เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กันยายน 30, 2024, 02:20:34 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มาดูว่าเค้าขุดน้ำบาดาลกันยังไง!  (อ่าน 3714 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 05:52:31 PM »

http://www.thairath.co.th/clip/22130

 Grin
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
แปจีหล่อ
Hero Member
*****

คะแนน 6324
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8251



« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 06:08:05 PM »

เคยเห็นชาวบ้านเจาะโดยใช้ท่อเหล็กกระแทกๆลงไปครับ
บันทึกการเข้า

สีกากีเป็นสีของดิน ข้าราชการควรต้องติดดิน ออกพื้นที่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน ข้าราชการคือ ข้าที่ทำกิจการต่างๆให้กับพระราชา เครื่องแบบข้าราชการสีกากีคือสีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน
yutthakarn
Hero Member
*****

คะแนน 554
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2354


สิ่งที่คนต้องการ คือ โอกาส


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 06:46:23 PM »

เมื่อก่อนมีคำเตือนว่า การนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากๆ จะทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุดตัว ถึงกับมีการห้ามขุดบ่อบาดาลในกรุงเทพฯ
บันทึกการเข้า
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 06:59:16 PM »

เคยเห็นชาวบ้านเจาะโดยใช้ท่อเหล็กกระแทกๆลงไปครับ
ก่อนเจาะมีการใช้GT200เวอร์ชั่นบ้านนาด้วยครับน้าแป
เดี๋ยวนี้ใช้รถเจาะกันหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 07:30:54 PM »

 คิก คิก
ต้องมีซินแสด้วยมั้ย
บันทึกการเข้า
แปจีหล่อ
Hero Member
*****

คะแนน 6324
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8251



« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 07:51:35 PM »

เคยเห็นชาวบ้านเจาะโดยใช้ท่อเหล็กกระแทกๆลงไปครับ
ก่อนเจาะมีการใช้GT200เวอร์ชั่นบ้านนาด้วยครับน้าแป
เดี๋ยวนี้ใช้รถเจาะกันหมดแล้ว
เคยได้ยินแต่พ่อเล่าให้ฟังแต่ไม่เคยเห็นครับ
บันทึกการเข้า

สีกากีเป็นสีของดิน ข้าราชการควรต้องติดดิน ออกพื้นที่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน ข้าราชการคือ ข้าที่ทำกิจการต่างๆให้กับพระราชา เครื่องแบบข้าราชการสีกากีคือสีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 08:34:31 PM »

ไม่รู้เรียกอะไรครับ แถวบ้านผมยังใช้กันอยู่เลย สมัยก่อนยุคใช้ไม้ที่งอเองตามธรรมชาติหายากมากๆ สมัยนี้ก็นี่เลยครับเหล็กสเตนเลส เทคนิคนี้ฝรั่งเรียกดาวซิ่ง เคยใช้ในยุคเก่าครับผม



รถเจาะก็นี่เลยครับ หมู่บ้านผม10ปีที่แล้วรวมรถลูกพี่ลูกน้องผมก็4คัน ตอนนี้เหลือ2คัน เพราะประปาชุมชนเรื่มเข้าถึงทำให้การเจาะบาดาลลดลง
บันทึกการเข้า
Ki-jang-aey
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 363


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 08:59:32 PM »

เคยได้ดูทีวีเมื่อไม่นานมานี้ อบจ. เพชรบูรณ์ มีรถเจาะน้ำบาดาลที่ทรงพลังมากครับ สามารถเจาะได้ลึกถึง 200 เมตร (ตัวเลขอาจจะคลาดเคลื่อนบ้าง)......ผมว่าสุดยอดนะครับ...

ชุดขุดของหน่วยราชการอื่นๆ ไม่น่าที่จะทรงพลังเท่านั้น
บันทึกการเข้า
p23-504 รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 82
ออฟไลน์

กระทู้: 545


« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 11:48:44 PM »

