เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 31, 2024, 04:29:04 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลำกล้องแฮมเมอร์ฟอร์จ หมายถึงอะไรคับ  (อ่าน 20284 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 15 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Iron
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #30 เมื่อ: เมษายน 11, 2007, 03:04:41 PM »

            แล้วลำกล้องแบบแฮมเมอร์ฟอร์จ กับลำกล้องแบบที่ใช้ดอกสว่านกลึงลำกล้อง  อย่างไหนดีกว่ากันครับ (ความทนทานในการใช้)

แบบที่ใช้มีดดึงตัดเกลียว พวก Sine Bar Cut Rifler ถ้าเทียบกับ Hammer Forging Process   .....แฮมเมอร์ฟอร์จ ต้นทุนเริ่มต้นสูงกว่าเยอะครับแต่ผลิตจำนวนชิ้นต่อชั่วโมงได้สูงกว่า Cut Rifler และการควบคุมคุณภาพง่ายกว่า เหมาะกับโรงงานใหญ่ๆ ครับ

ส่วน Cut Rifler มีทั้งแบบเก่าคือใช้มอเตอร์ขับ หรือแบบใหม่ใช้ไฮดรอลิกซ์ขับซึ่งให้ความแม่นยำและเที่ยงตรงสูงกว่าแบบเก่า

ทีนี้ถ้าถามเรื่องความแม่นยำ  คงต้องรอครูปืนทั้งสองท่าน คือท่านอาจารย์ผณิศวรและท่านผู้การสุพินท์ มาแนะนำนะครับ เพราะผมเองเรื่องความแม่นยำขนาดที่ต้องแข่งขันด้านการกีฬาไม่มีประสบการณ์ตรงเลยไม่กล้าฟันธงครับ

เอาเป็นว่าเอารูปมาแปะแล้วรอครูปืนมาขยายความดีกว่านะครับ

1.Sine Bar Cut Rifler เครื่องรุ่นเก่าที่ ใช้มอเตอร์ขับ

The Pratt & Whitney Sine Bar Cut Rifler



ด้านบนที่เป็นเหล็กยาวๆวางมุมเอียงคือตัวบังคับการบิดตัวของเกลียวลำกล้อง ตั้งได้ตามความต้องการครับ


ด้านท้ายของเครื่องครับ


อีกภาพครับ เป็นเครื่องในมุมกว้าง


ร่องที่จะเป็นมุมเอียง คอยขับชุดหัวจับลำกล้องให้หมุนเมื่อมีการเคลื่อนที่ของมีด


ดูใกล้ๆ อีกครั้งหนึ่ง ที่ตัวลีดสกรู(สกรูขับเคลื่อน)ครับ


ภาพด้านหน้าของ Sinebar ที่ใช้ปรับมุมตามความชันของเกลียว ซึ่งส่งผลต่อความเร็วเกลียวหรือระยะครบรอบของเกลียว ครับ


อีกรูปครับ


มีดตัดเกลียวครับ


2.Sine Bar Cut Rifler เครื่องรุ่นใหม่ที่ใช้ระบบไฮดรอลิกซ์ครับ






บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #31 เมื่อ: เมษายน 11, 2007, 03:39:24 PM »

ขอบคุณมาก... และยกนิ้วโป้งมือให้สองนิ้วครับ...  อ.เหล็กไหลฯ...
บันทึกการเข้า
jony108
Full Member
***

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 108


« ตอบ #32 เมื่อ: เมษายน 11, 2007, 03:40:04 PM »

ดูแล้วอยากไปดูถึงโรงงาน   น่าจัดทัวร์ดูงาน(งบส่วนตัว)    ถ้าช่วงเวลาลงตัวผมสนใจมาก    ถ้าร่วมกันจัดทัวร์ไปประเทศยุโรปทื่ไม่หยิ่ง   เช่น เชคโก  ออสเตรีย น่าจะได้ความรู้คุ้มค่าเงิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2007, 09:21:07 PM โดย jony108 » บันทึกการเข้า
krudam
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #33 เมื่อ: เมษายน 11, 2007, 03:51:18 PM »

ขอบคุณครับพี่ชัช ชัดๆๆๆ  Grin
บันทึกการเข้า
SRS
Full Member
***

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 125


« ตอบ #34 เมื่อ: เมษายน 11, 2007, 04:52:30 PM »

