ตราบใดที่ยังไม่มีตัวอย่างการประจานการทำงานของเจ้าหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบงานทะเบียนคงจะต้องเป็นแบบนี้ไปอีกนาน ส่วนเรื่องการร้องเรียนต่างๆไปยังหน่วยงานที่เหนือขึ้นไปนั้น เรื่องก็จะเงียบ แต่มีหนังสือแก้เกี้ยวมาบอกว่าได้ดำเนินการไปตามหน้าที่แล้วนะ สบายใจได้ ผมเป็นข้าราชการจึงรู้ว่าเงียบแน่ๆส่งขึ้นไปก็รุ่นพี่รุ่นน้องเขาไม่ทำให้พี่น้องเสียอนาคตเพราะเรื่องแค่ ป.3หรอก เพราะเขามองเป็นเรื่องธรรมดา ที่ทุกท่านในกรมการปกครองได้ผ่านงานนี้มาแล้ว ทั้งนั้น จะอ้างแต่กฏหมายว่าใช้ดุลพินิจ พอขึ้นศาลกันจริงๆ กฏหมายเขารองรับครับว่าเขาใช้ดุลพินิจดีแล้วว่าไม่ออกให้กฏหมายยังเอื้อให้เขาอยู่ท่านลองไปอ่านดู ระเบียบการทำงานของข้าราชการที่เขาสั่งมาว่าให้1-2-3-4นะต้องแบบนี้แต่เขาจะปฏิบัติอย่างไรคงต้องเป็นเรื่องของเขา เรื่องร้องเรียน,ร้องศาลปกครอง เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่จะมีใครล่ะครับที่ต้องมาเสียเวลากับเรื่องนี้ แล้วจะได้อะไร ยิ่งเป็นข้าราชการในหน่วยงานของรัฐที่มีคนรุ่นเดียวกันจบจากสถาบันระดับเดียวกันอาจจะเรียกคนร้องไปปรึกษาว่ายอมๆอีก เรื่องจึงยังไม่เกิดถึงศาลปกครอง ผมชอบต่อสู้เรื่องความยุติธรรมของตนเองแต่ผมรู้ว่าสู้ไม่ได้ แค่ส่งหนังสือไปเรื่องยังเงียบ หนังสือร้องเรียนไม่ใช่เรื่องคำสั่งทางปกครองก็จริงแต่ต้องเริ่มที่จุดนี้ก่อน เปิดทางว่าเขาจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อได้รับหนังสือร้องเรียนจุดนี้ถ้าจะต่อก็คือต้องทำหนังสือทวงเรื่องว่าดำเนินไปถึงไหนก็ต้องใช้เวลา ร้องต่ออีกหลายขั้น เขาไม่ออกป.3 ให้จะไปฟ้องศาลปกครองเลยคิดว่าน้ำหนักมันน้อยไป ต้องร้องเป็นขั้นตอนไปถึงผู้ที่มีอำนาจสูงสุดของหน่วยงานนั้นก่อน สุดที่มหาดไทย แล้วค่อยไปศาลปกครองทางสุดท้าย จะได้หรือไม่ได้ยังไม่มีตัวอย่าง อยากเห็นตัวอย่างครับ อย่างไหนก็ได้ เสียง+ ภาพ ยิ่งดีไม่ต้องไปกลัวละเมิดสิทธิ์ครับเพราะเขาทุจริตต่อหน้าที่ส่งไปประจานทั่วประเทศนี่แหละคือทางที่ดีที่สุด ไม่ใช่ฝันแต่เรื่องนี่จริงและทำได้แต่ใครล่ะจะทำเร็วกว่าร้องศาลปกครองแน่นอนครับ เป็นความเห็นส่วนตัว ผิดถูกอย่างไร ขอรับความคิดทุกท่าน (ถ้าเรื่องไม่เกิดแก่ตนเองจะไม่รู้ครับต้องปฏิบัติเช่นไร)
เห็นใจคุณประดู่77ครับ สถานะท่านเป็นข้าราชการทำให้ลุยตรงๆได้ยากกว่าประชาชนเต็มขั้น
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นตรงที่ขีดเส้นใต้ในข้อความของท่าน....ที่จนท.หรือนายทะเบียนฯมักอ้างถึงระเบียบว่าเป็น"กฎ" หรือ "กฎหมาย" ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่ .......... ตอนนี้นายทะเบียนฯส่วนใหญ่จะว่าตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท. ๐๕๐๑/ว.๘๘๖ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๑ เรื่อง หลักการพิจารณาออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ซึ่งหนังสือนี้เป็นการขยายความมาจากคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ ๖๗๔/๒๔๙๐ และ ๗๕๙/๒๔๙๔ อีกที .............หนังสือนี้เป็นกรอบไว้ในนายทะเบียนฯปฏิบัติเท่านั้น ไม่ใช่ "กฎ" ---- ผมไม่ได้กล่าวเอง แต่ปรากฎอยู่ในคำให้การต่อศาลโดย"นาย"ของนายทะเบียนฯอีกที เมื่อไม่ใช่กฎก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะมาอ้างเพื่อใช้ดุลพินิจตามกฎหมาย
...............ส่วนที่ว่า "ยิ่งเป็นข้าราชการในหน่วยงานของรัฐที่มีคนรุ่นเดียวกันจบจากสถาบันระดับเดียวกันอาจจะเรียกคนร้องไปปรึกษาว่ายอมๆอีก เรื่องจึงยังไม่เกิดถึงศาลปกครอง" --- อันนี้จริงแท้แน่นอน
คนจะสู้ถึงศาลปกครอง จึงต้องกล้า และที่สำคัญคือ มือต้องสะอาด ภูมิหลังต้องโปร่งใส --- ไม่งั้นโดนวิชามาร
แต่ถ้าสู้ ...... ก็จะมีรายการยอมๆหยวนๆให้จบกันไป......เพราะนายทะเบียนฯอาจคิดว่าออกป.๓ ง่ายกว่าทำคำให้การต่อศาลปกครองครับ
ของท่านสารวัตรป้อม....ท่านเล่ามามันๆ...... ผมว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัว ห้ามเลียนแบบ
เพราะนายทะเบียนฯคงต้องแทงเรื่องออกแนว "เจ้าหน้าที่ปราบปราม"