เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 20, 2024, 05:01:12 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 10 11 12 [13] 14 15 16 ... 38
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย  (อ่าน 324050 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 16 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
countrypolice
Full Member
***

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 111


« ตอบ #180 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2007, 02:46:46 PM »

ฎ.1096/2528 จำเลยโกรธแค้นพวกที่รุมทำร้ายจำเลยตั้งใจจะไปฆ่าจำเลยเพื่อเป็นการล้างแค้นเมื่อพบผู้ตายจำเลยเข้าใจว่าเป็นพวกที่ทำร้ายตนจึงใช้อาวุธยิงผู้ตายทันที ดังนี้ เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
บันทึกการเข้า

เรารักพระเจ้าอยู่หัว
macgyver
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #181 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2007, 03:21:04 PM »

ผมไม่ได้เข้ามาเว๊ปนี้นานมากแล้ว พอเข้าอ่านกระทู้นี้ ก็รู้สึกว่าเหมือนกับกลับไปเป็น นศ.กฎหมาย อีกครั้ง ดีครับได้ทบทวนความรู้เก่าๆ (ปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับกฎหมายเลย) ผู้ที่จบ นบ.คงทราบดีว่าหากไม่ได้ใช้ กม.นานๆ ก็จะไม่คล่อง และ กม.ยังมีการปรับปรุงแก้ไขเสมอ ผมว่าถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะเอา กม.ที่เกี่ยวข้องมาสรปให้สมาชิกได้อ่านกัน ก็จะเป็นวิทยาทานที่ดีครับ..จากมือกฎหมายเก่า..
บันทึกการเข้า
>>Casanovy<<
Full Member
***

คะแนน 1
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 162



« ตอบ #182 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2007, 12:37:26 PM »

เท่าที่อ่านมา..แสดงว่า..การยิงเพียงนัดหรือสองนัด หรือการยิงที่ไม่เป็นการประสงค์ต่อชีวิต แต่ยิงไปในลักษณะหยุดยั้ง ( ถ้าหยุดได้จริง ) ย่อมดีกว่าใช่ป่าวคะ..
บันทึกการเข้า
ตะบันไฟ
Hero Member
*****

คะแนน 47
ออฟไลน์

กระทู้: 1283



« ตอบ #183 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2007, 02:05:36 PM »

เท่าที่อ่านมา..แสดงว่า..การยิงเพียงนัดหรือสองนัด หรือการยิงที่ไม่เป็นการประสงค์ต่อชีวิต แต่ยิงไปในลักษณะหยุดยั้ง ( ถ้าหยุดได้จริง ) ย่อมดีกว่าใช่ป่าวคะ..

 ถูกต้องเลยครับ คุณ คาสโนวี่ ...เจตนาพอแก่เหตุ  ไม่เกินกว่านั้นครับ
เขาล้ม เขาทรุด หมดทางสู้แล้ว  เราไม่ซ้ำ  เพราะเขาทำอะไรเราไม่ได้แล้ว
ถือว่าภยันตรายที่ได้เกิดแก่เราผ่านพ้นไปแล้ว  และไม่เกิดขึ้นอีก
เราจึงไม่จำเป็นต้องไปยิงซ้ำ   เจตนาจึงมองว่าเราทำไปพอสมควรแก่เหตุ...ไงครับ ..
บันทึกการเข้า

ปืนคือเพื่อนแท้  ปืนคือเพื่อนตาย  ปืนคือเพื่อนร่วมทาง
ปืนมันพูดไม่ได้  แต่มันก็ซื่อสัตย์  จริงใจ  ไม่ทรยศหักหลังเรา
นี่แหละนิยามของคำว่าปืน
countrypolice
Full Member
***

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 111


« ตอบ #184 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2007, 10:16:05 AM »

