โดยปรกติ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน
การกำหนดวันหมดอายุที่แสดงในฉลาก หรือ บรรจุภัณฑ์
จะมีการกำหนด ค่าเผื่อความปลอดภัยไว้บ้าง
คือ ในวันที่แสดงว่าหมดอายุ ที่แสดงบนบรรจุภัณฑ์ สินค้าต้องปลอดภัยจริงๆ
แต่จริงๆแล้ว หลังวันหมดอายุ นิดหน่อย ก็ยังสามารถกินได้ ถ้าจำเป็น
โดยตรวจคร่าวๆ เช่น ดม หรือ ดู รูปลักษณ์ สี ก่อน
ว่าแปลก หรือเปลี่ยนไปจากปรกติที่เคยกินไหม
ถ้าปรกติ ก็สามารถกินได้***ถ้าจำเป็นจริงๆเท่านั้น***
ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง
.................................
ในทางกลับกัน สำหรับบางผลิตภัณฑ์ ถึงจะไม่หมดอายุ
แต่ ที่บรรจุภัณฑ์ มีความผิดปรกติ
เช่น บวม บุบ ฉีกขาด ฯลฯ ที่ไม่ปรกติ
***ไม่ควรกินเด็ดขาด***
นี่ผู้รู้จริง พี่จ่านี่ คริๆ
วันหมดอายุที่ติดข้างสินค้า จริงๆแล้ว ใช่ว่าใครจะกำหนดว่าวันที่เท่าไหร่ แล้วก็พิมพ์ติดเข้าไปได้ มันต้องผ่านพิธีการพอสมควร (เท็จจริงแค่ใหน ช่วยแก้แล้วกันครับ) เอาตามที่รู้ๆมา
เพราะการที่จะผลิตสินค้า (ส่วนมากแล้ว จะเป็นสินค้า บริโภค) ที่กำหนดให้ต้องแสดงวันหมดอายุ
และคร่าวๆว่า อย.จะเป็นผู้อนุญาติ ให้ใช้วันหมดอายุสินค้าชนิดนั้นๆ ตามที่ผู้ผลิตร้องขอไป
ส่วนการเสียหายของสินค้านั้น แม้นว่ายังไม่หมดอายุ ก็เสียได้ ถ้า
1.การเก็บสินค้า ไม่ถูกต้องตามวิธีการเก็บ ของสินค้าแต่ละชนิดนั้นๆ
2.การผิดพลาดจากการผลิตสินค้า จากโรงงาน และหลุดออกมาจำหน่ายอาจโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็แล้วแต่ (เป็นความซวยของผู้บริโภคไป โดยเฉพาะ ไทยแลนด์) ซึ่งมักจะได้บริโภคสินค้าที่ไม่ผ่าน QC ของต่างประเทศ ฝรั่งมันไม่เอา แต่มัน(บริษัท นำกลับมาขายคนไทย
3.การขนส่ง ก็สามารถทำให้สินค้าเสียหายได้ หรือเสียก่อนหมดอายุได้
การเลือกซื้อสินค้า ให้ดูวันหมดอายุ เป็นดีครับ และดูละเอียดถึงลักษณะของสินค้าด้วย
สินค้าที่ใกล้หมดอายุ หรือเพิ่งหมดอายุ ถ้ายังไม่เน่าเสียหาย ก็ยังเป็นสินค้าที่ดีครับ บริโภคได้ โดยเฉพาะสินค้าสดๆ ที่มีอายุการเก็บสั้นๆ แต่ต้องดูลักษณะก่อน กินได้ ประหยัดเงินด้วย แต่สินค้าที่มีอายุการเก็บนานๆ อันนี่ไม่แนะนำ