เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 20, 2024, 04:31:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 ... 38
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย  (อ่าน 323992 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #60 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 12:57:47 PM »

อ้างถึง


ครับ
อ่านแล้วทำให้ใจคึกดี มีความรู้ ครับ
แต่ต้องระวังการใช้อาวุธด้วยนะครับ
หากยิงโจรไม่ถูก แล้วลูกปืนบินไปถูกคนอื่นนี่ เรื่องใหญ่นะครับ
คนบริสุทตาย หรือพิการ 1 คน ค่าเสียหายทางแพ่งไม่เท่ากันครับ

อ้างถึง

  ครับท่าน kobsak ครับ  เรื่องยิงคนร้ายหากเป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ
ตาม มาตรา ๖๘ แล้ว ก็ไม่ต้องกลัวครับ  แม้ลูกกระสุนจะพลาดไปโดนใคร
ก็ตาม  เจตนาป้องกันนี้มันโอนไปด้วยครับ  เรื่องนี้ก็เคยมีคำพิพากษา
ศาลฎีกาตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐานแล้ว  ตามนี้ครับ

 ฎีกาที่  ๒๐๕ / ๒๕๑๖    ผู้ตาย ผู้เสียหาย และจำเลยร่วมดื่มสุราด้วยกัน
จนเมา  แล้วจำเลยกับผู้ตายทะเลาะกัน   ผู้เสียหายจึงชวนจำเลยกลับบ้าน
ผู้ตายตามมาต่อยและเตะจำเลยจนล้ม  ลุกขึ้นมาก็ยังถูกเตะอีก    เมื่อผู้ตาย
เตะอีก  จำเลยก็ใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวไป  แทงสวนผู้ตายไป ๒ - ๓ ครั้ง
ถูกผู้ตาย   ระหว่างนั้นผู้เสียหายเข้าขวางเพื่อห้ามจึงถูกมีดได้รับบาดเจ็บ
ส่วนผู้ตายถึงแก่ความตาย    การกระทำของจำเลยต่อผู้ตายเป็นการกระทำโดย
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ   แม้จะพลาดไปถูกผู้เสียหายเข้า ซึ่งตามประมวล
กฎหมายอาญา  มาตรา ๖๐   จะถือว่าจำเลยมีเจตนาแทงผู้เสียหายก็ดี   แต่การกระทำ
ของจำเลยก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยแทงผู้ตาย  เพื่อป้องกันสิทธิพอสมควรแก่เหตุ
อันไม่เป็นความผิด   จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายผู้เสียหายด้วย


  ฎีกาที่  ๘๕๓๔ / ๒๕๔๔  จำเลยใช้ปืนยิงขึ้นฟ้า  เพื่อขู่มิให้กลุ่มวัยรุ่น
กลุ้มรุมทำร้าย ถ. เมื่อจำเลยยิงปืนขึ้นฟ้านัดที่ ๓ แล้ว  ได้มีกลุ่มวัยรุ่น
เข้ามาทุบที่ด้านหลังของจำเลย   จนเป็นเหตุให้จำเลยล้มลงและกระสุน
จากปืนที่จำเลยถืออยู่ได้ลั่นขึ้น ๑ นัด  ถูกผู้เสียหายซึ่งขับ
รถจักรยานยนต์ผ่านมาได้รับอันตรายแก่กายและถูกผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้าย
ถึงแก่ความตาย
พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าว
เป็นเหตุการณืที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน  จึงย่อมถือได้ว่าเป็น
การกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนและของผู้อื่น  ให้พ้นภยันตราย
ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ
  แม้การกระทำของจำเลย
ก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้เสียหายและผู้ตายโดยพลาดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๖๐ จำเลยก็ไม่มีความผิด เพราะการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมายตาม มาตรา ๖๘



ด้วยความเคารพ.............
เรื่องนี้ถ้าตีความว่า ถ้ายิงป้องกันตัวโดยชอบ เกิดลูกหลงไปโดนใครก็ไม่เป็นไร............เดี๋ยวจะไปกันใหญ่
ผมคิดว่าที่ศาลฎีกาท่านให้พ้นผิดนั้น เป็นการไม่เอาผิดในคดีอาญาเฉพาะในประเด็นของเจตนาทำร้าย

ผมคิดว่าความรับผิดในฐานละเมิด และการต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง ยังคงต้องมีอยู่ เป็นเรื่องที่ต้องแยกฟ้องต่างหากไป
ขอท่านจขกท.และท่านผู้รู้ ช่วยสอบค้นเป็นวิทยาทานด้วย

ผมไม่คิดว่า การอ้างเหตุป้องกันตัว ...... จะทำให้สามารถก้าวล่วงไปรอนสิทธิทั้งสิ้นในชีวิตร่างกายทรัพย์สินผู้บริสุทธิคนอื่นๆครับ....