เท่าที่อ่านมา..แสดงว่า..การยิงเพียงนัดหรือสองนัด หรือการยิงที่ไม่เป็นการประสงค์ต่อชีวิต แต่ยิงไปในลักษณะหยุดยั้ง ( ถ้าหยุดได้จริง ) ย่อมดีกว่าใช่ป่าวคะ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2547 
จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายจะใช้มีดแทง จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัว แต่แม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่ต้องหนีการที่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยอาจเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพียงเพื่อยับยั้งผู้ตาย แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนเล็งยิงไปที่ใบหน้า จึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69

บันทึกการเข้า

เรารักพระเจ้าอยู่หัว
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1727
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8568


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #185 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2007, 12:11:38 PM »

เท่าที่อ่านมา..แสดงว่า..การยิงเพียงนัดหรือสองนัด หรือการยิงที่ไม่เป็นการประสงค์ต่อชีวิต แต่ยิงไปในลักษณะหยุดยั้ง ( ถ้าหยุดได้จริง ) ย่อมดีกว่าใช่ป่าวคะ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2547 
จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายจะใช้มีดแทง จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัว แต่แม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่ต้องหนีการที่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยอาจเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพียงเพื่อยับยั้งผู้ตาย แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนเล็งยิงไปที่ใบหน้า จึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69



เจอฎีกานี้เศร้าเลย ต้องบอกไม่เคยซ้อมยิง ตกใจกลัว หลับหูหลับตายิง นัดเดียว ..... ไปโดนได้ยังไงก็ไม่รุ๊  เศร้า

บันทึกการเข้า
sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #186 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 04:47:36 PM »

เท่าที่อ่านมา..แสดงว่า..การยิงเพียงนัดหรือสองนัด หรือการยิงที่ไม่เป็นการประสงค์ต่อชีวิต แต่ยิงไปในลักษณะหยุดยั้ง ( ถ้าหยุดได้จริง ) ย่อมดีกว่าใช่ป่าวคะ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2547 
จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายจะใช้มีดแทง จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัว แต่แม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่ต้องหนีการที่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยอาจเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพียงเพื่อยับยั้งผู้ตาย แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนเล็งยิงไปที่ใบหน้า จึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69



เจอฎีกานี้เศร้าเลย ต้องบอกไม่เคยซ้อมยิง ตกใจกลัว หลับหูหลับตายิง นัดเดียว ..... ไปโดนได้ยังไงก็ไม่รุ๊  เศร้า



 จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้น.  แสดงว่าจำเลยพอมีเวลาอยู่พอสมควรที่จะเตรียมตัวเตรียมใจ
เลือกยิงได้หลายแห่ง  อาจเช่นว่า คนร้านยังอยู่ในระยะห่างพอสมควร ไม่ใกล้จวนตัวมากเกินไป
อย่างนี้เมื่อจำเลยมีเวลาเลือกว่าจะยิงตรงส่วนไหนได้ .    แต่ไม่ยิงส่วนต่ำๆของร่างกายเพียงเพื่อให้
เขาหยุดเข้ามา  กลับไปยิงบนใบหน้า ศรีษะ ซึ่งถือเป็นอวัยวะสำคัญ  แสดงว่าเจตนาหวังฆ่าให้ตาย   
ก็จึงเป็นการเกินกว่าเหตุไปครับ  เพราะสามารถเลือกยิงเขาให้หยุด  . โดยไม่ต้องที่ใบหน้าก็ทำได้ .

** แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ จวนตัว  ไม่อาจเลือกยิงตรงไหนของร่างกายได้ทัน  เพราะเขาเข้าจู่โจมมาแล้ว
อย่างนี้  แนววินิจฉัยของศาลฎีกายังวางหลักให้ความคุ้มครองอยู่ อย่างเทียบเคียงตามแนวฎีกานี้ครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๑๘ / ๒๕๒๙  ผู้เสียหายจะร่วมประเวณีจำเลย  จำเลยไม่ยอม ผู้เสียหายพยายาม
จะถอดกางเกงจำเลย  จำเลยจึงดึงมีดคัตเตอร์ออกจากกระเป๋ากางเกงด้านหลัง ในสภาพที่ถูกนอนกดทับพยายามจะข่มขืน จำเลยย่อมไม่มีทางเลือกกระทำต่อส่วนอื่นของร่างกายผู้เสียหาย  นอกจากส่วนบน
ของร่างกายซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้กดทับ  บาดแผลที่บริเวณที่คอยาว ๑๒ ซม. กว้าง ครึ่ง ซม.  ลึก ๑ ซม. 
แม้เป็นการกระทำโดยแรงจนมีดคัตเตอร์หัก  แต่กระทำเพียงครั้งเดียว  ดังนี้เป็นการป้องกัน
พอสมควรแก่เหตุ........ ไม่มีความผิด

และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๑๐ / ๒๕๑๐ โจทก์ร่วมกับพวกดื่มสุราที่ร้านของจำเลยจนมึนเมาแล้วสั่งสุราอีก
ภริยาของจำเลยบอกว่าสุราหมด  โจทก์ร่วมได้ลุกขึ้นไปหยิบขวดสุราของจำเลยที่โต๊ะชงกาแฟ  ภริยาจำเลย
จึงเข้าแย่ง  โจทก์ร่วมได้ทำร้ายภริยาจำเลย  พวกของโจทก์ร่วมได้บีบคอจำเลยจนหน้าแหงน  จำเลยควานไปพบเหล็กเปิดขวดแล้วเหวี่ยงไป ๑ ทีในขณะชุลมุนอยู่ ไปถูกนัยน์ตาโจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงบอด
การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด

** ดังนั้นต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงของเรื่องที่เกิดด้วยครับ .......

กรณี ไม่เคยยิงปืนมาก่อน  เช่นว่าไปคว้าปืนเขามาได้แล้วยิงเพื่อป้องกันตัว  ตามความคิดเห็นส่วนตัวจึงเห็นว่าข้อเท็จจริงส่วนนี้ต้องรับฟังเป็นคุณด้วย เพราะเขาไม่เคยยิงปืนมาก่อน หรือไม่ชำนาญจริงๆ  จะให้เขายิงแม่นแบบเลือกยิงคงไม่ได้  ผมว่าข้อเท็จจริงนี้ ศาลต้องรับฟังครับ 

เหมือนกรณี จำเลยสายตาสั้นมากปกติต้องใส่แว่นสายตาตลอด  แล้วขณะยิงป้องกันตัวแว่นเกิดหล่นหายไป
อย่างนี้ต้องฟังเป็นคุณประโยชน์ด้วยว่า  จะให้เขายิงเหมือนคนสายตาปกติคงไม่ได้   

** แต่ถ้าเป็นนักกีฬายิงปืน  หรือยิงปืนประจำแบบพวกเรานี่สิครับ  ต้องระวังให้ดี  เพราะใช้ปืนเป็น ยิงปืนเป็น
จึงย่อมเป็นผู้มีสมาธิ มีสติ และมีความชำนาญในการยิงปืน ใช้ปืน มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีปืน ไม่เคยยิงปืน
ถ้าพวกเรามีเวลาเพียงพอที่จะยิงคนร้าย  แล้วไม่เลือกยิง  ไปยิงอวัยวะส่วนสำคัญเข้า  เช่น ศรีษะ หัวใจ
ใบหน้า ฯลฯ  แบบตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911 /2547 ข้างต้น  ผลอาจเป็นไปตามแนวฎีกานั้นได้

ขอบคุณครับ...................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2007, 07:45:52 PM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1727
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8568


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #187 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 08:19:52 PM »

เท่าที่อ่านมา..แสดงว่า..การยิงเพียงนัดหรือสองนัด หรือการยิงที่ไม่เป็นการประสงค์ต่อชีวิต แต่ยิงไปในลักษณะหยุดยั้ง ( ถ้าหยุดได้จริง ) ย่อมดีกว่าใช่ป่าวคะ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2547 
จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายจะใช้มีดแทง จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัว แต่แม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่ต้องหนีการที่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยอาจเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพียงเพื่อยับยั้งผู้ตาย แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนเล็งยิงไปที่ใบหน้า จึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69



