เท่าที่อ่านมา..แสดงว่า..การยิงเพียงนัดหรือสองนัด หรือการยิงที่ไม่เป็นการประสงค์ต่อชีวิต แต่ยิงไปในลักษณะหยุดยั้ง ( ถ้าหยุดได้จริง ) ย่อมดีกว่าใช่ป่าวคะ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2547
จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายจะใช้มีดแทง จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัว แต่แม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่ต้องหนีการที่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยอาจเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพียงเพื่อยับยั้งผู้ตาย
แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนเล็งยิงไปที่ใบหน้า จึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69
เจอฎีกานี้เศร้าเลย ต้องบอกไม่เคยซ้อมยิง ตกใจกลัว หลับหูหลับตายิง นัดเดียว ..... ไปโดนได้ยังไงก็ไม่รุ๊
จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้น. แสดงว่าจำเลยพอมีเวลาอยู่พอสมควรที่จะเตรียมตัวเตรียมใจ
เลือกยิงได้หลายแห่ง อาจเช่นว่า คนร้านยังอยู่ในระยะห่างพอสมควร ไม่ใกล้จวนตัวมากเกินไป
อย่างนี้เมื่อจำเลยมีเวลาเลือกว่าจะยิงตรงส่วนไหนได้ . แต่ไม่ยิงส่วนต่ำๆของร่างกายเพียงเพื่อให้
เขาหยุดเข้ามา กลับไปยิงบนใบหน้า ศรีษะ ซึ่งถือเป็นอวัยวะสำคัญ แสดงว่าเจตนาหวังฆ่าให้ตาย
ก็จึงเป็นการเกินกว่าเหตุไปครับ เพราะสามารถเลือกยิงเขาให้หยุด . โดยไม่ต้องที่ใบหน้าก็ทำได้ .
** แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ จวนตัว ไม่อาจเลือกยิงตรงไหนของร่างกายได้ทัน เพราะเขาเข้าจู่โจมมาแล้ว
อย่างนี้ แนววินิจฉัยของศาลฎีกายังวางหลักให้ความคุ้มครองอยู่ อย่างเทียบเคียงตามแนวฎีกานี้ครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๑๘ / ๒๕๒๙ ผู้เสียหายจะร่วมประเวณีจำเลย จำเลยไม่ยอม ผู้เสียหายพยายาม
จะถอดกางเกงจำเลย จำเลยจึงดึงมีดคัตเตอร์ออกจากกระเป๋ากางเกงด้านหลัง ในสภาพที่ถูกนอนกดทับพยายามจะข่มขืน จำเลยย่อมไม่มีทางเลือกกระทำต่อส่วนอื่นของร่างกายผู้เสียหาย นอกจากส่วนบน
ของร่างกายซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้กดทับ บาดแผลที่บริเวณที่คอยาว ๑๒ ซม. กว้าง ครึ่ง ซม. ลึก ๑ ซม.
แม้เป็นการกระทำโดยแรงจนมีดคัตเตอร์หัก แต่กระทำเพียงครั้งเดียว ดังนี้เป็นการป้องกัน
พอสมควรแก่เหตุ........ ไม่มีความผิด
และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๑๐ / ๒๕๑๐ โจทก์ร่วมกับพวกดื่มสุราที่ร้านของจำเลยจนมึนเมาแล้วสั่งสุราอีก
ภริยาของจำเลยบอกว่าสุราหมด โจทก์ร่วมได้ลุกขึ้นไปหยิบขวดสุราของจำเลยที่โต๊ะชงกาแฟ ภริยาจำเลย
จึงเข้าแย่ง โจทก์ร่วมได้ทำร้ายภริยาจำเลย พวกของโจทก์ร่วมได้บีบคอจำเลยจนหน้าแหงน จำเลยควานไปพบเหล็กเปิดขวดแล้วเหวี่ยงไป ๑ ทีในขณะชุลมุนอยู่ ไปถูกนัยน์ตาโจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงบอด
การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด
** ดังนั้นต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงของเรื่องที่เกิดด้วยครับ .......
กรณี ไม่เคยยิงปืนมาก่อน เช่นว่าไปคว้าปืนเขามาได้แล้วยิงเพื่อป้องกันตัว ตามความคิดเห็นส่วนตัวจึงเห็นว่าข้อเท็จจริงส่วนนี้ต้องรับฟังเป็นคุณด้วย เพราะเขาไม่เคยยิงปืนมาก่อน หรือไม่ชำนาญจริงๆ จะให้เขายิงแม่นแบบเลือกยิงคงไม่ได้ ผมว่าข้อเท็จจริงนี้ ศาลต้องรับฟังครับ
เหมือนกรณี จำเลยสายตาสั้นมากปกติต้องใส่แว่นสายตาตลอด แล้วขณะยิงป้องกันตัวแว่นเกิดหล่นหายไป
อย่างนี้ต้องฟังเป็นคุณประโยชน์ด้วยว่า จะให้เขายิงเหมือนคนสายตาปกติคงไม่ได้
** แต่ถ้าเป็นนักกีฬายิงปืน หรือยิงปืนประจำแบบพวกเรานี่สิครับ ต้องระวังให้ดี เพราะใช้ปืนเป็น ยิงปืนเป็น
จึงย่อมเป็นผู้มีสมาธิ มีสติ และมีความชำนาญในการยิงปืน ใช้ปืน มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีปืน ไม่เคยยิงปืน
ถ้าพวกเรามีเวลาเพียงพอที่จะยิงคนร้าย แล้วไม่เลือกยิง ไปยิงอวัยวะส่วนสำคัญเข้า เช่น ศรีษะ หัวใจ
ใบหน้า ฯลฯ แบบตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911 /2547 ข้างต้น ผลอาจเป็นไปตามแนวฎีกานั้นได้
ขอบคุณครับ...................