 Smiley Smiley


.. เรื่องกระทำโดยพลาด .ต้องพิจารณา ป.อาญา มาตรา ๖๐ ประกอบ มาตรา ๖๘
   
   โดยสาระสำคัญ ต้องเริ่มจาก เป็นเจตนาเพื่อป้องกันตน ตาม ป.อาญา ๖๘ หรือไม่
   (จะพอสมควรแก่เหตุหรือไม่ก็ตาม)
   และต้องเป็นการกระทำกับโจร คนร้าย เท่านั้น.

   แม้ในทางอาญาจะรับฟังว่าไม่มีความผิด ถ้าเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ 
   แต่โดยกระสุนพลาดไปถูกคนอื่นตายนั้น.  ก็เฉพาะในความผิดทางอาญา เท่านั้น

   แต่ในทางแพ่ง . ผู้กระทำจะต้องรับผิดใน เรื่องละเมิด ป.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ .
   ตามหลักแล้ว.. จะยกข้ออ้างให้พ้นไปจากความรับผิดทางแพ่ง ไม่ได้ครับ.
 เป็นแต่ ป.แพ่ง มาตรา ๔๔๙ เป็นบทนิรโทษไว้ เพื่อให้ผู้เสียหายใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับ
 ผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น  Smiley

   การช่วยเหลือ บุคคลอื่น ให้พ้นจากภัยอันตราย เป็นเรื่องน้ำใจที่ดี
   ไม่ได้คิดถึงความเดือดร้อนที่จะเกิดกับตน ..
   ควรได้รับการยกย่องนับถือ อย่างที่สุด

   ไม่บังคับ ว่าความรู้สึกสำนึกนี้ จะต้องเกิดมีได้ทุกท่าน.
   จะมีหรือไม่มี ต่างไม่ถือเป็นเรื่องผิด ครับ. Smiley


 ขอบคุณท่าน Ro@d มากครับ  ที่ช่วยต่อเติมเพิ่มรายละเอียดครับ
ท่านถือเป็นนักกฎหมายประจำเวป มือฉมังท่านหนึ่งทีเดียวครับ
หากมีข้อต่อเติม  ตักเตือน  เข้ามาอีกก็ได้ครับ
เพียงเพื่อต้องการให้  ประดับความรู้ในเรื่องนี้ไว้เท่านั้นเองครับ

เพราะคนมีปืน  ยอมรับว่าเสี่ยงมากครับ  ปืนเหมือนดาบ ๒ คม
จึงได้ลงเรื่องนี้ไว้ให้ได้อ่านกันเท่านั้นครับ 

 ขอบคุณทุกท่าน  ที่สละเวลาเข้ามาอ่าน  ขอบคุณท่าน Ro@d
อีกครั้ง รวมทั้งนักกฎหมายท่านอื่นๆ  และท่านที่มีความรู้ท่านอื่นๆ
ในหลายๆสาขาวิชาด้วยครับ 

  แต่อย่างที่ท่าน Ro@d ว่าไว้เลยครับ  อ่านแล้วไม่บังคับว่าจะต้องไปทำตาม
ก็ไม่ผิดครับ   เป็นสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละท่านแล้วกันครับ
แค่เป็นรายละเอียดทางกฎหมายเรื่องหนึ่งเท่านั้นครับ

       ด้วยความเคารพ.ครับ.   หลงรัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 01:11:14 PM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #61 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 01:02:46 PM »

Cheesy.. ต้องขอขอบคุณ คุณ sigsax   จขกท.  มากครับ..
        เป็นประโยชน์ มากกับตัวผมเองด้วย

        โดย ฎีกา จะแสดงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่ปรับใช้ และ
        คำวินิจฉัยของศาลฎีกา  ไว้ชัดแจ้ง

        เพื่อนคอปืน สามารถอ่านและทำความเข้าใจ ได้ไม่ยากนัก

        แต่พึงเลี่ยง แสดงความเห็นส่วนตัว.  สำทับลงไปอีก
        ขนาดนักฎหมาย ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม . ยังอาจพลาดพลั้งได้

        ความเห็นที่ท่านเข้าใจว่าถูกต้อง.. 
        นั้นอาจคลาดเคลือนไปมาก .ก็ได้ครับ.