เจอฎีกานี้เศร้าเลย ต้องบอกไม่เคยซ้อมยิง ตกใจกลัว หลับหูหลับตายิง นัดเดียว ..... ไปโดนได้ยังไงก็ไม่รุ๊  เศร้า



จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้น.  แสดงว่าจำเลยพอมีเวลาอยู่พอสมควรที่จะเตรียมตัวเตรียมใจ
เลือกยิงได้หลายแห่ง  อาจเช่นว่า คนร้านยังอยู่ในระยะห่างพอสมควร ไม่ใกล้จวนตัวมากเกินไป
อย่างนี้เมื่อจำเลยมีเวลาเลือกว่าจะยิงตรงส่วนไหนได้ .    แต่ไม่ยิงส่วนต่ำๆของร่างกายเพียงเพื่อให้
เขาหยุดเข้ามา  กลับไปยิงบนใบหน้า ศรีษะ ซึ่งถือเป็นอวัยวะสำคัญ  แสดงว่าเจตนาหวังฆ่าให้ตาย   
ก็จึงเป็นการเกินกว่าเหตุไปครับ  เพราะสามารถเลือกยิงเขาให้หยุด  . โดยไม่ต้องที่ใบหน้าก็ทำได้ .

** แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ จวนตัว  ไม่อาจเลือกยิงตรงไหนของร่างกายได้ทัน  เพราะเขาเข้าจู่โจมมาแล้ว
อย่างนี้  แนววินิจฉัยของศาลฎีกายังวางหลักให้ความคุ้มครองอยู่ .....................




** ดังนั้นต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงของเรื่องที่เกิดด้วยครับ .......

กรณี ไม่เคยยิงปืนมาก่อน  เช่นว่าไปคว้าปืนเขามาได้แล้วยิงเพื่อป้องกันตัว  ตามความคิดเห็นส่วนตัวจึงเห็นว่าข้อเท็จจริงส่วนนี้ต้องรับฟังเป็นคุณด้วย เพราะเขาไม่เคยยิงปืนมาก่อน หรือไม่ชำนาญจริงๆ  จะให้เขายิงแม่นแบบเลือกยิงคงไม่ได้  ผมว่าข้อเท็จจริงนี้ ศาลต้องรับฟังครับ 



ฏีกานี้ทำให้ผมสนใจไปหารายละเอียดข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพราะบังเอิญความคิดในการใช้อาวุธปืนของผมคือ ใช้ปืนป้องกันชีวิตเท่านั้น
และเมื่อยิง ก็จะยิงเพียงนัดเดียว และต้องป้องกันชีวิตตัวเองได้

แต่........ระยะห่าง 3 เมตร ที่อีกฝ่ายมีมีดอยู่ในมือ และใช้มีดนั้นแทง
ระยะห่างอย่างนี้...เป็นระยะที่ผมถือว่าผลจะเป็น........ตกตายไปด้วยกัน
ผมฝึกยิงในระยะประชิด......ให้เป็นไปโดยสัญชาตญาณ....ที่เดียว-นัดเดียว....เพื่อเอาชีวิตรอด....แบบนี้

ด้วยความเคารพในคำพิพากษาของศาล....
ศาลฎีกาท่านว่า ป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ ..... จำคุก 2 ปี           แต่ผมยังคิดว่าถ้าถูกทำร้ายด้วยมีดจากระยะ 3 เมตร ผมยอมติดคุก  Grin

ศาลท่านวินิจฉัยไว้ดังนี้ครับ.......

