คำว่า "ภาษาดิ้นได้" จริงๆแล้ว ไม่ใช่เกิดจากการสร้างคำใหม่ หรือเอาคำเดิมไปเปลี่ยนรูปแบบของวรรณยุกต์ ( รูป และเสียง) ซึ่งผิดหลักของภาษา
ความหมายของคำว่า "
ภาษาดิ้นได้ " น่าจะะหมายถึง ความหมายของคำหรือพยางค์เดียวกัน ที่เขียนเหมือนกัน
แต่เมื่อรวมเป็นประโยคหรือประกอบประโยคแล้ว สามารถที่จะตีความหมาย ให้ออกไปในลักษณะได้หลายๆ ความหมาย
ตัวอย่างที่ชัดที่สุด คือ ภาษาที่ใช้ในทางกฎหมาย และ โดยเฉพาะที่เราได้ยินบ่อยๆคือ การตีความของกฎหมายต่างๆ
ที่พวกนักการเมือง ชอบยอกย้อนกัน บางครั้งต้องกลับไปดูที่เจตนาของการเขียน ตั้งแต่เริ่มหรือเมื่อร่าง เป็นองค์ประกอบเลยก็มี
แต่เนื่องจากภาษามีระบบกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เพราะฉะนั่นคำแต่ล่ะคำต้องย่อมต้องมีที่มาและที่ไป
ถ้าไม่ใช่มีรากศัพท์ดังเดิม เช่น คำไทย คำบาลี คำสันสกฤต ฯลฯ ซึ่งสามารถสร้างคำเกิดใหม่ได้โดยการ สนธิ ,สมาส หรือประสม
หรือมิฉะนั่นก็คงยืมเช่นคำจากภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ทับศัพท์ เช่นที่ "คุณต๊อด" ยกตัวอย่าง
หรือที่เราใช้ประจำวันแม้กระทั่งคำว่า "ริม" ที่หมายถึงขอบ ก็มีที่มาจากภาษาต่างประเทศเช่นกัน
ตัวอย่างง่าย ๆ ของการวิวัฒนาการด้านภาษา ที่เริ่มจะได้ยินและเป็นข่าวเร็วๆนี้ เช่น การกระชับพื้นที่ ฯลฯ
หรือชื่อ พระราชกรณียกิจฯ ในโครงการหลวง เช่น ฝ่ายแม้ว , แก้มลิง ฯลฯ เป็นต้น ...
ส่วนศัพท์วัยรุ่นหลายคำๆ ก็ถือว่า เป็นการประสมคำที่เรียกว่า วิวัฒนาการ ของภาษาเช่นกัน เช่น เด็กซิ่ง, เด็กแนว ฯลฯ ........นึกไม่ออกแล้ว..
จริงๆ การประสมคำที่ทำให้เกิดหรือเรียกว่า การวิวัฒนาการของภาษา เท่าที่ทราบเริ่มมีการเก็บข้อมูลโดย ราชบัณฑิตยสถาน เช่นกัน ...แต่ไม่ได้เผยแผ่อย่างเป็นทางการเท่านั่นเอง
อ่านผ่านๆ บวกกับพอจำได้เล็กๆน้อยๆ เลยนำมาเล่าสู่กันฟัง .ฝากๆกันไว้ ครับ ..