       

                  ขอบคุณครับ  

 ต่อไปนี้จะพึงระวังไม่ออกความเห็นส่วนบุคคลอีกครับ   
แต่อาจจะลงเป็นข้อเท็จจริง  ในคำพิพากษาศาลฎีกาให้แทน
เมื่อค้นเจอครับ  ..

     ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม  เชิญเลยครับ  เพราะผม
แค่คนเปิดกระทู้ให้  ต่อไปกระทู้นี้คือกระทู้ของทุกคน
ในความเห็นทางกฎหมายครับ  ..   .. . หลงรัก

       ด้วยความเคารพ ครับ ..   หลงรัก

 สุดท้ายต้องขอขอบคุณ ท่านผองพัฒ   ( วมต.) ใจดี   และคณะ
ท่าน RO 01   ถึง  RO 05  ทุกท่านด้วยครับ   ที่ปักหมุดกระทู้นี้เอาไว้
เพื่อให้เพื่อนๆ พี่ๆ  น้องๆ  ชาวเวปอาวุธปืนได้เข้ามาร่วมแสดง
ความคิดเห็นกันต่อไปครับ   

      หลงรัก หลงรัก หลงรัก หลงรัก หลงรัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 10:02:14 PM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

qq47
Full Member
***

คะแนน 2
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 167


« ตอบ #62 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 02:26:00 PM »

เยี่ยมมากๆครับ
บันทึกการเข้า
sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #63 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 08:24:56 PM »

         คราวนี้ขออนุญาตลงตัวบทกฎหมายเรื่องที่ราษฎรมีอำนาจจับกุมคนร้าย
ให้เพื่อนๆสมาชิกได้เห็นเป็นความรู้ประดับกันนะครับ


              ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

               มาตรา  ๗๙  ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้   เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์
แห่งมาตรา ๘๒  หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า  และความผิดนั้น
ได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย

               มาตรา ๘๐  ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น  ได้แก่ความผิดซึ่งเห็น
กำลังกระทำ  หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้
กระทำผิดมาแล้วสดๆ
               อย่างไรก็ดี  ความผิดอาญาดั่งระบุไว้ท้ายประมวลกฎหมายนี้
ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดั่งนี้
               ( ๑ ) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ
               ( ๒ ) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด
ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น  และมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด
หรือมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่น  อันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด
หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น

               มาตรา ๘๒  เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับจะขอความช่วยเหลือ
จากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้   แต่จะบังคับให้ผู้ใดช่วยโดย
อาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้

               มาตรา  ๘๓  ในการจับนั้น  เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ
ต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ  แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการ
ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจพร้อมด้วยผู้จับ   แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป
               ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับ  ขัดขวาง  หรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนี
หรือพยายามจะหลบหนี  ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลาย
เท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้นั้น

           
                                       บัญชีแนบท้าย
                      ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                                            ..................
ความผิดในกฎหมายลักษณะอาญา  ที่มาตรา ๗๙  อ้างถึง ซึ่งราษฎรมีอำนาจ
จับได้โดยไม่ต้องมีหมาย


ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล        มาตรา ๙๗ และ ๙๙

ขบถภายในพระราชอาณาจักร             มาตรา ๑๐๑ ถึง ๑๐๔

ขบถภายนอกพระราชอาณาจักร           มาตรา ๑๐๕ ถึง ๑๑๑

ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับ
ต่างประเทศ                                      มาตรา ๑๑๒

ทำอันตรายแก่ธงหรือเครื่องหมาย
ของต่างประเทศ                                มาตรา ๑๑๕

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน                     มาตรา  ๑๑๙ ถึง ๑๒๒ และ ๑๒๗

