https://www.facebook.com/profile.php?id=100002408102356&fref=tsปรเมศวร์ อินทรชุมนุม
2 hrs ·
เป็นอันว่ากระบวนการนำพยานหลักฐานขึ้นรื้อฟื้นคดีใหม่ของคุณครูจอมทรัพย์เสร็จสิ้นแล้ว
ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องของศาลฎีกาที่จะพิจารณามีคำสั่งยืนตามคำพิพากษาเดิมหรือพิพากษาใหม่
เราคงไม่ก้าวล่วงดุลยพินิจของตุลาการชั้นผู้ใหญ่นะครับ แต่ที่อยากจะคุยกับเพื่อนนักกฎหมายเพื่อเป็นกรณีศึกษาในวันนี้
คือ คดีนี้เดิมยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างนายสับ วาปี เป็นคนขับรถทะเบียน บค ๕๖ มุกดาหาร ชนผู้ตาย
แต่เวลาขึ้นศาลกลับไม่นำนายสับมาเบิกความ เพราะคดีนี้มีความสำคัญที่ต้องฟังประกอบว่ารถคันไหนที่ชน
ซึ่งนายสับที่บอกว่าขับรถอีกคันที่ชน นายสับจึงเป็นพยานสำคัญที่จะฟังประกอบให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
และรถยนต์คันที่ชนก็มิได้หยิบยกมาพิสูจน์ว่าเป็นคันที่ชนจริงซึ่งเป็นพยานที่สนับสนุนให้น่าเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น
แต่กลับนำเสนอว่ารถคันหมายเลขทะเบียน บค ๕๖ สกลนคร ไม่มีร่องรอยเฉี่ยวชน และมีรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งภาครัฐและเอกชน อันนี้เพื่อนนักกฎหมายต้องดูด้วยนะครับว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ขึ้นทะเบียนไว้กับศาลหรือไม่
รวมทั้งวิธีการตรวจตรวจอย่างไร ซึ่งในกฎหมายกำหนดว่าผู้เชียวชาญต้องใช้ความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ของตนเองเป็นหลัก
ในการให้ความเห็น ซึ่งความรู้เหล่านี้ต้องมีหลักเกณฑ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ หากผู้เชี่ยวชาญบอกไม่พบรอยเฉี่ยวชน
จึงต้องถามต่อไปว่า ร่องรอยที่เกิดเมื่อสิบเอ็ดปีมันจะเหลือให้เห็นหรือไม่ แล้วรอยรั้วลวดหนามที่จำเลยอ้างไปเฉี่ยวชนมามันหายไปไหน
การตรวจพยานหลักฐานทำเมื่อใด ทำไมต้องมาทำภายหลังยื่นคำร้อง เพราะเท่ากับมิใช่เป็นพยานหลักฐานใหม่ซึ่งควรจะมีอยู่ก่อนการยืนคำร้อง
ซึ่งก็ผิดหลักการรื้อฟื้นคดี ที่ควรจะมีพยานหลักฐานใหม่ก่อนการยืนคำร้อง ส่วนพยานบางปากที่เห็นน่าจะเป็นพยานที่เคยเบิกความแล้ว
หรือพยานที่เคยอ้างไว้แล้วแต่ไม่นำมาสืบ หรือรู้ว่ามีอยู่แล้วมาตั้งแต่ต้นแต่ไม่อ้าง ก็มิใช่พยานหลักฐานที่อยู่ในเกณฑ์ของการรื้อฟื้นคดี
แต่อย่างไรก็ตามศาลมีอำนาจที่จะให้นำสืบได้ ที่ผมตั้งข้อสังเกตมานี้ก็เพียงเพื่อให้เพื่อนทนายความ พนักงานสอบสวน อัยการ
และนักศึกษากฎหมาย ลองใช้เป็นกรณีศึกษาในการสอบสวนคดีของพนักงานสอบสวน การสั่งคดีของอัยการ
และการยื่นคำร้องในการรื้อฟื้นคดี หรือการอ้างและรับฟังพยานหลักฐานของทนายความ
เพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมต่อไป ถ้าเราละเลยต่อหลักการที่สำคัญเหล่านี้ ไม่ศึกษาเป็นกรณีตัวอย่าง
เราคงต้องพิจารณาคดีอาญาในศาลพิพากษาถึงที่สุดเป็นรอบที่สองกันอีกหลายเรื่อง