เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 20, 2024, 04:52:08 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 11 12 13 [14] 15 16 17 ... 38
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย  (อ่าน 324012 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #195 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2007, 08:30:45 AM »

ขออนุญาตยืมกระทู้เรียนถามเพิ่มเติมนะครับ ไม่แน่ใจว่าถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นจะเป็นการป้องกัน (ทรัพย์สิน) โดยสมควรแก่เหตุหรือป่าวครับ
เช้าวันหนึ่งจำเลยได้เดินจ่ายตลาดอยู่ทางด้านท้ายตลาด แล้วผู้ตายได้วิ่งราวโดยกระชากสร้อยคอทองคำของจำเลยที่สวมอยู่ สร้อยคอขาดติดมือผู้ตายไป แล้วผู้ตายได้วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามแล้วร้องบอกให้หยุดเอาสร้อยคืนมาไม่งั้นจะยิง แต่ผู้ตายไม่ยอมหยุดและวิ่งหนีต่อไปพร้อมกับเอาสร้อยคอทองคำของจำเลยติดมือไปด้วย จำเลยเห็นดังนั้นจึงใช้ปืนขนาด 9 มม (กระสุนหัวรู) ยิงไปทางผู้ตายหมายจะให้โดนขาล้มลง โดยมิได้มีเจตนาให้ถึงแก่ความตาย แต่กระสุนพราดเป้าไปเข้ากลางหลังผู้ตาย กระสุนฝังในปอดผู้ตาย เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายในที่สุด
ไม่ทราบว่ากรณีนี้ถ้าให้ท่านผู้เชี่ยวชาญ และหมอความทั้งหลาย วิเคราะห์ ดูแล้วน่าจะเป็นการป้องกันทรัพย์สินโดยชอบธรรม และสมควรแก่เหตุหรือป่าวครับ (อันนี้พูดถึงป้องกันทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับป้องกันชีวิตนะครับ)

ปล. ภาษากฎหมายไม่ค่อยคล่อง เนื่องจากไม่ได้จบกฎหมาย กรุณาชี้แนะด้วยครับ


ครับ  กรณีนี้คนร้ายหันหลังวิ่งหนีจากการทำผิดวิ่งราวสร้อยคอทองคำ   เราเองเป็นผู้เสียหายด้วย
และเป็นผู้ประสบเหตุในความผิดซึ่งหน้าที่เกิดขึ้นด้วย  และเราเจ้าทรัพย์กำลังวิ่งไล่ตาม ..

ตามความเห็นส่วนตัวของผม ในฐานะนักกฎหมายคนหนึ่งนะครับ ...
ผมเห็นว่าเรามีสิทธิป้องกันทรัพย์สินของเราได้เพื่อไม่ให้คนร้ายเอาไป .
แต่เราจะกระทำอย่างไรให้ดูเป็นการใช้วิธีหยุดยั้งคนร้ายที่พอสมควรแก่เหตุที่สุด ..
สมมุติว่าสร้อยคอทองคำหนัก 1 สลึง  กับการใช้ปืนยิงเข้าไปเพื่อหยุดยั้ง .เเล้วเกิดพลาดไปถูกเขาตาย
ก็อาจจะดูไม่สมสัดส่วนไปได้ ..เเละศาลอาจจะมองว่าเกินกว่าเหตุไป  เจตนาไม่ควรถึงกับฆ่าคนร้าย

ถ้าแค่เจตนาทำร้าย  เช่นยิงที่ขา .. ความเห็นส่วนตัวยังมองว่าน่าจะพอแก่เหตุได้ ..
เพราะเป็นการสกัดกั้นคนร้ายซึ่งไม่มีวิธีอื่นๆอีกแล้วที่จะหยุดได้ ..แต่คนร้ายต้องไม่ตาย ..
สมมุติอีกว่า .. คนร้ายวิ่งราวกระเป๋าสะพายมีเงินข้างใน 1 แสน - 1 ล้านบาท  /
หรือสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาทแถมมีพระสมเด็จแท้ องค์ละหลายล้านบาทไปด้วย 
ก็น่าเห็นใจ ถ้าไม่มีวิธีสกัดคนร้ายด้วยวิธีอื่นๆอีกแล้ว
ส่วนตัวก็ยังมองว่า ยิงที่ขาเพียงนัดเดียว  น่าจะพอแก่เหตุได้ .. เพราะดูสมสัดส่วนกัน  ..

แต่อย่างไรก็ตาม เคสนี้ตามข้อเท็จจริงตรงๆที่ถาม ยังไม่ขึ้นสู่ศาลฎีกาให้พิจารณาจึงยังไม่มีบรรทัดฐานแบบนี้  ที่ผมแสดงไปเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผมในฐานะนักกฎหมายคนหนึ่งเท่านั้น  ไม่อาจนำมาเป็นบรรทัดฐานได้   จึงต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจดีๆ   ...

ซึ่งตามที่ได้สืบค้น ..คำพิพากษาฎีกาปัจจุบันนี้ ..จะออกมาในแนวนี้ครับ ..คือ

คำพิพากษาฎีกาปัจจุบันที่เดินตามกันมาตลอด .. จะออกไปในทางว่า ..
ถ้าคนร้ายที่เอาทรัพย์ไป.. วิ่งหนี  .. เจ้าทรัพย์วิ่งไล่ตาม  หากคนร้ายไม่มีอาวุธใดๆ
หรือไม่แสดงกริยาจะทำร้ายเจ้าทรัพย์ .. หากเจ้าทรัพย์ใช้อาวุธ มีด/ปืน เข้าทำร้าย
จะเกินกว่าเหตุตาม ป.อาญา มาตรา ๖๙ หมด ..

คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๙๐๘ / ๒๔๙๔  คนร้ายขึ้นเรื่อนลักทรัพย์ได้แล้ววิ่งหนีไป
เจ้าทรัพย์วิ่งไล่ไปทันแล้วใช้มีดแทงคนร้าย ๑ ที คนร้ายตาย  ศาลฎีกาตัดสินว่า
เจ้าทรัพย์แทงคนร้ายในเวลากระชั้นชิดที่วิ่งไล่กันมา  ถือว่าไม่มีเจตนาฆ่า
เพราะเเทงเพียงทีเดียว . คงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ..
เป็นการป้องกันทรัพย์เกินสมควรแก่เหตุ .

