ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ดี ๆ อย่างนี้
อย่างนี้ถ้าเราไปเจอผู้ร้ายกำลังปล้นธนาคาร หรือร้านทอง
เราก็สามารถเข้าช่วยเหลือได้โดยไม่มีความผิดน่ะซิครับ
เอ แต่ว่าเราจะยิงก่อนเลยได้หรือปล่าว ถ้าคนรายมีอาวุธปืน
หรือว่าต้องรอให้คนร้ายชี้ปืนมาที่เราก่อน (แต่น่ากลัวจะไม่ทัน)
รอดจากข้อหาใช้วาวุธได้ แต่จะรอดจากข้อหาพกพารึเปล่าครับ อยากได้คำตอบสำหรับคำถามนี้ด้วยค่ะ
ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
เมื่อเจอคนร้ายกำลังกระทำความผิดซึ่งหน้า ราษฎรอย่างเราๆก็อาศัย
อำนาจตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๙ มาตรา ๘๐ และ
มาตรา ๘๓ เข้าไปจับกุมได้เลยครับ
โดยไม่ถือเป็นความผิดอะไร เมื่อถูกคนร้ายเข้าขัดขวางการจับกุม
ก็อาศัยอำนาจตามความ ใน มาตรา ๘๓ วรรคท้าย ที่บัญัติว่า
( ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับ ขัดขวาง หรือจะขัดขวางการจับกุม
หรือหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธี
หรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้นั้น )
อาศัยอำนาจตามข้อความวรรคท้ายของมาตรานี้ มาป้องกัน / ตอบโต้
การต่อสู้หรือขัดขวางการจับกุม ของคนร้ายได้เลยครับ
ดังนั้น ก็กลับมาสู่หลักเดิม คือเรื่องการป้องกันตัวตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๖๘ ได้อีก ว่า คนร้ายทำท่าจะยิงเรา เราก็ยิงสวนป้องกันตัวได้
ตามหลักในแนวคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้นครับ ถือเป็นภยันตราย
ที่ใกล้จะถึงที่จะเกิดกับผู้จะเข้าจับกุมอย่างเรา ที่เข้าจับกุมโดยอาศัยกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๓ นั่นเอง
เมื่อคนร้ายเกิดตาย เราก็อ้างได้ว่ามีสิทธิเข้าจับได้ / เข้าช่วยเหลือได้
และอ้างสิทธิป้องกันตัวได้ด้วย ไงครับ
ผลคือไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตาย / พยายามฆ่า / ทำร้ายร่างกาย
ส่วนข้อหาพกพาปืนโดยไม่มีใบพก ก็จะตกไป เพราะถือว่าในกรณีนี้
มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามควรแก่พฤติการณ์ ที่จะต้องใช้ปืนแล้วละครับ
เพราะหากเราไม่มีปืน เราก็คงไม่เข้าช่วยเหลือ / เข้าจับกุม
และอาจเกิดผลร้ายกับเหยื่อของคนร้ายได้ครับ .. .. ..
เขาคงไม่รอดครับ ..
ส่วนที่ว่าจะยิงคนร้ายก่อนได้ไหม ผมตอบไม่ได้
ต้องดูพฤติการณ์ เป็นเรื่องๆไป ยกตัวอย่างเช่น
ไปเจอเหตุการณ์คนร้ายกำลังเอาปืนจี้คนขายในร้านทองอยู่พอดี
คนร้าย ๒ -๓ คน ล้วนมีปืนครบมือทุกคน คลุมหน้าตา
กรณีอย่างนี้ เชื่อได้เลยว่า หากเราเรียกคนร้ายหันมาเจอเรา
ต้องยิงเราแน่ ไม่ปล่อยไว้ และพฤติการณ์ที่คนร้ายกำลังเอาปืนจ่อ
ไปที่เจ้าของร้านทอง ถือเป็นภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย
ที่ใกล้จะถึงที่เกิดกับเจ้าของร้านทองแล้วละครับ เรายิงได้ทันทีเลย
เป็นป้องกันสิทธิของเจ้าของร้านทองครับตาม มาตรา ๖๘ ได้ครับ
อีกตัวอย่างหนึ่ง สมมุติว่าเราไปเจอคนร้ายกำลังยิงคนอยู่ ถือว่า
กรณีอย่างนี้เกิดภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายที่ใกล้จะถึง หรือถึงแล้ว
แก่เหยื่อเคราะห์ร้ายคนนั้นแล้วละครับ เจอแบบนี้เรายิงโจรได้เลย
เป็นการป้องกันสิทธิของเหยื่อรายนั้นได้ครับ ตามมาตรา ๖๘
เพราะถ้าเราไม่ยิง คนร้ายมันก็ต้องยิงเหยื่อตายครับ
ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับกรณีที่มีคนเอาปืนมาจ้องเล็งกำลัง
จะยิงเรา เราก็ยิงสวนตอบโต้ไปได้ ถ้าไม่ยิงเราก็ตาย
ส่วนอันนั้น หากเราไม่ยิง เหยื่อเคราะห์ร้ายก็ต้องตาย
หลักป้องกันเดียวกันครับ ไม่ว่าป้องกันสิทธิของตนเองหรือ
สิทธิของผู้อื่น .. .
เป็นการอธิบายโดยใช้หลักกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลฎีกาครับ
ไม่ถูกใจ ไม่เห็นด้วยยังไง ก็ยินดีน้อมรับฟังครับ
เพราะยังไง เมื่อมีคดีเกิดขึ้น ก็ต้องให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยครับ
ซึ่งศาลก็ต้องใช้หลักการหรือหลักกฎหมายแบบเดียวกันกับที่อธิบายมานี่แหละครับ
รวมทั้งหลักอ้างอิงตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาปรับเทียบเคียงไปด้วยครับ .. .. .