ท่าน ชัช ได้อธิบาย มีภาพ ประกอบได้อย่างสุดยอดครับ  เป็นความรู้จริงๆ ครับ
ผมขอเพิ่มเติมในส่วนที่ ผมพอมีความรู้อยู่บ้างครับ
forging เป็นกรรมวิธี หนึ่ง ในการขึ้นรูป โลหะ ให้เป็น product หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่เราต้องการ   คนโบราณ เผาเหล็ก แล้วตี หรือ ทุบด้วยฆ้อนโดยใช้มือ ถือ เป็น การทำ forging แบบหนึ่ง  ต่อมา มนุษย์ต้องการได้ชิ้นงาน ที่มีความเที่ยงตรง สูงมากๆ   ขนาด ต้องเป๊ะ ตามแบบ ที่กำหนดไว้
การใช้แรงจากมือ มันไม่เพียงพอ  เลยต้องใช้ แรงจากเครื่องจักร  เป็นแรง จาก ไฮดรอลิกบ้าง      ใช้มอเตอร์ ขับกับลูกเบี้ยว ก็มีมากครับ ตรงนี้แล้วแต่ว่าชิ้นงานนั้น เป็นอะไร  แล้วจึงทำการออกแบบ process หรือ กระบวนการทำ forging

การบีบ  หรือ อัด  หรือ ทุบ ด้วยเครื่องนั้น  ต้องมีแบบ หรือ อาจเรียกว่า แม่พิมพ์ก็ได้      ตัวแบบหรือ แม่พิมพ์นี้ จะเป็นตัวกำหนดรูปร่าง ของชิ้นงาน   
อย่างที่บอกครับ ชิ้นงาน มันความสลับซับซ้อน เรื่องการควบคุมขนาด  เพราะฉะนั้น การทำ forging เลยพัฒนาให้มีแม่พิมพ์ หรือ แบบ เป็นตัวกำหนดรูปร่าง และ ขนาด ของชิ้นงาน   เทียบกับ การตีเหล็กสมัยโบราณ  ไม่ต้องมีแม่พิมพ์ หรือแบบ  เพราะว่า ชิ้นงานคือ มีด มันไม่มีขนาด และมิติ ที่ซับซ้อนอย่างการผลิต ลำกล้องปืน ในสมัยใหม่............

บางคนเรียก กระบวนการ forging ว่า die forging คำว่า die ในที่นี้หมายถึง แบบ หรือ พิมพ์ นั่นเอง เป็นการย้ำว่า ทำ forging โดยมีแม่พิมพ์ร่วมด้วย

การทำ forging มีความร้อนเป็นองค์ประกอบด้วย ไม่เช่นนั้น โลหะ  คงไม่อ่อนตัว  และ คงจะแตก ตอนที่โดนแม่พิมพ์บีบ หรือ ทุบ หรือ อัด แล้วแต่จะเรียก    พอโลหะอ่อนตัว    มีแรงกดลงมา  ย่อมทำให้มันเปลี่ยนรูปร่างไปตามแม่พิมพ์ ............ปรากฎการณ์อันหนึ่งที่มนุษย์ค้นพบคือ ว่า   ภายหลังจากมันเย็นตัวลงแล้ว ..........โครงสร้างภายในของโลหะนั้น จะมีการจัดเรียงอะตอม ที่เปลี่ยนไปจากเดิม     คือ มันจะเหนียว และ แข็งมากขึ้น   
ตรงนี้ มนุษย์ทำการทดลอง และ คำนวณออกมาได้ว่า ต้องใช้ อุณหภูมิเท่าใด   แรงเท่าใด  จะได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ ทั้งขนาด  รูปร่าง  รวมถึงความแข็งแรงด้วย ...................ตัวอย่างใกล้ๆ ตัว สำหรับ ชิ้นงาน ที่สร้างจาก กระบวนการ forging คือ  ประแจปากตายครับ    ของดีๆ แพงๆ  จะใช้ได้ทนมาก เพราะมันทั้งเหนียว และ แข็ง  เนื่องจาก วัสดุดี   และ ผ่านการขึ้นรูป ด้วยกรรมวิธี forging ที่พิถีพิถัน ........แต่ประแจ ถูกๆ ใช้งานไม่กี่ที พังครับ
เพราะว่า ส่วนใหญ่ มันหล่อ ขึ้น มา   ไม่ได้ทำด้วยวิธี forging ราคาถูกมาก ...........แต่ก็พังง่ายเช่นกัน  ..............

