เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 30, 2024, 04:22:03 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลำกล้อง .45 บวม  (อ่าน 5707 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
tao bangkhaen
Hero Member
*****

คะแนน 354
ออฟไลน์

กระทู้: 3452


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 28, 2015, 12:38:18 PM »

อ๋อ...สรุปว่า ไอ้ที่มันบวมเนี่ยะ  สมมุติว่า มีหัวกระสุนเดิมค้างอยู่    แล้วยิงอัดเข้าไปอีกลูก  จุดทีี่บวม ไม่ใช่อยู่ระหว่าง ลูกที่ 1 กับลูกที่2  แต่ถ้าเป็นอย่างที่อาจารย์ว่า คือ  มันบวม หลังหัวกระสุนลูกที่สองใช่ไหมครับ Huh  ผมเข้าใจถูกไหมครับ
เพราะอาจารย์บอกว่า ดินขับมันเผาไม่หมด มันเผาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะส่งหัวพ้นลำกล้องออกไป  ก็แสดงว่า เป็นดินขับของกระสุนลูกที่สอง ใช่ไหมครับ .............
ถ้าเป็นงั้นจริง กระทู้นี้ ก็ให้ความกระจ่างกับอีกหลายๆ ท่านเลยนะครับ ....เพราะผมเชื่อว่า หลายๆ ท่าน เข้าใจเหมือนพี่ยุทธ64 กันหลายท่านเลย ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ให้ตัวอย่าง และ ขอบคุณท่านอาจารย์ที่ให้ความกระจ่างครับผม... 
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #16 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2015, 09:44:11 PM »

การเคลื่อนที่ภายในลำกล้องยาว 20 นิ้วของหัวกระสุน 5.56 มม.นาโต
สีเขียว คือแรงอัดในลำกล้อง
สีฟ้า   คือความเร็วหัวกระสุน
สีแดง  คือการเดินทางของหัวกระสุน

บันทึกการเข้า
Earthworm
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 211
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1359


« ตอบ #17 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2015, 09:52:45 PM »



   บวมจากแรงอัด ก็ P = f/a  ใช่มั้ยครับ คืนครูไปหมดแล้ว ไหว้
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #18 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2015, 09:10:12 AM »

วัสดุทุกชนิดจะมีค่า Yield strength ของมันอยู่  ถ้าแรงอัดภายในลำกล้องยังต่ำกว่า Yield strength เมื่อหัวกระสุนวิ่งผ่านลำกล้อง ลำกล้องจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย แล้วหดกลับขนาดเดิม   แต่ถ้าแรงอัดเกินค่า Yield strength จะเกิดอาการที่ภาษาช่างเรียกว่า Plastic deformation หรือการเปลี่ยนรูปอย่างถาวร  ถ้าแรงอัดสูงขึ้นไปอีก ก็จะขยายตัวขึ้นจนมองเห็นด้วยตาว่ามีอาการบวม ถ้าสูงกว่านั้น ก็จะเริ่มฉีกขาด
บันทึกการเข้า
Earthworm
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 211
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1359


« ตอบ #19 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2015, 02:04:41 PM »



   ถ้าฉีกขาดจากแรงอัดที่ว่า ลำกล้องมันจะแตกผ่าเกรน หรือแตกตามเกรนครับ เหมือนได้กลับไปเรียนใหม่เลยครับ  Grin   ไหว้
บันทึกการเข้า
rocha
Full Member
***

คะแนน 8
ออฟไลน์

กระทู้: 175


« ตอบ #20 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2015, 04:20:41 PM »

ปรึกษาท่านนี่ ครับ ซ่อมได้ 081 897 4646
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #21 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2015, 05:37:37 PM »



   ถ้าฉีกขาดจากแรงอัดที่ว่า ลำกล้องมันจะแตกผ่าเกรน หรือแตกตามเกรนครับ เหมือนได้กลับไปเรียนใหม่เลยครับ  Grin   ไหว้

ไม่ทั้งสองอย่างครับ
เพราะเป็นลำกล้องมีเกลียว จึงมักจะแตกตามแนวร่องเกลียวซึ่งเป็นจุดอ่อน
บันทึกการเข้า
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #22 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2015, 06:07:16 PM »

ผู้การพอจะมีภาพของอุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันสี่หมื่นสามพันปอนด์นี้ไหมครับ เพราะผมเปรียบเทียบดูกับอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่ผมทำอยู่ทนแรงดันได้สองหมื่นสองพันปอนด์เหล็กก็หนามากแล้วครับ เลยอยากเห็นเจ้าเครื่องมือที่ใช้วัดแรงดันนี้นะครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #23 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2015, 06:32:03 PM »

ผู้การพอจะมีภาพของอุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันสี่หมื่นสามพันปอนด์นี้ไหมครับ เพราะผมเปรียบเทียบดูกับอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่ผมทำอยู่ทนแรงดันได้สองหมื่นสองพันปอนด์เหล็กก็หนามากแล้วครับ เลยอยากเห็นเจ้าเครื่องมือที่ใช้วัดแรงดันนี้นะครับ

คนละแบบกันครับ
แรงอัดในงานขุดเจาะน้ำมัน เป็นเพรสเชอร์ต่อเนื่อง  ส่วนลำกล้องปืนเป็นแรงอัดชั่วเสี้ยววินาที จึงไม่ต้องหนามาก

