เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 6424
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 50462
|
|
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 06:35:35 PM » |
|
ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือท่านหนึ่ง ถามผมว่าเคยได้ยินชื่อ พระยอดเมืองขวางไหม?
ผู้เขียนเกิดอาการอึกอัก เพราะเคยผ่านหู
แบบแผ่วเบา ทราบเพียงว่าเป็นชื่อค่ายทหารในจังหวัดนครพนม
นี่จึงเป็นแรงจูงใจที่ขอขุดเรื่องราว เกร็ดประวัติศาสตร์คนดี ศรีแผ่นดินมาเล่าสู่กันฟัง มีตัว มีตน มีภาพถ่ายครับ
วีรบุรุษชาวสยามท่านนี้เดิมชื่อ สมบุญ เกิดเมื่อ พ.ศ.2389 ที่บรรพตพิสัย นครสวรรค์ เป็นบุตรชายพระยาไกรเพ็ชร เริ่มรับราชการเป็นข้าหลวงผู้ช่วยในกองข้าหลวงใหญ่นครจำปาศักดิ์ ต่อมาไปเป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น คุณพระ เลยเป็นที่มาของฉายา พระยอดเมืองขวาง
ใน พ.ศ.2428 ได้เป็นเจ้าเมืองคำม่วน ดูแลรับผิดชอบบ้านนาป่า คำเกิด คำม่วน นากาย ปากพิบูลย์ และเเก่งเจ๊ก ซึ่งเป็นพื้นที่ไกลโพ้นติดต่อกับอาณาเขตเวียดนาม เป็นพื้นที่ ด่านหน้า ที่ต้องเผชิญกับพื้นที่พิพาท อินโดจีนฝรั่งเศส ที่ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส
งานของท่านอยู่ในการบังคับบัญชาของ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ในรัชสมัย ร.5
ต้องยอมรับว่า การไปเป็นเจ้าเมืองที่อยู่ไกลสุดขอบฟ้านั้น ต้องได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยอย่างสูงสุดจากพระมหากษัตริย์ ต้องไปเผชิญหน้ากับหมาป่าฝรั่งเศสที่กำลังมุทะลุ เมามัน ไล่ล่าครอบครองดินแดนเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสตั้งธงว่า เวียดนามและดินแดนครอบครองในอดีตของเวียดนามจะต้องเป็นของฝรั่งเศสด้วย
พระยอดเมืองขวางจะต้องปกป้องดูแลราชอาณาจักรสยาม สกัดกั้นการรุกคืบของฝรั่งเศสให้จงได้
ช่วงเวลานั้น กองกำลังทหารฝรั่งเศสที่มีอาวุธเหนือชั้นกว่า ชอบเบ่งกล้าม แสดงศักยภาพมิได้หยุดหย่อน หาเหตุกระทบกระทั่ง ใช้อาวุธคุกคาม ข่มขู่จะยึดสยามประเทศ
พระยอดเมืองขวางเปี่ยมด้วยคุณสมบัติ ซื่อสัตย์รักบ้าน รักเมือง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ เมื่อเผชิญสถานการณ์ดังกล่าว จึงตัดสินใจตั้งค่ายทหารสยามที่ตำบลขนองม้า (เรียกอีกอย่างว่า นาป่า เพราะเป็นนาที่อยู่กลางป่า) ใกล้พรมแดนเวียดนาม เพื่อควบคุมช่องทางเข้า-ออกระหว่างสยามกับญวน
ขอเรียนกับท่านผู้อ่านทั้งหลายว่า ในยุคสมัยนั้นอาณาเขตดินแดนสยามครอบคลุมอาณาจักรลานช้าง (คือ สปป.ลาว ในปัจจุบัน) ด้วย
23 พฤษภาคม 2436 มองซิเออร์ ลุซ ชาวฝรั่งเศส คุมกำลังทหารเข้ายึดเมืองคำม่วน ซึ่งมีพระยอดเมืองขวางเป็นข้าหลวงฝ่ายสยามปกครองอยู่
มองซิเออร์ ปาวี (คนไทยเรียก ม.ปาวี) รองกงสุลฝรั่งเศสประจำอยู่หลวงพระบาง ที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง ยื่นคำขาดดื้อๆ ว่า เมื่อ 5 ปีก่อน (พ.ศ.2431) ฝรั่งเศสได้สำรวจเขตแดนแล้วดินแดนเมืองคำม่วนตรงนี้เคยเป็นของญวนมาหลายร้อยปี ตอนนี้ฝรั่งเศสปกครองญวน จึงขอให้พระยอดเมืองขวางมอบเมืองให้