สำหรับ ลำกล้องปืน การทำ forging หรือ ในที่นี้ เรียกว่า hammer forging ก็เป็นวิธีหนึ่งของ กระบวนการ ที่เรียกว่า forging แต่มันก็ไม่ธรรมดาเลย ...
ยุ่งยากพอสมควร กว่าจะได้ลำกล้องแต่ละอัน..............
บันทึกการเข้า
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #35 เมื่อ: เมษายน 11, 2007, 05:36:11 PM »

เพิ่งทราบหลายๆอย่าง
ขอบคุณผู้ตั้งกระทู้และผู้ตอบกระทู้ครับ
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

Iron
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #36 เมื่อ: เมษายน 11, 2007, 08:56:15 PM »

สุดยอดครับ  เห็นภาพชัดเจน 
ขอบคุณมากครับ
ยินดีครับ  Grin

เห็นกันจะๆ เข้าใจแล้วครับ
ยินดีครับ  Grin

เครื่องทุบลำกล้องของจริงในปัจจุบันจะไม่อยู่ในอาคารเปิดแบบนี้ เพราะมีมลพิษทางเสียงสูงมาก   อย่างเช่นเครื่องตัวใหม่ของ สพ.ทบ.จะอยู่ในห้อง 2 ชั้นเพื่อลดเสียง
ขอบคุณครับครู…..ผมไม่ได้เข้าไปดูเครื่องตีลำกล้อง ที่ สพ.ทบ. สิบกว่าปีแล้วครับ ตอนนี้เลยไม่ทราบว่าเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง  Grin

เก็บความรู้ครับ ... ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ  Grin

อยากทราบครับว่า เหล็กที่จะทำเป็นลำกล้อง ต้องนำไปเผาให้ร้อนก่อนรึปล่าวครับ
หรือใช้เหล็กที่อุณหภูมิปกติ แล้วนำไปอบคืนตัว
งานตีลำกล้องแบบนี้ เป็นการตีเย็น  โดยขึ้นรูปที่อุณหภูมิห้อง หรือสูงกว่าเล็กน้อย แต่ยังไม่มีผลต่อการเปลี่ยนโครงสร้างเหล็กของเนื้อเหล็กครับ  แต่มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นจากการที่เนื้อเหล็กถูกตีหรือบีบอัด ถือเป็น Cold working ครับ
 Grin
เอาข้อมูลมาจากไหนเนี่ย......ย

นับถือจริงๆครับ
ได้มาจากเว็บ ด้านการแปรรูปโลหะนี่แหละครับ  Grin

เรื่องแบบนี้ ต้องยกให้คุณเตารีดเลย  Grin
ขอบคุณครับพี่อ๋อง…..ผมรู้แต่ก็ยังไม่ลึกครับพี่  Grin

สงสัยมานานแล้ว เพิ่งรู้เรื่องก็วันนี้เองครับ Grin Grin Grin
ยินดีครับ  Grin

เยี่ยมครับ
ขอบคุณครับ  Grin

ยกนิ้วโป้งให้ 2 นิ้วเลย Grin Cheesy
ขอบคุณครับ  Grin

ขอบคุณคุณชัชมากครับ
ยินดีครับ  Grin

ข้อมูลเยี่ยมมาก..ทั้งเรื่องราวและรูปภาพ.....ขอบคุณ คุณชัชมากครับ...
ขอบคุณครับ   Grin
 
ขอบคุณมาก... และยกนิ้วโป้งมือให้สองนิ้วครับ...  อ.เหล็กไหลฯ...
ขอบคุณครับพี่สมชาย…..แต่อย่าเรียก อ.เลยครับพี่   ในเว็บนี้ผมมีท่านอาจารย์ ที่ผมถือว่าเป็นครูปืนด้านวิชาการปืนโดยตรง อย่างน้อยสองท่านแล้วครับ คือท่านอาจารย์สุพินท์(หนังสือ อวป.เล่มเดือนนี้ ผมอ่านที่ท่านอาจารย์เขียนแล้ว นึกในใจว่าผมเองไม่น่าเปลืองตังไปซื้อหนังสือ ต่างประเทศมาเกือบสองหมื่นบาท สู้อ่านคอลัมส์เดียวที่ท่านเขียน แบบเข้าใจง่ายและปฏิบัติได้จริงไม่ได้เลย)
อีกท่านคือท่านอาจารย์ผณิศวร ครับ ทั้งสองท่านผมไหว้ได้แบบสนิทใจครับ   Grin

