เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 28, 2024, 04:28:06 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัสดุเหล็กที่ใช้ทำโครงปืนและสไลด์  (อ่าน 9093 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 10 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Prathet
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 56
ออฟไลน์

กระทู้: 596


« เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 04:26:34 PM »

ในบรรดาปืน 1911 ผู้ผลิตแต่ละรายใช้วัสดุเหล็กแบบใดทำโครงปืนและสไลด์มั่งครับ

-รายใดใช้เหล็กทั้งแท่งเอามาเข้าเครื่องสกัด (น่าจะแข็งแรง)
-รายใดใช้เหล็กหล่อแล้วนำมาตัดแต่งอีกครั้งหนึ่ง(น่าจะแข็งแรงน้อยกว่า)

พอดีได้อ่าน อวป. ฉบับเดือนมีนาคม ท่านผู้การฯ ได้ไปเยี่ยมโรงงานอาร์มสกอร์  เห็นว่าใช้วิธีหล่อแล้วนำมาตัดแต่งอีกครั้งหนึ่ง โดยรับทำให้กับปืนยี่ห้อดังยี่ห้อหนึ่งด้วย เลยทำให้น่าสนใจว่าผู้ผลิตแต่ละรายที่ขายปืนให้เราแพงๆ นั้น ใช้วิธีใดในการทำปืนให้เราใช้  รายใดใช้วิธีการที่ลดต้นทุนแต่ยังขายในราคาแพงอีก

ผู้ใดมีข้อมูลบ้างครับ  Cheesy
บันทึกการเข้า

A well regulated Militia, being necessary to the security of a free State, the right of the people to keep and bear Arms, shall not be infringed.(Second Amendment to the United States Constitution Article 2)
Jacky_Cheng
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 15
ออฟไลน์

กระทู้: 263


« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 04:33:36 PM »

ผมว่าน่าจะเป็นการขึ้นรูปนะครับ(forginh)ไม่รู้พิมพ์ถูกหรือเปล่านะ
บันทึกการเข้า
S.W.A.T
Hero Member
*****

คะแนน 6
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1023

Ceska Zbrojovka


« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 05:00:46 PM »

 Smileyเข้ามานั่งรอ
บันทึกการเข้า

อรินทราช 26
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 05:27:25 PM »

โครงปืนและสไลด์นิยมใช้วิธีหล่อจากแบบขี้ผึ้งครับ....เรียกว่า Invesment casting (lost-wax process) ต้นทุนถูกกว่ากรรมวิธีอื่น...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2007, 05:31:56 PM โดย mosino » บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
krudam
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 08:11:38 PM »

                  ที่มา  http://www.prayotcharms.com/CUSTOM4.html   Smiley



             นับเป็นความเชื่ออย่างฝังใจของหลาย ๆ คนที่ว่า สแตนเลสมีความทนทาน ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นสนิม ซึ่งนับว่าถูกต้อง ถ้าเราพูดถึงเครื่องที่ใช้อยู่ในครัวเรือน เช่น ช้อนส้อมหรือมีดทำครัว แต่หลายคนลืม ไปว่าสแตนเลสที่นำมาใช้ผลิตปืนนั้นต้องมีคุณสมบัติแตกต่างจากเครื่องใช้ในครัว คุณสมบัติการด้าน สนิมในตัวโลหะเอง เกิดจากการที่มีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับต่ำ แต่เมื่อเราต้องการนำมาผลิต ปืน ตัวโลหะจะต้องมีปริมาณคาร์บอนมากพอ เพื่อให้มีความแข็งและทนทาน

            มีเจ้าของปืนหลายท่านปล่อยปะละเลยปืนของตนเองที่ผลิตจากสแตนเลส ด้วยความเชื่อที่ว่าจะไม่ เป็นสนิม จนในที่สุดปืนที่เสียเงินซื้อมาในราคาแพงก็ต้องมีความเสียหายจากสนิม ซึ่งเรามักจะเรียก กันว่าสนิมขุม พบบ่อยมากในบริเวณในฝาด้ามประทับ

            ปัญหาต่อมาของสแตนเลสที่ใช้ทำปืนเกิดจากส่วนผสมของคาร์บอนที่มีอยู่ค่อนข้างน้อย เนื่องจาก หวังผลในการด้านสนิม เมื่อคาร์บอนน้อย โลหะสแตนเลสก็มีความแข็งน้อย และเมื่อมีความแข็งน้อย ก็มีผลให้ความลื่นของผิวลดลง ซึ่งนับเป็นข้อเสียของการสร้างปืน Custom อย่างที่เรียนให้ทราบใน ตอนที่แล้วว่า การสร้างปืน Custom เพื่อให้ได้กลุ่มกระสุนเล็ก ๆ ตามที่ต้องการ ต้องอาศัยการ Fitting ในระดับที่สูงมาก ตรงนี้แหละครับที่มีปัญหาใหญ่ สแตนเลสจะทน Filling ระดับนี้ไม่ได้ จะเกิด การกัดกันเองระหว่าง slide กับ frame เนื่องจากความฝืดของผิวโลหะ บางท่านอาจจะนึกแย้งอยู่ในใจ ว่าแล้วทำไมปืน Custom อย่าง Les Bacr ยังผลิตสแตนเลสออกจำหน่าย ถูกต้องครับ แต่คุณต้องยอม รับกลุ่มกระสุน 3 นิ้ว ที่ 50 หลา ไม่ใช่ 1.5 นิ้ว ที่ 50 หลา และปืนสแตนเลสเมื่อเทียบกับรุ่นเดียวกันที่ผลิต จากเหล็กคาร์บอน ก็จะมีราคาสูงกว่า เนื่องจากความฝืดในปืนทำให้เครื่องจักรในกาารผลิต เช่น ดอกกัด หัวเจียร มีความสึกหรอเร็วขึ้น มีช่างแต่งปืนหลายราย ไม่ยอมรับแต่งปืนสแตนเลส ก็เนื่องจาก ทำงานยากกว่าและเจ้าของปืนมักจะบ่นว่า ปืนของเขามีความแม่นยำได้อยู่เพียงระยะเดียวเท่านั้น

เรื่องเหล็กที่ใช้ในการผลิตปืน Custom นั้น ผมจะไม่ลงลึกไปในรายละเอียดถึงระดับโลหะวิทยานะ ครับ เพราะค่อนข้างซับซ้อนเกินไป เกรงว่าผู้อ่านจะเบื่อเสียก่อน เอาเป็นว่าเหล็กที่เป็นที่ยอมรับในวง การอุตสาหกรรมผลิตปืน ว่ามีความเหมาะสมและดีที่สุดในเวลานี้คือ คาร์บอนสตีล 4140 ที่ขึ้นรูปด้วย การ Forge เท่านั้น

            การ Forge คือการขึ้นรูปด้วยโลหะด้วยความร้อนลักษณะเดียวกับการตีดาบ หรือเกีอกม้าในสมัยก่อน แต่ ในการสร้างปืนไม่ใช้ซ้อนตีนะครับ โรงงานจะมีแท่น Hydralic ขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เหมือนฆ้อน ขนาดยักษ์ทุบโลหะที่ถูกเผาร้อน ด้วยอุณหภูมิประมาณ 1850F เพื่อให้ได้รูปร่างหยาบ ๆ ของชิ้นงานที่ ต้องการ ซึ่งจะมีความหนาแน่นของเนื้อโลหะในระดับสูง ต่างกับการผลิตของโรงงานบางแห่ง ซึ่งใช้ วิธีหล่อชิ้นงานในแม่พิมพ์ทำให้ผลิตได้ง่าย รวดเร็วและมีต้นทุนถูกว่า ขอให้เปรียบเทียบระหว่าง โครงปืนลูกโม่ของ Smith และ Ruger นะครับ Smith ใช้วิธี Forge Ruger ใช้วิธีหล่อในแม่พิมพ์ ดังนั้น โครงของ Ruger จึงจำเป็นต้องหนา เพราะความหนาแน่นในเนื้อโลหะสู้แบบ Forge ไม่ได้ ถ้าโครง บางเท่า Smith จะทนไม่ไหวครับ แถมยังโฆษณาเกทับปืน Smith ด้วยว่าหนากว่าย่อมดีกว่า ส่วน Smith ก็ได้ว่า หนากว่าย่อมดีกว่าแน่ถ้าเป็นแฮมเบอร์เกอร์ไม่ใช่ปืน