หลบหนีจากที่คุมขัง                           มาตรา  ๑๖๓ ถึง ๑๖๖

ความผิดต่อศาสนา                           มาตรา  ๑๗๒ และ ๑๗๓

ก่อการจลาจล                                   มาตรา ๑๘๓ และ ๑๘๔

กระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน
กระทำให้สาธารณชนปราศจากความ
สะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและ
ของถึงกัน  และกระทำให้สาธารณชน
ปราศจากความสุขสบาย                       มาตรา ๑๘๕ ถึง ๑๙๔ ,
                                                         ๑๙๖ , ๑๙๗ และ ๑๙๙

ปลอมแปลงเงินตรา                             มาตรา  ๒๐๒ ถึง ๒๐๕ และ ๒๑๐

ข่มขืนกระทำชำเรา                              มาตรา  ๒๔๓ ถึง ๒๔๖

ประทุษร้ายแก่ชีวิต                               มาตรา ๒๔๙ และ ๒๕๑

ประทุษร้ายแก่ร่างกาย                          มาตรา ๒๕๔ ถึง ๒๕๗

ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสีย
อิสรภาพ                                            มาตรา  ๒๖๘ , ๒๗๐ และ ๒๗๖

ลักทรัพย์                                            มาตรา ๒๘๘ ถึง ๒๙๖

วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์และ
โจรสลัด                                              มาตรา  ๒๙๗ ถึง ๓๐๒

กรรโชก                                               มาตรา  ๓๐๓ 



                                      ........................................................... .....
                                             ...................................................                           




             
บันทึกการเข้า

A B A C U S รั ก ใ น ห ล ว ง
สัตว์ โลก เดิน ไป ตาม แรง กรรม ดี ชั่ว อยู่ ที่ ใจ ตน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 206
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6399


มี ศัตรู เป็น บัณฑิต ดีกว่ามี มิตร เป็น ค น พ า ล


เว็บไซต์
« ตอบ #64 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 09:03:01 PM »

 หลงรัก
ครับ
ข้อมูล แง่คิด ก่อเกิดปัญญา และสติ แก่ชาวเวป อวป.
เหรียญ 2 หน้า  ดาบ 2 คม
ขอบคุณครับ
 หลงรัก
บันทึกการเข้า

Jade
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 2
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 556

อ้วน..เครียด..กินข้าว..


« ตอบ #65 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 09:52:16 PM »

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของกระทู้มากครับ
ได้ประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่รู้ ได้มีการถกกันในแง่ข้อกฎหมาย ทำให้คนอ่านพลอยได้ประโยชน์ไปด้วยครับ Grin Grin

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า


e.k.1911
ถ้าคนดีอยู่ในหมู่บ้านของชนเหล่าใด ความสุขและผลจักมีแก่ชนเหล่านั้น
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 251
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2809


Still Loving COLT


« ตอบ #66 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 10:04:00 PM »

คราวนี้ขออนุญาตลงตัวบทกฎหมายเรื่องที่ราษฎรมีอำนาจจับกุมคนร้าย
ให้เพื่อนๆสมาชิกได้เห็นเป็นความรู้ประดับกันนะครับ


 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 มาตรา ๗๙ ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์
แห่งมาตรา ๘๒ หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้น
ได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย

 มาตรา ๘๐ ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็น
กำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้
กระทำผิดมาแล้วสดๆ
 อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดั่งระบุไว้ท้ายประมวลกฎหมายนี้
ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดั่งนี้
 ( ๑ ) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ
 ( ๒ ) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด
ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น และมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด
หรือมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่น อันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด
หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น

 มาตรา ๘๒ เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับจะขอความช่วยเหลือ
จากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้ แต่จะบังคับให้ผู้ใดช่วยโดย
อาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้

 มาตรา ๘๓ ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ
ต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการ
ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจพร้อมด้วยผู้จับ แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป
 ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับ ขัดขวาง หรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนี
หรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลาย
เท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้นั้น

 
 บัญชีแนบท้าย
 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 ..................
ความผิดในกฎหมายลักษณะอาญา ที่มาตรา ๗๙ อ้างถึง ซึ่งราษฎรมีอำนาจ
จับได้โดยไม่ต้องมีหมาย


ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล มาตรา ๙๗ และ ๙๙

ขบถภายในพระราชอาณาจักร มาตรา ๑๐๑ ถึง ๑๐๔

ขบถภายนอกพระราชอาณาจักร มาตรา ๑๐๕ ถึง ๑๑๑

ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับ
ต่างประเทศ มาตรา ๑๑๒

ทำอันตรายแก่ธงหรือเครื่องหมาย
ของต่างประเทศ มาตรา ๑๑๕

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา ๑๑๙ ถึง ๑๒๒ และ ๑๒๗

หลบหนีจากที่คุมขัง มาตรา ๑๖๓ ถึง ๑๖๖

ความผิดต่อศาสนา มาตรา ๑๗๒ และ ๑๗๓

ก่อการจลาจล มาตรา ๑๘๓ และ ๑๘๔

กระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน
กระทำให้สาธารณชนปราศจากความ
สะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและ
ของถึงกัน และกระทำให้สาธารณชน
ปราศจากความสุขสบาย มาตรา ๑๘๕ ถึง ๑๙๔ ,
 ๑๙๖ , ๑๙๗ และ ๑๙๙

ปลอมแปลงเงินตรา มาตรา ๒๐๒ ถึง ๒๐๕ และ ๒๑๐

ข่มขืนกระทำชำเรา มาตรา ๒๔๓ ถึง ๒๔๖

ประทุษร้ายแก่ชีวิต มาตรา ๒๔๙ และ ๒๕๑

ประทุษร้ายแก่ร่างกาย มาตรา ๒๕๔ ถึง ๒๕๗

ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสีย
อิสรภาพ มาตรา ๒๖๘ , ๒๗๐ และ ๒๗๖

ลักทรัพย์ มาตรา ๒๘๘ ถึง ๒๙๖

วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์และ
โจรสลัด มาตรา ๒๙๗ ถึง ๓๐๒

กรรโชก มาตรา ๓๐๓



 ........................................................... .....
 ...................................................




 


สังเกตุว่าไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และความผิดฐานบุกรุก  ตามปอ.
บันทึกการเข้า

โปรดจงเอาดอกไม้เสียบไว้ที่ปลายปืน  แล้วหยิบยื่นไมตรีมิตรให้แก่กัน
cht.
Full Member
***

คะแนน 35
ออฟไลน์

กระทู้: 373


« ตอบ #67 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 11:39:03 PM »

วันนี้มีคดีตำรวจยิงคนร้ายกระชากกระเป๋าบาดเจ็บสองคน คนกระชากอายุประมาณ ๑๔ ปี ส่วนคนขับอายุประมาณ ๒๙ ปี ตามข่าวคือเจ้าหน้าที่สายตรวจยิงเตือนให้หยุดแล้วแต่คนร้ายยังเร่งเครื่องหนี จึงยิงใส่อีก ๕ นัด ซึ่งคนร้ายบาดเจ็บทั้งคู่ เจ้าหน้าที่สายตรวจก็เลยถูกตั้งข้อหาทำเกินกว่าเหตุไว้ก่อน ซึ่งข้อเท็จจริงคงจะมีการสอบสวนเพิ่มเติมต่อไป เพราะเจ้าหน้าให้การว่าเห็นคนร้ายเอามือกำบริเวณเอว เลยคิดว่าจะชักอาวุธจึงจำเป็นต้องยิงออกไปอีก ผมไม่แน่ใจว่ายิงตามตอนเร่งเครื่องหนี คือลักษณะการยิงตามหลังไปหรือเปล่า หรือเร่งเครื่องมอเตอร์ไซค์วิ่งเข้ามาหาเจ้าหน้าที่แล้วจึงยิงสวนออกไป ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งกับข้อกฏหมายครับ ก็น่าเห็นใจเจ้าหน้าที่ครับไม่รู้มันจะเข้ากับเรื่องภยันตรายที่จะเกิดมันผ่านพ้นไปแล้วหรือเปล่า หรือว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุจริงๆ อันนี้ก็ต้องดูพยาน หลักฐาน สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ครับ   
รายละเอียดจากข่าวสดครับ สําหรับตํารวจสายตรวจที่ติดตามจับกุมและยิงคนร้ายครั้งนี้ คือ ด.ต.พัลลภ คําภูแสน ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ลุมพินี
http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03p0108250250&day=2007/02/25&sectionid=0301
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 25, 2007, 11:45:07 PM โดย cht. » บันทึกการเข้า