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๔๓ / ๒๔๙๕ ยิงผู้ร้ายขณะกำลังวิ่งหนีและพาเอาห่อของไปด้วย
โดยผู้ร้ายมิได้กระทำอะไรแก่ตน  . เป็นการป้องกันแต่เกินสมควรแก่เหตุ.

คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๒ / ๒๕๒๐  ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปลักแตงในไร่ของจำเลย
ในเวลากลางคืน   จำเลยใช้อาวุธปืน .๒๒ ยิงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายกับพวกวิ่งหนี
ถูกที่หลังกระสุนฝังใน  การที่จำเลยยิงผู้เสียหายโดยเหตุผู้เสียหายลักแตง ๒ - ๓ ใบ
ราคาเล็กน้อย  กระสุนถูกที่หน้าอกอวัยวะสำคัญ  ย่อมเล็งเห็นได้ว่ามีเจตนาฆ่าจึงเป็นการกระทำ
ที่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน  จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
เพื่อป้องกันสิทธิของตนเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๓ / ๒๕๑๔  การที่จำเลยวิ่งไล่ตามผู้เสียหายออกไปนอกบ้าน
โดยจำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ที่ใต้ถุนเรือนของจำเลย
เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิในทรัพย์ของตน  แต่เมื่อจำเลยวิ่งไล่ไปทันผู้เสียหาย
แล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายถูกที่หลัง ๔ แผล  ที่ข้อศอก ๑ แผล โดยไม่ปรากฎว่า
ผู้เสียหายมีอาวุธหรือแสดงอาการขัดขืนต่อสู้  เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเกินกว่า
กรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตาม ป. อาญา มาตรา ๖๙ ..

..แต่ถ้า คนร้ายมีอาวุธติดตัวมาด้วย .. หรือแสดงกริยาหันมาจะทำร้ายเจ้าทรัพย์ ..
ก็มีคำพิพากษาฎีกาว่าเป็นป้องกันพอแก่เหตุได้เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 943/2508 คนร้ายจูงกระบือไปจากใต้ถุนเรื่อนจำเลย..
เมื่อเวลา 24 น. จำเลยร้องถาม  คนร้ายหันปืนมาทางจำเลย  จำเลยจึงยิง
ปืนไป ๒ นัด คนร้ายตาย จำเลยเคยถูกลักกระบือมาแล้ว ๑ ครั้งและหมู่บ้านนั้น
มีการลักกระบือกันเสมอ   ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด ..

***ดังนั้น .. ถ้าจะเอาหลักที่ชัวร์ ไว้ก่อนในตอนนี้ก็ต้องไม่ยิงคนร้ายมือเปล่าขณะเขาวิ่งหลบหนี
โดยอาจจะหาวิธี/หนทาง . สกัดกั้นหรือหยุดยั้งเป็นวิธีอื่น .. 
เว้นแต่ . คนร้ายหันมามีอาวุธ.. จะเล่นงานเรา .......เท่านั้น ***

ฉะนั้น .. ต้องวิเคราะห์ดูให้ดีก่อนตัดสินใจ ...หากเจอเหตุการณ์คนร้ายวิ่งพาทรัพย์เราไปหลบหนี
แล้วเรากำลังวิ่งตาม .........
 



 
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2007, 01:50:10 PM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #196 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2007, 08:46:07 AM »

.จริงๆเราประชาชนก็น่าจะมีสิทธิปกป้องกันทรัย์สินจากคนร้ายได้ .. ในขณะวิ่งไล่ตาม
แต่ถ้าทรัพย์ราคาเล็กน้อยไม่มากนัก  เช่นฎีกาว่าลักแตง 2-3 ใบ เทียบกับความตายของคนร้าย
ก็อาจจะเกินกว่าเหตุตามที่ศาลฎีกาตัดสินไว้ได้ ...

จึงต้องใช้สติไตร่ตรองดูให้ดีๆ ...แต่ถ้าทรัพย์สินในราคามากๆ  เช่นว่า วิ่งราวกระเป๋าใส่เงิน
1 แสน - 1 ล้านบาท  / วิ่งราวสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท + พระสมเด็จแท้ + พระเครื่องอื่นๆ
ราคาหลายแสน/ล้านบาทไป  .. ก็ยังไม่มีแนวฎีกาว่ายังงี้  การไปยิงขา 1 นัดเพื่อหยุดยั้ง...เพื่อจะได้ทรัพย์
ราคาสูงอย่างนั้นกลับคืนมา .จะเป็นเกิน/หรือพอแก่เหตุหรือไม่ ...

ทางที่ดีก็ควรยึดแนวฎีกาเอาไว้ก่อนก็จะเป็นดีที่สุดครับ ...
พยายามหาวิธีสกัดกั้นคนร้ายด้วยวิธีอืนๆ ...ก่อนที่จะใช้ปืน..

ถ้าใครได้ดู ป. วิอาญา มาตรา ๘๓ วรรคท้าย  + ๗๙ + ๘๐  ประกอบกัน  ราษฎรมีสิทธิจับกุมคนร้าย
ที่ทำผิดซึ่งหน้าได้ .. หากคนร้ายขัดขวางการจับกุม .หลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ก็ยังให้อำนาจ
ผู้จับใช้วิธี..หรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้นได้ ..

