ผมขอกราบอาราธนา หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค เพื่อขออนุญาตหลวงพ่อ เผยแพร่ เรื่องการอธิฐานจิตเดี่ยว ของหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ไว้เป็นกรณีศึกษา ครับ ...
สำหรับท่านอื่นอาจใช้คำว่าปลุกเสก แต่สำหรับผมขอใช้คำว่า " อธิฐานจิต " นะครับ เพราะท่านทำแบบอธิฐานจิตจริง ไม่เหมือนพิธีพุทธาภิเษกของเกจิท่านอื่น ค่อยอ่านตามนะครับว่าทำไมผมถึงเรียกว่าอธิฐานจิตครับ
หลวงพ่อพรหม ท่านมีวิธีการอธิฐานจิตที่แปลกไม่เหมือนกับเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ ลองอ่านเพื่อเปรียบเทียบดูนะครับ
ขั้นที่หนึ่ง ลงธาตุไฟ ท่านจะจุดเทียนชัยที่ขันน้ำมนต์ก่อน เสกน้ำพระพุทธมนต์หลังจากนั้นท่านเอาเทียนมาลงธาตุไฟ วนรอบพระที่จะอธิฐานจิต 9 รอบ ต่อหน ทำ 9 หน
ขั้นที่สอง ลงธาตุดิน ใช้แป้งดินสอพองมาเสกผสมกับน้ำพุทธมนต์ที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วมาเจิมองค์พระ ลงอาการ 32 แล้วก็ทำพิธีเบิกเนตร
ขั้นที่สาม ลงธาตุน้ำ นำน้ำพระพุทธมนต์ที่เสกไว้ประพรมไว้ที่วัตถุมงคลทั้งหลาย
ขั้นที่สี่ ลงธาตุลม ท่านจะเอามือ 2 ข้าง มาแตะจับที่พาชนะใส่วัตถุมงคล ส่งกระแสจิตเพ่งลงไปในวัตถุมงคลในระหว่างนี้ท่านจะลืมตาตลอดทำสมาธิ มองเพ่งไปที่วัตถุมงคล ขั้นตอนนี้จะทำนานมาก ไม่มีใครรู้ว่าแค่ไหนจะพอ
มีเพี่ยงท่านเท่านั้นที่รู้ ท่านเคยบอกเสมอว่า ถ้าเราเห็นแสงสีรุ้ง กระจายอยู่ทั่วบริเวณวัตถุมงคล ย่อมถือว่าใช้ได้แล้ว
ขั้นที่ 5 (สุดท้าย) ปิดผนึก ท่านจะเอาน้ำพระพุทธมนต์ประพรหมและคว่ำขันราด น้ำพระพุทธมนต์จะไม่เหลือเก็บไว้ใช้
ทำทั้ง 5 ขั้นตอน เรียกว่า 1 รอบ ท่านจะทำแค่คืนละรอบเท่านั้น เพราะท่านจะเหนื่อยและเพลียมากในการทำแต่ละครั้ง ถ้าบอกว่าอธิฐานจิต 5 ครั้ง ท่านก็ทำแบบนี้ 5 รอบ ทั้งหมด น้ำพุทธมนต์ ท่านก็ ทำขึ้นใหม่ทุกรอบ ยกเว้นดินสอพอง ที่มาเจิมวัตถุมงคล
ส่วนเทียนชัยหลวงพ่อท่านก็ไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องเป็นเทียนชัยอย่างที่คนอื่นใช้กัน (สีขาว) หลวงพ่อท่านบอกว่าเทียนรุ่นหลัง(สมัยที่ท่านยังอยู่) จะไม่เหมือนเทียนที่ทำตามแบบโบราณ จะทำมาเหมือนกันหมด ต่างกันที่การใส่สี
ความสำคัญจึงอยู่ที่กระแสจิตของผู้ทำ มีความบริสุทธิ์ แรงกล้าหรือเปล่ามีสมาธิหรือเปล่า และทำครบถูกขั้นตอนหรือเปล่าต่างหาก ตรงนั้นสำคัญกว่า ดังนั้นจะเห็นได้ว่าท่านจึงมักทำพิธีหลังเที่ยงคืน และที่กุฏิที่ป่าช้า เพราะเงียบสงบดี ถ้าเด็กวัดใครมารบกวนท่าน ช่วงนั้นจะโดนดุ ไล่ตะเพิดทุกราย แล้วท่านต้องเสียเวลาเริ่มต้นทำใหม่
หลวงพ่อท่านยังบอกว่า ที่ท่านเอามือท่านลงไปสัมผัสวัตถุมงคลเอง แทนการใช้ด้ายสายสิญจน์เนื่องจากว่าการเพ่งกระแสจิต โดยผ่านวัตถุอะไร ถ้าวัตถุนั้นไม่บริสุทธิ์พอ ท่านให้ไปร้อย อาจถึงวัตถุมงคล ไม่กี่สิบ สู้ผ่านจากร่างกายท่านลงสู่วัตถุเลยไม่ได้ให้ร้อยได้ร้อย
แล้วที่สำคัญเป็นจุดที่ผมว่าน่าคิด คือ นอกจากวิธีการที่แตกต่างจากคนอื่นแล้ว เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ ว่าหลวงพ่อท่านไม่รับนิมนต์ไปอธิฐานจิตที่อื่นนอกวัดช่องแค ถ้าหลวงพ่อท่านไม่รักไม่เอ็นดูเป็นพิเศษอย่างหลวงพ่อโอด วัดจันเสน ....
ลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ยุคเก่ากับยุคใหม่นะครับ ยังห่างชั้นกันมากนะครับ
การ ลงจิต นั้นแหละครับ สำคัญที่สุด หาใช่สำคัญจากจำนวนพระที่เข้าปลุกเสกไม่ ผมชอบสะสมพระเครื่องที่พุทธคุณครับ และตลอดเวลา 20 กว่าปี ที่ศึกษาเรื่องนี้มา โดยเปรียบเทียบจากประสบการณ์ด้านพุทธคุณ ทำให้ผมศรัทธาอย่างสนิทใจกับหลวงพ่อองค์ใดองค์หนึ่ง เรียกว่า
ปลุกเสกเดี่ยว ที่ท่านสร้างวัตถุมงคลรุ่นนั้นๆ ตามถนัดของท่านมากกว่าครับ อย่างน้อยที่สุดท่านก็สร้างแจกชาวบ้านฟรีๆครับ หรือร่วมทำบุญสร้างวัด
แล้วแต่จิตศรัทธา ครับ
ดีกว่ามานั่งล้อมวง ท่องคาถา อ้าปากสวด พะงาบ พะงาบ หาได้มีสมาธิแน่วแน่ จดจ่อไม่ .... ( อาจโดนข้อหาชุมนุมเกิน 5 คนได้ )
ด้วยความเคารพครับ วัตถุมงคลจะดี ( ขลัง ) ได้ ต้องดีที่ การลงจิตของผู้สร้าง และศรัทธาของผู้บูชา ครับ ซึ่งมิอาจขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เลย .... ศรัทธา ของท่านอย่างเดียวไม่พอครับ ต้องพึ่งอำนาจที่มองไม่เห็นด้วยครับ .... นั้นคือพลังที่เหนือธรรมชาติ ที่ยังคงสถิตอยู่ในวัตถุ
นั้นๆ พลังงานย่อมไม่มีทางสูญหาย ( ขลัง ) มีแต่เพียงเจือจาง แตกแยก ( เสื่อม ) นั่นเอง