พระยอดเมืองขวางตอบปฏิเสธ และยืนยันเป็นพระราชอาณาเขตสยาม
ฝรั่งเศสเอากองกำลังทหาร (ญวน) เข้าปิดล้อมที่ทำการพระยอดเมืองขวางอยู่ 2 วัน ไม่ให้กินข้าว กินน้ำ
เมืองคำเกิด คำม่วน เป็นเมืองแฝด ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า เมืองคำม่วน นับเป็นพระราชอาณาเขตสยาม เพราะส่งข้าราชการไปปกครองมาโดยตลอด เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ติดกับพรมแดนญวน หากญวนรุกรานจะพุ่งเข้าสู่นครพนมได้ทันที เมืองแฝดทั้งสองเรียกตัวเองเป็น ชาวผู้ไทย แทบทั้งหมด
พระยอดเมืองขวางกำลังหนุ่มแน่นอายุ 40 ปี ปกครองดูแลเมืองมาแล้ว 8 ปี
ในช่วงเวลานั้นฝรั่งเศสใช้กองกำลังทหารญวนทำงานปั่นป่วนตลอดพื้นที่ ทั้งคุกคาม ขู่เข็ญ ยุยง ชักธงชาติฝรั่งเศสทุกพื้นที่ พร้อมทั้งขับไล่ผู้คนในปกครองชาวสยาม
หลังปิดล้อมมา 2 วัน มองซิเออร์ กรอสกุรัง นำกำลังทหารญวน 20 นาย เข้าคุมตัวพระยอดเมืองขวางพร้อมพวกเพื่อจะไปส่งที่เมืองท่าอุเทน ราษฎรสยามร่ำไห้ร้องขอให้ปล่อยตัว
ขบวนทหารที่จับตัวพระยอดเมืองขวางเดินทางไปราว 4-5 วัน ถึงบ้านนาหลักหิน มองซิเออร์ กรอสกุรังกับพวกแยกไปพักที่บ้านแก่งเจ๊ก พระยอดเมืองขวางกับพวกพักที่ทำนักเก่าของตน ห่างกันราว 15 นาทีเดิน
อีก 2 วันต่อมา มองซิเออร์ กรอสกุรัง นำทหาร 10 นายบุกมาจับตัวหลวงอนุรักษ์ ผู้ช่วยพระยอดเมืองขวาง เพื่อต้องการแยกออกมาเป็นตัวประกัน เพราะเกรงว่าจะหนีไปปลุกระดมผู้คนให้ต่อต้านฝรั่งเศส หลวงอนุรักษ์ถูกทำร้าย มัดมือ นำตัวไปควบคุมไว้ใต้เรือนพักมองซิเออร์ กรอสกุรัง
รุ่งขึ้นพระยอดเมืองขวางส่ง ขุนวัง ไปเจรจาเพื่อขอปล่อยตัว แต่ล้มเหลว และฝรั่งเศสยังขู่จะจับตัวพระยอดเมืองขวางอีกคน
3 มิถุนายน 2436 หลวงวิชิตกลศาสตร์ ข้าหลวงที่ 3 เมืองลาวพวน สั่งการให้นายทุ้ยและนายแปลก นำกำลังมาเจรจาช่วยหลวงอนุรักษ์คืนจากฝรั่งเศสที่บ้านแก่งเจ๊ก หลังถูกคุมตัวมา 11 วัน
ขณะเดียวกันพระยอดเมืองขวางก็เดินทางไปบ้านแก่งเจ๊กเพื่อขอร้องฝรั่งเศส ในการเจรจาใช้ล่ามชาวเขมร ชื่อนายบุนจัน
มีการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน ฝรั่งเศสปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใย ทั้งประกาศว่ากองกำลังฝรั่งเศสจะไม่ถอยออกจากราชอาณาจักรสยาม ไม่ยอมคืนอาวุธและทรัพย์สินทั้งปวง
เหตุการณ์วิกฤต ไม่มีทางออก พระยอดเมืองขวางสั่งให้หลวงอนุรักษ์หนี มองซิเออร์ กรอสกุรังคว้าข้อมือหลวงอนุรักษ์ลากเข้าห้องเพื่อคุมตัว พร้อมสั่งให้ทหารญวนเข้าควบคุมสถานการณ์
หลวงอนุรักษ์วิ่งหนีพร้อมพระยอดเมืองขวาง เหตุการณ์ชุลมุน เสียงปืนดังขึ้นหลายนัด ทหารสยามตายทันที 3 นาย เกิดการยิงโต้ตอบ ไม่รู้ใครเป็นใคร ตามด้วยไฟลุกไหม้เรือนที่พักของมองซิเออร์ กรอสกุรัง
ขุนวังถือดาบวิ่งขึ้นไปบนเรือน พร้อมร้องว่าจะตัดหัวไอ้ฝรั่งเศส เลยโดนคมกระสุนยิงสวนดับอนาถ
มองซิเออร์ กรอสกุรัง โดนกระสุนเข้าขมับทะลุ นอนตายในเรือนที่ไฟลุกไหม้
เสียงปืนสงบ ทหารสยามตาย 6 นาย บาดเจ็บ 5 นาย ทหารญวนตาย 12 นาย สยามจับเชลยได้ 3 นาย เป็นทหารญวน เหตุการณ์นี้บางท่านเรียกว่า "เหตุการณ์บ้านแก่งเจ๊ก "