แต่ปัญหามันมีอยู่ว่า ..อย่างไร /อย่างไหน เป็นวิธี หรือการป้องกันที่เหมาะสมกับพฤติการณ์ในการจับนั้นสิครับ
เป็นเรื่องสำคัญ ... ที่ศาลจะต้องเป็นผู้ตีความเอง .........
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2007, 01:53:11 PM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #197 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2007, 08:53:18 AM »

และกรณีที่ถามนี้  .. หากได้เกิดขึ้นแล้ว  .. ผมเชื่อว่าทางพนักงานอัยการซึ่งเป็นมือทนายแผ่นดิน.....
อาจจะตั้งเรื่องสั่งฟ้องไว้ก่อน  แล้วเราก็จะต้องเสียเวลาไปต่อสู้คดีกันในศาล ..
แล้วศาลถึงจะเป็นผู้วินิจฉัยให้เองว่า .....เคสอย่างที่ถามนี้ ..
เป็นเกินกว่าเหตุ/หรือพอสมควรแก่เหตุ.........................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2007, 09:45:08 AM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

DK Thara
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 22
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 391


จะไม่สร้างภาระให้สังคม


« ตอบ #198 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2007, 10:42:29 AM »

ขอบคุณท่าน sigsax มากครับ หลังจากได้อ่านข้อความที่ท่าน sigsax อธิบาย ก็พอจะได้ idea ขึ้นมาบ้าง สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ก็คือ "ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง"
ผมขอเป็นอีกคนหนึ่งครับที่ขอชื่นชมว่ากระทู้นี้มีประโยชน์กับสมาชิกเป็นอย่างมาก...
บันทึกการเข้า

ปทุมวันสร้างคน ช่างกลสร้างสรรค์ GearGuns สร้างทีม
                ชมรมกีฬายิงปืนช่างกลปทุมวัน
ju
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 11


ยามรักษาชาติ


« ตอบ #199 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2007, 10:13:54 PM »

ผมสงสัยว่าในเวลาขับรถเดินทางไปต่างจังหวัดที่เป็นพื้นที่เปลี่ยวแล้วเราเตรียมปืนเตรียมกระสุนขึ้นลำกล้องไว้เก็บไว้ในกระเป๋าวางไว้ข้างตัวเมื่อเจอกับด่านตำรวจตรวจพบอาวุธปืนที่เก็บในกระเป๋าที่วางข้างตัวเรานั้นมีความผิดหรือไม่ ถ้ามีความผิดมีความผิดร้ายแรงหรือไม่ ท่านสมาชิกท่านใดที่อ่านกระทู้ของผมแล้วช่วยตอบปัญหานี้กับผมและประโยชน์กับทุกคนที่ควรรู้ด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
Brad Hit
Full Member
***

คะแนน 10
ออฟไลน์

กระทู้: 219


« ตอบ #200 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 09:25:10 AM »

ขอบคุณครับ  มีประโยชน์มากๆครับ
บันทึกการเข้า
countrypolice
Full Member
***

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 111


« ตอบ #201 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 07:30:18 PM »

ผมสงสัยว่าในเวลาขับรถเดินทางไปต่างจังหวัดที่เป็นพื้นที่เปลี่ยวแล้วเราเตรียมปืนเตรียมกระสุนขึ้นลำกล้องไว้เก็บไว้ในกระเป๋าวางไว้ข้างตัวเมื่อเจอกับด่านตำรวจตรวจพบอาวุธปืนที่เก็บในกระเป๋าที่วางข้างตัวเรานั้นมีความผิดหรือไม่ ถ้ามีความผิดมีความผิดร้ายแรงหรือไม่ ท่านสมาชิกท่านใดที่อ่านกระทู้ของผมแล้วช่วยตอบปัญหานี้กับผมและประโยชน์กับทุกคนที่ควรรู้ด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ
จากที่ดูมาเบื้องต้นเป็นการพกพกพอสมควรแก่พฤติการณ์ครับอยู่ในกระเป๋ามิดชิด หลงรัก
บันทึกการเข้า

เรารักพระเจ้าอยู่หัว
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #202 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 08:44:14 PM »

ขออนุญาตยืมกระทู้เรียนถามเพิ่มเติมนะครับ ไม่แน่ใจว่าถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นจะเป็นการป้องกัน (ทรัพย์สิน) โดยสมควรแก่เหตุหรือป่าวครับ
เช้าวันหนึ่งจำเลยได้เดินจ่ายตลาดอยู่ทางด้านท้ายตลาด แล้วผู้ตายได้วิ่งราวโดยกระชากสร้อยคอทองคำของจำเลยที่สวมอยู่ สร้อยคอขาดติดมือผู้ตายไป แล้วผู้ตายได้วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามแล้วร้องบอกให้หยุดเอาสร้อยคืนมาไม่งั้นจะยิง แต่ผู้ตายไม่ยอมหยุดและวิ่งหนีต่อไปพร้อมกับเอาสร้อยคอทองคำของจำเลยติดมือไปด้วย จำเลยเห็นดังนั้นจึงใช้ปืนขนาด 9 มม (กระสุนหัวรู) ยิงไปทางผู้ตายหมายจะให้โดนขาล้มลง โดยมิได้มีเจตนาให้ถึงแก่ความตาย แต่กระสุนพราดเป้าไปเข้ากลางหลังผู้ตาย กระสุนฝังในปอดผู้ตาย เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายในที่สุด
ไม่ทราบว่ากรณีนี้ถ้าให้ท่านผู้เชี่ยวชาญ และหมอความทั้งหลาย วิเคราะห์ ดูแล้วน่าจะเป็นการป้องกันทรัพย์สินโดยชอบธรรม และสมควรแก่เหตุหรือป่าวครับ (อันนี้พูดถึงป้องกันทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับป้องกันชีวิตนะครับ)

ปล. ภาษากฎหมายไม่ค่อยคล่อง เนื่องจากไม่ได้จบกฎหมาย กรุณาชี้แนะด้วยครับ


ครับ  กรณีนี้คนร้ายหันหลังวิ่งหนีจากการทำผิดวิ่งราวสร้อยคอทองคำ   เราเองเป็นผู้เสียหายด้วย
และเป็นผู้ประสบเหตุในความผิดซึ่งหน้าที่เกิดขึ้นด้วย  ย่อมมีอำนาจเข้าจับกุมคนร้ายนั้นได้อยู่แล้ว
ตามปวิอ. มาตรา ๘๓ ประกอบ มาตรา ๗๙ และ ๘๐  ทั้งเรายังมีสิทธิปกป้องกันไม่ให้คนร้ายเอาสร้อยคอ
ของเราไปได้ด้วย   อันจะถือว่าเป็นการป้องกันทรัพย์สิน ตามปอ. มาตรา ๖๘ เพาะขณะนั้นคนร้ายยังวิ่งหลบหนีต่อหน้าเรา และเรากำลังวิ่งติดตามคนร้ายพร้อมบอกตะโกนให้คืนสร้อยคอทองคำอยู่   

