ขออภัยครับ คือผมสงสัยนอกประเด็นนะครับ คือ
เรื่องของพลเมืองดีกับค่าทนายน่ะครับ หากในกรณีที่เข้าช่วยเหลือผู้อื่นแล้วมีผลยังให้คนร้ายเสียชีวิต ไม่ทราบค่าทนายจะเริ่มที่เท่าไรครับ (ไม่นับสภาทนายความนะครับ)
หลังจากค่าทนายแล้วในระหว่างคดีมีค่าใช้จ่ายจิปาถะเท่าไรครับ ระยะเวลาต่อสู้ในชั้นศาลต้นจนถึงศาลฎีกายาวนานมากน้อยเพียงไรครับ
หากการกระทำของเรา เป็นการป้องกันสิทธิของตนเอง หรือของผู้อื่น
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ แล้ว ความจริงมันก็จะไม่มีความผิด
ดังนั้น เมื่อมีพยานที่เห็นเหตุการณ์ มาช่วยยืนยันเรื่องนี้กับตำรวจ
ตำรวจอาจจะไม่สั่งฟ้อง เพราะเห็นว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายก็ได้
หรืออาจจะสั่งฟ้องเอาไว้ก่อน แต่พอสำนวนสอบสวนมาถึงมือพนักงานอัยการแล้ว
พนักงานอัยการก็อาจจะสั่งไม่ฟ้องก็ได้ หากพยานหลักฐานมันปรากฎชัดว่า
เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่พอสมควรแก่เหตุ
เรื่องก็จะจบ คุณก็ไม่ต้องไปเสียค่าทนายความสู้คดีในศาล
แต่หากว่าถ้าพนักงานอัยการ เห็นควรสั่งฟ้องเอาไว้ก่อน
เมื่อเรื่องมาถึงศาล ก็ต้องปฏิเสธสู้คดีว่า การกระทำของเรา
เป็นการป้องกันสิทธิของตนเอง หรือผู้อื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด
และมีพยานบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์มายืนยันต่อศาลได้
อย่างนี้ต้องหาทนายความครับ และค่าทนายความต้องตกลงราคาค่าจ้าง
ว่าความกันเอาเอง หากเป็นคนรู้จักหรือญาติพี่น้อง ก็อาจว่าความให้ฟรีๆ
หรือค่าทนายถูกลง
แต่หากว่าคุณ ไม่มีคนรู้จัก ไม่มีพี่น้องเป็นทนาย และไม่มีเงินว่าจ้างทนายความ
แล้วละก็ ทางศาลจะมีทนายขอแรงให้ เพียงแต่เราต้องแจ้งแถลงให้ศาลทราบ
ว่าเราจะขอทนายขอแรงจากศาล ทางศาลจะเป็นผู้จัดหามาให้เองครับ โดยที่เราไม่ต้องเสียเงิน
ค่าว่าจ้างทนายความเลย และทนายขอแรงจะสู้คดีช่วยเราจนถึงที่สุด
ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็อาจมีบ้างเป็นค่ารถที่เราต้องเสียเวลา ไปโรงพัก ไปสนง .อัยการ
ไปศาล ไป สนง. ทนายความ รวมถึงค่าติดตามพยานที่เราต้องไปตามมาเป็นพยานเรา ...
ส่วนระยะเวลาการสู้คดี ตอบไม่ได้ต้องแล้วแต่ทางศาลนั้นๆจะเป็นผู้กำหนด
การสืบพยานกันว่ากี่วัน ครับ .. ..
เสร็จแล้วคดีมีอุทธรณ์ - ฎีกา ก็ต้องให้เวลาศาลเหล่านั้นได้พิจารณาดูเอาเองครับ
อาจต้องใช้เวลาสักนิด แต่ถ้าเราไม่ผิดก็ไม่ต้องกลัว
หัวใจของเรื่องเหล่านี้ คือพยานครับ เราต้องมีพยานบุคคล
ที่จะไปยืนยัน กับตำรวจ อัยการ ศาล ให้เห็นว่า การกระทำของเราเป็นการ
ป้องกันสิทธิของตนเอง หรือของผู้อื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิดพยาน คือหัวใจสำคัญของเรื่องนี้เลยครับ ขอเสริมต่อท่าน sigsax ว่าพยานนั้นมีสองทาง คือพยานโจทก์ กับ พยานจำเลย
ถ้าเราเป็นจำเลย ทนายของเราต้องเก่งที่จะซักหักล้างพยานโจทก์ และถามให้พยานฝ่ายเราเบิกความได้มีน้ำหนัก-เป็นประโยชน์
ในคดีอาญา ......ทนายฝ่ายตรงข้ามคืออัยการ-ทนายของแผ่นดิน ...... เป็นนักกฎหมายที่เป็นหัวกะทิน้ำหนึ่ง
เลือกทนายผิด....ตางตะหริด....มาแยะแล้ว