เสียเลือดเนื้อ เสียชีวิต ทั้งไทย ญวน ฝรั่งเศส งานเข้าทันที เหมือนผลักสยามไปยืนบนปากเหวโปรดติดตามตอนต่อไปครับ...... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1433826433&grpid=00&catid=02
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 04, 2015, 06:41:15 PM โดย เบิ้ม »
|
บันทึกการเข้า
|
"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
|
|
|
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 6424
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 50462
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 06:38:35 PM » |
|
ความเดิมจากตอนที่ 1 หลังจากเหตุการณ์ยิงกันระหว่างทหารสยามกับฝรั่งเศสที่บ้านแก่งเจ็ก เมืองคำม่วน เมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ฝรั่งเศสตาย 1 บาดเจ็บ 3 ทหารสยามตาย 6 ทหารญวนตาย 12
นับได้ 7 วันหลังเกิดเหตุ ฝรั่งเศสยื่นข้อเสนอรัฐบาลสยาม 6 ข้อ และให้ตอบภายใน 48 ชั่วโมง ดังนี้
1.ให้สยามยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งหมด และเคารพสิทธิของญวนและเขมร ในดินแดนเหนือฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งบรรดาเกาะทั้งหมดที่อาจมีขึ้นเมื่อน้ำลด หรือในบรรดาที่มีมาก่อนแล้วนั้น ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฝรั่งเศส
2.สยามจะต้องไม่มีค่ายทหารในเขต 25 กิโลเมตร ตลอดแนวแม่น้ำ รวมทั้งพระตะบองและเสียมราฐ สยามจะไม่มีเรือรบไปไว้ หรือใช้ในดินแดนทะเลสาบ ลำน้ำที่แยกออกจากแม่น้ำโขง และให้ถอนกองทหารที่ตั้งมั่นอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน
3.ให้เสียค่าปรับไหมแก่ฝรั่งเศส ในเหตุการณ์อุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นที่ทุ่งเชียงคำและคำม่วน และทั้งในการที่ได้ทำอันตรายและความเสียหายแก่เรือและกะลาสีเรือฝรั่งเศสในแม่น้ำเจ้าพระยา
4.ให้ลงโทษผู้กระทำผิดและเสียเงินค่าทำขวัญแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต
5.ให้ใช้เงิน 2 ล้านฟรังก์ ให้แก่ชนชาติฝรั่งเศส
6.ให้จ่ายเงิน 3 ล้านบาททันที มัดจำการที่จะชดใช้เงินค่าเสียหาย หรือถ้าไม่สามารถก็ต้องยอมให้รัฐบาลฝรั่งเศสถือสิทธิเก็บเงินค่าส่วยสาอากร ในมณฑลพระตะบองและเสียมราฐ
หมาป่าฝรั่งเศสบดขยี้ ขย้ำลูกแกะสยามจมเขี้ยว
ตรงนี้ครับ ที่เรียกกันว่าเหตุการณ์ ร.ศ.112 ที่สร้างความโศกเศร้า เสียพระราชหฤทัยให้กับพระพุทธเจ้าหลวง ร.5 ถึงขนาดทรงพระประชวรหนัก ระทมทุกข์จากเหตุฝรั่งเศสรุกรานสยาม
มีการเจรจาของคณะทำงานสยาม-ฝรั่งเศส และลงนามในอนุสัญญาระบุในทำนองว่า จะให้สยามตัดสินชำระความ ฝรั่งเศสจะช่วยในการตัดสิน และจะกำกับการลงโทษ รัฐบาลฝรั่งเศสมีสิทธิที่จะเห็นชอบคำตัดสินลงโทษว่าสมควรหรือไม่ แต่ถ้าเห็นว่าลงโทษน้อย ฝรั่งเศสจะจัดผู้พิพากษามาร่วมและให้ตัดสินใหม่
อ่านไปเขียนไป ในฐานะคนรุ่นหลัง มันอัดอั้นตันใจครับ
เหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลสยามต้องออก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลพิจารณาคดีโดยเฉพาะ ชื่อว่า "พ.ร.บ.ตั้งศาลรับสั่งเป็นกรณีพิเศษครั้งหนึ่งสำหรับชำระความคนในบังคับสยาม ที่ต้องหาว่ากระทำความผิดกฎหมายที่ทุ่งเชียงคำ และที่แก่งเจ็ก เมืองคำม่วน"
