม่ได้ถูกสั่นคลอนจริงๆ การร่วมมือกับคนชนช้ำนำอนุรักษ์นิยม
ไม่เพียงตอบสนองผลประโยชน์ของสหรัฐฯอย่างราบรื่น แต่ยังรับได้ในเชิงหลักการด้วย (หลักการต่อต้านคอมฯ)

แต่ปัจจุบัน สหรัฐฯ เริ่มตระหนักว่ากลุ่มอำนาจเก่าของไทยคือ หนึ่งในสาเหตุของปัญหาที่ยืดเยื้อ
นั่นคือ การปฏิเสธไม่ยอมรับกติกาการเมืองประชาธิปไตย ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ
เหยียบย่ำหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชน เอาชนะฝ่ายทักษิณไม่ได้ ก็หันใช้ตุลาการภิวัตน์
ก่อม๊อบปิดหน่วยราชการเพื่อสร้างภาวะ failed state ไปจนถึงทำรัฐประหาร
แม้จนกำลังจะกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ก็ยังไม่มีท่าทีว่ากลุ่มอำนาจเก่าจะยอมปรับเปลี่ยน
หรือเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนแต่ประการใด ยังคงเดินหน้าใช้อำนาจกดปราบประชาชน
ช่วยกัน เขียนรธน. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกดเสียงส่วนใหญ่ของประเทศต่อไป
โดยไม่ไยดีต่อความคับแค้นของประชาชนเสียงข้างมากของประเทศที่รอวันเอาคืนแต่ประการใด
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากที่ได้เคยพูดคุยกับนักการทูตจากตะวันตกหลายประเทศ
ดิฉันพบว่านี่คือมุมมองหลักที่พวกเขามีในปัจจุบัน

นอกจากนี้ สื่อมวลชนใหญ่ๆ ของโลกยังมีผลต่อมุมมองของรัฐบาลในประเด็นปัญหาสำคัญๆ ด้วย
หากเรากลับไปอ่านสื่อใหญ่ๆ เช่น New York Times, BBC, the Economist, Wall Street Journal, CNN ฯลฯ
เราจะพบข้อเขียนที่วิพากษ์กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ

ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมักปลอบใจตัวเองว่าสื่อพวกนี้ถูกทักษิณซื้อไปแล้วแต่ข้อเท็จจริงคือ
สื่อเหล่านี้รังเกียจทักษิณอย่างยิ่งเช่นกัน เขาอาจพูดถึงข้อดีของนโยบายต่างๆ ของทักษิณต่อคนจนและคนชนบท
แต่เขามักบรรยายคุณสมบัติของทักษิณว่าเป็นพวกอำนาจนิยม คอรัปชั่นเชิงนโยบาย
สงครามต่อต้านยาเสพติดทำให้คนบริสุทธิ์ตายจำนวนมาก ฯลฯ

หก เวลาสหรัฐฯ ต้องดีลกับประเทศยากๆ สหรัฐฯ ไม่ใช้วิธีโอ๋เอาใจ แต่จะใช้ทั้งไม้นวมและไม้แข็ง
โดยอีกฝ่ายมักต้องแสดงท่าทียอมอ่อนให้ก่อน สหรัฐฯ จึงจะใช้ไม้นวมตาม
เช่น กรณีเกาหลีเหนือ ยื่นเงื่อนไขการเจรจาว่าเกาหลีเหนือจะยกเลิกการวิจัยนิวเคลียร์
เพื่อแลกกับการที่สหรัฐฯและโลกตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรทางการทูตและเศรษฐกิจ
และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่เกาหลีเหนือแต่เมื่อเกาหลีเหนือปฏิเสธไม่ให้ผู้แทนภายนอก
เข้าไปตรวจสอบการดำเนินการของตนตามการเงื่อนไขของสหรัฐฯ สหรัฐฯ ก็พร้อมจะยุติการเจรจาเช่นกัน

นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว เกาหลีเหนือยังเจรจาทำนองขู่ว่าตนจะยินดียกเลิกการทดลองนิวเคลียร์
หากสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ยกเลิกการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน สหรัฐฯ บอกไม่สน เดินหน้าซ้อมรบกับเกาหลีใต้ต่อไป

สุดท้าย สิ่งที่สหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับไทยก็คือ คนป่วยคนนี้ยังมองหาสาเหตุความเจ็บป่วยของตนเองไม่เจอ
แถมยังงมงายอยู่กับแนวทางเผด็จการปนไสยศาสตร์พ่อมดหมอผี หากเป็นที่แน่ชัดว่า
ไทยจะไม่มีการเลือกตั้งภายในต้นปีหน้า มีการละเมิดสิทธิของประชาชนด้วยมาตรา 44 อย่างกว้างขวางมากขึ้น
ก็อย่าหวังเลยว่าสหรัฐฯ ภายใต้นายเดวีส์ จะหันมาฮันนีมูนกับไทย การกดดันเป็นเครื่องมือ
เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่สหรัฐฯใช้มากกว่าการโอ้โลมปฏิโลม

คนจำนวนไม่น้อยในประเทศนี้ยังหวังลมๆแล้งๆ ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยเจอปัญหามามากมาย
ก็เอาตัวรอดมาได้ด้วยดี พระสยามเทวาธิราชจะยังช่วยเราต่อไปแน่ๆ ยังไงเราก็เอาตัวรอด
ทะยานกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกเหมือนเดิม แต่คนที่เขามองมาจากข้างนอก เขาเชื่อว่า “โชค” ที่ว่านั้น หมดไปนานแล้ว
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 22 คำสั่ง