ดังนั้น  จากพฤติการณ์แบบนั้น  .. หากเราได้ร้องบอกไปแล้วว่าให้หยุด  หากไม่หยุดจะยิง
แล้วคนร้ายยังไม่ยอมหยุด  และไม่มีวิธีการอื่นๆใดๆอีกที่จะพอจะสกัดกั้นจับกุมคนร้ายได้ในทันทีทันใดนั้น
หรือในอนาคตที่คาดเล็งเห็นได้ .. การที่เราเอาปืนยิงไปที่ขาคนร้ายเพียง ๑ นัด 
ย่อมแสดงเจตนาของเราได้ว่าไม่ได้มีเจตนาฆ่าคนร้ายให้ตาย .. แต่เพียงเพื่อสกัดจับกุมคนร้ายเท่านั้น 
 .. จึงน่าจะถือว่าพอสมควรแก่เหตุได้...

แต่อย่างไรก็ตาม ..เมื่อกระสุนพลาดไปถูกกลางหลัง แล้วคนร้ายเกิดตาย ..
กรณีอย่างนี้หากพูดตามหลักกฎหมาย   ก็ยังถือว่าพอสมควรแก่เหตุอยู่
เพราะเจตนาเบื้องต้นตั้งใจจะยิงที่ขาเท่านั้น  ซึ่งเป็นเรื่องพอสมควรแก่เหตุ
เมื่อพลาดไปเจตนาเบื้องต้นก็ต้องโอนตามไปด้วยเช่นกัน  .. เพราะจะไปฟังว่ามีเจตนาฆ่าไม่ได้
เนื่องจากตั้งใจยิงแค่ที่ขา 


แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น  การกระทำแบบนี้ .. ถ้าจะมองว่าเกินกว่าเหตุตามปอ. มาตรา ๖๙ ก็มีได้
หากว่า ( 1  )  ระยะที่เรากับคนร้ายอยู่ห่างกันจนเกินระยะที่เราจะเล็งปืนไปยิงที่ขาได้ 
เช่น เป็น 10 เมตรขึ้นไป    อย่างนี้จะอ้างว่าเราเล็งยิงที่ขาไม่ได้  เพราะระยะไกลเกินกว่าจะเล็ง 
เมื่อยิงไปแล้วถูกกลางหลัง   จะเป็นเจตนาเล็งเห็นผลทันทีว่า  ไม่ควรยิงเพราะยิงอาจไม่โดนขา
แต่ไปโดนหลังได้    ซึ่งเราคนยิงย่อมอาจคาดหมายได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว   ว่าอาจจะไม่โดนขาก็ได้ 
อย่างนี้รูปการณ์อาจจะเป็นการยิงโดยเจตนาเล็งเห็นผลไป และจะทำให้เกินกว่าเหตุไปได้

( 2) หากระยะที่เรายิงใกล้มากๆ แค่ 2-4 เมตร แล้วคนร้ายก็วิ่งทางตรง ไม่ได้วกไปมาหรือเฉียงไปเฉียงมา
อย่างนี้ระยะดังกล่าว ย่อมมองได้ว่าเป็นระยะที่ใกล้ เมื่อเล็งยิงที่ขา .. แล้วกระสุนก็น่าจะไปถูกขาเพราะยิงในระยะใกล้  .. หากกระสุนยังไปถูกกลางหลัง  .. น่าจะอ้างยากพอสมควรว่าเจตนายิงที่ขา........
เว้นเสียแต่ว่ามีพฤติการณือื่นๆเข้ามาอีกเช่นว่า ขณะยิงไปที่ขาแล้วคนร้ายล้มลงพอดี เป็นต้น
ก็อาจจะนำมารับฟังได้ ..

 ข้อเท็จจริงไหน .. จะเป็น พอแก่เหตุ / เกินกว่าเหตุ  .. ตอบเป็นหลักตายตัวให้ไม่ได้
ต้องแล้วแต่พฤติการณ์เรื่องราว + ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นมาฟังประกอบกันด้วยครับ ....

ดังนั้น ..กรณีแบบที่ถาม .. จะเป็นพอแก่เหตุหรือไม่ .. จึงต้องดูข้อเท็จจริงเหล่านี้ประกอบเข้ากันด้วยครับ....

ที่ผมมาร์คสีแดง .. ขอมาเติม ความเห็นทางกฎหมาย..ให้ ครับ. Smiley
ข้อเท็จจริงนี้ ไม่ใช่กระทำโดยพลาด ครับ. . กระทำโดยพลาด เจตนากระทำต่อคนร้าย
แล้วพลาดไปโดนคนอื่น . ตาม ป.อาญา ๖๐,๖๒.

แต่ข้อเท็จจริงนี้ เข้าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามป.อาญา ม.๒๘๘ เลยละครับ ..
แต่เป็นข้อเท็จจริง ที่เกิดจากต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน.. จากการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย. 
แต่ได้กระทำไปโดยเกินสมควรแก่เหตุ .. เป็นความผิดเข้าตาม ม.๖๙

คุณ sigsax  ต้องถูกปรับ ๑ มิ้อเย็นปลายเดือน.. แล้วครับ.   ยิ้มีเลศนัย
 


ต้องขออภัย คุณ sigsax  หรือท่านที่สนใจ. กฎหมาย. ด้วย
การให้ความเห็นทางกฎหมาย ควรต้องเป็นนักกฎหมาย ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจ
จริง จริง  .. 