            เมื่อเราได้ชิ้นงานที่ขึ้นรูปหยาบ ๆ ด้วยการ Forge แล้ว ในผู้ผลิตปืนบางรายที่ต้องการลดต้นทุนและ เวลาในการผลิตก็จะนำไปกัดไสตัดแต่งตามที่ต้องการจนเสร็จสิ้น แล้วจึงนำไปชุบแข็งเป็นขั้นตอนสุด ท้าย แต่ผู้ผลิตปืน Custom ระดับสูงจะไม่ทำอย่างนั้นครับ เขาจะเอาชิ้นงานหยาบไปชุบแข็งก่อน แล้ว จึงนำไปกัดไสตัดแต่งด้วยเครื่อง CNC ซึ่งมีข้อดีกว่ามากคือ ชิ้นงานจะไม่มีการบิดงอระหว่างกัดไส ทำ ให้ได้ความเที่ยงตรงอย่างเต็มที่ ขอ้เสียคือ เพิ่มต้นทุนและเวลาครับ เพราะชิ้นงานชุบแข็งแล้วทำงาน ได้ยากกว่า เครื่องมือและดอกกัดก็สึกหรอเร็วกว่า แต่งานที่ได้นับว่าคุ้มค่ามาก ถ้าเราจะหวังผลสูงสุด เรื่องความแม่นยำ ความทนทานตลอดจนชื่อเสียงของผู้ผลิตเอง และนี้ก็เหตุผลอันหนึ่งที่ทำให้ปืน Custom คุณภาพดีมีราคาแพง


บันทึกการเข้า
e.k.1911
ถ้าคนดีอยู่ในหมู่บ้านของชนเหล่าใด ความสุขและผลจักมีแก่ชนเหล่านั้น
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 251
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2809


Still Loving COLT


« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 08:34:11 PM »

เก็บความรู้ครับ
บันทึกการเข้า

โปรดจงเอาดอกไม้เสียบไว้ที่ปลายปืน  แล้วหยิบยื่นไมตรีมิตรให้แก่กัน
นายขม รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 99
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1377


ที่ว่างปลายปากกระบอกปืน


« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 08:41:48 PM »

Investment Casting  Grin
http://www.wtec.org/loyola/rp/10_01.htm


บันทึกการเข้า

ผมจ่ายภาษีให้มาดูแลรักษาบ้านเมือง ไม่ใช่ให้มายืนดูคนเผาบ้านเผาเมือง
east
Sr. Member
****

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 572


« ตอบ #7 เมื่อ: มีนาคม 19, 2007, 09:43:37 PM »

เก็บความรู้เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
Choltit
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 143
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16292



« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 20, 2007, 02:57:20 AM »

เลยทำให้น่าสนใจว่าผู้ผลิตแต่ละรายที่ขายปืนให้เราแพงๆ นั้น ใช้วิธีใดในการทำปืนให้เราใช้ รายใดใช้วิธีการที่ลดต้นทุนแต่ยังขายในราคาแพงอีก

ปืนกล็อกครับ  นึกออกเป็นอันดับแรก
บันทึกการเข้า

Gummy44
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 39
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1007



« ตอบ #9 เมื่อ: มีนาคม 20, 2007, 10:39:27 AM »

เลยทำให้น่าสนใจว่าผู้ผลิตแต่ละรายที่ขายปืนให้เราแพงๆ นั้น ใช้วิธีใดในการทำปืนให้เราใช้ รายใดใช้วิธีการที่ลดต้นทุนแต่ยังขายในราคาแพงอีก

ปืนกล็อกครับ นึกออกเป็นอันดับแรก

ถ้า Glock โพลิเมอร์ แพงแล้ว HK โพลิเมอร์ ก็แพงสุดยอดสิครับพี่ Smiley
บันทึกการเข้า
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #10 เมื่อ: มีนาคม 20, 2007, 11:34:40 AM »

ปืน Glock เป็นปืนดี ที่ราคายุติธรรม แต่พอมาบ้านเราขายแพงครับ

การลดต้นทุนที่เห็นชัด ๆ ก็คือการเปลี่ยนไกด์ร็อดเป็นพลาสติก การใช้โครงปืนพลาสติก การใช้ศูนย์ปืนพลาสติก ไกพลาสติก รางสไลด์สั้นจุ๊ดจู๋ แถมด้ามปืนยังฉีดพลาสติกไม่เต็มอีก (มีรูให้ลำบากหาอะไรไปอุด) Grin Grin Grin

ผมนึกถึง Walther P99 ครับ จำนวนพลาสติกใกล้เคียงกับ Glock แต่ใส่ต้นทุนงบโฆษณากับเจมส์ บอนด์ไปอีกโข

ส่วน HK USP/USPC/P2000 ผมว่า คุณภาพ+ราคา ยอมรับได้ครับ ...

สรุปว่าชอบเหล็กมาก ๆ ซื้อ CZ ครับ Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

NaiMai>รักในหลวง
ไม่ว่าจะมีพร้อมทุกสิ่ง แต่ก็ยังไม่มีสิ่งใดเหนือกว่าความมีสติ
Hero Member
*****

คะแนน 741
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14573


นายใหม่ รักหมู่


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: มีนาคม 20, 2007, 03:06:55 PM »

ปืน Glock เป็นปืนดี ที่ราคายุติธรรม แต่พอมาบ้านเราขายแพงครับ

การลดต้นทุนที่เห็นชัด ๆ ก็คือการเปลี่ยนไกด์ร็อดเป็นพลาสติก การใช้โครงปืนพลาสติก การใช้ศูนย์ปืนพลาสติก ไกพลาสติก รางสไลด์สั้นจุ๊ดจู๋ แถมด้ามปืนยังฉีดพลาสติกไม่เต็มอีก (มีรูให้ลำบากหาอะไรไปอุด) Grin Grin Grin

ผมนึกถึง Walther P99 ครับ จำนวนพลาสติกใกล้เคียงกับ Glock แต่ใส่ต้นทุนงบโฆษณากับเจมส์ บอนด์ไปอีกโข

ส่วน HK USP/USPC/P2000 ผมว่า คุณภาพ+ราคา ยอมรับได้ครับ ...

สรุปว่าชอบเหล็กมาก ๆ ซื้อ CZ ครับ Grin Grin Grin

 Grin 555 เข้าใจเชียร์ปืนตัวเอง เยาะเย้ย
บันทึกการเข้า

jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #12 เมื่อ: มีนาคม 20, 2007, 03:21:14 PM »

Wink Wink Grin Grin
บันทึกการเข้า

Prathet
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 56
ออฟไลน์

กระทู้: 596


« ตอบ #13 เมื่อ: มีนาคม 20, 2007, 03:39:23 PM »

โดยส่วนตัวแล้วผมชอบปืนทำด้วยเหล็กมากกว่า แต่ก็ไม่ได้รังเกียจปืนที่ทำด้วยโพลิเมอร์ ถ้ามีตังค์ก็อยากได้หมดแหละครับ

เพียงแต่ว่าเจ้าเหล็กที่นำมาทำปืนนั้นมันมีกรรมวิธีกว่าจะเป็นปืนได้หลายวิธี  ผมเคยเข้าไปอ่านใน http://www.prayotcharms.com/CUSTOM4.html แล้ว ได้ความรู้ดีมากครับ แต่ก็ยังไม่ทราบอยู่ดีว่าผู้ผลิตรายใดใช้กรรมวิธี Forge หรือเป็น Invesment casting
ผู้ใดมีความรู้เรื่องโลหะวิทยาช่วยวิเคราะห์ให้หน่อย  หรือผู้ใดมีข้อมูลว่ายี่ห้อใดใช้วิธีใด ช่วยวานบอกเป็นความรู้หน่อยครับ Cheesy
บันทึกการเข้า

A well regulated Militia, being necessary to the security of a free State, the right of the people to keep and bear Arms, shall not be infringed.(Second Amendment to the United States Constitution Article 2)
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #14 เมื่อ: มีนาคม 20, 2007, 04:59:47 PM »

ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมกรรมวิธีหล่อทั้งนั้นครับ..เพราะการขึ้นรูปแบบ force จะไม่เหมาะกับงานที่มีรูปร่างสลับซับซ้อนมีรูมีร่อง อีกอย่างการทำแม่พิมพ์สำหรับปั้มขึ้นรูปจะต้องลงทุนสูง เหมาะสำหรับการผลิตจำนวนมาก(mass product) แต่การหล่อถูกกว่าประหยัดกว่า เปลี่ยนแปลงแบบง่ายกว่า...
..ผู้ผลิตอาวุธปืนคุณภาพดีอย่างคิมเบอร์ เรียกกรรมวิธีหล่อของตนว่า MIM (Metal Injection Molding) รูเกอร์ก็ใช้การหล่อแบบ Invesment casting  อาร์มสกอร์ก็ใช้วิธีหล่อ มิหนำซ้ำยังรับจ้างทำชิ้นส่วนส่งผู้ผลิตปืนระดับคัสตอมเสียด้วย Grin เจ้าไหนอ่านเองในหนังสือ อวป.เล่มล่าสุดครับ..
บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 22 คำสั่ง