The 1st Law of Gun Safety- The Gun Is Always Loaded!
The 2nd- Never Point A Gun At Something You're Not Prepared To Destroy!
The 3rd - Always Be Sure Of Your Target And What Is Behind It!
The 4th Law of Gun Safety- Keep Your Finger Off Trigger Until Your Sights Are On The Target!
sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #68 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 08:26:58 AM »

                  Cheesy ขอบคุณ  คุณ cht. มากครับ ที่นำข่าวเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้มาลงให้ดู
ผมจะไม่วิจารณ์   แต่ลองๆใช้วิจารณญาณ  พิจารณากันดูนะครับ   ว่าสมควรเป็นประการใด


ต่อไปจะขอนำคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับ เมื่อมีคนมาลักทรัพย์
แล้วเจ้าของทรัพย์มีสิทธิป้องกันทรัพย์ได้เพียงไหน  ที่จะเป็นป้องกัน
พอแก่เหตุหรือเกินกว่าเหตุหรือไม่  มาลงให้ได้ดูกัน


ฏีกาที่ ๒๙ / ๒๔๘๗   ใช้ไม้ซางยิงไก่ของผู้อื่นที่เข้ามากินผักสวนครัวตาย
เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

ฎีกา ๑๙๐๘ / ๒๔๙๔ คนร้ายขึ้นเรือนลักทรัพย์ได้แล้ววิ่งหนี   เจ้าทรัพย์
ไล่ไปทันใช้มีดแทงคนร้ายไป ๑ ที  คนร้ายตาย
เป็นป้องกันแต่เกินสมควรควรแก่เหตุ

ฎีกาที่ ๔๐๕ /๒๔๙๐ คนตายเข้าไปลักพืชไร่ในเวลากลางวัน
เจ้าของไร่ใช้ปืนยิงตาย   เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่ ๑๓๔๓ / ๒๔๙๕  ยิงคนร้ายขณะกำลังวิ่งหนีและพาเอาของที่ลักไปด้วย
โดยคนร้ายมิได้ทำอันตรายอะไรแก่ตนเลย   คนร้ายตาย  เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่ ๕๒๙ / ๒๕๑๗ คนร้ายลอบวางเพลิงจำเลยในตอนกลางคืน
จำเลยลงมาแล้วเห็นผู้ตายยืนอยู่หน้าบ้าน  เข้าใจผิดว่าเป็นคนมาวางเพลิง
จึงใช้ปืนยิงตาย  โดยที่ไม่ได้ความว่าคนตายจะทำอะไรแก่บ้านจำเลยหรือ
ตัวจำเลยเลย   จึงเกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่ ๑๕๔๒ / ๒๕๐๙ จำเลยติดตามเรือที่ถูกลักไป   ไปพบคนตายกับพวก
อยู่ใกล้ๆกับเรือที่ถูกลักนั้น   จำเลยใช้ปืนยิงคนตาย ๑ นัดข้างหลัง
เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่ ๗๘๒ / ๒๕๒๐ คนร้ายเข้าไปลักแตงในไร่ ๒ - ๓ ใบ  เจ้าของใช้
ลูกกรด .๒๒ ยิงคนร้ายที่กำลังวิ่งหนีกระสุนถูกหลัง และฝังใน
กระสุนทะลุไปหน้าอกถูกอวัยวะสำคัญ   คนร้ายตาย  เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่ ๖๘๓ / ๒๕๑๔  จำเลยวิ่งไล่ตาม ก. ออกไปนอกบ้านโดยสำคัญผิด
ว่า ก.เป็นคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ที่ใต้ถุนบ้านของจำเลย  เป็นการกระทำ
เพื่อป้องกันสิทธิในทรัพย์ของตน  แต่เมื่อจำเลยวิ่งไปทัน ก.แล้วใช้มีดแทง
ก.ถูกที่หลัง ๔ แผล ที่ข้อศอก ๑ แผล  โดยไม่ปรากฏว่า ก.มีอาวุธหรือแสดง
อาการขัดขืนต่อสู้   เช่นนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันที่ทำเกิน
กว่าเหตุไป