การเป็นนักศึกษากฎหมาย  ยังไม่ใช่นักกฎหมาย.. อาจมองไม่ชัดในบางข้อเท็จจริง 
ที่จะต้องใช้มุมมอง อย่างการวินิจฉัยของศาล..
ฉะนั้นโปรดเลือกใช้วิธีการ คัดแปะ คำพิพากษาศาลฎีกา  เป็นดีที่สุด..
คำพิพากษาศาลฎีกา..จะมีข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และคำวินิจฉัย เป็นเหตุผล ครบถ้วนแล้ว

โปรดเลี่ยง อย่ามีความเห็นทางกฎหมายใด ใด ซ้ำลงไปอีกเลย..
ไม่จำเป็นอีกแล้ว ..  เพราะอาจจะสร้างความสับสน ขึ้นมาได้อีก

ที่ คุณ countrypolice . กระทำอยู่ใช้ได้เลย.. ครับ   เยี่ยม
.


บันทึกการเข้า

Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #203 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 09:04:18 PM »

ผมสงสัยว่าในเวลาขับรถเดินทางไปต่างจังหวัดที่เป็นพื้นที่เปลี่ยวแล้วเราเตรียมปืนเตรียมกระสุนขึ้นลำกล้องไว้เก็บไว้ในกระเป๋าวางไว้ข้างตัวเมื่อเจอกับด่านตำรวจตรวจพบอาวุธปืนที่เก็บในกระเป๋าที่วางข้างตัวเรานั้นมีความผิดหรือไม่ ถ้ามีความผิดมีความผิดร้ายแรงหรือไม่ ท่านสมาชิกท่านใดที่อ่านกระทู้ของผมแล้วช่วยตอบปัญหานี้กับผมและประโยชน์กับทุกคนที่ควรรู้ด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ
ยังไม่เข้าเป็น.. พฤติการณ์ที่เรียกว่า มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควร 
ครบเป็นองค์ประกอบความผิด ตาม พรบ.อาวุธปืน ฯม. ๘ ทวิวรรคแรก  ครับ.

พฤติการณ์ มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วน 
เช่น.. ติดตามคนร้ายที่มีอาวุธ ที่เพิ่งก่อเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์ หรือชีวิต ..
ไปในทันทีทันใดนั้น. หรือที่เรียกว่า ตามโจรปล้นควาย..  Smiley


บันทึกการเข้า

sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #204 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 09:36:31 PM »

  

ดังนั้น  จากพฤติการณ์แบบนั้น  .. หากเราได้ร้องบอกไปแล้วว่าให้หยุด  หากไม่หยุดจะยิง
แล้วคนร้ายยังไม่ยอมหยุด  และไม่มีวิธีการอื่นๆใดๆอีกที่จะพอจะสกัดกั้นจับกุมคนร้ายได้ในทันทีทันใดนั้น
หรือในอนาคตที่คาดเล็งเห็นได้ .. การที่เราเอาปืนยิงไปที่ขาคนร้ายเพียง ๑ นัด 
ย่อมแสดงเจตนาของเราได้ว่าไม่ได้มีเจตนาฆ่าคนร้ายให้ตาย .. แต่เพียงเพื่อสกัดจับกุมคนร้ายเท่านั้น 
 .. จึงน่าจะถือว่าพอสมควรแก่เหตุได้...

แต่อย่างไรก็ตาม ..เมื่อกระสุนพลาดไปถูกกลางหลัง แล้วคนร้ายเกิดตาย ..
กรณีอย่างนี้หากพูดตามหลักกฎหมาย   ก็ยังถือว่าเป็นการพอสมควรแก่เหตุอยู่
เพราะเจตนาเบื้องต้นตั้งใจจะยิงที่ขาเท่านั้น  ซึ่งเป็นเรื่องพอสมควรแก่เหตุ
เมื่อพลาดไปเจตนาเบื้องต้นก็ต้องโอนตามไปด้วยเช่นกัน  .. เพราะจะไปฟังว่ามีเจตนาฆ่าไม่ได้
เนื่องจากตั้งใจยิงแค่ที่ขา 


แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น  การกระทำแบบนี้ .. ถ้าจะมองว่าเกินกว่าเหตุตามปอ. มาตรา ๖๙ ก็มีได้
หากว่า ( 1  )  ระยะที่เรากับคนร้ายอยู่ห่างกันจนเกินระยะที่เราจะเล็งปืนไปยิงที่ขาได้ 
เช่น เป็น 10 เมตรขึ้นไป    อย่างนี้จะอ้างว่าเราเล็งยิงที่ขาไม่ได้  เพราะระยะไกลเกินกว่าจะเล็ง 
เมื่อยิงไปแล้วถูกกลางหลัง   จะเป็นเจตนาเล็งเห็นผลทันทีว่า  ไม่ควรยิงเพราะยิงอาจไม่โดนขา
แต่ไปโดนหลังได้    ซึ่งเราคนยิงย่อมอาจคาดหมายได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว   ว่าอาจจะไม่โดนขาก็ได้ 
อย่างนี้รูปการณ์อาจจะเป็นการยิงโดยเจตนาเล็งเห็นผลไป และจะทำให้เกินกว่าเหตุไปได้

( 2) หากระยะที่เรายิงใกล้มากๆ แค่ 2-4 เมตร แล้วคนร้ายก็วิ่งทางตรง ไม่ได้วกไปมาหรือเฉียงไปเฉียงมา
อย่างนี้ระยะดังกล่าว ย่อมมองได้ว่าเป็นระยะที่ใกล้ เมื่อเล็งยิงที่ขา .. แล้วกระสุนก็น่าจะไปถูกขาเพราะยิงในระยะใกล้  .. หากกระสุนยังไปถูกกลางหลัง  .. น่าจะอ้างยากพอสมควรว่าเจตนายิงที่ขา........
เว้นเสียแต่ว่ามีพฤติการณือื่นๆเข้ามาอีกเช่นว่า ขณะยิงไปที่ขาแล้วคนร้ายล้มลงพอดี เป็นต้น
ก็อาจจะนำมารับฟังได้ ..