เอกสารบางฉบับเรียกสั้นๆ ว่า "ศาลรับสั่งพิเศษ" เพื่อพิจารณาคดีนี้ ประกอบด้วย
กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นอธิบดีผู้พิพากษา และแต่งตั้ง หลวงรัตนาญัปติ อธิบดีกรมอัยการคนแรก และ เป็นชาวสยามคนแรกที่จบเนติบัณฑิตอังกฤษ หลวงสุนทรโกษา เนติบัณฑิตอังกฤษคนที่ 2 ของสยาม และนายหัสบำเรอ เนติบัณฑิตอังกฤษคนที่ 3 เข้ามาทำคดีนี้
ผู้เขียนขอยกย่อง ชื่นชมชาวสยามที่ไปจบเนติบัณฑิตจากอังกฤษทั้ง 3 ท่านย้อนหลังครับ
พระยอดเมืองขวางซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีสังหารมองซิเออร์กรอสกุแรง และทหารญวนได้ตั้งทนาย 4 คน คือ นายเป๊ด เนติบัณฑิตอังกฤษ นายเคลิกี เนติบัณฑิตจากลังกา นายมี เนติบัณฑิต และ นายเกด เนติบัณฑิตจากกรมอัยการ ทำงานแก้ต่างคดี
ขอเรียนท่านผู้อ่านว่า คดีพระยอดเมืองขวางเป็นคดีดังที่ชาวสยามใจจดใจจ่อ เพราะเป็นคดีระหว่างหมาป่าฝรั่งเศสกับลูกแกะสยาม และกลายเป็นต้นกำเนิดของการปฏิรูปศาลของสยามประเทศในช่วงเหตุการณ์ ร.ศ.112 ในสมัย ร.5
ผู้เขียนไปค้นข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าฝรั่งเศสมีบันทึกรายงานไปถึงผู้สำเร็จราชการอินโดจีนในลักษณะกล่าวหาว่าฝ่ายสยามว่า "ในขณะเจรจากัน พระยอดเมืองขวางได้ใช้ปืนรีวอลเวอร์ยิงมองซิเออร์กรอสกุแรง ในระยะเผาขน ทหารสยามเข้ารุมทำร้ายพนักงานที่มีจำนวนน้อยกว่า ทหารสยามได้ฉกชิงเอาสิ่งของในที่พักและเผาเรือนที่พัก"
17 มีนาคม 2437 ศาลที่สยามจัดตั้งขึ้นมีคำพิพากษาว่า
"เรื่องความอาญาระหว่างโจทก์ ทนายแผ่นดิน และจำเลย คือพระยอดเมืองขวาง ในข้อปัญหาระหว่างพระยอดเมืองขวาง จำเลย ได้ฆ่ามองซิเออร์กรอสกุแรง และพวกญวนอันเป็นโทษผิดต่อพระราชกำหนดกฎหมายจริงทั้งหมดฤๅ แต่ข้อหนึ่งข้อใดฤๅหาไม่ได้นั้น เราได้พิจารณาตรวจตราคำให้การ และพยานโจทก์จำเลย แลคำตักเตือนจนทั่วทุกอย่างแล้ว หาได้พบปะข้อหนึ่งข้อใด ซึ่งจะเป็นคำยืนยันว่า จำเลยได้ทำการร้ายนั้น แม้แต่ในคำที่กล่าวหา ที่ต้องยกเอามาเป็นกระทู้ปัญหานี้เอง ก็ไม่กล้ากล่าวยืนยันมั่นคง ได้เป็นแต่กล่าวหาแล้วก็กลับลงท้ายเป็นคำสงสัยเสียว่าให้ผู้อื่นกระทำดังนี้ เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายต้องกล่าวโดยคำอันชัดว่า จำเลยไม่ได้ทำการร้ายด้วยตนเองเป็นแน่แท้ พิพากษายกฟ้อง"
นี่เป็นสำนวนดั้งเดิมคำพิพากษาตัดสินคดีพระยอดเมืองขวาง ผู้เขียนเห็นว่า ภาษาไทยโบราณ สละสลวยชวนอ่าน แต่เข้าใจยากครับ มารู้เรื่อง จับใจความได้ตอนประโยคสุดท้ายนี่แหละ แปลว่า พระยอดเมืองขวางไม่มีความผิดตามฟ้องและให้ปล่อยตัวเป็นอิสระ
ชาวสยามไชโยโห่ร้องลั่นสนั่นเมือง
หมาป่าฝรั่งเศสดิ้นพล่าน อับอาย ประกาศไม่ยอมรับคำพิพากษา กดดันให้รัฐบาลสยามพิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง และสยามต้องจัดตั้ง "ศาลผสม" (Mixed Court) โดยมีอัยการฝรั่งเศสดำเนินการฟ้อง มีองค์คณะผู้พิพากษาฝรั่งเศสกับสยามเท่ากันฝ่ายละ 2 คน แต่อธิบดีผู้พิพากษาต้องเป็นฝรั่งเศส และทนายต้องเป็นฝรั่งเศส เท่ากับว่า ฝรั่งเศสมีกว่าสยาม 1 เสียง