              จะเห็นว่ากรณีเหล่านี้คนร้ายไม่มีอาวุธใดๆติดมือมาเลย
              และไม่แสดงอากัปกริยาต่อสู้หรือตอบโต้จะ
              ทำอันตรายเจ้าทรัพย์เลย

ทีนี้ถ้าคนร้ายเอาอาวุธมาด้วย

ฎีกา ๙๔๓ / ๒๕๐๘ คนร้ายจูงกระบือจากใต้ถุนบ้านไป  เวลา ๒๔ น.
เจ้าของมาเห็นจึงร้องถาม  คนร้ายหันปืนมาทางเจ้าของ   เจ้าของ
จึงยิงจากบนบ้านไป ๒ นัด  คนร้ายตาย   พอสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่ ๗๒๙ / ๒๕๐๘  เจ้าของบ้านเคยถูกลักทรัพย์มาแล้ว
คืนเกิดเหตุเดือนมืด  คนร้ายมากัน ๓ - ๔ คนเข้าไปในไร่ของจำเลย
จำเลยตื่นมาเห็น   ได้ร้องทักว่าใคร ๒ ครั้ง
ฝ่ายคนร้ายขว้างกระบองไม้มา ๒ ครั้ง  เดือนมืดจำเลยไม่รู้ว่า
คนร้ายกับพวกมีปืนหรืออาวุธอื่นติดตัวกันมาด้วยหรือไม่
จึงใช้ปืนยิงออกไป  ๑ นัดแล้ววิ่งกลับบ้าน
ถูกคนร้ายตายไป ๑ คน  พอสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่ ๑๕๖๙ / ๒๔๙๒ ผู้ตายกับพวกมีอาวุธพากันเข้าไปในบริเวณ
รั้วบ้านของจำเลยในเวลากลางคืน  จำเลยได้ร้องทักถามแล้วว่าใคร
มาทำไม  ไม่มีใครตอบ  จำเลยจึงตัดสินใจเอาปืยยิงไป ๑ นัด ถูกผู้ตาย
เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ   ไม่มีความผิด

            แค่นี้ก่อนครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 10:41:42 PM โดย sigsax » บันทึกการเข้า

I'm sam
Full Member
***

คะแนน 12
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 216



« ตอบ #69 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 11:12:59 AM »

สาระดีมากเลยครับ
บันทึกการเข้า

Discovery
ช็อปเปอร์
ขอให้สัญญาว่า.... จะรักและถนุถนอมเธอตลอดไป ...
Full Member
***

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 360



« ตอบ #70 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 03:11:06 PM »

กระทู้ยอดเยี่ยมแห่งปี  ยกนิ้วให้
บันทึกการเข้า
mETEr
จงภูมิใจเถิด ที่เกิดเป็นไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1051


รักเธอ ประเทศไทย


« ตอบ #71 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 03:39:24 PM »

ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า

เกิดมา ต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน
Prathet
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 56
ออฟไลน์

กระทู้: 596


« ตอบ #72 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 04:40:58 PM »

เหมือนกลับเข้าโรงเรียนกฎหมายอีกครั้งเลยครับ หลังจากที่ห่างหายไปนาน Grin
บันทึกการเข้า

A well regulated Militia, being necessary to the security of a free State, the right of the people to keep and bear Arms, shall not be infringed.(Second Amendment to the United States Constitution Article 2)
-จ่าตะพาบน้ำ- * รักในหลวง*
Full Member
***

คะแนน 21
ออฟไลน์

กระทู้: 281


« ตอบ #73 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 07:54:25 PM »

คุณซิกแซ็กกำลังจะสอบผู้ช่วยเหรอคับ 


บันทึกการเข้า
sigsax
Hero Member
*****

คะแนน 206
ออฟไลน์

กระทู้: 1778


ขึ้นลำแล้วลดนก


« ตอบ #74 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 09:33:37 PM »

คุณซิกแซ็กกำลังจะสอบผู้ช่วยเหรอคับ





        Cheesy เปล่าไม่ใช่หรอกครับ คุณ ccoo ถ้ามีข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้
ที่เป็นประโยชน์  ร่วมด้วยช่วยกันกันก็ได้นะครับ   จะได้เป็นประโยชน์
แก่ผู้ไม่รู้กฎหมายนะครับ  .. .. Cheesy Cheesy
       
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 ... 38
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 22 คำสั่ง