 ข้อเท็จจริงไหน .. จะเป็น พอแก่เหตุ / เกินกว่าเหตุ  .. ตอบเป็นหลักตายตัวให้ไม่ได้
ต้องแล้วแต่พฤติการณ์เรื่องราว + ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นมาฟังประกอบกันด้วยครับ ....

ดังนั้น ..กรณีแบบที่ถาม .. จะเป็นพอแก่เหตุหรือไม่ .. จึงต้องดูข้อเท็จจริงเหล่านี้ประกอบเข้ากันด้วยครับ....
[/quote]

ที่ผมมาร์คสีแดง .. ขอมาเติม ความเห็นทางกฎหมาย..ให้ ครับ. Smiley
ข้อเท็จจริงนี้ ไม่ใช่กระทำโดยพลาด ครับ. . กระทำโดยพลาด เจตนากระทำต่อคนร้าย
แล้วพลาดไปโดนคนอื่น . ตาม ป.อาญา ๖๐,๖๒.

แต่ข้อเท็จจริงนี้ เข้าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามป.อาญา ม.๒๘๘ เลยละครับ ..
แต่เป็นข้อเท็จจริง ที่เกิดจากต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน.. จากการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย. 
แต่ได้กระทำไปโดยเกินสมควรแก่เหตุ .. เป็นความผิดเข้าตาม ม.๖๙

คุณ sigsax  ต้องถูกปรับ ๑ มิ้อเย็นปลายเดือน.. แล้วครับ.   ยิ้มีเลศนัย
 


ต้องขออภัย คุณ sigsax  หรือท่านที่สนใจ. กฎหมาย. ด้วย
การให้ความเห็นทางกฎหมาย ควรต้องเป็นนักกฎหมาย ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจ
จริง จริง  .. 

การเป็นนักศึกษากฎหมาย  ยังไม่ใช่นักกฎหมาย.. อาจมองไม่ชัดในบางข้อเท็จจริง 
ที่จะต้องใช้มุมมอง อย่างการวินิจฉัยของศาล..
ฉะนั้นโปรดเลือกใช้วิธีการ คัดแปะ คำพิพากษาศาลฎีกา  เป็นดีที่สุด..
คำพิพากษาศาลฎีกา..จะมีข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และคำวินิจฉัย เป็นเหตุผล ครบถ้วนแล้ว

โปรดเลี่ยง อย่ามีความเห็นทางกฎหมายใด ใด ซ้ำลงไปอีกเลย..
ไม่จำเป็นอีกแล้ว ..  เพราะอาจจะสร้างความสับสน ขึ้นมาได้อีก

ที่ คุณ countrypolice . กระทำอยู่ใช้ได้เลย.. ครับ   เยี่ยม
.



[/quote]

 ขอบคุณท่านโรดที่ทักท้วงคัรบ   
จริงที่เขียนสีแดงนั้น  ผมไม่ได้ให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตามปอ. มาตรา ๖๐ หรอกครับ
เพียงแต่ต้องการสื่อให้เห็นว่า .. เมื่อตั้งใจยิงคนร้าย . แค่ที่ขา ก็ย่อมแสดงเจตนาว่า .. ไม่อยากฆ่า
เมื่อลูกกระสุนมันพลาดไปถูกหลัง .. ( ก็เลยต้องใช้คำๆนั้นว่าพลาดไปถูกหลัง ) เพราะเลี่ยงเป็นคำอื่นไม่ได้

และที่บอกว่าเจตนาโอนนั้น ก็ไม่ได้สื่อถึงเรื่องโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ นะครับ
เพียงแต่จะสื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆว่า . เมื่อเจตนายิงขาคนร้ายกำลังวิ่งหนี  เพื่อสกัดจับ .
( เป็นเรื่องที่ดูพอแก่เหตุอยู่ด้วย )  แต่กระสุนมันพลาดไปโดนหลัง  .. เจตนาเดิมยังมีอยู่คือยิงที่ขา
เมื่อไปโดนหลัง ก็เลยสื่อไปว่าเขาไม่ได้เจตนา .. จะไปฟังว่าเขามีเจตนาฆ่าไม่ได้ ..
( ส่วนจะไปเข้ามาตรา ๒๙๐ ว่าฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาหรือไม่นั้นก็ต้องมาว่าวินิจฉัยกันอีกทีหนึ่งต่างหาก )

เมื่อฟังว่าเขามีเจตนาฆ่าฟังไม่ได้  เจตนาที่เขาทำไปก็เลยยังดูพอสมควรแก่เหตุอยู่.. เพียงแต่ผลที่เกิด  ตกใจ

และจะเป็นการเกินกว่าเหตุไปหรือไม่นั้น .. ก็ได้ไปเน้น ในประโยคหลังๆข้อ 1, 2  ตามมาให้เห็นอีกทีหนึ่ง

ดังนั้นผมว่าท่าน  Ro@d  อาจจะอ่านแล้วตีความหมายไปคนละทางกับผม

แต่ถ้าผมเขียนไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจเอง .. ก็ต้องขออภัยมา ณ .ที่นี้ด้วยครับ..... หลงรัก

ปล. อย่างไรก็ตาม ..สำหรับความเห็นที่ผมแสดงไปนั้นเป็นความเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้น
ไม่ใช่บรรทัดฐานอย่างเช่นคำพิพากษาฎีกา  จึงไม่ควรยึดถือเป็นหลักปฎิบัติตายตัว  ขอผ่านเพียงเป็น
ความเห็นเชิงกฎหมายจากนักกฎหมายคนหนึ่งเท่านั้น  และเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน ผมจึงได้เข้าไปแก้ไขรายละเอียดบางส่วนออกไปแล้ว  แล้วให้ความเห็นส่วนตัวในเชิงกฎหมายไว้   พร้อมลงฎีกาเปรียบเทียบไว้ให้ดู
เพื่อให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการตัดสินในด้วยครับ ...