".....มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำโดยป้องกันหรือไม่ โจทก์มีนายอำนวยเบิกความเป็นพยานว่า จำเลยกับผู้ตายโต้เถียงกันเรื่องผู้ตายปลูกมะพร้าว ขณะนั้นทั้งสองยืนห่างกันประมาณ ๓ เมตร พยานยืนกั้นกลางพยายามพูดห้ามปรามแต่ทั้งคู่ไม่ฟัง ผู้ตายชักมีดจากเอวเดินเข้าหาจำเลย จำเลยจึงชักอาวุธปืนเล็งยิงไป ๑ นัด พยานโจทก์ปากนี้เป็นประจักษ์พยานเห็นเหตุการณ์ตั้งแต่ต้น คำเบิกความมีน้ำหนักน่าเชื่อ พนักงานสอบสวนทำบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีอาญา ระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ผู้ตายจะใช้มีดปลายแหลมแทงจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิง เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เป็นดังนี้จึงรับฟังได้ว่า จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายใช้มีดแทง การที่ผู้ตายจะใช้มีดแทงจำเลยถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัว แต่เห็นว่าแม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่ต้องหนี แต่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยอาจเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพียงเพื่อยับยั้งผู้ตายมิให้เข้ามาใช้มีดแทง แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนเล็งยิงไปที่ใบหน้า จึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตรา ๖๙ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๘ ประกอบด้วยมาตรา ๖๙ ให้จำคุก ๒ ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๘. "

 

           
 
 
บันทึกการเข้า
sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #188 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 08:41:40 PM »

ขอบคุณครับท่านธำรง ระยะแค่ ๓ เมตรเอง ใกล้มากครับ น่าคิดเหมือนกัน
ผมเองก็ยังไม่รู้จะเลือกยิงกันทันไหม  เพราะอาจตกใจตื่นเต้นก็ได้ . 

 อีกกรณีหนึ่งคือการยิงสวน  ..ถ้าเรื่องยิงสวนนี่  โดนตรงอวัยวะส่วนไหนศาลฎีกาก็มองเป็นประเด็นย่อย
เพราะยิงสวนหมายถึงคนร้ายกำลังจะยิงหรือจ้องเล็งจะยิงมาใส่เราแล้ว คนร้ายพร้อมแล้ว
ถ้าเราไม่ยิงสวน แน่นอนคนร้ายยิงเราแน่ ก็ทำให้ไม่มีเวลาเล็ง ..

บันทึกการเข้า

Narin CZ
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #189 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2007, 03:04:50 AM »

มีประโยชน์มากๆ ขอขอบคุณหนุ่มซิกฯและท่านอื่นๆที่ช่วยออกความเห็นครับ
บันทึกการเข้า
warmer
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 9


« ตอบ #190 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 12:06:47 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
countrypolice
Full Member
***

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 111


« ตอบ #191 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 05:31:00 PM »

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2546   
ในช่วงเวลาเกิดเหตุในละแวกบ้านจำเลยมีโจรผู้ร้ายชุกชุม และก่อนเกิดเหตุจำเลยเคยถูกคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในบ้าน คืนเกิดเหตุผู้ตายได้ปีนเข้าบ้านจำเลยทางช่องลมโดยปราศจากเหตุสมควร ย่อมทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายและในขณะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ตายจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะในห้องที่เกิดเหตุมืดและเป็นเวลากะทันหัน ถ้าเป็นคนร้ายซึ่งจะมาทำร้ายจำเลยจริงแล้ว การที่จะให้จำเลยรออยู่จนกว่าคนร้ายจะแสดงกิริยาทำร้ายแล้ว จำเลยก็อาจได้รับอันตรายก่อนที่จะทำการป้องกันได้ทันท่วงที และจำเลยก็ยิงผู้ตายไปเพียง 1 นัด เมื่อผู้ตายล้มลงจำเลยก็มิได้ซ้ำแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงพอสมควรแก่เหตุเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคแรก
 เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า

เรารักพระเจ้าอยู่หัว
countrypolice
Full Member
***

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 111


« ตอบ #192 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 05:33:50 PM »