รถขุดเจาะน้ำบาดาลที่มีคุณภาพมากที่สุดเป็นของหน่วยทรัพยากรน้ำบาดาลโดยตรงครับ  ผมใช้บริการหลายครั้งแล้วครับ  การขุดเจาะ(เรียกตามศัพท์ของหน่วยงานนี้โดยตรง)น้ำบาดาลมีหัวเจาะหลักๆอยู่ 2 ชนิด คือแบบหัวสว่านเดือยหมู ใช้ขุดเจาะในพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือด้านบนๆของบ่อ  และหัวเจาะกระแทก(หัวเพชร) ใช้ขุดเจาะในพื้นที่เป็นหิน  เครื่องมือที่เห็นเป็นเหล็กงอๆนั้น ช่างชาวบ้านเรียกว่าตีเหล็ก  เวลาใช้ผู้ที่ฝึกฝนมาและมีความชำนาญ  จะถือเหล็กมือละอัน  โดยจับเหล็กด้านที่สั้นศอกแนบลำตัว  ปลายเหล็กด้านยาวชี้ไปข้างหน้าขนานกันและขนานกับพื้นดิน  เดินเป็นเส้นตรงบริเวณพื้นที่ที่ต้องการสำรวจว่ามีน้ำใต้ดินหรือไม่  ถ้าจุดไหนมีน้ำปลายเหล็กที่ชี้ไปด้านหน้าจะโอนเข้าหากัน  ที่นี้ก็จะเดินเป็นกากะบาทให้แน่ใจ  ปักหมุดทำเครื่องหมายใว้เลือกอีกสัก 2 - 3 จุด ถ้าเป็นชาวบ้านก็ตัดสินใจได้เลยว่าจะขุดตรงจุดไหน  แต่ถ้าเป็นของหน่วยงานมาตรฐานก็จะไช้เครื่องมือวัดให้แน่ใจอีกครั้ง เป็นเครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้าในการคำนวนหาน้ำจำไมได้ว่าชื่ออะไร  การหาจุดขุดเจาะน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน  เพราะถ้าหากใช้วิธีวิทยาศาสตร์อย่างเดียวจะเสียเวลามากในการวัดแต่ละจุด  แต่ผลจะออกมาเป็นกราฟแสดงค่าให้เห็นชัดเจนแต่ไม่ใช่ค่าของน้ำนะครับเป็นค่าความแตกต่างของชั้นดินหรือชั้นหิน  ผู้เชียวชาญทางธรณีวิทยาจะเป็นผู้เลือกว่าจะให้จุดเจาะตรงไหน   ผมเคยทำงานร่วมกับช่างทั้งของหน่วยงานรัฐและช่างชาวบ้าน  ก็มีการล้มเหลวบ้างเหมือนกันทั้งสองอย่าง  แถวตำบลที่ผมอยู่น้ำบาดาลแต่ละบ่อเฉลี่ย 120 เมตร  เป็นหินแกรนิตทั้งนั้น เจาะดินลงไปความลึกแค่ 4 - 5 เมตร ก็เจอหินแกรนิตแล้วครับ  ถ้าได้น้ำขนาด 3 คิว/ชม. ก็ทำน้ำประปาหมู่บ้านขนาดเล็กได้แล้วครับ  ที่ผมสงสัยตามข่าวบอกแถวลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้น้ำ 20 - 30 คิว/ชม. นี่เรียกว่าทำน้ำประปาเลี้ยงคนได้ทั้งอำเภอเลยนะครับ  ไอ้เครื่องวัดแบบที่เรียกว่าตีเหล็กนั้นหลักการทำงานน่าจะคล้ายๆกับเครื่องตรวจระเบิดที่อื้อฉาวนั่นแหละครับ   ยิ้มีเลศนัย  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2015, 12:18:54 AM โดย p23-504 รักในหลวง » บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 12:00:52 AM »

+ครับท่านp23-504 รักในหลวง  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
แปจีหล่อ
Hero Member
*****

คะแนน 6324
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8251



« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 01:14:43 PM »