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2007, 09:52:38 AM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #205 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 10:02:30 PM »

 ขำก๊าก เยี่ยม Grin Cheesy Smiley Smiley
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2007, 09:55:41 AM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #206 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 10:08:35 PM »

จริงที่เขียนสีแดงนั้น  ผมไม่ได้ให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตามปอ. มาตรา ๖๐ หรอกครับ
เพียงแต่ต้องการสื่อให้เห็นว่า .. เมื่อตั้งใจยิงคนร้าย . แค่ที่ขา ก็ย่อมแสดงเจตนาว่า .. ไม่อยากฆ่า
เมื่อลูกกระสุนมันพลาดไปถูกหลัง .. ( ก็เลยต้องใช้คำๆนั้นว่าพลาดไปถูกหลัง ) เพราะเลี่ยงเป็นคำอื่นไม่ได้

และที่บอกว่าเจตนาโอนนั้น ก็ไม่ได้สื่อถึงเรื่องโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ นะครับ
เพียงแต่จะสื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆว่า . เมื่อเจตนายิงขาคนร้ายกำลังวิ่งหนี  เพื่อสกัดจับ .
( เป็นเรื่องที่ดูพอแก่เหตุอยู่ด้วย )  แต่กระสุนมันพลาดไปโดนหลัง  .. เจตนาเดิมยังมีอยู่คือยิงที่ขา
เมื่อไปโดนหลัง ก็เลยสื่อไปว่าเขาไม่ได้เจตนา .. จะไปฟังว่าเขามีเจตนาฆ่าไม่ได้ ..
( ส่วนจะไปเข้ามาตรา ๒๙๐ ว่าฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาหรือไม่นั้นก็ต้องมาว่าวินิจฉัยกันอีกทีหนึ่งต่าง
หาก )


กรณี ถือเป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญไม่ใช่การตีความครับ. มิฉะนั้น
มันจะเป็นการเปิดทางให้เป็นการแก้ตัว .. นักกฎหมายเขาจะไม่มองอย่างนั้นครับ

เมื่อยิงโดน หัว โดนหลัง ถึงแก่ความตายไปแล้ว..
หากยอมให้แก้ตัวว่า  เจตนายิงขา.. แล้วไปโดนหัว..
ทางการพิจารณาในศาล..น่าจะรับฟังไม่ขึ้นครับ. .
น่าจะเป็นความผิด ตาม ป.อาญา มา ๖๙  ริบปืน ทุกคดี ครับ .  เยี่ยม

กรณีจะเข้า ม ๖๘  ง่ายที่สุด คือ คนร้าย จะต้องมีอาวุธปืน ..
และกำลังจะใช้อาวุธปืนนั้น ยิงทำร้าย บุคคลอื่น

และเรื่องนี้ ไม่ใช่ ป. อาญา ม. ๒๙๐ การใช้อาวุธปืน ยิงผู้อื่น เข้า ๒๘๘ ทั้งนั้น มีแต่ต้องยกเหตุ
ให้เข้า ตาม ม.๖๘  ถ้าไม่เข้า ๖๘  ต้องให้เป็นกระทำเกินกว่าเหตุ เพื่อเข้าตาม ม.๖๙.  Smiley    



บันทึกการเข้า

Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #207 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 10:14:30 PM »

การให้ความเห็นทางกฎหมาย ควรต้องเป็นนักกฎหมาย ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจ
จริง จริง  .. 

การเป็นนักศึกษากฎหมาย  ยังไม่ใช่นักกฎหมาย.. อาจมองไม่ชัดในบางข้อเท็จจริง 
ที่จะต้องใช้มุมมอง อย่างการวินิจฉัยของศาล..
ฉะนั้นโปรดเลือกใช้วิธีการ คัดแปะ คำพิพากษาศาลฎีกา  เป็นดีที่สุด..
คำพิพากษาศาลฎีกา..จะมีข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และคำวินิจฉัย เป็นเหตุผล ครบถ้วนแล้ว

โปรดเลี่ยง อย่ามีความเห็นทางกฎหมายใด ใด ซ้ำลงไปอีกเลย..
ไม่จำเป็นอีกแล้ว ..  เพราะอาจจะสร้างความสับสน ขึ้นมาได้อีก

ที่ผมบอกไว้ ข้างต้นนี้ ด้วยความหวังดี จริง จริง.. ผมเป็นนักกฎหมาย ถ้าเห็นชัดว่า
การให้คำปรึกษา ยังคลาดเคลื่อน .. ผมจะช่วยเติมให้เสมอ. .จะไม่ปล่อยไว้ ให้เลยตามเลย     เยี่ยม
บันทึกการเข้า

sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #208 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 10:15:44 PM »

จริงที่เขียนสีแดงนั้น  ผมไม่ได้ให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตามปอ. มาตรา ๖๐ หรอกครับ
เพียงแต่ต้องการสื่อให้เห็นว่า .. เมื่อตั้งใจยิงคนร้าย . แค่ที่ขา ก็ย่อมแสดงเจตนาว่า .. ไม่อยากฆ่า
เมื่อลูกกระสุนมันพลาดไปถูกหลัง .. ( ก็เลยต้องใช้คำๆนั้นว่าพลาดไปถูกหลัง ) เพราะเลี่ยงเป็นคำอื่นไม่ได้

และที่บอกว่าเจตนาโอนนั้น ก็ไม่ได้สื่อถึงเรื่องโดยพลาดตามมาตรา ๖๐ นะครับ
เพียงแต่จะสื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆว่า . เมื่อเจตนายิงขาคนร้ายกำลังวิ่งหนี  เพื่อสกัดจับ .
( เป็นเรื่องที่ดูพอแก่เหตุอยู่ด้วย )  แต่กระสุนมันพลาดไปโดนหลัง  .. เจตนาเดิมยังมีอยู่คือยิงที่ขา
เมื่อไปโดนหลัง ก็เลยสื่อไปว่าเขาไม่ได้เจตนา .. จะไปฟังว่าเขามีเจตนาฆ่าไม่ได้ ..
( ส่วนจะไปเข้ามาตรา ๒๙๐ ว่าฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาหรือไม่นั้นก็ต้องมาว่าวินิจฉัยกันอีกทีหนึ่งต่าง
หาก )


