ครับ
สงสัยจริงว่าถ้าเปิดสนามกีฬาแห่งชาติ
แล้วให้ทั้ง 2 ฝ่าย
เข้าต่อสู้กันแบบเป็นเรื่องเป็นราว
ปิดประตู
จะมีคนตีกันอีกมั้ย
ฟังผกก.เปิดใจ
คนตายส่วนมากเด็กเรียนไม่รู้ทางหนีทีไล่
พวกหัวโจกเป็นพวกนกรู้ครับ
เอาตัวรอดเสมอ
ท่าจะจริง
เรื่องจริงครับ คนบาดเจ็บหนักๆ หรือที่ตายตามป้ายรถเมล์ บนรถเมล์ หรือท้องถนน เป็นนักเรียนที่เรียนดีไม่สนใจกับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถาบันไหนก็ตาม เด็กที่โดนตีกะบาลแยกมักจะเป็นเด็กเรียนแทบทั้งนั้น
จากที่เคยเจอมาสมัยเรียนมัธยม จะมีฟุตบอลประเพณี ระหว่างสวนกุหลาบฯกับปทุมคงคา ไม่ว่าใครแพ้ใครชนะ ตีกันทุกปี จนมาปีหนึ่งบอลแข่งเสร็จ ตำรวจคุมฝ่ายปทุมคงคาไม่ให้ออกนอกสนามศุภฯ จนกว่าสวนกุหลาบฯคนสุดท้ายไม่อยู่ในพื้นที่บริเวณสนามศุภฯรวมถึงสยามสแควร์ จึงปล่อยนักเรียนปทุมคงคากลับบ้านได้
และอีกฟุตบอลจตุรมิตรสามมัคคี ตีกันอุตลุดไม่ว่า สวนฯตีกับเทพฯ ตีกับอัสสัมฯ ตีกับคริสเตียน ซัดกันนัวเนียไม่รู้ใครเป็นใคร ตีกันทุกปี ขนาดเย้าเยือนยังกัดกันอย่างกับหมา หัวร้างข้างแตกไปตามๆกัน เีรียนรด.มันยังตีกันเลยครับ มันไม่ตีกันอยู่งานเดียวคือวังวางพวงมาลารัชกาลที่ห้า ปัจจุบันทั้งสี่โรงเรียนเลิกตีกันแล้วครับ เลิกกันมาหลายปีแล้ว เพราะทั้งอาจารย์และนักเรียนร่วมมือกันอย่างดี ถ้าอยากได้ข้อมูลลองสอบถามอาจารย์ฝ่ายปกครองทั้งสี่สถาบันได้เลยครับว่าทำอย่างไรที่ เด็กๆเหล่านี้เกิดความสามัคคีกัน
เท่าที่สังเกตุ เด็กสี่โรงเรียนที่ตีกันในงานฟุตบอลประเพณี คือ เหล้าครับ มันแอบเอาเหล้าไปกินกันในสนาม พอบอลเริ่มแข่งความรุนแรงก็เริ่มขึ้นไม่มีใครยอมใครในสนาม กองเชียร์มีเพลงปลุกใจล้อเลียนกันจนเลยเถิด พอเหล้าออกฤทธิ์เท่านั้น สงครามก็เกิดขึ้น เริ่มจากปาขวดกันก่อน...ต่อๆไปก็เป็นหมัดกับเห็บตามมา....หนักสุดก็เครื่องทุ่นแรง..จำพวกฟุตเหล็ก...ไม้หน้าสาม.. ไอ้พวกตีก็ตีกันไปไอ้พวกเชียร์ก็เชียร์กันไป อีกกรณีคือ บอลแพ้คนไม่แพ้ และเขม่นกันเอง
แต่สำหรับนักเรียนอาชีวะฯ นั้นเท่าที่อ่านตามข่าวทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีกันอยู่เรื่องเดียว คือ ศักดิ์ศรีแต่ละสถาบันฯ สมัยก่อนโรงเรียนเหล่านี้รับเด็กนักเรียนที่เรียนมัธยมต้นคะแนนไม่ถึงเข้าเรียนต่อมัธยมปลาย กับเด็กที่ถูกไล่ออกจาโรงเรียนสายสามัญ ดังนั้นเด็กเหล่านี้จึงมีปมด้อยทางสังคม เหมือนกับประชาชนชั้นสอง และถูกปลูกฝังมาตลอด แม้กระทั่งเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 16, 6 ตุลาฯ 19 นักเรียนอาชีวะฯเหล่านี้เป็นทัพหน้าไล่ตีกับตำรวจทหารที่เข้ามาปราบปรามในสมัยนั้น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการชอบใช้ความรุนแรงมาตลอด ดังนั้นการแสดงออกเช่นนี้เป็นการบอกให้สังคมยอมรับ แต่ไม่มีใครชี้แนะทางที่ถูก มันจึงเป็นปัญหากับตัวเด็กเองและสถาบันฯมาจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่องปมด้อย เป็นเรื่องที่จะละเลยไม่ได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปมด้อยต่างๆเหล่านั้นให้หมดไป จะด้วยวิธีใดก็แล้วแต่ ยกตัวอย่างเช่น จัดหาทุนเล่าเรียนให้กับนักเรียนเหล่านี้ หรือประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆในการรับนักเรียนที่เรียนดีให้เข้าศึกษาต่อในคณะที่ตนเองเรียนมาหรือภาควิชาต่างๆ เป็นต้น แม้กระทั่งเมื่อเด็กจบไปแล้วในสายอาชีพการงานนั้นยังด้อยกว่าพวกจบจากมหาวิทยาลัยถึงแม้ว่าจะเรียนมาเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ต้องหาวิทยะฐานะให้กับเด็กตั้งแต่ในโรงเรียน
การแก้ปัญหาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และมุมมองของตำรวจจะไม่เหมือนกับมุมมองของนักการศึกษา เอาเด็กสองโรงเรียนมาจับมือกัน แลกดอกไม้กัน มันเหมือนสร้างภาพมากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน