ตัวอย่างเช่น....
กระสุนขนาด .45ACP ของ Fiocchi แบบ FMJ น้ำหนัก 230 เกรน
ณ ปากลำกล้องให้ความเร็วที่ 875 ฟุต/วินาที ให้พลังงานปากลำกล้องที่ 390 ฟุตปอนด์
ส่วนกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ ของ Fiocchi แบบ FMJ Truncated น้ำหนัก 123 เกรน
ณ ปากลำกล้องให้ความเร็วที่ 1,250 ฟุต/วินาที ให้พลังงานปากลำกล้องที่ 425 ฟุตปอนด์
เมื่อคำนวณตามสูตร...ของ ท่านเป็กซ์....ขวัญใจ นศ. แล้ว....
ขนาด 9 มม. พาราฯ ย่อมให้พลังงานมากกว่าแน่ ๆ ครับ เพราะ ความเร็ว...ต่างกันตั้ง 375 ฟุต/วินาที
ถึงแม้ว่า...น้ำหนักหัวกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ จะน้อยกว่าก็ตาม...ครับ
แต่ตัวเลข...ที่แตกต่างกันถึง 35 ฟุตปอนด์ (425-390) นั้น
คือ...หน่วยวัด พลังงานของหัวกระสุน ณ ปากลำกล้อง นะครับ...
มิได้หมายถึง...อำนาจการหยุดยั้ง...ครับ....
เห็นได้ว่า อำนาจการหยุดยั้ง
นั้น
ซึ่งเป็นคนละความหมายกับ พลังงาน ณ ปากลำกล้อง
ตามความคิดของผม
ผมคิดว่า
อำนาจการหยุดยั้ง
ของกระสุนที่มีผลต่อเป้าหมาย
ต้องเกิดจาก
การถ่ายเท
พลังงาน ณ ปากลำกล้อง ที่มีอยู่ทั้งหมดของหัวกระสุน
ไปยังเป้าหมายในระยะเวลาอันสั้น ๆ ครับ
เมื่อหัวกระสุนกระทบต่อเป้าหมาย ในทันที
การถ่ายเทพลังงานฯ นี้
ไปยังเป้าหมาย..
ตามทฤษฎีจะก่อให้เกิด
.โพรงอากาศชั่วคราว
ขึ้น ต่ออวัยวะภายในของเป้าหมาย
ในช่วงเวลาสั้น ๆ
ซึ่งผมเชื่อว่า
โพรงอากาศชั่วคราวนี้
น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เป้าหมายเกิดอาการช็อค (shock) ในทันทีที่ถูกกระสุน ครับ
ดังนั้น พลังงาน ณ ปากลำกล้อง ก็คือ
.
พลังงานสะสม (อันได้มาจาก
การคำนวณด้วยความเร็วของหัวกระสุนและน้ำหนักของหัวกระสุน) ที่มีอยู่ในหัวกระสุนนั่นเอง ครับ
นั่นก็หมายความง่าย ๆ ว่า
การใช้กระสุนที่มีความเร็วสูง
ก็จะทำให้หัวกระสุนมีพลังงานฯ สะสมไว้ในตัวของมันเองมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ครับ
ซึ่งตรงนี้เราเถียง
ทฤษฎี
ไม่ได้ครับ
ที่นี้
มาว่ากันที่หัวกระสุน
ความเร็วต่ำ ๆ จากที่ผมกล่าวไว้ในตอนต้น ๆ
ความเร็วต่ำ ๆ ของหัวกระสุนอาจส่งผลในเรื่องของการถ่ายเทพลังงานฯ ครับ
ผมคาดไว้ว่า
เมื่อหัวกระสุนกระทบต่อเป้าหมายแล้ว
ท่านลองนึกภาพดูนะครับ ว่าระหว่างที่หัวกระสุนวิ่งผ่านอยู่ภายในเป้าหมาย
หากเราให้หัวกระสุน
มีการถ่ายเทพลังงานสะสมที่เหมาะสมในระดับหนึ่ง (ที่ประมาณไว้)
แต่
พลังงานสะสม (ที่มีอยู่ในหัวกระสุน) เหล่านั้น
ไม่สามารถถ่ายเทออกมาได้ทั้งหมด (425 ฟุตปอนด์) ในขนาด 9 มม. พาราฯ
ซึ่งอาจถ่ายเทออกมาได้แค่ 60% หรือ 70% เท่านั้นในแบบ FMJ
เพราะความเร็วของหัวกระสุนยังไม่หมด
(หัวกระสุนยังไม่หยุดการเคลื่อนที่)
พลังงานก็ย่อมที่จะสะสมอยู่ในหัวกระสุนนั่นเอง ถูกต้องม่ะครับ
และบังเอิญ
เป้าหมายในการใช้งานนั้น
ส่วนใหญ่จะมีความหนาไม่มาก
ดังนั้น
จากสาเหตุในข้างต้น
ก็ย่อมแสดงว่า
หัวกระสุนวิ่งทะลุเลยออกจากเป้าหมายไป
ถูกต้องม่ะครับ
พลังงานสะสมในหัวกระสุนก็ย่อมที่จะไม่ถูกถ่ายเทออกไปที่เป้าหมายจนหมด
เพราะส่วนหนึ่งก็คือ การเคลื่อนที่ (ความเร็วสะสม) ของหัวกระสุน นั้นเองครับ
(
.เป็นที่มาของคำว่า
ความคมของหัวกระสุนในขนาด 9 มม. พาราฯ ไงครับ)
ตรงนี้เองครับ
.ที่กลายมาเป็นสูตร
ตามที่ผมเคยอ่านและวิเคราะห์มา
และดูง่าย ๆ ก็จากความโด่งดัง..ในการหยุดทหารญี่ปุ่นที่วิ่งเข้าใส่ทหารอเมริกัน ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2
ของอานุภาพกระสุนบันลือโลก
.ขนาด .45ACP ครับ
กระสุนขนาด .45ACP แบบ FMJ
มีความเร็วต้นที่ 875 ฟุตต่อวินาที ซึ่งนับได้ว่า ต่ำกว่าความเร็วเสียง
มีน้ำหนักของหัวกระสุนที่ 230 เกรน เมื่อมีน้ำหนักมาก ก็ย่อมทำให้หัวกระสุนมีความเร็วต่ำ ตามความเป็นจริง
ท่านลองวาดภาพตามน่ะครับ
..
เมื่อหัวกระสุนขนาด .45ACP กระทบต่อเป้าหมาย
และอยู่ในระหว่างการวิ่งผ่านภายในของเป้าหมาย
ซึ่ง
หัวกระสุนขนาด .45ACP มีความเร็วต่ำ
(อย่างน้อย ๆ ก็ต่ำกว่าหัวกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ ล่ะครับ)
ดังนั้น
การที่หัวกระสุนจะทะลุเป้าหมาย
.นั้น มีโอกาสได้น้อย
(หากเทียบเคียงกับหัวกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ แล้ว)
เมื่อหัวกระสุนกระทบเป้าหมายและหยุดการเคลื่อนที่ (ภายในเป้าหมาย)
ก่อนที่หัวกระสุนจะทะลุเป้าหมาย
ก็หมายความว่า หัวกระสุนได้ถ่ายเทพลังงานสะสมทั้งหมด (390 ฟุตปอนด์) ที่มีอยู่
ไปยังเป้าหมายแล้ว
ดังนั้น
การเกิดโพรงอากาศชั่วคราวขึ้นภายในของเป้าหมาย
ก็ย่อมที่จะมีขนาดใหญ่กว่ากระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ
แล้ว..เป้าหมาย
จะเหลืออะไรล่ะครับ
.
ตรงนี้ไงครับ
.
เป็นที่มาของสูตร
อำนาจการหยุดยั้ง
1. ความเร็วของหัวกระสุนต่ำ
2. น้ำหนักของหัวกระสุนมาก
มาถึง
หน้าตัดกว้าง
หรือเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกระสุนกันแล้วครับ
ถ้าเราเปรียบ
พลังงานสะสมในหัวกระสุน เป็น
น้ำ
หน้าตัดของหัวกระสุน ก็เปรียบเสมือน
ท่อน้ำ
นั่นเองครับ
หากท่านใช้ท่อส่งน้ำ
ที่มีขนาดใหญ่
การถ่ายเทน้ำออกจากที่กักเก็บ ก็ย่อมที่จะดีกว่า
มากกว่า
ใช้ท่อส่งน้ำขนาดเล็ก ในระยะเวลาเท่า ๆ กัน
ถูกต้องม่ะครับ
ดังนั้น
ถ้าเป้าหมายมีลักษณะโครงสร้างเหมือนกัน
อาทิ ความหนา หรืออื่น ๆ
หัวกระสุน
ที่มีหน้าตัดกว้างกว่า
ก็ย่อมที่จะถ่ายเทพลังงานสะสมไปยังเป้าหมายได้ดีกว่า
และถ้าท่านลองวาดภาพ
ดู
หากหัวกระสุน
มีหน้าตัดกว้าง
โอกาสที่จะ
ทะลุออกจากเป้าหมายก็ย่อมเกิดขึ้นได้ยากกว่า หัวกระสุนที่มีหน้าตัดแคบ..