กรณี ถือเป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญไม่ใช่การตีความครับ. มิฉะนั้น
มันจะเป็นการเปิดทางให้เป็นการแก้ตัว .. นักกฎหมายเขาจะไม่มองอย่างนั้นครับ

เมื่อยิงโดน หัว โดนหลัง ถึงแก่ความตายไปแล้ว..
หากยอมให้แก้ตัวว่า  เจตนายิงขา.. แล้วไปโดนหัว..
ทางการพิจารณาในศาล..น่าจะรับฟังไม่ขึ้นครับ. .
น่าจะเป็นความผิด ตาม ป.อาญา มา ๖๙  ริบปืน ทุกคดี ครับ .  เยี่ยม

กรณีจะเข้า ม ๖๘  ง่ายที่สุด คือ คนร้าย จะต้องมีอาวุธปืน ..
และกำลังจะใช้อาวุธปืนนั้น ยิงทำร้าย บุคคลอื่น

และเรื่องนี้ ไม่ใช่ ป. อาญา ม. ๒๙๐ การใช้อาวุธปืน ยิงผู้อื่น เข้า ๒๘๘ ทั้งนั้น มีแต่ต้องยกเหตุ
ให้เข้า ตาม ม.๖๘  ถ้าไม่เข้า ๖๘  ต้องให้เป็นกระทำเกินกว่าเหตุ เพื่อเข้าตาม ม.๖๙.  Smiley    





ขอมองต่างมุมนะครับ .. ผมมองว่า
 ไม่แน่เสมอไปครับท่านโรด .. ข้อเท็จจริงต้องขึ้นอยู่กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆในตอนนั้น ..

ยิงที่ขา แต่ไปโดนหลัง .. เป็นไปได้ในหลักของความเป็นจริง
เช่น ยิงไปแฉลบพื้น เป้นต้น ..

แต่ต้องอยู่ที่การนำสืบเอาความจริงดังกล่าวมากระทำปรากฎให้ศาลเห็นให้ได้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก
 เป็นเพียงคุยกันในทางทฤษฎี.  ก็เห็นว่าอย่างนี้

แต่ทางปฎิบัติ ถ้ามีเจตนาแค่ยิงที่ขาจริงๆ  .จำเลยก็เหนื่อยหน่อยครับ ..
เพราะกระสุนถูกกลางหลัง  ...แต่จะต้องอธิบาย/นำสืบให้ศาลฟังอย่างไร  ..ว่ามีเจตนาแค่ยิงที่ขา  เศร้า...

ประการสำคัญ  จขกท. ที่ถามๆเจตนาว่ายิงแค่ที่ขา .. ก็เลยจำต้องอธิบายเจตนาตามกฎหมายให้ฟังตามทฤษฎีครับ    แต่โลกของความจริง  การจะนำสืบว่าเจตนายิงแค่ที่ขานี้ .. จำเลย .ยากแล้วครับ
นอกเสียจากมีคนเห็นเหตุการณ์ว่าเล็งปืนยิงเบื้องต่ำที่ขาจริงๆ / หรือมีรอยกระสุนที่พื้นถนนชัดเจนจริงๆ
แล้วมาเป็นพยานให้จำเลย .. ซึ่งในความเป็นจริงเป็นเรื่องยากมากๆครับ

และเจตนายิงที่ขาไปโดนหลัง .. แม้เจตนายังงั้นจริงๆ แต่ถ้าไม่มีใครมาเป็นพยานให้หรือไม่มีพยานมา
ให้ศาลฟังสอดคล้องเจือสมกับเจตนาอันนั้นแล้วละก็
ก็มีสิทธิติดคุกได้เลยครับ .........
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2007, 10:47:38 PM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #209 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 10:36:40 PM »

ขออนุญาตยืมกระทู้เรียนถามเพิ่มเติมนะครับ ไม่แน่ใจว่าถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นจะเป็นการป้องกัน (ทรัพย์สิน) โดยสมควรแก่เหตุหรือป่าวครับ
เช้าวันหนึ่งจำเลยได้เดินจ่ายตลาดอยู่ทางด้านท้ายตลาด แล้วผู้ตายได้วิ่งราวโดยกระชากสร้อยคอทองคำของจำเลยที่สวมอยู่ สร้อยคอขาดติดมือผู้ตายไป แล้วผู้ตายได้วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามแล้วร้องบอกให้หยุดเอาสร้อยคืนมาไม่งั้นจะยิง แต่ผู้ตายไม่ยอมหยุดและวิ่งหนีต่อไปพร้อมกับเอาสร้อยคอทองคำของจำเลยติดมือไปด้วย จำเลยเห็นดังนั้นจึงใช้ปืนขนาด 9 มม. ( กระสุนหัวรู ) ยิงไปทางผู้ตายหมายจะให้โดนขาล้มลง โดยมิได้มีเจตนาฆ่าให้ถึงแก่ความตาย แต่กระสุนพราดเป้าไปเข้ากลางหลังผู้ตาย กระสุนฝังในปอดผู้ตาย เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายในที่สุด
ไม่ทราบว่ากรณีนี้ถ้าให้ท่านผู้เชี่ยวชาญ และหมอความทั้งหลาย วิเคราะห์ ดูแล้วน่าจะเป็นการป้องกันทรัพย์สินโดยชอบธรรม และสมควรแก่เหตุหรือป่าวครับ (อันนี้พูดถึงป้องกันทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับป้องกันชีวิตนะครับ)

ปล. ภาษากฎหมายไม่ค่อยคล่อง เนื่องจากไม่ได้จบกฎหมาย กรุณาชี้แนะด้วยครับ


 เมื่อ จขกท . ที่ถาม ถามมาว่าเขามีเจตนายิงแค่ให้โดนขา ไม่ได้มีเจตนาฆ่าให้ตาย
จึงจำเป็นต้องใช้หลักกฎหมายอธิบายทางทฤษฎีไปตามนั้นครับ ..

มิได้มีเจตนา .. หาทางให้แก้คดีกันแต่อย่างใด...
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ... 11 12 13 [14] 15 16 17 ... 38
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.113 วินาที กับ 22 คำสั่ง