ดูแล้วอยากไปดูถึงโรงงาน   น่าจัดทัวร์ดูงาน(งบส่วนตัว)    ถ้าช่วงเวลาลงตัวผมสนใจมาก
ครับผม  Grin

ขอบคุณครับพี่ชัช ชัดๆๆๆ  Grin
ยินดีครับลุง  Grin

ท่าน ชัช ได้อธิบาย มีภาพ ประกอบได้อย่างสุดยอดครับ  เป็นความรู้จริงๆ ครับ
ผมขอเพิ่มเติมในส่วนที่ ผมพอมีความรู้อยู่บ้างครับ
forging เป็นกรรมวิธี หนึ่ง ในการขึ้นรูป โลหะ ให้เป็น product หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่เราต้องการ   คนโบราณ เผาเหล็ก แล้วตี หรือ ทุบด้วยฆ้อนโดยใช้มือ ถือ เป็น การทำ forging แบบหนึ่ง  ต่อมา มนุษย์ต้องการได้ชิ้นงาน ที่มีความเที่ยงตรง สูงมากๆ   ขนาด ต้องเป๊ะ ตามแบบ ที่กำหนดไว้
การใช้แรงจากมือ มันไม่เพียงพอ  เลยต้องใช้ แรงจากเครื่องจักร  เป็นแรง จาก ไฮดรอลิกบ้าง      ใช้มอเตอร์ ขับกับลูกเบี้ยว ก็มีมากครับ ตรงนี้แล้วแต่ว่าชิ้นงานนั้น เป็นอะไร  แล้วจึงทำการออกแบบ process หรือ กระบวนการทำ forging

การบีบ  หรือ อัด  หรือ ทุบ ด้วยเครื่องนั้น  ต้องมีแบบ หรือ อาจเรียกว่า แม่พิมพ์ก็ได้      ตัวแบบหรือ แม่พิมพ์นี้ จะเป็นตัวกำหนดรูปร่าง ของชิ้นงาน   
อย่างที่บอกครับ ชิ้นงาน มันความสลับซับซ้อน เรื่องการควบคุมขนาด  เพราะฉะนั้น การทำ forging เลยพัฒนาให้มีแม่พิมพ์ หรือ แบบ เป็นตัวกำหนดรูปร่าง และ ขนาด ของชิ้นงาน   เทียบกับ การตีเหล็กสมัยโบราณ  ไม่ต้องมีแม่พิมพ์ หรือแบบ  เพราะว่า ชิ้นงานคือ มีด มันไม่มีขนาด และมิติ ที่ซับซ้อนอย่างการผลิต ลำกล้องปืน ในสมัยใหม่............

บางคนเรียก กระบวนการ forging ว่า die forging คำว่า die ในที่นี้หมายถึง แบบ หรือ พิมพ์ นั่นเอง เป็นการย้ำว่า ทำ forging โดยมีแม่พิมพ์ร่วมด้วย

การทำ forging มีความร้อนเป็นองค์ประกอบด้วย ไม่เช่นนั้น โลหะ  คงไม่อ่อนตัว  และ คงจะแตก ตอนที่โดนแม่พิมพ์บีบ หรือ ทุบ หรือ อัด แล้วแต่จะเรียก    พอโลหะอ่อนตัว    มีแรงกดลงมา  ย่อมทำให้มันเปลี่ยนรูปร่างไปตามแม่พิมพ์ ............ปรากฎการณ์อันหนึ่งที่มนุษย์ค้นพบคือ ว่า   ภายหลังจากมันเย็นตัวลงแล้ว ..........โครงสร้างภายในของโลหะนั้น จะมีการจัดเรียงอะตอม ที่เปลี่ยนไปจากเดิม     คือ มันจะเหนียว และ แข็งมากขึ้น   
ตรงนี้ มนุษย์ทำการทดลอง และ คำนวณออกมาได้ว่า ต้องใช้ อุณหภูมิเท่าใด   แรงเท่าใด  จะได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ ทั้งขนาด  รูปร่าง  รวมถึงความแข็งแรงด้วย ...................ตัวอย่างใกล้ๆ ตัว สำหรับ ชิ้นงาน ที่สร้างจาก กระบวนการ forging คือ  ประแจปากตายครับ    ของดีๆ แพงๆ  จะใช้ได้ทนมาก เพราะมันทั้งเหนียว และ แข็ง  เนื่องจาก วัสดุดี   และ ผ่านการขึ้นรูป ด้วยกรรมวิธี forging ที่พิถีพิถัน ........แต่ประแจ ถูกๆ ใช้งานไม่กี่ที พังครับ
เพราะว่า ส่วนใหญ่ มันหล่อ ขึ้น มา   ไม่ได้ทำด้วยวิธี forging ราคาถูกมาก ...........แต่ก็พังง่ายเช่นกัน  ..............