คล้าย ๆ กับท่านลองใช้
ปลายเข็มเย็บผ้า
จิ้มเข้าไปในเนื้อผ้า
ก็ย่อมที่จะ
ทะลุเนื้อผ้า
เข้าไป ได้ง่ายกว่า
ท่านใช้ปลายปากกา
ไงครับ
ในกรณีที่
.ใช้แรง..เท่า ๆ กันนะครับ
อิ อิ
นี่แหละครับ เป็นที่มาของข้อสุดท้ายในสูตร
คือ
หน้าตัด หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง
.
เพียงแต่ก่อนที่จะใช้งาน
เรา (ผู้ใช้) มีโอกาสเลือก..ครับ
1. เลือกที่จะใช้กระสุนที่มีน้ำหนักมากไว้ก่อนเป็นประการแรก
2. เลือกที่จะใช้กระสุนที่มีความเร็วต่ำไว้ก่อนเป็นประการต่อไป
3. เลือกแบบของหัวกระสุนที่ถูกออกแบบมาให้เกิดการถ่ายเทพลังงานไปยังเป้าหมายได้ง่ายกว่า
.
ส่วนหน้าตัด
ของหัวกระสุน
นั้น เราเลือกไม่ได้ง่ะครับ
เพราะเป็นเรื่องของ
คุณสมบัติและข้อกำหนดในตัวของอาวุธปืน
มากกว่าครับ
อีกทั้งท่านคงไม่สามารถนำกระสุนขนาด .45ACP ไปใส่ในปืนขนาด .22 ลองไรเฟิล ได้เป็นแน่
..อิ อิ
ส่วนที่เหลือจากนี้ต่อไป
ก็ไปว่าที่เทคนิคในการใช้งาน
ความแม่นยำ
.
และก็ความมีโชคของแต่ละท่านแล้วล่ะครับ
ไหน ไหน เราก็ได้มีโอกาสเลือก
กระสุนแล้ว
.
จากบทความ
ที่ผมร่าย
มา ณ โอกาสนี้
ผมในฐานะผู้ post คงต้องเรียนให้ท่าน ๆ ทราบไว้ด้วยครับว่า
ไม่อยากที่จะให้ท่านใด นำไปอ้างอิง
ตามหลักวิชาการเท่าไรครับ
เพราะ
ผม post จากความคิด..และความเข้าใจของผมเท่านั้น..
และก็ให้ความเห็นในลักษณะ ครูพักลักจำ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนนานาทัศนะจากท่าน ๆ ในเว็บฯ แหละครับ
อาจมีท่านใดที่มีความเห็นต่างไปจากนี้
ก็สามารถแสดงความเห็นได้น่ะครับ
เพื่อความหลากหลาย
นานา ในทัศนะต่าง ๆ
อย่างน้อย ๆ ก็อาจช่วยให้เรา ๆ ท่าน ๆ ได้เข้าใจ
ถึงคำ ๆ ว่า
.อำนาจการหยุดยั้ง ได้ดีมากขึ้นครับ
หมายเหตุ
.ผมเลี่ยงที่จะกล่าวถึงการระบุที่ชัดเจนในการคำนวณต่าง ๆ ในกรอบนี้
เพราะว่า
หากเมื่อมีการสอบถามเพิ่มเติม
.
ผมเอง
.อธิบายลำบากครับ
เพราะมิได้ศึกษาจริงจังเท่าไรนัก
ครับ
หากมีข้อผิดพลาดประการใด
ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
ความเห็น
หนึ่งในทีมงาน
ซึมเศร้า
เหงาเพราะ
ร๊ากกกกก
คร้าบ
.
จากนิ้ว
ที่จิ้มแป้น