รถขุดเจาะน้ำบาดาลที่มีคุณภาพมากที่สุดเป็นของหน่วยทรัพยากรน้ำบาดาลโดยตรงครับ  ผมใช้บริการหลายครั้งแล้วครับ  การขุดเจาะ(เรียกตามศัพท์ของหน่วยงานนี้โดยตรง)น้ำบาดาลมีหัวเจาะหลักๆอยู่ 2 ชนิด คือแบบหัวสว่านเดือยหมู ใช้ขุดเจาะในพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือด้านบนๆของบ่อ  และหัวเจาะกระแทก(หัวเพชร) ใช้ขุดเจาะในพื้นที่เป็นหิน  เครื่องมือที่เห็นเป็นเหล็กงอๆนั้น ช่างชาวบ้านเรียกว่าตีเหล็ก  เวลาใช้ผู้ที่ฝึกฝนมาและมีความชำนาญ  จะถือเหล็กมือละอัน  โดยจับเหล็กด้านที่สั้นศอกแนบลำตัว  ปลายเหล็กด้านยาวชี้ไปข้างหน้าขนานกันและขนานกับพื้นดิน  เดินเป็นเส้นตรงบริเวณพื้นที่ที่ต้องการสำรวจว่ามีน้ำใต้ดินหรือไม่  ถ้าจุดไหนมีน้ำปลายเหล็กที่ชี้ไปด้านหน้าจะโอนเข้าหากัน  ที่นี้ก็จะเดินเป็นกากะบาทให้แน่ใจ  ปักหมุดทำเครื่องหมายใว้เลือกอีกสัก 2 - 3 จุด ถ้าเป็นชาวบ้านก็ตัดสินใจได้เลยว่าจะขุดตรงจุดไหน  แต่ถ้าเป็นของหน่วยงานมาตรฐานก็จะไช้เครื่องมือวัดให้แน่ใจอีกครั้ง เป็นเครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้าในการคำนวนหาน้ำจำไมได้ว่าชื่ออะไร  การหาจุดขุดเจาะน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน  เพราะถ้าหากใช้วิธีวิทยาศาสตร์อย่างเดียวจะเสียเวลามากในการวัดแต่ละจุด  แต่ผลจะออกมาเป็นกราฟแสดงค่าให้เห็นชัดเจนแต่ไม่ใช่ค่าของน้ำนะครับเป็นค่าความแตกต่างของชั้นดินหรือชั้นหิน  ผู้เชียวชาญทางธรณีวิทยาจะเป็นผู้เลือกว่าจะให้จุดเจาะตรงไหน   ผมเคยทำงานร่วมกับช่างทั้งของหน่วยงานรัฐและช่างชาวบ้าน  ก็มีการล้มเหลวบ้างเหมือนกันทั้งสองอย่าง  แถวตำบลที่ผมอยู่น้ำบาดาลแต่ละบ่อเฉลี่ย 120 เมตร  เป็นหินแกรนิตทั้งนั้น เจาะดินลงไปความลึกแค่ 4 - 5 เมตร ก็เจอหินแกรนิตแล้วครับ  ถ้าได้น้ำขนาด 3 คิว/ชม. ก็ทำน้ำประปาหมู่บ้านขนาดเล็กได้แล้วครับ  ที่ผมสงสัยตามข่าวบอกแถวลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้น้ำ 20 - 30 คิว/ชม. นี่เรียกว่าทำน้ำประปาเลี้ยงคนได้ทั้งอำเภอเลยนะครับ  ไอ้เครื่องวัดแบบที่เรียกว่าตีเหล็กนั้นหลักการทำงานน่าจะคล้ายๆกับเครื่องตรวจระเบิดที่อื้อฉาวนั่นแหละครับ   ยิ้มีเลศนัย  ไหว้
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

สีกากีเป็นสีของดิน ข้าราชการควรต้องติดดิน ออกพื้นที่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน ข้าราชการคือ ข้าที่ทำกิจการต่างๆให้กับพระราชา เครื่องแบบข้าราชการสีกากีคือสีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 01:46:40 PM »

เครื่อง GT น้่นมีหนวดเส้นเดียวเองที่ถูกต้องควรจะมีสองเส้น
เฮ้อ  ยี๊
บันทึกการเข้า
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 01:49:36 PM »

ที่น่ากลัวคือโซนทางอีสานที่มีเกลือหรือน้ำเค็ม  ถ้าเจาะลึกเกิน50-60ม.มีโอกาสทำให้น้ำบริเวณนั้นเป็นน้ำเค็ม  คลองชลประทานก็เป็นสาเหตุละลายเกลือแพร่กระจายไปข้างๆคลอง  เป็นสาเหตุให้ได้ผลผลิตต่ำ
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
p23-504 รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 82
ออฟไลน์

กระทู้: 545


« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 12:19:19 AM »