อุปกรณ์วัดแรงอัด  สมัยก่อนเป็นแท่งทองแดงขนาดประมาณ 1.5 มม. ใช้วิธีเจาะลำกล้องตรงรังเพลิง แล้วสอดแท่งทองแดงเข้าไป ปิดด้านบนไม่ให้แท่งทองแดงยกตัวขึ้นมาได้  พอยิงแล้วก็วัดว่าแท่งทองแดงหดตัวขนาดไหน คำนวณออกมาเป็นแรงอัด
สมัยนี้ใช้ทรานดิวเซอร์  ชิ้นขนาดปลายเล็บ แปะกับลำกล้องปืน ต่อสายไฟมาเข้าเครื่อง คล้ายเครื่องคิดเลข   ง่ายกว่าแท่งทองแดง วัดกับปืนกระบอกไ/หนก็ได้ ไม่ต้องเจาะลำกล้อง และยังบอกเป็นกราฟได้ด้วยว่าแรงอัด ณ เวลาใด เป็นเท่าใด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2015, 06:48:04 PM โดย สุพินท์ - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
Earthworm
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 211
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1359


« ตอบ #24 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2015, 08:26:55 AM »



   ถ้าฉีกขาดจากแรงอัดที่ว่า ลำกล้องมันจะแตกผ่าเกรน หรือแตกตามเกรนครับ เหมือนได้กลับไปเรียนใหม่เลยครับ  Grin   ไหว้

ไม่ทั้งสองอย่างครับ
เพราะเป็นลำกล้องมีเกลียว จึงมักจะแตกตามแนวร่องเกลียวซึ่งเป็นจุดอ่อน

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ
        ทึ่งในความสามารถของคนรุ่นก่อนๆครับ  เคยอ่านของอ.หรือ อ.ผณิศวร ที่เขียนเรื่องวัดความเร็วกระสุน ก็ทึ่งแล้ว มาเจอเรื่องวัดความดันอีก คนสมัยก่อนเก่งจริงๆครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #25 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2015, 11:18:51 AM »



   ถ้าฉีกขาดจากแรงอัดที่ว่า ลำกล้องมันจะแตกผ่าเกรน หรือแตกตามเกรนครับ เหมือนได้กลับไปเรียนใหม่เลยครับ  Grin   ไหว้

ไม่ทั้งสองอย่างครับ
เพราะเป็นลำกล้องมีเกลียว จึงมักจะแตกตามแนวร่องเกลียวซึ่งเป็นจุดอ่อน

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ
        ทึ่งในความสามารถของคนรุ่นก่อนๆครับ  เคยอ่านของอ.หรือ อ.ผณิศวร ที่เขียนเรื่องวัดความเร็วกระสุน ก็ทึ่งแล้ว มาเจอเรื่องวัดความดันอีก คนสมัยก่อนเก่งจริงๆครับ ไหว้

ก็เป็นความรู้ทางฟิสิคส์  ที่สะสมกันมาตั้งแต่ยุคนิวตัน ที่ยังไม่มีปืนด้วยซ้ำ
เช่น ถ้ารู้น้ำหนักหัวกระสุน รู้น้ำหนักของเป้าที่หัวกระสุนไปฝัง หาทางวัดระยะที่เป้าถูกหัวกระสุนผลักถอยหลังไปได้ เซอร์ไอแซค นิวตัน ก็คำนวณความเร็วกระสุน กับพลังงานออกมาได้โดยไม่ต้องใช้โครโนกราฟ
บันทึกการเข้า
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #26 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2015, 11:42:24 AM »

ผู้การพอจะมีภาพของอุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันสี่หมื่นสามพันปอนด์นี้ไหมครับ เพราะผมเปรียบเทียบดูกับอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่ผมทำอยู่ทนแรงดันได้สองหมื่นสองพันปอนด์เหล็กก็หนามากแล้วครับ เลยอยากเห็นเจ้าเครื่องมือที่ใช้วัดแรงดันนี้นะครับ

คนละแบบกันครับ
แรงอัดในงานขุดเจาะน้ำมัน เป็นเพรสเชอร์ต่อเนื่อง  ส่วนลำกล้องปืนเป็นแรงอัดชั่วเสี้ยววินาที จึงไม่ต้องหนามาก

อุปกรณ์วัดแรงอัด  สมัยก่อนเป็นแท่งทองแดงขนาดประมาณ 1.5 มม. ใช้วิธีเจาะลำกล้องตรงรังเพลิง แล้วสอดแท่งทองแดงเข้าไป ปิดด้านบนไม่ให้แท่งทองแดงยกตัวขึ้นมาได้  พอยิงแล้วก็วัดว่าแท่งทองแดงหดตัวขนาดไหน คำนวณออกมาเป็นแรงอัด
สมัยนี้ใช้ทรานดิวเซอร์  ชิ้นขนาดปลายเล็บ แปะกับลำกล้องปืน ต่อสายไฟมาเข้าเครื่อง คล้ายเครื่องคิดเลข   ง่ายกว่าแท่งทองแดง วัดกับปืนกระบอกไ/หนก็ได้ ไม่ต้องเจาะลำกล้อง และยังบอกเป็นกราฟได้ด้วยว่าแรงอัด ณ เวลาใด เป็นเท่าใด



ขอบคุณครับผู้การ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 22 คำสั่ง