แล้วนายทะเบียนได้ปฏิเสธมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเปล่าครับ เพราะถ้าปฏิเสธด้วยปากเปล่า เรายังไปอุทธรณ์ไม่ได้ครับ แต่หากเกินเวลาเราสามารถไปฟ้องศาลปกครองให้เร่งรัดการพิจารณาได้ ส่วนทางนายทะเบียนจะพิจารณาให้หรือไม่ก็เป็นดุลพินิจของนายทะเบียน ยิ่งถ้าเรามีอยู่แล้ว และทางนายทะเบียนเห็นว่าเพียงพอต่อการปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน พอเราไปอุทธรณ์ รมต. มหาดไทยก็จะเห็นด้วยกับนายทะเบียน สุดท้ายพอเราไปฟ้องศาลปกครองก็จะเห็นไปในทางเดียวกันกับนายทะเบียนหากคำปฏิเสธของนายทะเบียนนั้นถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายครับ
ตรงใหนคืนเพียงพอครับ บางคนใช้ดุลพินิจให้ได้สั้น 1 ยาว 1 บางคนให้ได้เป็นสิบ เป็นร้อยกระบอก แล้วทำไม กทม ขอได้ถ้าคุณสมบัติครบ คำว่าดุลพินิจมันมีมาตรฐานอยู่ตรงใหน ทำไมไม่ยึดตามหลักกฏหมายโดยเคร่งครัด ใช้ดุลพินิจแบบไม่มีมาตรฐานอ้างอิงเลยในแต่ละท้องที่ อย่างนี้น่าจะเรียกว่าแล้วแต่ความคิดของนายทะเบียนแต่ละคนดีกว่าใหม คนใหนมองปืนและผู้ขออนุญาตในทางที่ดีก็ได้ คนใหนมองปืนและผู้ขออนุญาตในทางที่ไม่ดีก็ไม่ได้ทั้งที่เขามีคุณสมบัติครบถูกต้องตามกฏหมาย
อันนี้ผมก็ไม่ทราบว่าเขาใช้มาตราฐานอะไรเป็นตัววัด แต่ผมฟ้องจนถึงศาลปกครองสูงสุด พิพากษามาแล้ว ว่าคำวินิจฉัยของนายทะเบียนที่ว่ามีอาวุธเพียงพอแก่การปกป้องชีวิตและทรัพย์สินชอบด้วยกฎหมายมาแล้วครับ ใช้เวลาทั้งหมด ๗ ปีครับ
ผมเข้าใจท่านครับ ที่ศาลท่านพิพากษาก็ว่าตามกฏหมายที่นายทะเบียนใช้ดุลพินิจใด้เพราะกฏหมายเขียนไว้อย่างนั้น
แต่ผมมองในเรื่องกฏหมายที่ระบุคำว่า ดุลย์พินิจไว้ มันไม่ควรมี หรือถ้ามีก็ต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนมากกวานี้ให้ผู้บังคับใช้กฏหมายปฏิบัติเช่นเดียวกันทั้งประเทศ ไม่ใช่ว่ากฏหมายฉบับเดียวกัน ข้อความในกฏหมายเหมือนกัน แต่ผู้บังคับใช้แต่ละท้องที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจจนเป็นเหมือนการเลือกปฏิบัติ ประเทศไทยเป็นรัฐเดียวนะครับ เพราะฉนั้นกฏหมายฉบับเดียวกันเมื่อผู้ใช้สองคนที่มีคุณสมบัติเหมือนกันน่าที่จะได้รับผลทางกฏหมายที่เหมือนกัน นี่อะไรคนมีคุณสมบัติครบเหมือนกันคนหนึ่งขอได้ อีกคนขอไม่ได้ คนหนึ่งมีได้สัน้น 1 ยาว 1 อีกคนมีเท่าไหร่ก็ได้แค่รู้จักหรือสนิทกับคนบางคน
มาช้า 555+
ชี้แจงคำจำกัดความกันก่อนครับ
1. คำว่าดุลย์พินิจ หมายความว่า การใช้ความคิดตัดสินใจภายใต้เหตุผลกฎหมาย ระเบียบที่กำหนดไว้ ถ้าใช้ดุลย์พินิจ แล้วไม่มีระเบียบหรือกฎหมายรับรอง เขาเรียกว่า ใช้อำนาจตามอำเภอใจ
2. กรณีสั้น 1 ยาว 1 ที่ชอบอ้างเป็นดุลย์พินิจ ศาลเคยตัดสินว่า ไม่สามารถนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้บังคับกับประชาชนได้ เป็นหนังสือเวียนแจ้งภายในหน่วยงานว่า "อยากให้ประชาชนมีแค่สั้น 1 ยาว 1" ซึ่งเป็นเรื่องที่นายทะเบียนต้องแบกความเสี่ยงในการใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมาย หรือระเบียบกำหนด และการอนุญาตหรือไม่อนุญาต ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง
3. คำสั่งทางปกครอง สามารถอุธรได้ ฟ้องศาลปกครองได้ แก้ไขคำสั่งทางปกครองได้ และในขณะเดียวกันถ้านายทะเบียนใช้ดุลย์พินิจไม่ถูกก็เท่ากับใช้อำนาจตามอำเภอใจ อาจเข้าข่ายถูกฟ้องคดีอาญาถ้าผู้ร้อง มองว่าถูกกลั่นแกล้งไม่เป็นธรรม เลือกปฎิบัติ
4. กรณีพี่นายกระจง เราก็เคารพในคำตัดสินของศาลเสมอครับ มีแต่ฝ่ายนายทะเบียนนั้นแหละที่พยามใช้ทุกวิถีทาง เพื่อที่จะแถไปเรื่อย
ปัญหามันมีอยู่ข้อเดียวครับ เลือกทางไหน แต่ไม่ว่าเลือกทางไหนมันไม่ผิดครับ เพราะถือเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ไปบีบบังคับให้เลือกไม่ได้ ไม่งั้นก็เข้าข่าย ตัดสินคนตามอำเภอใจ ซึ่งมันก็แย่พอ ๆ กับใช้อำนาจตามอำเภอใจ ดีกว่าตรงที่ไม่ต้องขึ้นศาล 5555+
ที่ต้องเข้ามาตอบเพราะผมมาตอบในฐานะคนยุชาวบ้านฟ้องนายทะเบียนครับ
แต่เป็นแค่คนยุนะครับ คนฟ้องคือพี่นายกระจง คนให้คำปรึกษามีผู้การสุพินท์นำทีม