ระหว่างการแปรรูปพลังงานมันสูญเสียไปมากครับระยะไม่ถึง 100 กิโลเสียไปเป็นล้านวัตต์ เราคงไม่สามารถเอาสถานีขาร์ทมาตั้งข้างๆโรงไฟฟ้าได้และคงไม่สามารถตั้งโรงไฟฟ้ากระจายไปตามพื้นที่ได้
กำลังที่ผลิตได้กว่าจะถึงปลายทางมาชาร์ทรถกายเป็นความร้อนไปเยอะนี่ก็ไม่ทำให้โลกร้อนน้อยลง มีงานวิจัย ดร. นาซาคนหนึ่งเขียนไว้
ไฟฟ้าผลิตตลอดเวลาใช้หรือไม่ใช้ก็ต้องผลิตลอยๆไว้ต้นทุนมันก็วิ่งไปเรื่อยๆ นอกจากว่าจะมีระบบจัดเก็บ (storage) ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเรายังไปไม่ถึงจุดนั้น
ถ้ามีโรงนิวเคลียร์สักสองสามโรงนี่น่าจะดีนะเอามาชาร์ทรถไฟฟ้า
10 KW/Km. Loss อะไรมากมายขนาดนั้นครับ
โรงไฟฟ้าที่กระจายไปตามพื้นที่ ก็โซลาร์รูฟทอป/กังหันลม ไงครับ โรงไฟฟ้าที่ควรจะเดิน 24/7 ก็คือโรงสตีมครับ ใช้ไม่ใช้ก็ต้องเดิน
EGAT ถึงต้องทำโรงไฮโดรแบบสูบกลับ เพื่อเอาไว้เป็นแบตเตอรี่ของระบบตัวเอง
แต่..
เดี๋ยวยายจะว่ามาพากระทู้ยายออกทะเล
ที่ผมอธิบายพี่ยุทธข้างต้น คือ น้ำมันเบนซินที่เอามาขับเคลื่อนรถ กับน้ำมันเบนซินที่เอามาปั่นไฟฟ้า แล้วเอาไฟฟ้ามาขับเคลื่อนรถ
มันเห็นความคุ้มค่าในทางพาณิชย์แล้วครับ รถ 2 โมเดลที่ผมว่า คือคำตอบครับ
ในส่วนอนาคตของระบบไฟฟ้าผมว่าแบตเตอรี่สำหรับบ้านคงมาในอีก 5-10 ปี
ถึงตอนนั้นสองคนตายาย/แผง 20 Kw/อินเวอร์เตอร์ไฮบริด+แบตซักก้อน อยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งการไฟฟ้าครับ