+ครับท่านp23-504 รักในหลวง  เยี่ยม
ขอบคุณครับ  
มีเรื่องเล่าให้ฟังอีกเรื่องครับเกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาล  ผมทำงานท้องถิ่นในพื้นที่ที่แล้งซ้ำซาก  ก็พยายามทำทุกวิถีทางให้ประชาชนในพื้นที่มีน้ำสะอาดใช้ในครัวเรือน  ทั้งของบประมาณจากท้องถิ่นขยายเขตน้ำประปาภูมิภาค  และขุดเจาะน้ำบาดาลทำประปาหมู่บ้านควบคู่กันไป  ตำบลที่ผมอยู่ก็อยู่ติดเขตชานเมืองสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเมื่อขยายเขตน้ำประปาภูมิภาคเข้าพื้นที่เกือบคลอบคลุมทั้งหมด(ท่อเมนต์ส่งน้ำขนาด 6 และ 4 น้ว) แต่ประสบปัญหาแรงดันน่ำไม่พอที่จะให้ประชาชนที่อยู่ปลายๆสายได้ใช้น้ำ  จึงจำเป็นต้องใช้น้ำบาดาลของประปาหมู่บ้านต่อไป   อยู่มาวันหนึ่งมีหนังสือจากกรมทรัพยาการน้ำบาดาลแจ้งให้ติดตั้งมาตรวัดน้ำจากปากบ่อน้ำบาดาล เพื่อชำระค่าน้ำบาดาลหน่วยละ (ลบ.เมตร หรือ คิวนั่นแหละ) 3.50 บาท ตามกฎหมาย  ผมก็ได้แย้งไปว่าหน่วยทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นผู้มาขุดเจาะให้ผมเองทำไมผมต้องเสียเงินค่าน้ำบาดาล  ได้รับคำตอบตามกฎหมายว่าท้องถิ่นไม่มีหน้าที่โดยตรงในการจัดหาน้ำสะอาดให้ประชาชน  ดังนั้นมีหน้าที่ต้องชำระค่าน้ำบาดาลตามกฎหมาย  (ผมได้อ่านกฎหมายนี้แล้วด้วยตนเอง)  ผมก็คุยกับเจ้าหน้าที่ว่าทำไมกฎหมายไทยจึงเป็นเช่นนี้  หน่วยทรัพยากรน้ำบาดาลขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลโดยใช้งบประมาณของตนเองให้กับประชาชนได้ทั่วประเทศ(ยกเว้นพื้นที่หวงห้าม)โดยผู้ใช้น้ำไม่ต้องเสียค่าน้ำบาดาล  แต่ท้องถิ่นต้องการขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดใช้โดยให้หน่วยทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นผู้มาสำรวจขุดเจาะท้องถิ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามที่หน่วยขุดเจาะเรียกเก็บ  กลับต้องเสียค่าใช้น้ำบาดาลอีก  ทั้งๆที่ก็จุดประสงค์เดียวกันคือให้ประฃาชนมีน้ำใช้ในครัวเรือน กรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ไม่ต้องเสียเงินงบประมาณในการขุดเจาะท้องถิ่นออกค่าใช้จ่ายให้  ท่านลองคิดดูนะครับหมู่บ้านเดียวกันผู้ที่ใช้น้ำประปาภูมิภาคเสียค่าน้ำเฉลี่ยหน่วยละ  7 บาท  ผู้ที่ใช้น้ำประปาหมู่บ้านจากน้ำบาดาลเสียค่าน้ำเฉลี่ยหน่วยละ 10 - 15 บาท (อัตราก้าวหน้า) เพราะค่าใช้จ่ายต้นทุนประปาหมู่บ้านสูง ค่าน้ำบาดาลราคาใต้ดิน 3.50 บาท ค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำความลึกของบ่อ 120 เมตร ค่าบำรุงรักษา ค่าบริหารจัดการ  เก็บค่าน้ำต่ำกว่านี้อยู่ไม่ได้ครับ  แปลกดีไหมครับ    ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2015, 12:23:04 AM โดย p23-504 รักในหลวง » บันทึกการเข้า
Hang Forever
Hero Member
*****

คะแนน 349
ออฟไลน์

กระทู้: 2215


« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 08:40:00 AM »

ที่น่ากลัวคือโซนทางอีสานที่มีเกลือหรือน้ำเค็ม  ถ้าเจาะลึกเกิน50-60ม.มีโอกาสทำให้น้ำบริเวณนั้นเป็นน้ำเค็ม  คลองชลประทานก็เป็นสาเหตุละลายเกลือแพร่กระจายไปข้างๆคลอง  เป็นสาเหตุให้ได้ผลผลิตต่ำ
เมื่อเดือนก่อน แล้งมากๆ บาดาลบ้านผม รส ปะแล่มๆ อร่อยๆ อิอิ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 22 คำสั่ง