การกดดัน ข่มขู่ ของฝรั่งเศสที่ให้สยามพิจารณาคดีความใหม่อีกครั้ง สะท้อนให้เห็นว่าสยามเสียเอกราชทางการศาลและการปกครองประเทศโปรดติดตามตอนต่อไป http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1434348010&grpid=01&catid=02
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 04, 2015, 08:26:06 PM โดย เบิ้ม »
|
บันทึกการเข้า
|
"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
|
|
|
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 6424
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 50462
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 06:43:45 PM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
|
|
|
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 10195
ออฟไลน์
กระทู้: 47057
M85.ss
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 08:09:39 PM » |
|
เคยได้ยิน "ค่ายพระยอดเมืองขวาง" จากหนังสือ เรื่อง ลว.สุดท้าย ของ พล.ต.อ. วิสิษฐ เดชกุญชร ใครยังไม่อ่านหามาอ่านเลยครับ สนุกมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 6424
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 50462
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 08:17:22 PM » |
|
เคยได้ยิน "ค่ายพระยอดเมืองขวาง" จากหนังสือ เรื่อง ลว.สุดท้าย ของ พล.ต.อ. วิสิษฐ เดชกุญชร ใครยังไม่อ่านหามาอ่านเลยครับ สนุกมาก +
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
|
|
|
rambo1th
Hero Member
คะแนน 143
ออฟไลน์
กระทู้: 1349
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 08:38:09 PM » |
|
เคยไปทำงานที่นครพนม ลงเครื่องที่สนามบินนครพนม นั่งรถเข้าตัวเมืองจะเห็นที่ตั้งค่ายพระยอดเมืองขวางตั้งอยู่ริมถนนพอดี อยู่ก่อนถึงตัวเมืองนครพนม หน่วยทหารที่ตั้งอยู่ภายในค่าย คือจังหวัดทหารบกนครพนม และ ร.3 พัน 3 ถ้าจำไม่ผิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 1870
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 10363
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 09:20:05 PM » |
|
พระนามท่านได้ถูกตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวณชายแดนที่บ้านผมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing.. "สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
|
|
|
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 10195
ออฟไลน์
กระทู้: 47057
M85.ss
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 09:42:57 PM » |
|
เคยไปทำงานที่นครพนม ลงเครื่องที่สนามบินนครพนม นั่งรถเข้าตัวเมืองจะเห็นที่ตั้งค่ายพระยอดเมืองขวางตั้งอยู่ริมถนนพอดี อยู่ก่อนถึงตัวเมืองนครพนม หน่วยทหารที่ตั้งอยู่ภายในค่าย คือจังหวัดทหารบกนครพนม และ ร.3 พัน 3 ถ้าจำไม่ผิด
อ้าวคนละค่ายกับที่อุบลฯหรือครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 4088
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 20186
