เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 16, 2024, 01:47:05 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใกล้วันตรุษจีน...เตรียมสิ่งมงคลกัน ความหมายของมงคลอาหาร  (อ่าน 10022 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Audy452 ♥ รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1180
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14952



« ตอบ #15 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2007, 10:11:57 PM »

แล้วขนมเข่งขนมเทียนล่ะครับ...พี่วัฒน์ช่วยบอกความหมายด้วยสิครับ
บันทึกการเข้า

วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2007, 11:04:40 PM »

 Smiley ขนมเข่ง-ขนมเทียนจริงๆ แล้วจะใช้ไหว้เฉพาะ เทศกาลสารทจีน แต่โบราณตรุษจีนที่ประเทศจีนไม่ได้ไหว้ด้วยขนมเข่งขนมเทียน แต่จะไหว้ด้วยขนมโบราณห้าอย่างที่เรียกว่า ตัง เปี้ย หมี่ หมั่ว กี แต่เนื่องจากมาในประเทศไทยหาส่วนผสมที่ทำขนมเหล่านั้นไม่ได้ จึงปรับมาไหว้ด้วยขนมเข่งขนมเทียน

"วันหยี่สี่คือวันเจ้าขึ้นสวรรค์ นิยมเอาขนมเข่งขนมเทียนมาไหว้ก่อน เพื่อมีความเชื่อกันว่า เจ้าขึ้นไปรายงานสวรรค์ต่อเง็กเซียนฮ่องเต้ เจ้าของบ้านจะเอาขนมเข่งขนมเทียนมาไหว้เพื่อแปะปากท่านให้พูดในสิ่งที่ดี เพราะว่ามันเหนียวท่านเคี้ยวแล้วเหนียวจะชมว่าครอบครัวนี้ทำความดี ประสบโชคดี ไปรายงานกับเง็กเซียนฮ่องเต้ ไปรายงานข้างบนบัญชีสวรรค์"

นอกจากการไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ ยังมีความอบอุ่นที่แฝงอยู่ในเทศกาลนี้ "ลูกหลานจะอยู่ไกลแค่ไหนจะกลับมากินข้าวพร้อมกันทั้งครอบครัว พ่อแม่ก็จะทำอาหารที่ดีที่สุดของวันนั้นให้กับลูกหลานกิน อะไรที่ดีที่สุดความอุดมสมบูรณ์ที่สุด กินเพื่อข้ามศักราชใหม่ วันรุ่งขึ้นก็จะไปเที่ยวทั้งครอบครัว อาจจะเริ่มจากการไปขอพรญาติผู้ใหญ่แล้วก็ไปเที่ยว"

 Smiley สรุป ขนมเข่ง-ขนมเทียน คือ ขนมยอดฮิตของเจ้าที่บนสวรรค์ และวิญญานบรรพบุรษ

 Smiley อันนี้เป็น เรื่องราวของ วันตรุษจีน

วันตรุษจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีนนั้น ตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ของจีนตามวันทางจันทคติ พอใกล้ๆ จะถึงสิ้นปี ชาวจีนจะนิยมทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ เรียกว่า ล้างบ้าน กวาดหยากไย่กันแทบทุกซอกมุม ครั้นพอถึงช่วงเทศกาล จะมีการหยุดงาน หยุดกิจการค้า เพื่อทำพิธีไหว้เจ้าที่ ต้องไหว้ 2 วันซ้อน ซึ่งมีไหว้กลางดึกด้วย นอกจากนี้ก็จะได้ใช้เวลาในช่วงนี้ไปเยี่ยมคารวะผู้ใหญ่ญาติมิตรที่เคารพนับถือ และเที่ยวพักผ่อน โดยจะแบ่งเป็นวันจ่าย  วันไหว้  และ วันถือ  ตามลำดับ

         วันจ่าย คือ วันก่อนสิ้นปี 1 วัน ใครจะต้องซื้อหาเตรียมของอะไรแล้วยังไม่เรียบร้อย  ก็ให้ทำให้เสร็จในวันจ่ายก่อนที่ร้านค่าจะหยุดยาว เป็นวันรองวันสุดท้ายของปีเก่า เรียกว่า “ตื่อเส็ก” ตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเทพยดาฟ้าดิน ที่เรียกว่า “เล่าเอี๊ย” ให้ลงมาจากสวรรค์ เพื่อรับการสักการะบูชา
 
