หลักเกณฑ์ของการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย ( มี ๔ ข้อ ) คือ๑ . มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
เช่น มีคนมาปล้น มาจะฆ่า จะทำร้าย เป็นต้น
ระวัง หากเขามีสิทธิทำร้ายเราได้ เช่นพ่อมีสิทธิว่ากล่าว / ตีลูก เมื่อเราทำผิดบิดามารดา
ลงโทษเรา /ตีเรา ไม่ถือเป็นภยันตรายตามข้อ ๑ นี้ เราตอบโต้แล้วอ้างป้องกันไม่ได้
มีฎีกา ที่ ๔๒๙/๒๕๐๕ ว่าพระตีลูกศิษย์ ลูกศิษย์ตอบโต้ ฆ่าพระ ไม่เป็นป้องกัน
กรณีเห็นเมียกำลังนอนกอดกับชายชู้ ถือเป็นภยันตรายที่มาละเมิดตามข้อ ๑ แล้ว
แต่ก็แยกว่า ถ้าภริยาจดทะเบียนสมรสกับเรา เราฆ่าชู้ เป็นป้องกัน ( ฏีกาที่๓๗๘/๒๔๗๙ )แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียน ไม่เป็นป้องกัน แต่อ้างบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๒ เพื่อให้ศาลลงโทษน้อยลงได้ ( ฎีกาที่ ๒๔๙/๒๕๑๕ )
แม้จะมีภยันตรายตามข้อ ๑ แล้วก็ตาม แต่ผู้ที่จะอ้างป้องกันได้
จะต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายดังกล่าวขึ้นด้วย คือ
- ไม่เป็นผู้ที่ก่อภัยขึ้นในตอนแรก
เช่น ฎีกาที่ ๒๕๑๔/ ๒๕๑๙ จำเลยชกต่อยก่อน แล้ววิ่งหนี เขาไล่ตามต่อเนื่อง
ไม่ขาดตอน จำเลยยิงเขาตาย อ้างป้องกันไม่ได้
- ไม่เป็นผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทกัน
เช่นฎีกาที่ ๒๓๒๒/๒๕๒๒ จำเลยโต้เถียงกันคนตาย แล้วก็ท้าทายกัน
สมัครใจเข้าชกต่อยต่อสู้กัน แม้คนตายจะยิงก่อน แล้วจำเลยยิงสวน
ก็อ้างป้องกันไม่ได้
- ไม่เป็นผู้ที่ยินยอมให้ผู้อืนกระทำต่อตนโดยสมัครใจ
เช่น ให้เขาลองของคุณไสย์ คงกระพัน แล้วจะไปโกรธตอบโต้ภายหลัง
อ้างป้องกันไม่ได้
- ไม่เป็นผู้ที่ไปยั่วให้คนอื่นเขาโกรธก่อน
เช่นไปร้องด่าพ่อแม่ ด่าหยาบคายกับเขาก่อน พอเขาโกรธมาทำร้ายเรา
เราก็ตอบโต้ เราอ้างป้องกันไม่ได้
มีข้อสงสัยครับ ขออนุญาตอ้างอิงจากหน้าแรก
คือสงสัยว่าด้วยเหตุที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บ(ทางกาย) จะเป็นเหตุอันควรหรือไม่ที่จะกระทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต
กรณีโจทย์เข้าไปในห้องเห็นภรรยานอนกอดกับชายชู้ ซึ่งอ้างตามข้อ๑ "ถือเป็นภยันตรายที่มาละเมิด" โจทย์ยิงชายชู้ตาย
โดยที่ผู้ตายไม่ได้แสดงการเข้าทำร้ายโจทย์เลย และฝ่ายภรรยาสมยอม
ถือเป็นความผิดเกินกว่าเหตุหรือไม่
และหากกลับกัน ภรรยาไปเห็นสามีตนเองกอดกับหญิงอื่น และภรรยายิงหญิงอื่นตาย