1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 10:41:54 PM » |
|
ผมได้อ่าน เหตุการณ์ รศ. ๑๑๒ ที่กล่าว ถึง พระยอดเมืองขวาง ก็รำลึก ถึงความกล้าหาญ และวีรกรรม ของท่าน จาก หนังสือ ของค่ายหนังสือ ไพลินบุ๊คเน็ต ที่สนับสนุน นักเขียนหน้าใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 1870
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 10363
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2015, 06:50:17 AM » |
|
เคยไปทำงานที่นครพนม ลงเครื่องที่สนามบินนครพนม นั่งรถเข้าตัวเมืองจะเห็นที่ตั้งค่ายพระยอดเมืองขวางตั้งอยู่ริมถนนพอดี อยู่ก่อนถึงตัวเมืองนครพนม หน่วยทหารที่ตั้งอยู่ภายในค่าย คือจังหวัดทหารบกนครพนม และ ร.3 พัน 3 ถ้าจำไม่ผิด
อ้าวคนละค่ายกับที่อุบลฯหรือครับ น่าจะเป็นพระนามที่ถูกตั้งเป็นทั้งชื่อค่ายทหารบกกับตำรวจตระเวณชายแดนครับ อย่างเช่น"ค่ายสมเด็จกรมเจ้าพระยาบดินเดชา"ถ้าเป็นตำรวจตระเวณชายแดนก็เป็นตำรวจตระเวณชายแดนที่11 อ.มะขาม จ.จันทบุรี แต่ถ้าเป็นทหารบกก็ชื่อค่ายอยู่ จ.ยโสธร หรือที่ชาวบ้านแถวๆนั้นเรียกว่าค่ายทหาร"บ้านเดิด" เพราะตั้งอยู่ ใน ต.เดิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing.. "สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
|
|
|
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 10195
ออฟไลน์
กระทู้: 47057
M85.ss
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2015, 09:18:33 AM » |
|
แบบนี้ถ้าต่างคนต่างไม่ทราบ แล้วไปนัดเจอกันที่ "ค่ายพระยอดเมืองขวาง" คงจะสนุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Hang Forever
Hero Member
คะแนน 349
ออฟไลน์
กระทู้: 2215
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2015, 03:08:20 PM » |
|
ทหารก็พยายามหาอาวุธดีๆ มาเสริมความแกร่งรั้วของชาติ พวกค้านก็ค้านตะพึด เกิดเหตุมา คงได้เอากระติ๊กของคุณรัตตรา ไปยิงสู้ หึย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 10195
ออฟไลน์
กระทู้: 47057
M85.ss
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2015, 04:30:26 PM » |
|
ทหารก็พยายามหาอาวุธดีๆ มาเสริมความแกร่งรั้วของชาติ พวกค้านก็ค้านตะพึด เกิดเหตุมา คงได้เอากระติ๊กของคุณรัตตรา ไปยิงสู้ หึย เมาช้างปล่าวเนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 6424
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 50462
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2015, 07:06:31 PM » |
|
ความเดิมจากตอนที่แล้ว 13 กรกฎาคม 2436 (ร.ศ.112) เกิดวิกฤตการณ์ที่ปากน้ำ สมุทรปราการ สยามใช้ปืนใหญ่จากป้อมพระจุลจอมเกล้ายิงเรือรบฝรั่งเศสที่บุกรุกเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็นเหตุการณ์เชื่อมโยงกับการตัดสินคดีความที่ฝรั่งเศสตั้งธงว่าพระยอดเมืองขวางเป็นฆาตกรสังหารทหารฝรั่งเศสที่แก่งเจ็ก เมืองคำม่วน
ขอใช้แว่นขยายภาพให้ท่านผู้อ่านได้กระจ่างครับ ถ้าเราเอาแผนที่ของอุษาคเนย์มาแผ่กางออก ทางตะวันตกของสยาม อังกฤษเข้ายึดอินเดีย และตามด้วยการทำสงครามยึดพม่าเป็นเมืองขึ้นเบ็ดเสร็จ พม่าสู้รบอังกฤษแบบนองเลือดแผ่นดิน
