ขอ นุญาต เจ้าของกระทู้ นะ ครับ
จารย์ จอย ยื่นขอโฉนด ต้องทำอย่างไร บ้าง ครับ
ยังเหลือ อยู่ 2 ไร่ กว่า ๆ ที่ยังเป็น ภบท 5 อยู่ อะ ครับ
ข้างๆ รอบ ๆ เป็น โฉนด หมดแล้ว ครับ
https://www.facebook.com/PanaLLaw/posts/645828075512738องค์คณะ
#กรณีโอนโฉนดไขว้สับกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2511.. โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง ซึ่งเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน
ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กันมาหลายทอดโดยโอนโฉนดไขว้สับกันด้วยความเข้าใจผิดแต่โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดิน
ถูกต้องตลอดมาดังนี้ แม้จำเลยจะมีชื่อในโฉนด ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจำเลยมิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่
โจทก์ย่อมขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแลกเปลี่ยนกันและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงตามความจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6710/2538.. เดิมที่ดินตามโฉนดเลขที่ 573 และ 574 เป็นของเจ้าของคนเดียวกันได้มีการโอนกรรมสิทธิ์
เปลี่ยนมือกันมาหลายทอดโดยโอนโฉนดที่ดินไขว้กันด้วยความเข้าใจผิด โจทก์เจตนาซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 573
แต่ได้จดทะเบียนรับโฉนดเลขที่ 574 ส่วนจำเลยมีเจตนาซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 574 แต่ได้จดทะเบียนรับโอนโฉนดเลขที่ 573 จากผู้ขาย
แม้จะได้มีการจดทะเบียนชื่อจำเลยเป็นเจ้าของในโฉนดที่ดินเลขที่ 573 แต่เมื่อการมีชื่อจำเลยในโฉนด
เป็นเพราะความสำคัญผิดของจำเลยและเจ้าของที่ดินเดิมซึ่งได้ยึดถือโฉนดไขว้กันมาตั้งแต่ต้นเช่นนี้
จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วมายันโจทก์มาได้ไม่
โจทก์ย่อมให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 573แลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินเลขที่ 574 และจดทะเบียนกรรมสิทธิ์
ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงความจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2536.. โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามต่างรับโอนที่ดินที่มีโฉนดไขว้สับกัน
และต่างฝ่ายต่างครอบครองที่ดินที่ตนรับโอนมาเกินกว่า10 ปี ดังนี้ ทั้งสองฝ่ายจึงต่างได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้รับโอน
และครอบครองมาแม้จำเลยทั้งสามจะมีชื่อในโฉนดที่ดินที่โจทก์ครอบครอง ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ที่จำเลยทั้งสามมิได้มีเจตนารับโอนไม่ได้ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิขอบังคับให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนด
โดยแลกเปลี่ยนกันและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้