         วันไหว้ คือ การไหว้ในวันสิ้นปี วันนี้มีการไหว้ 3 ครั้ง คือตอนเช้ามืดเรียก “ไป๊เล่าเอี๊ย” เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ หมู เป็ด ไก่ สุรา น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง ตามด้วยการไหว้บรรพบุรุษในตอนสาย เรียกว่า “ไป๊เป้บ๊อ” เป็นการไหว้พ่อแม่ที่ถึงแก่กรรมแล้ว การไหว้ครั้งนี้จะต้องไหว้ไม่เกินเที่ยงวัน เครื่องไหว้คืออาหารคาวหวาน สุรา น้ำชา กาแฟต่างๆ รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้าที่ทำด้วยกระดาษ เพื่ออุทิศให้แก่บุคคลเหล่านั้น แล้วไหว้ในตอนบ่าย เรียกว่า “ไป๊ฮ้อเฮียตี๋” เป็นการไหว้ญาติผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ของไหว้ที่ขาดไม่ได้คือ ขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงิน การะดาษทอง และการจุดประทัด
 
         วันถือ ซึ่งคือ วันตรุษจีน นั่นเอง โดยถือกันว่าในวันนี้ทุกคนจะพูดและทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล เช่น ไม่มีการพูดว่ากัน แต่จะกล่าวคำอวยพร "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ ฮวดใช้" แปลเป็นไทยคือ ขอให้โชคดีปีใหม่ นั่นเอง การถืออื่นๆ ที่นิยมว่าถือกัน เช่น ห้ามจับไม้กวาดกวาดบ้าน เพราะอาจเป็นการกวาดสิ่งดีๆ ในบ้านออกไป แล้วกวาดสิ่งไม่ดีเข้ามา วันถือนี้ บางคนก็เรียกวันเที่ยว ซึ่งคงมาจากธรรมเนียมการแต๊ะเอีย ที่พอลูกหลานและลูกจ้างได้เงินแต๊ะเอีย ที่เปรียบ ได้กับโบนัสพิเศษ ก็ไปเที่ยวกัน

          อย่างไรก็ตามใน วันตรุษจีน ถือเป็น ธรรมเนียมที่จะต้องไปไหว้ญาติผู้ใหญ่ เรียกว่า “ไป๊เจีย” และมีการหิ้วส้มไปแลกเปลี่ยนกัน เพราะส้มนี้ มีคำจีนเรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี   การแลกส้ม จึงมีความนัยว่า เอาความโชคดีมามอบให้แก่กัน พร้อมคำอวยพร โดยนิยมกันว่า เอาส้ม 4 ผล ใส่ผ้า เช็ดหน้าผืนใหญ่มาส่งให้เจ้าบ้าน เจ้าบ้านจะรับไว้ แล้วนำส้ม 2 ผล ของแขกขึ้นมาเปลี่ยนเอาส้ม 2 ผล ของที่บ้านผลัดให้แทน บางบ้านที่ใช้ขนมอี๊ไหว้ เจ้า ก็อาจมีการเตรียมขนมอี๊ไว้เลี้ยงแขกด้วย

          ส่วนธรรมเนียม การแต๊ะเอีย นั้น จะมีเฉพาะบ้านที่มีฐานะดี การให้นี้ คือ นายจ้างให้ลูกจ้าง กับให้กันเองในครอบครัว ว่าพ่อแม่ให้ลูกหลาน แต่ถ้าลูกได้ทำงานแล้ว หรือออกเรือนแล้ว ก็จะเป็นฝ่ายให้พ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่ที่ฐานะดี ก็มักจะแต๊ะเอียกลับคืนมา ในจำนวนที่เท่ากัน หรือเพิ่มให้มากขึ้น ได้แต่จะให้เป็นเงินของพ่อแม่เอง ไม่ใช่เอาเงินที่ลูกให้มานั้นให้กลับคืนมา

 หลงรัก ที่มา : http://www.siam-handicrafts.com/Webboard/question.asp?QID=2581
           เครติด : คุณ.ปรีดา ปรัตถจริยา กรรมการที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมเขตสัมพันธวงศ์และกรรมการประชาคมเขตสัมพันธวงศ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2007, 11:07:52 PM โดย Watt » บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1183
ออฟไลน์

กระทู้: 12698



เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2007, 12:11:10 AM »

เฮงๆ ครับ Grin Grin Grin
จารออั่งเปานะครับพี่        Grin Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

คนโง่ มันทำไม่คิด แต่คนชั่ว มันคิดแล้วจึงทำ จึงเรียกว่า คิดชั่ว //by อ.เหลือง

เกิดเป็นคน ทำดีได้ง่ายกว่าเดรัจฉานตั้งเยอะ แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำความดี
toygun
Hero Member
*****

คะแนน 194
ออฟไลน์

กระทู้: 3027



« ตอบ #18 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2007, 12:14:04 AM »

ซองสี้แด้ง..แดง..อิ..อิ..
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 22 คำสั่ง