ทางตะวันออกของสยาม ฝรั่งเศสมีกองเรือรบปักหลักอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน (ปัจจุบันคือนครโฮจิมินห์) ใช้อำนาจกำลังรบ "เรือปืน" เข้าปกครองเวียดนามแบบหมดจด เกณฑ์พลเมืองเวียดนามมาเป็นทหารบก นำกำลังทหารญวนเพ่นพ่านออกสำรวจตรวจสอบดินแดนเพื่อขยายเขตปกครองทะลุเลยเข้ามาดินแดนลาว ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม ฝรั่งเศสอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์สารพัด ระบุว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นของญวนมาก่อน แล้วสรุปเอาแบบดื้อตาใสว่าอาณาเขตตรงนี้ ตรงนั้น และตรงโน้น ก็ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย
การนำกำลังทหารฝรั่งเศสออกไปแสดงความเป็นเจ้าของ ขยายพื้นที่ยึดครองดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้กระทบกระทั่ง เผชิญหน้ากับกำลังทหารและเจ้าเมืองของสยามที่รับราชการอยู่ในพื้นที่นั้นตลอดมา
กำลังรบของฝรั่งเศสที่มีญวนเป็นกำลังหลักยังองอาจผึ่งผายเดินเข้าไปในเขมร สำรวจตรวจสอบพื้นที่ ตั้งใจจะเอาเขมรมาเป็นอาณานิคม
ต้องยอมรับครับว่า ชาวยุโรปในสมัยนั้นมีความรุ่งเรือง สร้างบ้านสร้างเมือง มีความรู้ในด้านต่างๆ รวมทั้งฆ่าฟัน รบกันเองในยุโรป พัฒนาอาวุธหนัก จัดกำลังรบเป็นหน่วย มีการบังคับบัญชา มีระบบการติดต่อสื่อสาร มีแผนที่เดินเรือไปรอบโลกได้ จึงมีศักยภาพเหนือกว่าคนในเอเชียแถวนี้หลายขุม
เหลียวซ้าย แลขวา สยามประเทศมีสภาพเหมือนโดนประกบโดยเสือกับจระเข้ ที่กำลังย่างสามขุมเข้ามาจะกัดกิน
การดวลปืนใหญ่กันระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ปากน้ำวันนั้น จึงเป็น "นาทีทอง" ของฝรั่งเศสที่จะไม่ปล่อยให้ผ่านไปง่ายๆ
เรือรบ 2 ลำที่บุกเข้ามาได้เทียบท่าหน้าสถานทูตฝรั่งเศสแถวถนนเจริญกรุง กำลังรอคำสั่งจากหน่วยเหนือ
และแล้ว 20 กรกฎาคม 2436 ฝรั่งเศสจึงสั่งทหารจากเรือรบ 2 ลำนี้ขึ้นบกแสดงกำลัง แล้วให้นาย ม. ปาวี ส่งเอกสารยื่นคำขาดตรงต่อรัฐบาลสยามดังนี้
คอเวอนเมนต์ฝรั่งเศสขอเอาจงได้ คือว่า
1.สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามยอมรับว่า กรุงอานาม แลกรุงกัมพูชา มีสิทธิอยู่ในที่ดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แลเกาะทั้งหลายเหล่านั้นด้วย
2.ด่านฝ่ายไทยทั้งหลายที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงนั้น เลิกถอนไม่ช้าเกินกว่าเดือนหนึ่ง
3.ความพอใจที่ควรจะได้มีแก่เหตุทั้งหลายที่เกิดขึ้น ณ ทุ่งเชียงคำก็ดี ที่เมืองคำมวนก็ดี แลการที่เข้าต่อตีเรือรบแลทหารเรือของฝรั่งเศสในลำน้ำเจ้าพระยานี้ด้วย
4.การลงโทษผู้ทำผิด แลการทำขวัญเป็นเงินให้แก่พวกญาติพี่น้องของคนผู้ตายแลเจ็บยากทั้งหลายนั้น
5.จำนวนเงินค่าปรับไหมสองล้านฟรังก์ ประมาณหนึ่งหมื่นห้าพันชั่ง สำหรับจะได้ใช้ทำขวัญให้แก่คนฝรั่งเศสทั้งหลายที่ได้รับทุกข์ยากนั้น
6.การฝากไว้โดยเร็วเป็นเงินเหรียญจำนวนเงินสามล้านฟรังก์ ประมาณสองหมื่นสองพันชั่ง เพื่อจะเป็นประกันในการที่จะใช้ค่าทำขวัญแลปรับไหมนี้ ถ้าฝากเงินไม่ได้ ก็จำนำเงินภาษีอากรในหัวเมืองพระตระบองแลเสียมราฐแทน