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2546 
จำเลยกับผู้ตายเล่นสนุกเกอร์พนันเอาทรัพย์สินกันแล้วเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทแม้ผู้ตายจะเป็นฝ่ายลงมือทำร้ายจำเลยก่อน แต่การที่จำเลยใช้กรรไกรเป็นอาวุธแทงสวนไปในทันทีทั้งที่ผู้ตายไม่มีอาวุธ และเมื่อผู้ตายถูกแทงแล้วเดินเข้าไปในซอยถือไม้กวาดเพื่อไล่ตีจำเลย หากจำเลยไม่ประสงค์จะต่อสู้กับผู้ตายย่อมหลบเลี่ยงเสียได้เพราะผู้ตายบาดเจ็บ การที่จำเลยยังคงยืนอยู่ในที่เกิดเหตุรอจนกระทั่งผู้ตายถือไม้กวาดเข้ามาไล่ตีจำเลย จำเลยจึงวิ่งไปหยิบท่อนเหล็กแป๊ปน้ำตีผู้ตายจนล้มลง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยสมัครใจทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย จะอ้างเหตุว่าจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัวไม่ได้

พฤติกรรมที่จำเลยใช้กรรไกรเป็นอาวุธแทงผู้ตายถูกกลางอกขวาทะลุซี่โครงขวาเยื่อหุ้มหัวใจทะลุ และใช้ท่อนเหล็กแป๊ปน้ำยาวประมาณ 20 นิ้ว ตีศีรษะผู้ตายมีบาดแผลถึง 3 แห่ง มีเลือดออกที่หูขวาและสมองช้ำบวม ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย

บันทึกการเข้า

เรารักพระเจ้าอยู่หัว
aka11"รักในหลวง"
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 8
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 255


« ตอบ #193 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2007, 10:26:49 AM »

ขอบคุณครับ...........เป็นประโยชน์อย่างมากครับ
บันทึกการเข้า

ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง                             ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
DK Thara
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 22
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 391


จะไม่สร้างภาระให้สังคม


« ตอบ #194 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2007, 05:52:58 PM »

ขออนุญาตยืมกระทู้เรียนถามเพิ่มเติมนะครับ ไม่แน่ใจว่าถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นจะเป็นการป้องกัน (ทรัพย์สิน) โดยสมควรแก่เหตุหรือป่าวครับ
เช้าวันหนึ่งจำเลยได้เดินจ่ายตลาดอยู่ทางด้านท้ายตลาด แล้วผู้ตายได้วิ่งราวโดยกระชากสร้อยคอทองคำของจำเลยที่สวมอยู่ สร้อยคอขาดติดมือผู้ตายไป แล้วผู้ตายได้วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามแล้วร้องบอกให้หยุดเอาสร้อยคืนมาไม่งั้นจะยิง แต่ผู้ตายไม่ยอมหยุดและวิ่งหนีต่อไปพร้อมกับเอาสร้อยคอทองคำของจำเลยติดมือไปด้วย จำเลยเห็นดังนั้นจึงใช้ปืนขนาด 9 มม (กระสุนหัวรู) ยิงไปทางผู้ตายหมายจะให้โดนขาล้มลง โดยมิได้มีเจตนาให้ถึงแก่ความตาย แต่กระสุนพราดเป้าไปเข้ากลางหลังผู้ตาย กระสุนฝังในปอดผู้ตาย เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายในที่สุด
ไม่ทราบว่ากรณีนี้ถ้าให้ท่านผู้เชี่ยวชาญ และหมอความทั้งหลาย วิเคราะห์ ดูแล้วน่าจะเป็นการป้องกันทรัพย์สินโดยชอบธรรม และสมควรแก่เหตุหรือป่าวครับ (อันนี้พูดถึงป้องกันทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับป้องกันชีวิตนะครับ)

ปล. ภาษากฎหมายไม่ค่อยคล่อง เนื่องจากไม่ได้จบกฎหมาย กรุณาชี้แนะด้วยครับ
บันทึกการเข้า

ปทุมวันสร้างคน ช่างกลสร้างสรรค์ GearGuns สร้างทีม
                ชมรมกีฬายิงปืนช่างกลปทุมวัน
หน้า: 1 ... 10 11 12 [13] 14 15 16 ... 38
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 22 คำสั่ง