สำหรับ ลำกล้องปืน การทำ forging หรือ ในที่นี้ เรียกว่า hammer forging ก็เป็นวิธีหนึ่งของ กระบวนการ ที่เรียกว่า forging แต่มันก็ไม่ธรรมดาเลย ...
ยุ่งยากพอสมควร กว่าจะได้ลำกล้องแต่ละอัน..............
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม  Grin

เพิ่งทราบหลายๆอย่าง
ขอบคุณผู้ตั้งกระทู้และผู้ตอบกระทู้ครับ
อ้าวลุงซับก็มา  Grin
บันทึกการเข้า
โป้ง*กันบอย - รักในหลวง
YOU'LL NEVER WALK ALONE
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1629
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16886


คนฮัก เต้าผืนหนัง........คนจัง เต้าผืนสาด


เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: เมษายน 11, 2007, 10:23:43 PM »

ขอบคุณมากๆครับพี่

บางอย่างที่ผมไม่เคยทราบก็จะได้จากที่แห่งนี้เสมอๆครับ

ด้วยความเคารพครับ
บันทึกการเข้า


หมีอ้วน
Full Member
***

คะแนน 15
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 322



« ตอบ #38 เมื่อ: เมษายน 12, 2007, 09:44:00 AM »

เก็บความรู้ครับ เยี่ยมจริงๆ โรงงาน สพ.ทบ นี่อยู่ที่ไหนครับ
บันทึกการเข้า

เฟืองจักรรวมปีกสมอ นชท34 , KMIT'NB ,  SPD12
jony108
Full Member
***

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 108


« ตอบ #39 เมื่อ: เมษายน 13, 2007, 12:49:07 AM »

ถามคุณชัช...iron  เครื่องมือ ประแจทืผลิตแบบforgeing  มียี่ห้ออะไร  ดูอย่างไรวาผลิตวิธืนื้
บันทึกการเข้า
esko
Full Member
***

คะแนน 5
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229


« ตอบ #40 เมื่อ: เมษายน 13, 2007, 03:19:49 PM »

ผมมี CZ 75 D COMPACT ไม่ทราบเป็นลำกล้องแบบไหนครับ
บันทึกการเข้า

เองกินเหล้าเมายาไม่ว่าหรอก  แต่อย่าออกนอกทางไปให้เสียผล
จงอย่ากินสินบาทคาดสินบน   เรามันชนชั้นปัญญาตุลาการ
SEK
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #41 เมื่อ: เมษายน 13, 2007, 04:03:45 PM »

...ข้อมูลเยี่ยมเลยครับคุณชัช.. Grin...นับถือ...นับถือ... Grin
บันทึกการเข้า
นาจา™รักในหลวง
คุณธรรม...นำสู่ยุติธรรม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 268
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11147



เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: เมษายน 13, 2007, 04:10:23 PM »


ขอบคุณครับ
แล้วเมื่อไหร่คุณชัช...จะตั้งโรงงานล่ะ อิอิ Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
นายขม รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 99
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1377


ที่ว่างปลายปากกระบอกปืน


« ตอบ #43 เมื่อ: เมษายน 13, 2007, 04:35:30 PM »

เยี่ยมครับ  ขอโหวต ......    Grin Grin
บันทึกการเข้า

ผมจ่ายภาษีให้มาดูแลรักษาบ้านเมือง ไม่ใช่ให้มายืนดูคนเผาบ้านเผาเมือง
Narin CZ
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #44 เมื่อ: เมษายน 13, 2007, 08:34:11 PM »

เคยได้ยินมาเกี่ยวกับวิธีการขึ้นรูปลำกล้องปืน....แต่ไม่เคยเห็นภาพชัดๆพร้อมคำอธิบายอย่างนี้....ขอบคุณครับคุณชัช...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 22 คำสั่ง