คอเวอนเมนต์สยามต้องตอบให้ทราบในเวลาช้าอยู่ 48 ชั่วโมง
ผู้เขียนตรวจแล้วตรวจอีก ข้อความภาษาไทย 6 ข้อข้างบน สมัยนั้นใช้การสะกด รูปประโยคตามที่เห็น ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ
ขอทำความเข้าใจกันหน่อยเรื่อง ดินแดนโขงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ครับ
ตามหลักการแบ่งฝั่งแม่น้ำซ้ายหรือขวา โดยสากลให้หันหน้าออกทะเล ดังนั้นสำหรับแม่น้ำโขง ดินแดนลาวจึงอยู่ฝั่งซ้าย สยามอยู่ฝั่งขวา
ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสตัวสั่นอยากได้มานานก็คืออาณาจักรล้านช้าง (คือประเทศลาวในปัจจุบัน) ที่มีเนื้อที่ประมาณ 143,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนของสยาม รวมถึงบรรดาเกาะแก่งทั้งหลายในแม่น้ำโขง ฝรั่งเศสจะขอรวบยอดเอาไปทั้งหมด
ผู้เขียนขอนำท่านผู้อ่านย้อนเวลากลับไปดูความระหองระแหงใจที่สั่งสมคุกรุ่นระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2435 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเสด็จไปถึงเมืองหนองคาย ได้รับรายงานว่าฝรั่งเศสส่งกำลังเข้ามาตั้งด่านในเขตแดนไทย เช่น ด่านบ้านตอง เมืองวังคำ ด่านดิ้งเหลา แขวงเมืองพิน และใช้กำลังขับไล่นายด่านสยาม ถือได้ว่าเป็นการรุกรานแผ่นดินสยาม
กรมหลวงประจักษ์ฯจึงทรงสั่งการให้สยามกลับมาตั้งด่านขึ้นใหม่เพื่อตอบโต้ และให้ดูแลพื้นที่ออกไปจนสุดชายแดนติดกับเขตญวน
เหตุการณ์ที่น่ายกย่องตามมาอีกคือ พระยอดเมืองขวางท่านนี้แหละ ที่ไปตรวจเอกสารการเดินทางของพ่อค้าชาวฝรั่งเศส 2 คน และพบว่าเป็นการใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่น จึงเชิญออกไปนอกอาณาเขตสยาม ฝรั่ง 2 คนนี้ยังไปสร้างเรื่องเรียกร้องค่าทำขวัญจากสยามจนเป็นเรื่องใหญ่โต
ข้อมูลตรงนี้จะเห็นว่าข้าราชการสยาม ถึงแม้จะอยู่ไกลปืนเที่ยง ก็ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ท่ามกลางความลำบากทั้งกายใจ
ความบาดหมางยังปรากฏต่อเนื่อง นายบาระตอง (Baraton) พ่อค้าฝรั่งเศส เดินทางเข้ามาเมืองหนองคายโดยไม่มีหนังสือเดินทาง ติดต่อขออนุญาตตั้งโรงต้มกลั่นสุราในเมืองหนองคาย ซึ่งขณะนั้นทางการสยามมีนโยบายให้เจ้าเมืองในหัวเมืองลาวพวนต้มกลั่นสุราจำหน่ายแก่ราษฎรเอง เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บภาษี จึงไม่อนุญาตและส่งตัวนายบาระตองกลับออกไป
และมีอีกหลายเหตุการณ์ที่สยามขับเคี่ยวกับฝรั่งเศสแบบถึงลูกถึงคนhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1438583147&grpid=00&catid=02
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
|
|
|
montri รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน -120
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1056
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2015, 08:33:07 PM » |
|
ฝร้่งเศษรังแกเยอรมันแบบเดียวกับรังแกสยาม พอเยอรมันแข๊งแกร่งขึ้น เหยียบฝร้่งเศษซะเละ แถมโดนเวียดนามล่อซะเสียหมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|